ตำแหน่งวิศวกรปิโตรเลียมปฎิบัติการ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
10 มีนาคม 2565
ผู้ชม 71 ผู้ชม
วิศวกรปิโตรเลียมปฎิบัติการ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
2 ความรู้เกี่ยวกับกระทรวงพลังงาน
3 แนวข้อสอบอังกฤษ Reading
4 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ การใช้ Grammar
5 ความรู้ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ PETROLEUM
6 ความรู้เกี่ยวกับปิโตรเลียม
7 แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับปิโตรเลียม อัตนัย
8 แนวข้อสอบวิศวกรปิโตเลียม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
9 พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550
10 กระบวนการผลิตปิโตรเลียม
11 ความรู้เกี่ยวกับกลศาสตร์ของไหล
12 เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
MP3-P067 - เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<
ประวัติกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จัดตั้งขึ้นตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการของรัฐบาลตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฏีกา เล่มที่ 119 ตอนที่ 99 ก ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ส่งผลให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สังกัดกระทรวงพลังงาน มีฐานะเป็นหน่วยงานหลักที่เป็นแกนนำในการส่งเสริม และเร่งรัดการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติในประเทศ และส่งเสริมความร่วมมือด้านการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างและรักษาความมั่นคงทางพลังงานของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ก่อนที่จะมีการปฏิรูประบบราชการเมื่อปี พ.ศ. 2545 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นหน่วยงานระดับกรม มีหน้าที่หลักในภารกิจสำคัญ ด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน ตลอดระยะเวลาแห่งการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2545 ได้ส่งเสริม สนับสนุน และเร่งรัดการจัดหาพลังงานด้วยการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติในประเทศพร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยความมุ่งมั่น
วิสัยทัศน์กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ บริหารจัดการแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพื่อสร้างและรักษาความมั่นคงทางพลังงานของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
พันธกิจกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ส่งเสริมให้มีการสำรวจ ผลิต และบริหารจัดการแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติแบบ บูรณาการโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรมองค์กร กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ทำงานประสานประโยชน์ มุ่งมั่น เต็มใจ โปร่งใส และรับผิดชอบ
ภารกิจภารกิจหลักของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และเร่งรัดการจัดหาพลังงาน โดยการส่งเสริมและเร่งรัดการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติในประเทศ จัดทำแผนการจัดหาเชื้อเพลิงธรรมชาติเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ บริหารจัดการก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เหลว (Liquefied Natural Gas) ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติทางเลือก ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ถ่านหินที่นำเข้ามาเพื่อใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าให้ได้ตามมาตรฐานสากล และส่งเสริมความร่วมมือด้านการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น
ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี วาระแรก 2 ปี พ.ศ. 2564 – 2565 ซึ่งประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ และอำนาจหน้าที่ ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของกระทรวงพลังงาน ในด้านการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน และการส่งเสริมการพัฒนา ผลิต และใช้พลังงานควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานการปฏิบัติราชการของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สามารถสอดรับและเป็นไปในทิศทางเดียวกับกระทรวง
แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี วาระแรก 2 ปี พ.ศ. 2564 – 2565 ชธ. ในแต่ละด้าน
ด้านที่ 1 สร้างความมั่นคงในการจัดหาเชื้อเพลิงธรรมชาติ จากแหล่งภายในประเทศและต่างประเทศแนวทางการพัฒนา 1 การประเมินศักยภาพปิโตรเลียมและขีดความสามารถการจัดหาปิโตรเลียมจากแหล่งภายในประเทศ 2 เร่งรัดให้มีการเปิดให้สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มโอกาส ในการพบแหล่งปิโตรเลียมใหม่ 3 ส่งเสริมการสำรวจและพัฒนาพื้นที่ในแปลงสำรวจปิโตรเลียมปัจจุบัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการพบปริมาณสำรองปิโตรเลียม 4 เตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการสัมปทานที่จะสิ้นอายุ 5 ส่งเสริมการสำรวจและผลิตในพื้นที่พัฒนาร่วมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และการแก้ไขปัญหาพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้าน 6 ส่งเสริมและผลักดันให้ภาคเอกชนเข้าไปลงทุนสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นระหว่างกัน อันจะก่อให้เกิดความร่วมมือด้านพลังงานในเชิงรุก 7 บริหารจัดการและแก้ไขปัญหาถ่านหินอย่างบูรณาการ ด้านที่ 2 ส่งเสริมการประกอบกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมให้มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแนวทางการพัฒนา 1 เตรียมการรื้อถอนสิ่งติดตั้งในการประกอบกิจการปิโตรเลียมอย่างปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2 พัฒนาองค์ความรู้และจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ช่วยยกระดับด้านการป้องกันและบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3 กระตุ้นและเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการมุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมเชิงป้องกัน ด้านที่ 3 มุ่งสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงในการกำกับกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแนวทางการพัฒนา 1 ปรับองค์กรเพื่อรองรับการกำกับดูแลภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต 2 เพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานและการให้บริการ โดยทบทวนปรับปรุงมาตรฐานกระบวนการทำงานของกรมฯ อย่างเป็นระบบ พร้อมพัฒนาระบบและดำเนินการติดตามประเมินผลกระบวนการอย่างต่อเนื่อง 3 ยกระดับฐานข้อมูลของกรมฯสู่การเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของประเทศ 4 บริหารอัตรากำลังให้มีความเหมาะสมกับภารกิจ โครงสร้าง พร้อมกับสรรหาและพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้บริหาร 5 เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้มีสมรรถนะ มีความสามารถตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ การเป็นผู้นำและการทำงานร่วมกันเป็นทีม และการถ่ายทอดความรู้เพื่อการพัฒนาองค์กร 6 การประเมินความคุ้มค่าและเสริมสร้างขีดความสามารถการดำเนินโครงการ กิจกรรมของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ด้านที่ 4 เสริมสร้างความเชื่อมั่นและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืนแนวทางการพัฒนา 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนและเครือข่ายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม หน้าที่และอำนาจ 1. บริหารจัดการการให้สัญญาหรือสัมปทานปิโตรเลียม การสำรวจ การผลิต การเก็บรักษา การขนส่ง การขาย และการจำหน่ายปิโตรเลียม รวมถึงการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม 2. กำหนดแนวทางการจัดหา การพัฒนา และการจัดการแหล่งปิโตรเลียม 3. วิเคราะห์ วิจัย และประเมินศักยภาพและปริมาณสำรอง และพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ 4. ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการนำเข้าและการซื้อขายก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เหลว (Liquefied Natural Gas) 5. ศึกษาและส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติทางเลือก และศึกษาและส่งเสริมการใช้ถ่านหินที่นำเข้ามาเพื่อใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าให้ได้ตามมาตรฐานสากล 6. กำหนดและกำกับดูแลมาตรฐานการดำเนินงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับงานเชื้อเพลิงธรรมชาติ 7. พิจารณาสิทธิ ประสาน และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อผูกพันต่อรัฐ รวมทั้งจัดเก็บค่าภาคหลวงและผลประโยชน์อื่นใดจากปิโตรเลียม 8. ประสานความร่วมมือในการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติในพื้นที่พัฒนาร่วม พื้นที่ทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น 9. บริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงธรรมชาติอื่น ๆ 10. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO)นายสมบูรณ์ วัชระชัยสุรพล ตำแหน่งปัจจุบัน: รองอธิบดี
ติดต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ อาคาร บี ชั้นที่ 21-22 เลขที่ 555/2 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900โทรศัพท์ 0-2794-3000โทรสาร 0-2794-3058อีเมล contact@dmf.go.th