ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
10 มีนาคม 2565
ผู้ชม 69 ผู้ชม
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
2 พรบ.ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
3 แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
4 ข้อสอบ พ.ร.ก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
5 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
6 ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
7 ความรู้เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)
8 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
9 สรุป - แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ แผน 12 (ถาม-ตอบ)
10 แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชุด 1
11 แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชุด 2
MP3-P051 สาระสำคัญพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<
สรุปประวัติความเป็นมา ๑. การเปลี่ยนแปลงของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้น ส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงตามพระราชประสงค์ขององค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะชื่อและฐานะของหน่วยงานเป็นสำคัญ ส่วนการจัดโครงสร้างองค์กรนั้น ยังคงดำรงอยู่ในรูปแบบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนนัก ด้านภารกิจซึ่งยังคงเน้นการทำหน้าที่เลขานุการขององค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งรวมงานทั้ง ด้านการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดินเข้าไว้ด้วยกันตามลักษณะของระบบการปกครองที่อำนาจการเมืองการบริหาร รวมศูนย์อยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ๒. การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างชัดเจนเกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ทั้งนี้ เพราะเกิดโครงสร้างของระบบคณะรัฐมนตรีใหม่ อำนาจการเมือง – การบริหาร แยกจากองค์พระมหากษัตริย์มาอยู่ที่คณะกรรมการราษฎรหรือคณะรัฐมนตรี ภารกิจเดิมของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงแยกออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นภารกิจส่วนตัวนายกรัฐมนตรี และภารกิจในส่วนของคณะรัฐมนตรี ๓. ปัจจุบันโครงสร้างของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นไปตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งได้แบ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีออกเป็น ๗ สำนัก ๑ กอง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีภารกิจที่สำคัญ ๕ ประการ ดังนี้ (๑) ภารกิจเกี่ยวกับราชการของคณะรัฐมนตรี (๒) ภารกิจเกี่ยวกับการประสานราชการกับรัฐสภา (๓) ภารกิจเกี่ยวกับการประสานราชการกับส่วนราชการในพระองค์ (๔) ภารกิจเกี่ยวกับการประสานราชการกับกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ (๕) ภารกิจเกี่ยวกับประชาชน
วิสัยทัศน์ :สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นกลไกหลักในการสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีพันธกิจ :๑. ใช้องค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีให้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ๒. ติดตามการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่สำคัญ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชนค่านิยมหลัก : CABINETC = Confidential คือ การรักษาความลับของราชการA = Accuracy คือ ความแม่นยำB = Best Expertise คือ ความเชี่ยวชาญอย่างดีเยี่ยมI = Integrity คือ การยืนหยัดในความถูกต้องN = Networking and Teamwork คือ การสร้างเครือข่ายและการทำงานเป็นทีมE = Express คือ ความรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์T = Transparency คือ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ค่าวัฒนธรรมหลัก : SAFES = Secrecy คือ การรักษาความลับของราชการA = Accuracy คือ การคำนึงถึงความถูกต้องแม่นยำของงานF = Fastness คือ การปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์E = Effciency & Explainability คือ การทำงานที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใสสามารถตรวจสอบและอธิบายได้ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ยุทธศาสตร์ที่ ๑การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และนำเสนอเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเป้าประสงค์ตัวชี้วัด๑.๑ ส่วนราชการที่จะเสนอเรื่องมีความเข้าใจและปฏิบัติตาม พ.ร.ฎ.เสนอเรื่องฯ อย่างเคร่งครัด๑.๑.๑ ร้อยละของจำนวนเรื่องที่เสนอ ครม. มีความถูกต้องตาม พ.ร.ฎ. เสนอเรื่องฯ(กนธ., กวค., กสค., กอค.)๑.๒ บุคลากรสามารถใช้องค์ความรู้ในการวิเคราะห์เรื่องอย่างรอบด้าน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน๑.๒.๑ ระดับคะแนนคุณภาพของข้อมูลประกอบการวินิจฉัยของ ครม.(กนธ., กวค., กสค., กอค.)๑.๒.๒ ร้อยละของจำนวนเรื่องที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ที่มีความเห็นของ สลค. เพื่อประกอบการพิจารณาของครม.