ตำแหน่งนักวิชาการทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
10 มีนาคม 2565
ผู้ชม 71 ผู้ชม
นักวิชาการทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล
2 แนวข้อสอบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล
3 พระราชบัญญัติน้ำบาดาล 2520
4 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ.2520 และแก้ไขเพิ่มเติม
5 พรบ.ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
6 แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
7 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539
8 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
9 พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539
10 แนวข้อสอบ พรบ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตทางราชการ พ.ศ.2558
11 การสำรวจทรัพยากรธรณี
12 ความรู้เกี่ยวกับธรณีวิทยา
13 ถาม – ตอบ เกี่ยวกับธรณีวิทยา
MP3-P050 - เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<
ประวัติ การใช้น้ำของมนุษย์ในโลกเริ่มตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานบันทึกไว้ แต่ที่แน่นอนคือเริ่มต้นจากประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่แห้งแล้ง การนำน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์ในอดีตมีหลักฐานสิ่งก่อสร้างปรากฏให้เห็นจนถึงปัจจุบันในแถบเอเซียกลาง ทั้งในประเทศอียิปต์ และอิหร่าน ซึ่งมีมาตั้งแต่ประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่ Kanat ซึ่งเป็นระบบอุโมงค์ส่งน้ำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร ขุดขึ้นตามแนวชั้นหินหรือชั้นทรายที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำบาดาล โดยทำเป็นปล่องที่สามารถสูบหรือตักน้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้เป็นระยะ ๆ ตลอดความยาวของอุโมงค์ ตัวอุโมงค์มักเริ่มจากเชิงเขาไปตามความลาดเอียงของภูมิประเทศ น้ำบาดาลจะไหลตามความลาดเอียงของอุโมงค์เหมือนน้ำในลำคลอง ระบบ Kanat ที่เมืองเตหะรานยาว 8-16 ไมล์ ลึกที่สุดประมาณ 150 เมตร สามารถใช้ทำกสิกรรมและอุปโภคบริโภคสำหรับคนถึง 275,500 คน ระบบ Kanat เมืองดิชฟุล ขุดไปตามแนวสันทรายใต้ดินลอดใต้ตัวเมือง อาคารบ้านเรือน และพื้นที่กสิกรรมทำให้เกิดระบบถ่ายเทความร้อนและได้รับความเย็นชุ่มชื่นจากอุโมงค์ส่งน้ำในฤดูร้อน ระบบ Kanat ในอียิปต์สร้างโดยพลเรือนเอกไชลอกช์ เพื่อการชลประทานในพื้นที่ 1,800 ตารางไมล์ โดยการขุดอุโมงค์เข้าไปในชั้นหินทรายได้น้ำบาดาลจากแนวรอยเลื่อนของหิน การพัฒนาน้ำบาดาลระบบ Kanat เป็นการดำเนินการด้วยวิธีการขุดทั้งสิ้น การพัฒนาน้ำบาดาลโดยการเจาะเริ่มต้นครั้งแรกในประเทศจีนประมาณปี พ.ศ.1669 เครื่องเจาะเครื่องแรกประกอบด้วย ไม้และไม้ไผ่ โดยใช้ไม้ไผ่เป็นก้านเจาะและท่อกรุการทำงานของเครื่องเจาะใช้หลักการแบบเจาะกระทุ้งโดยใช้แรงคน สามารถเจาะได้ลึกประมาณ 1,500 เมตร โดยใช้เวลาในการเจาะบ่อดังกล่าวถึง 3 ช่วงอายุคน ต่อมาในปี พ.ศ. 2421 จึงมีการประดิษฐ์เครื่องเจาะแบบใช้เครื่องจักรไอน้ำแทนแรงคนขึ้นในสหรัฐอเมริกา จากนั้นก็มีการดัดแปลงแก้ไขปรับปรุงทั้งเครื่องเจาะ วิธีการเจาะเรื่อยมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เครื่องเจาะกระทุ้ง (Churn drill) เครื่องเจาะสว่าน (Auger drill) เครื่องเจาะฉีด (Jet drill) เครื่องเจาะกระแทก (Percussion drill) เครื่องเจาะหมุน (Rotary drill) เครื่องเจาะหมุนกลับ (Reverse rotary drill) ฯลฯ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน สำหรับด้านวิชาการน้ำบาดาลที่เกี่ยวกับทฤษฎี การเกิด การกักเก็บ และพฤติกรรมต่าง ๆ ของน้ำบาดาลเกิดขึ้นมาในภายหลัง โดยในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 มีแนวคิดของนักปรัชญาโรมัน และกรีก เกี่ยวกับกำเนิดของน้ำบาดาลค่อนข้างจะแปลกประหลาดพิลึกพิลั่น เช่น น้ำพุเกิดจากน้ำทะเลที่ไหลผ่านเข้าไปใต้ภูเขาเป็นลำธารใต้ดิน และมีสิ่งที่ช่วยกรองให้น้ำเค็มกลายเป็นน้ำจืดแล้วปล่อยออกมาเป็นน้ำพุ หรือในประเทศเยอรมนีมีความเชื่อว่าโลกเป็นสัตว์มหึมาที่ดูดกลืนน้ำทะเลเข้าไปแล้วคายออกมาเป็นน้ำพุ
