9473961

ตำแหน่งช่างศิลป์ กรมบังคับคดี

หมวดหมู่สินค้า: ข้อสอบ

11 มีนาคม 2565

ผู้ชม 37 ผู้ชม

ช่างศิลป์ กรมบังคับคดี
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมบังคับคดี
2 สรุปสาระสำคัญแนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
3 สรุปสาระสำคัญสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547
4 แนวข้อสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป
5 แนวข้อสอบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน
6 สรุปข่าวเด่น-ความรู้ทั่วไป-เกี่ยวกับสังคม-เศรษฐกิจ-การเมือง-การกีฬา 2560
7 ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์
8 การจัดทำหนังสือสิ่งพิมพ์ แผ่นพับ
9 ความรู้เรื่องการออกแบบ
10 การจัดทำผลงานทางวิชาการ
11 เทคนิคการออกแบบนิทรรศการ
12 เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
MP3-P034 แนวข้อสอบระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

 

แนวข้อสอบ

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 <<


 

 
 
 กรมบังคับคดีกรมบังคับคดี
ประวัติกรมบังคับคดี  เดิมงานของกรมบังคับคดีมีที่มาจากหน่วยงานราชการระดับกองในสำนักปลัดกระทรวงยุติธรรม 2 กอง คือ กองบังคับคดีแพ่ง และ กองบังคับคดีล้มละลาย จนกระทั่งปี พ.ศ.2517 สมัยรัฐบาล ฯพณฯ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านกิตติ สีหนนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้เห็นความสำคัญของทั้งสองกองดังกล่าว ประกอบกับงานบังคับคดีแพ่งและงานบังคับคดีล้มละลายเพิ่มขึ้นมาก หน่วยงานที่จัดไว้แต่เดิม ไม่เหมาะสมกับงานที่นับวันแต่จะทวีปริมาณมากขึ้นทุกๆ ปีดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย งานเกี่ยวกับการวางทรัพย์ได้ขยายอำนาจหน้าที่ทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งงานชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือ นิติบุคคลตามคำสั่งศาล ได้ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถชำนาญงานในหน้าที่ได้เป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วิสัยทัศน์ "บังคับคดีด้วยความเป็นธรรม มุ่งสู่องค์กรชั้นนำในระดับสากล บริการประชาชนอย่างมีคุณภาพ"
    กรมบังคับคดีมุ่งปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม มีการบังคับใช้กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับอย่างเท่าเทียมกัน มีกระบวนงานการบังคับคดี การบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานสากล สร้างการยอมรับทั้งในประเทศและในระดับสากล มีมาตรฐานการให้บริการ ทั้งในส่วนของกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ ลักษณะรูปแบบการให้บริการ บุคลิกภาพของผู้ให้บริการ สามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของประชาชน สร้างความประทับใจให้กับประชาชน
พันธกิจ 1. ให้บริการด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชีการวางทรัพย์และการไกล่เกลี่ยภายหลังคำพิพากษา อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เสมอภาค เป็นธรรมและตรวจสอบได้    2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนางานบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชีการวางทรัพย์และการไกล่เกลี่ยภายหลังคำพิพากษา ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งพัฒนาระบบงานสนับสนุนให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ    3. พัฒนากฎหมาย ระเบียบ และคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีให้ทันสมัยและเป็นมาตรฐานสากล    4. ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานและองค์การระหว่างประเทศเพื่อนำแนวปฏิบัติที่ดีในด้านการบังคับคดีมาพัฒนาการดำเนินงานบังคับคดีให้มีประสิทธิภาพ    5. พัฒนาองค์กรและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการดำเนินการ  6. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญมีจิตสำนึกในการบริการอย่างมีคุณธรรม จริยธรรมและยึดหลักจรรยาบรรณวิชาชีพในการปฏิบัติงาน    7. พัฒนาเครือข่ายและบูรณาการความร่วมมือด้านการบังคับคดีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    8. เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายการบังคับคดี การวางทรัพย์ การไกล่เกลี่ยภายหลังคำพิพากษา และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แก่ประชาชนได้เข้าใจอย่างทั่วถึง
ค่านิยมร่วม"I AM LED"I  คือ  Integrity  หมายถึง  มีความซื่อสัตย์A  คือ  Accountability  หมายถึง  มีความรับผิดชอบM  คือ  Management    หมายถึง  การบริหารจัดการL  คือ  Learning  หมายถึง  การเรียนรู้ตลอดเวลาE  คือ  Excellence  หมายถึง  มีความเป็นเลิศD  คือ  Digital  หมายถึง การใช้เทคโนโลยี
วัฒนธรรมองค์กร “บริการด้วยรอยยิ้ม บริหารด้วยหลักการ บริบาลด้วยหลักธรรม”
เป้าหมายการให้บริการ "ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียได้รับบริการด้านการบังคับคดี การไกล่เกลี่ย และการวางทรัพย์ อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม"  ภารกิจกรมบังคับคดี มีภารกิจเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย และคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามคำสั่งศาลการชำระบัญชีตามคำสั่งศาล การวางทรัพย์ การประเมินราคาทรัพย์สินและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี ดำเนินการยึด อายัด และจำหน่ายทรัพย์สิน รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ตลอดจนกำกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เพื่อให้เจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้อย่างเป็นธรรม โดยให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ดำเนินการบังคับคดีแพ่งตามคำสั่งศาล (2) ดำเนินการบังคับคดีล้มละลายตามคำสั่งศาล (3) ดำเนินการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามคำสั่งศาล (4) ดำเนินการตรวจสอบสิทธิทางบัญชีของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อรับส่วนแบ่งจากคดี ตรวจสอบค่าใช้จ่าย และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการบังคับคดี (5) ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลในฐานะผู้ชำระบัญชีตามคำสั่งศาล (6) รับวางทรัพย์จากลูกหนี้หรือผู้มีสิทธิวางทรัพย์ (7) ดำเนินการประเมินราคาทรัพย์สิน (8) ดำเนินการเกี่ยวกับการเดินหมาย คำคู่ความ หนังสือ หรือประกาศของศาล หรือหน่วยงานภายในกรม (9) พัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการ รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี (10) บริหารจัดการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการบังคับคดี และด้านอื่น ๆ ในความรับผิดชอบของกรม (11) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของกรม ตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายหรือตามคำสั่งศาล 
ผู้บริหารกรมบังคับคดีนางอรัญญา ทองน้ำตะโก อธิบดีกรมบังคับคดี นางทัศนีย์ เปาอินทร์ รองอธิบดีกรมบังคับคดีนายเสกสรร สุขแสง รองอธิบดีกรมบังคับคดีนางสาวปนัดดา สินธุวิสุทธ์ รองอธิบดีกรมบังคับคดี
กรมบังคับคดี189/1 ถ. บางขุนนนท์ แขวง บางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
Engine by shopup.com