(กนธ., กวค., กสค., กอค.)๑.๒.๓ ร้อยละของจำนวนเรื่องที่ ครม. มีมติตามความเห็นของ สลค.(กนธ., กวค., กสค., กอค.)๑.๓ มติคณะรัฐมนตรีมีความถูกต้อง ชัดเจนสามารถปฏิบัติได้๑.๓.๑ จำนวนมติ ครม. หรือข้อสั่งการที่ส่วนราชการขอทบทวน เนื่องจากคลาดเคลื่อน หรือไม่ชัดเจนในสาระสำคัญ(กนธ., กพต., กวค., กสค., กอค.)๑.๓.๒ ร้อยละความสำเร็จของการตรวจสอบร่างอนุบัญญัติแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด(กคอ.)๑.๔ การจัดประชุมครม. มีมาตรฐานและพร้อมตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง๑.๔.๑ ร้อยละของความพึงพอใจของผู้ประสานงานในการจัดประชุมครม. (กปค.)๑.๔.๒ จำนวนครั้งของการผลิตเอกสารเรื่องจำเป็น/เร่งด่วน ไม่ทันต่อการประชุม/การพิจารณาของครม.(กปค.)กลยุทธ์๑) สร้างความเข้าใจให้แก่ส่วนราชการเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการเสนอเรื่องฯ ตามพ.ร.ฎ. เสนอเรื่องฯ (ระเบียบฯ และแนวทางปฏิบัติ) อย่างต่อเนื่อง๒) พัฒนา/ถ่ายทอด/บริหารจัดการองค์ความรู้ในการวิเคราะห์เรื่องเสนอ ครม. และการจัดทำร่างมติ ครม.๓) เสริมสร้าง/พัฒนาเทคโนโลยีและแนวปฏิบัติในการจัดประชุม ครม.๔) จัดทำและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานยุทธศาสตร์ที่ ๒การพัฒนาระบบติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและมติคณะรัฐมนตรี และพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการเสนอแนะเชิงนโยบายเป้าประสงค์ตัวชี้วัด๒.๑ ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายและมติ ครม. ตามระยะเวลาที่กำหนด๒.๑.๑ ร้อยละของจำนวนเรื่องที่ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการตามมติ ครม.(กสค.)๒.๑.๒ ร้อยละความสำเร็จในการประสานงาน/ติดตามให้ส่วนราชการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการตามมติ ครม. ภายในระยะเวลาที่กำหนด (กสค)๒.๒ ครม. มีข้อมูลการติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและมติ ครม. เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจ๒.๒.๑ จำนวนประมวลมติ ครม. ที่มีรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายและมติ ครม. อย่างครบถ้วน ที่ปรับปรุงหรือจัดทำขึ้นใหม่แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (กพต.)๒.๒.๒ ร้อยละความพึงพอใจที่มีต่อประมวลมติ ครม. (กพต.)กลยุทธ์๑) พัฒนาฐานข้อมูลการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและมติ ครม.๒) พัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและมติ ครม.๓) พัฒนากลไกผู้ประสานงาน ครม. และรัฐสภา (ปคร.)๔) พัฒนาองค์ความรู้ในการติดตามผลการดำเนินการตามมติ ครม.๕) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทันต่อเหตุการณ์ และก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นยุทธศาสตร์ที่ ๓การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเกี่ยวกับราชการในพระองค์เป้าประสงค์ตัวชี้วัด๓.๑ การปฏิบัติงานเกี่ยวกับราชการในพระองค์เป็นไปตามโบราณประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติที่สมพระเกียรติ๓.๑.๑ จำนวนครั้งที่การปฏิบัติงานหน้าพระที่นั่งผิดพลาด (กอค.)๓.๑.๒ จำนวนครั้งที่การขอพระราชทานพระมหากรุณาในเรื่องต่างๆ ผิดพลาด (กอค.)๓.๑.๓ ร้อยละขององค์ความรู้ในการปฏิบัติงานด้านราชการในพระองค์ที่ปรับปรุงหรือจัดทำขึ้นใหม่แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (กอค.)กลยุทธ์๑) พัฒนาองค์ความรู้/คู่มือ/แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับราชการในพระองค์๒) พัฒนาระบบงานและฐานข้อมูลเกี่ยวกับราชการในพระองค์๓) พัฒนาเครือข่ายการประสานงานเกี่ยวกับราชการในพระองค์๔) พัฒนาบุคลากรด้านราชการในพระองค์ยุทธศาสตร์ที่ ๔การพัฒนากระบวนการเผยแพร่ข้อมูลสำคัญในราชกิจจานุเบกษาเป้าประสงค์ตัวชี้วัด๔.๑ ระบบงานราชกิจจานุบกษามีมาตรฐาน๔.๑.๑ จำนวนครั้งที่ไม่สามารถนำเรื่องประกาศในราชกิจจานุเบกษาบนเว็บไซต์ได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด (กรจ.-กอค.)๔.๑.๒ ร้อยละขององค์ความรู้หรือคู่มือการปฏิบัติงานที่ได้รับการพัฒนาหรือปรับปรุงแล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (กรจ.-กอค.)๔.๒ สลค. เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่กฎหมายและข้อมูลสำคัญ๔.๒.๑ ร้อยละของจำนวนกฎหมายและข้อมูลสำคัญที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ สลค. (กนธ., กบส., กรจ.-กอค.)๔.๓ ประชาชนรับรู้ข้อมูลสำคัญในราชกิจจานุเบกษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว๔.๓.๑ ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้ข้อมูลผ่านช่องทางที่เผยแพร่ เทียบกับปีก่อน (กบส., กรจ.-กอค.)กลยุทธ์๑) พัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบงานราชกิจจานุเบกษาให้มีประสิทธิภาพ๒) พัฒนาระบบและฐานข้อมูลกฎหมาย๓) พัฒนากระบวนการเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาให้รองรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป๔) พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะรองรับเทคโนโลยีในการเผยแพร่ยุทธศาสตร์ที่ ๕การพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานในภารกิจหลักที่เกี่ยวข้องเป้าประสงค์ตัวชี้วัด๕.