ตอนปลายของศตวรรษที่ 17 เริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของอุทกธรณีวิทยาและวัฏจักรของน้ำ มีการตั้งทฤษฎีต่าง ๆ โดยอาศัยหลักฐานข้อมูล และการคำนวณตัวเลขที่ได้จากการทดลอง ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีการวางรากฐานวิชาธรณีวิทยาขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับ อุทกธรณีวิทยา การกำเนินและการเคลื่อนไหวของน้ำบาดาล ระหว่างปี พ.ศ. 2346-2401 Henry Darcy ได้เป็นผู้ให้กำเนิด Darcy's lawซึ่งเป็นรากฐาน ของวิชาการน้ำบาดาลที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 มีการเจาะบ่อบาดาลได้น้ำพุในประเทศฝรั่งเศส จึงทำให้มีผู้สนใจเกี่ยวกับวิชาการน้ำบาดาล มากขึ้นอย่างกว้างขวาง
การพัฒนาน้ำบาดาลภายในประเทศ การใช้น้ำบาดาลในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานบันทึกไว้อย่างแน่ชัดเช่นกันการตั้งชุมชนของคนไทยในสมัยโบราณส่วนใหญ่มักอยู่ในบริเวณที่ ราบลุ่มใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง อันเป็นแหล่งกักเก็บน้ำผิวดินตามธรรมชาติในอดีตประชากรของประเทศยังมีปริมาณไม่มากนัก จึงมีแหล่งน้ำผิวดินเพียงพอที่จะใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรมได้ในทุกฤดูกาล ประกอบกับประเทศไทยเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกชุก ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ แม้จะมีฝนตกเฉพาะในช่วงฤดูฝนและไม่มีฝนตกในช่วงฤดูแล้ง แต่แหล่งกักเก็บน้ำผิวดินก็ยังเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรมในแต่ละปี แต่ก็มีชุนของคนไทยบางส่วนที่ไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำผิวดิน หรือแม้จะตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำผิวดินแต่ก็มีขนาดเล็กไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เพียงพอที่จะใช้ได้ตลอดฤดูแล้ง จึงมีการขุดบ่อบาดาลโดยอาศัยแรงคน โดยบ่อขุดในสมัยโบราณจะเป็นบ่อน้ำรูปสี่เหลี่ยม มีการกรุรอบบ่อด้วยไม้กระดานหรือการน้ำก้อนหินมาเรียงบริเวณขอบบ่อเพื่อกันดินพัง บางแห่งก็ไม่มีการกรุบ่อเลยเนื่องจากเป็นการขุดบ่อใช้ชั่วคราวในช่วงหน้าแล้งที่ขาดน้ำเท่านั้น ความลึกของบ่อขุดขึ้นอยู่กับระดับน้ำบาดาลในบริเวณนั้นว่าลึกเท่าใด การพัฒนาน้ำบาดาลของประชาชนคนไทยในเบื้องต้นจึงเป็นการพัฒนาน้ำบาดาลระดับตื้นโดยการขุดเท่านั้น ต่อมาประเทศไทยได้พัฒนาประเทศด้านสาธารณสุขสำหรับประชาชนให้ดีขึ้น โดยมีนโยบายหนึ่งก็คือการมีส้วมซึมทุกหลังคาเรียนในชุมชนทุกชุมชน การทำส้วมซึมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แหล่งน้ำบาดาลระดับตื้นในชุมชนต่าง ๆ เสียไป เนื่องจากการปนเปื้อนของสิ่งปฏิกูลจากการขับถ่ายของมนุษย์ ภายหลังจึงเกิดภาพที่ประชาชนไปเข็นน้ำจากบ่อขุดตามท้องไร่ท้องนาที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากชั้นน้ำไม่ได้ถูกปนเปื้อนจากส้วมซึม
วิสัยทัศน์ (Vision) “มุ่งสู่การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล เชิงพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงด้านน้ำและการใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน ภายในปี 2580”
