9457862

ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

หมวดหมู่สินค้า: ข้อสอบ

10 มีนาคม 2565

ผู้ชม 72 ผู้ชม

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
2 แนวข้อสอบภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ
3 แนวข้อสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
4 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
5 แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
6 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
7 สรุป + แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกา บ้านเมืองที่ดี 2546
8 สรุปกฎหมายระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม
9 ถามตอบ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ2560
10 แนวข้อสอบการเงินและบัญชี
11 ความรู้เบื้องต้นทางสถิติ (Introduction of Statistical)
12 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์
13 แนวคิดด้านการติดตามและประเมินผล (ถาม - ตอบ)
14 แนวข้อสอบ การบริหารแผนงาน นโยบาย โครงการ
MP3-P050 - เทคนิคการสอบสัมภาษณ์

แนวข้อสอบ

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 <<


 

 
 
 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทน
ประวัติความเป็นมากรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เดิมชื่อว่า "การพลังงานแห่งชาติ" จัดตั้งขึ้น โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการพลังงานแห่งชาติขึ้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 70 ตอนที่ 3 ลงวันที่ 6 มกราคม 2496 โดยมีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ" เป็นผู้วางนโยบายและพิจารณาโครงการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับพลังงาน และมีหน่วยราชการขึ้นหน่วยหนึ่ง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากรม มีชื่อว่า "การพลังงานแห่งชาติ" ตั้งแต่ วันที่ 7 มกราคม 2496 เป็นต้นมา และได้มีการปรับเปลี่ยนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ปี 2427-2495 ก่อนกำเนิดการพลังงานแห่งชาติ 2427 เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เดินสายไฟฟ้า และติดดวงโคมไฟฟ้าที่กรมทหาร เป็นการทดลองใช้ไฟฟ้าครั้งแรกในเมืองไทย2435 บริษัท รอยัลดัทซ์ปิโตรเลียม จำกัด บริษัทน้ำมันต่างชาติแห่งแรกเข้ามาจำหน่ายน้ำมันก๊าดในไทย ให้สำหรับจุดตะเกียงส่องสว่าง2437 รถรางในพระนครที่เคยใช้ม้าลาก เปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้า ถือเป็นรถรางไฟฟ้าสายแรกๆ ของโลก2440 เกิดโรงไฟฟ้าแห่งแรกโดยบริษัทเอกชน ตั้งในที่ดินของวัดราชบูรณะราชวรวิหารหรือวัดเลียบ เรียกกันทั่วไปว่า "โรงไฟฟ้าวัดเลียบ" จ่ายไฟฟ้าให้ถนนและสถานที่ราชการ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ใช้ไม้ฟืน ถ่านหิน น้ำมัน และแกลบเป็นเชื้อเพลิง2457 "โรงไฟฟ้าสามเสน" เริ่มดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นกิจการภายใต้การควบคุมของกระทรวงมหาดไทย2464 สำรวจพบน้ำมันที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มการสำรวจถ่านหินลิกไนต์เป็นเวลา 2 ปี พบที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง และคลองขนาน จังหวัดกระบี่2470 เมืองราชบุรีเป็นเทศบาลเมืองต่างจังหวัดแห่งแรกที่มีไฟฟ้าใช้2471 รัฐบาลประกาศใช้ พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน ระบุถึงกิจการสาธารณูปโภค 7 อย่างที่ต้องได้รับอนุญาตหรือสัมปทานจากรัฐก่อนมีโรงไฟฟ้าเป็นหนึ่งในเจ็ดอย่างนั้น2472 จัดตั้ง "แผนกไฟฟ้า" อยู่ในกองบุราภิบาล กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดให้มีไฟฟ้าใช้ในเขตสุขาภิบาลของจังหวัดต่างๆ2473 เริ่มมีสถานีจำหน่ายน้ำมันเบนซินสำหรับรถยนต์2475 วันที่ 24 มิถุนายน คณะราษฏรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย2476 จัดตั้ง "แผนกเชื้อเพลิง" สังกัดกรมพลาธิการทหารบก กระทรวงกลาโหม มีภารกิจจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันหล่อลื่น ให้แก่หน่วยงานราชการ2477 แผนกไฟฟ้าได้รับการยกฐานะเป็น "กองไฟฟ้า" สังกัดกรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย และเริ่มมีบริษัทเอกชนขอรับสัมปทานจัดตั้งกิจการไฟฟ้าในจังหวัด และอำเภอต่างๆ จ่ายไฟเฉพาะในช่วงกลางคืน2480 แผนกเชื้อเพลิงได้รับการยกฐานะเป็น "กรมเชื้อเพลิง" และเริ่มจำหน่ายน้ำมันให้แก่ประชาชนทั่วไป2481 ตราพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง ให้รัฐบาลเป็นผู้กำหนดราคาขายน้ำมันจัดตั้ง "คณะกรรมการไฟฟ้ากำลังน้ำ" เพื่อพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำแทนเครื่องไอน้ำหรือดีเซลพื้นที่ซึ่งได้สำรวจเพื่อก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกคือที่บ้านแก่งเรียง กิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจบุรี กั้นแม่น้ำแควใหญ่ แต่โครงการหยุดชะงักเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 22483 กรมเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหม ก่อตั้งโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของประเทศที่ช่องนนทรี อำเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร โดยใช้น้ำมันดิบจากอำเภอฝาง2484 เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา ทำให้บริษัทน้ำมันต่างชาติต้องเปิดตัว บ้านเมืองขาดแคลนน้ำมันและไฟฟ้ามีการทิ้งระเบิดทำลายโรงกลั่นน้ำมันของกรมเชื้อเพลิง รวมทั้งโรงไฟฟ้าทั้งในพระนครและต่างจังหวัดได้รับความเสียหาย2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลถูกประเทศผู้ชนะสงครามบีบให้ยกเลิกพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิงและยุบกรมเชื้อเพลิง เปิดให้บริษัทน้ำมันต่างชาติเข้ามาทำการค้าขายน้ำมันโดยเสรี และผูกขาดการขายน้ำมันให้แก่รัฐบาล โดยรัฐบาลไม่สามารถค้าขายน้ำมันให้แก่หน่วยงานราชการและประชาชน ยกเว้นในกิจการทหาร2492 รัฐบาลจัดตั้ง "แผนกเชื้อเพลิง" ขึ้นใหม่ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และสร้างคลังเก็บน้ำมันที่ท่าเรือริมคลองพระโขนง-คลองเตย2493 รัฐบาลจัดตั้ง "การไฟฟ้ากรุงเทพ" ดำเนินกิจการไฟฟ้าในพื้นที่นครหลวง2494 รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของกิจการไฟฟ้าที่มีเพิ่มมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อคณะกรรมการไฟฟ้ากำลังน้ำเป็น "คณะกรรมการพิจารณาสร้างไฟฟ้าทั่วราชอาณาจักร"2495 ประธานธนาคารโลกเดินทางมาพิจารณาการขอกู้เงินของรัฐบาลไทย และให้ความเห็นต่อรัฐบาลว่าการแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานมีความสำคัญอันดับหนึ่ง และควรให้อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การเดียว จึงนำมาสู่การจัดตั้ง "การพลังงานแห่งชาติ" ในปีถัดมา
ปี 2496-2545 การเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน 2496 7 มกราคม 2496 เริ่มก่อตั้ง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ. 2497 ได้ย้ายสำนักงานไปอยู่ที่ศาลาลูกขุนในพระบรมมหาราชวัง2502-2514 13 กรกฎาคม 2502 ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ บ้านพิบูลธรรม เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ยศเส จนถึงปัจจุบัน 23 พฤษภาคม 2506 ย้ายไปสังกัด กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ โดย พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2506 1 ตุลาคม 2514 ย้ายมาสังกัด สำนักนายกรัฐมนตร๊ตามเดิม และเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานพลังงานแห่งชาติ"2522-2535 24 มีนาคม 2522 ย้ายไปสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน 13 กุมภาพันธ์ 2535เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน" สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ตามประกาศพระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 9 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 4 เมษายน 2535 เปลี่ยนชื่อสังกัดเป็น "กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม"2545 3 ตุลาคม 2545 เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน" สังกัดกระทรวงพลังงานตามประกาศพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545
ผู้บริหารนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานนางสาวนวลจันทร์ เตชะเสริมสุขกูล รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานนายโกมล บัวเกตุ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานนายเรืองเดช ปั่นด้วง รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานนายนันทนิษฏ์ วงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการกองพัฒนาพลังงานทดแทนนางสาวราตรี ไขศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการกรมนายสาร์รัฐ ประกอบชาติ ผู้อำนวยการกองกำกับและอนุรักษ์พลังงานนายสุรีย์ จรูญศักดิ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์นายโสภณ มณีโชติ ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงานนายสมชาติ ตั้งลิขสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนายอดิศักดิ์ ชูสุข