๑ บุคลากรมีศักยภาพสูงและปฏิบัติงานได้ในทุกสถานการณ์ เอื้อต่อการพัฒนาองค์กร สลค. ในอนาคต๕.๑.๑ ร้อยละขององค์ความรู้ในการปฏิบัติงานที่ปรับปรุงหรือจัดทำขึ้นใหม่แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (สลธ., กบส., กพร.)๕.๑.๒ ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาในแต่ละปี เทียบกับบุคลากรทั้งหมด (กพร.)๕.๒ ระบบการบริหารจัดการและระบบงานมีมาตรฐานมีประสิทธิภาพและทันสมัย๕.๒.๑ ระดับความสำเร็จในการจัดทำแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management) (สลธ.)(๑) เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path)(๒) แผนการสืบทอดตำแหน่ง (Seccession Plan)(๓) แผนสร้างความผูกพันของบุคลากร สลค.๕.๒.๒ ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากร สลค. ที่มีต่อระบบบริหารงานบุคคล การสร้างเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพและความเป็นธรรมในองค์กร (สลธ.)๕.๒.๓ ร้อยละของความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนสร้างความผูกพันของบุคลากร สลค. (สลธ.)๕.๒.๔ ร้อยละของความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนชีวอนามัยความปลอดภัย (สลธ.)๕.๒.๕ ผลการประเมินเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) (กพร., สำนัก/กอง/กลุ่ม)๕.๒.๖ ร้อยละของความสำเร็จในการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลสำคัญที่ใช้การปฏิบัติภารกิจของ สลค. ตามเป้าหมายที่กำหนด (กบส.)๕.๒.๗ ร้อยละของความสำเร็จในการจัดหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (กบส.)๕.๓ การส่งเสริมธรรมาภิบาลต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ๕.๓.๑ ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส่ (ITA) (ศปท.,/สำนัก/กอง/กลุ่ม)กลยุทธ์๑) พัฒนาบุคลากรให้สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง/การพัฒนาในอนาคตและมีทักษะในการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง (พัฒนาอย่างต่อเนื่อง)๒) พัฒนาบุคลากรให้รองรับการเปลี่ยนแปลง (ทุกกลุ่มภารกิจ)๓) พัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล๔) พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพและทันสมัย๕) ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย และสนับสนุนการปฏิบัติงานได้ในทุกสถานการณ์๖) ส่งเสริมและพัฒนากลไกธรรมาภิบาลต่อต้านทุจริตและประพฤติมิชอบ
ภารกิจ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒ กำหนดให้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีภารกิจเกี่ยวกับราชการของคณะรัฐมนตรี การประสานราชการรัฐสภา การประสานราชการกับส่วนราชการในพระองค์ การประสานราชการกับกระทรวง กรมและหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ และภารกิจเกี่ยวกับประชาชน โดยพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร พัฒนาการออกกฎ ระเบียบ คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรีประสานการปฏิบัติตามนโยบายและมติคณะรัฐมนตรีตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำไปสู่การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ มุ่งผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ ๑. ดำเนินการเกี่ยวกับราชการของคณะรัฐมนตรี ๒. ประสานราชการกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เกี่ยวกับการดำเนินการเสนอและพิจารณาร่างกฎหมาย และเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ขอรับความยินยอม หรือความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา ตลอดจนเรื่องที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา เสนอมายังคณะรัฐมนตรี ๓. ประสานราชการกับส่วนราชการในพระองค์เกี่ยวกับภารกิจของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีที่จะต้องขอพระราชทานพระกรุณาตามกฎหมายหรือระเบียบประเพณี ๔. ประสานราชการกับกระทรวง กรม และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ๕. บริการและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการเกี่ยวกับงานในอำนาจหน้าที่แก่ประชาชน ๖. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายสำนักเลข
ทำเนียบผู้บริหารนายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส เลขาธิการคณะรัฐมนตรีนางอุดมพร เอกเอี่ยม รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนางสาวสาวิตรี ชำนาญกิจ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนายภูมินทร ปลั่งสมบัติ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนางประไพ ดำสะกุล รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสำนักเลขาธิการ
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทร 02 280 9000 โทรสาร 02 280 9046 อีเมล : saraban@soc.go.th