พันธกิจ (Mission) 1 สำรวจ พัฒนา ประเมินศักยภาพ อนุรักษ์ ฟื้นฟู เพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างสมดุลและยั่งยืน 2 กำกับ ควบคุม การประกอบกิจการน้ำบาดาล รวมทั้งปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ำของทุกภาคส่วน 3 เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กร พัฒนาระบบ กลไก ฐานข้อมูลและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล 4 บูรณาการและสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)ยุทธศาสตร์ที่ 1 สำรวจและผลิตน้ำต้นทุนเพื่อตอบสนองความต้องการน้ำด้านอุปโภคบริโภค เกษตร อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการเป้าประสงค์ มีน้ำบาดาลที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ เพื่อการอุปโภคบริโภค ตลอดจนเพื่อสนับสนุน ภาคการผลิต ทั้งอุตสาหกรรม เกษตร ท่องเที่ยวและบริการกลยุทธ์/มาตรการรองรับ พัฒนาน้ำบาดาล ทำแผนความต้องการใช้น้ำบาดาล เพื่อการอุปโภคบริโภค การผลิต ทั้งด้านเกษตร อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวและบริการ ที่พร้อมเผยแพร่ต่อสาธารณะชน โดยดำเนินการ ดังนี้ 1 เร่งจัดทำแผนพัฒนาการใช้ประโยชน์ของน้ำบาดาลเชิงรุกแบบองค์รวม เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ภาคการผลิต ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ 2 เร่งรัดพัฒนาน้ำบาดาลและระบบประปาบาดาลในพื้นที่เป้าหมายให้ครบถ้วน ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลเป้าประสงค์ 1 เสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาบุคลากร 2 บริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 3 บังคับใช้กฎหมายตามหลักธรรมาภิบาล 4 เสริมสร้างขวัญและกำลังใจ ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูล อันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน 5 มีบทลงโทษต่อผู้กระทำความผิดและขัดขวางการดำเนินนโยบายของรัฐบาล
กลยุทธ์/มาตรการรองรับ คุ้มครองพื้นที่น้ำบาดาล และมาตรการเชิงรับ เน้นการพัฒนาบุคลากร และ การจัดการความรู้ พัฒนาระบบฐานข้อมูล การมีส่วนร่วม สร้างแรงจูงใจ เพิ่มแนวทาง ใช้งบกองทุนฯ เผยแพร่ข้อมูล สถานการณ์น้ำบาดาล พัฒนากฎหมาย และเพิ่มการประชาสัมพันธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างขบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำบาดาล ทั้งระดับนโยบายระดับปฏิบัติ กลุ่มผู้ใช้น้ำบาดาล ภาคเอกชน ภาคประชาชน NGO และระดับลุ่มน้ำเป้าประสงค์ 1 บริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลในระดับลุ่มน้ำและจังหวัดมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อเป็นกลไกเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลให้เกิดประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 3 เสริมสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายน้ำบาดาลทั้งภายในประเทศ และนานาประเทศ ทั้งในและนอกภูมิภาค ระดับปฏิบัติ (หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำในระดับพื้นที่ลุ่มน้ำ 4 สร้างความเป็นผู้นำในประชาคมอาเซียนด้านน้ำบาดาล
กลยุทธ์/มาตรการรองรับ สร้างความเข้มแข็ง ทั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ และเครือข่ายระดับลุ่มน้ำ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการวิจัย และพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำบาดาลเป้าประสงค์ ประชาชนได้รับการบริการ และใช้ประโยชน์จากการบริหารจัดการทรัพยากร น้ำบาดาลได้อย่างเหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ 1 ประชาชนมีแหล่งน้ำสำรองเพิ่มขึ้นในภาวะวิกฤต 2 เพื่อให้มีระบบสารสนเทศที่ทันสมัย และเหมาะสมกับการใช้งานในทุกระดับ 3 เพื่อให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อันทันสมัยและจำเป็นต่อการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำบาดาล และให้บริการน้ำบาดาล อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์/มาตรการรองรับ ศึกษา สำรวจ ประเมินศักยภาพ พัฒนา อนุรักษ์ฟื้นฟู กำกับดูแล ควบคุมและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล
อำนาจหน้าที่ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลอำนาจหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พ.ศ. 2551 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1 เสนอแนะนโยบาย แผน มาตรการบริหารจัดการ พัฒนา อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล 2 ควบคุม กํากับ ดูแล เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำบาดาลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล 3 ดําเนินการสํารวจประเมินศักยภาพ การพัฒนา การอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาลรวมทั้งการส่งเสริมการใช้ประโยชน์น้ำบาดาล และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4 ติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบการบริหารจัดการ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล และผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาทรัพยากรน้ำบาดาล 5 ศึกษา วิจัย และพัฒนากำหนดมาตรฐาน เทคโนโลยีใหม่ด้านน้ำบาดาล เพื่อการบริหารจัดการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล 6 เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำบาดาล 7 ตรวจสอบ วิเคราะห์คุณภาพน้ำบาดาลเพื่ออุปโภคบริโภค เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม 8 ดำเนินการและสนับสนุนเกี่ยวกับการเจาะและพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนการอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และการเกษตรในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย และพื้นที่ที่การหาแหล่งน้ำบาดาลที่ต้องใช้วิชาอุทกธรณีวิทยาขั้นสูง และพื้นที่ประสบภัยพิบัติธรรมชาติ 9 บริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลเพื่อเตรียมความพร้อมในภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งการแก้ไขและบรรเทาปัญหาวิกฤตภัยธรรมชาติทั้งภัยแล้ง และน้ำท่วม 10 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
หน้าที่ความรับผิดชอบกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ●เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่หัวหน้าส่วนราชการในกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ ● ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ ในกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ● ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลาง ต่าง ๆ และหน่วยงานภายในกรมทรัพยากรน้ำบาดาลกลุ่มตรวจสอบภายใน ● ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลกลุ่มนิติการ ● ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ● ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ● ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ● ให้คำปรึกษา แนะนำแก่บุคลากรและหัวหน้าส่วนราชการในกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบภาครัฐต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจการของกรมทรัพยากรและปฏิบัติงานร่วมกับส่วนราชการในกรมทรัพยากรน้ำบาดาลและหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องสำนักบริหารกลาง ● ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณ และงานช่วยอำนวยการของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ● ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคาร สถานที่และยานพาหนะของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ● ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การพัฒนาข้าราชการ การเสริมสร้าง วินัย และรักษาระบบคุณธรรมของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ● ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูล กิจกรรม ความรู้ ความก้าวหน้า และผลงาน ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ● ดำเนินการอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลกองแผนงาน ● จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการ อนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำบาดาล ● จัดทำแผนงานโครงการพัฒนาน้ำบาดาล ● ประสานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล ● ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทรัพยากรน้ำบาดาล ● จัดระบบการสำรวจ การเก็บและการใช้ประโยชน์ข้อมูลของหน่วยงานในสังกัดและเป็นศูนย์ข้อมูลและระบบสารสนเทศของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ● พัฒนาข้อมูลและระบบสารสนเทศทรัพยากรน้ำบาดาล และให้บริการ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำบาดาลสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ● ควบคุมการใช้ทรัพยากรน้ำบาดาลให้เป็นไปตามแผนการใช้ทรัพยากรน้ำบาดาลแห่งชาติและแผนการจัดสรรทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างยั่งยืน ● กำกับ ดูแล การประกอบกิจการน้ำบาดาล ตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล ● ฝึกอบรมผู้ควบคุม รับผิดชอบการเจาะน้ำบาดาลและการอุดกลบบ่อน้ำบาดาล ● ปฏิบัติภารกิจในการจัดให้มีการจดทะเบียนช่างเจาะน้ำบาดาลและผู้รับเหมาเจาะน้ำบาดาล รวมทั้งดำเนินการเพื่อออกหนังสือรับรองให้วิศวกรและนักธรณีวิทยา ● บริหารจัดการกองทุนน้ำบาดาล รวมทั้งบริหารโครงการต่าง ๆ ในกองทุนน้ำบาดาลสำนักพัฒนาน้ำบาดาล ● เสนอแนะแผนงานและพัฒนากิจการน้ำบาดาล ● ศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีด้านการพัฒนาน้ำบาดาล ● พัฒนาและจัดทำมาตรฐาน ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ และคู่มือด้านการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำบาดาล ● ฝึกอบรม ถ่ายทอด และเผยแพร่ความรู้เทคนิคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาน้ำบาดาล ● ให้การสนับสนุนและคำปรึกษาด้านวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาน้ำบาดาลสำนักสำรวจและประเมินศักยภาพน้ำบาดาล ● สำรวจและทำแผนที่อุทกธรณีวิทยา ● สำรวจธรณีฟิสิกส์ และภาพถ่ายทางอากาศ และดาวเทียม ● ดำเนินการเกี่ยวกับการสำรวจและประเมินศักยภาพน้ำบาดาลเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการสำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล ● เสนอแนะมาตรการเกี่ยวกับการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล ● เฝ้าระวังระดับน้ำและคุณภาพน้ำบาดาล ● ป้องกันและแก้ไขวิกฤตน้ำบาดาล และผลกระทบต่อแหล่งน้ำบาดาลและสิ่งแวดล้อม ● ศึกษา วิจัย การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล ● ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ เพื่ออุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม
ทำเนียบผู้บริหารนายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลนายสวัสดิ์ อั้นเต้ง รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลนายกุศล โชติรัตน์ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลนายสิทธิศักดิ์ มั่นอยู่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและแผน (งานทรัพยากรน้ำบาดาล)นางสาววรีวสยา สินธุเดชะ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและแผน (งานทรัพยากรน้ำบาดาล)นายประกอบ อยู่คง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน วิจัยและพัฒนาทรัพยากรน้ำบาดาล
เลขที่ 26/83 ซอยท่านผู้หญิงพหล (ซอยงามวงศ์วาน 54) ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900โทร 02 666 7000 โทรสาร 02 666 7055 อีเมล์: webmaster@dgr.mail.go.th Call Center 1310 กด 4