ผู้อำนวยการกองวิจัย ค้นคว้าพลังงานนางสาวอภิรดี ธรรมมโนมัย ผู้อำนวยการกองถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีนายนราพันธ์ ยามาลี ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนายวัชรินทร์ บุญฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงานนางสุทิศา สงวนตระกูล ผู้อำนวยการกองพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพนางสาวรุ่งระวี ยิ่งยวด ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทนนายกิตติพร โป้ซิ้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทนนายวิรัตน์ ทรงงาม ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์พลังงาน
วิสัยทัศน์ "เป็นผู้นำด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในภูมิภาคเอเชียภายในปี พ.ศ. 2579" To become a leader in alternative energy development and energy efficiency in Asia by 2036.
พันธกิจ สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานของประเทศเพื่อให้เกิดการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม To create sustainability of alternative energy and energy efficiency of the country, in order to boost efficiency and environmentally friendly of energy production and consumption.
หน้าที่ความรับผิดชอบ ภาระหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน รับผิดชอบในการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน กำกับการอนุรักษ์พลังงาน จัดหาแหล่งพลังงาน พัฒนาทางเลือกการใช้พลังงานแบบผสมผสานและเผยแพร่เทคโนโลยีด้านพลังงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอ ด้วยต้นทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ภาระหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 รับผิดชอบกำกับ ดูแล ส่งเสริม และช่วยเหลือให้โรงงานควบคุม และอาคารควบคุมได้ปฏิบัติตามกฏหมาย เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด พรบ. การพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2535 (ว่าด้วยพลังงานควบคุม) พรบ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรม)
ยุทธศาสตร์ พพ. ยุทธศาสตร์ที่ 1: เพิ่มสัดส่วนการผลิตและการใชัพลังงานทดแทน เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ - มีสัดส่วนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นกลุยุทธ์ 1) ส่งเสริมให้มีการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น                      2) สร้างกลไกการกำกับ สนับสนุน ให้ประเทศมีการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันตัวชี้วัด - สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ในปี พ.ศ.2579
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : เพิ่มประสิทธิภาพการใชัพลังงาน เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ - มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพกลุยุทธ์                      1) ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ                       2) สร้างกลไกการกำกับ สนับสนุน ให้ประเทศมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตัวชี้วัด                    - ลดความเข้มข้นการใช้พลังงาน (Energy Intensity : EI) ลดลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์กรและพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์                    - เพื่อให้การบริหารจัดการและการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพกลุยุทธ์                    1) บูรณาการการทำงานภายในอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ                     2) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเพื่อสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพตัวชี้วัด                     - พัฒนาระบบเทคโนโลยสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์กร                    - พัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 
ค่านิยม "WIN" คือ การบรรลุเป้าหมายร่วมกันW (Work excellence)      เป็นเลิศเรื่องงานI  (Integration)                บูรณาการร่วมใจN  (No corruption)            โปร่งใสซื่อสัตย์ 
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงานเลขที่ 17 ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330ติดต่อสอบถาม : Tel. 0-2223-0021-9 0-2223-2593-9 0-2222-4102-9Fax. 0-2225-3785Email : contact@dede.go.th
Engine by shopup.com