ตำแหน่งวิศวกร 4 (แหล่งน้ำ) การประปาส่วนภูมิภาค
10 มีนาคม 2565
ผู้ชม 197 ผู้ชม
วิศวกร 4 (แหล่งน้ำ) การประปาส่วนภูมิภาค
1 ความรู้เกี่ยวกับการประปาส่วนภูมิภาค
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับการประปาส่วนภูมิภาค
3 ข้อสอบ-ข่าว-และเหตุการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับการประปาส่วนภูมิภาค
4 ความสามารถทางด้านเหตุผล
5 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
6 ความสามารถในด้านการวิเคราะห์และสรุปเหตุผล
7 การจำแนกดิน Soil Classification
8 การสำรวจชั้นดิน Soil Mechanics
9 ถาม - ตอบ การจัดการดินและน้ำ
10 ถาม – ตอบ ปัญหามลพิษทางน้ำ
11 ความรู้เกี่ยวกับอุทกวิทยา
12 แนวข้อสอบความรู้อุทกวิทยา
13 เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
MP3-P050 - เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<
เกี่ยวกับ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)เกี่ยวกับ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)
ภารกิจขององค์กร 1. สำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบและ จัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบ (Conducting surveys,providing sources of the water and procuring raw water for production) 2. ผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปา ทั่วประเทศยกเว้นกรุงเทพฯ,นนทบุรี และสมุทรปราการ (Producing ,delivering and distributing water supply across the country except ฺBangkok Metropolitan area Nonthaburi and Samut Prakan Province.) 3. ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ต่อเนื่องกับธุรกิจการประปา (Undertaking other businesses related to or in continuation with the water supply business.)
วิสัยทัศน์ของ กปภ. มุ่งสู่องค์กรที่เป็นเลิศและยั่งยืน ด้านการให้บริการและบริหารจัดการน้ำประปา (Leading to be a high performing and sustainable organization with excellent waterworks services)
ค่านิยมองค์กร มุ่ง - มั่น - เพื่อปวงชน
วัฒนธรรมองค์กร มุ่งมั่นพัฒนางาน บริการด้วยหัวใจ ก้าวไกลสู่สากล
พันธกิจ กปภ. เป็นหน่วยงานที่ให้บริการน้ำประปาตาม พ.ร.บ. กปภ. พ.ศ. 2522 โดยคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและสุขอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญ พันธกิจหลักของ การประปาส่วนภูมิภาค มี 5 ประการ ได้แก่ 1. ผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปาที่มีคุณภาพ อย่างเพียงพอและทั่วถึง 2. สำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบ 3. จัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบ เพื่อใช้ในการผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปา 4. ส่งเสริมธุรกิจการประปา 5. ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับ หรือต่อเนื่องกับธุรกิจการประปา
วัตถุประสงค์หลักขององค์กร 1. สำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบ และจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบ เพื่อใช้ในกิจการประปา 2. ผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปาทั่วประเทศในส่วนภูมิภาค และดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับธุรกิจการประปา 3. ให้บริการและอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการขอติดตั้งประปาให้แก่ประชาชน 4. ขยายเขตจำหน่ายน้ำประปาเพื่อให้ประชาชนมีน้ำประปาใช้อย่างทั่วถึง
ค่านิยมองค์กร (Values)มุ่ง หมายถึง มุ่งเน้นคุณธรรม : 1. ปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม 2. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและโปร่งใส 3. ปกป้องรักษาผลประโยชน์ขององค์กรมั่น หมายถึง มั่นใจคุณภาพ : 4. ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด 5. มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อความสำเร็จ 6. ทำงานเป็นทีม 7. แบ่งปันทักษะช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน 8. พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อปวงชน หมายถึง เพื่อสุขของปวงชน : 9. ตั้งใจรับฟังลูกค้า 10. สร้างความประทับใจให้ลูกค้าตลอดเวลา 11. มีจิตสาธารณะ
โอกาส 1. สามารถให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในกิจการต่างๆ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการประปาส่วนภูมิภาคเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการลงทุน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการที่รวดเร็วกว่าและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้เอกชนมาร่วมดำเนินงานกับรัฐ 2. มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงได้รับความเชื่อถือจากผู้ใช้น้ำในด้านประสิทธิภาพ และคุณภาพของน้ำประปามากกว่าน้ำประปาที่ผลิตโดยเอกชนรายย่อย หรือที่ผลิตโดยประปาส่วนท้องถิ่น 3. สามารถแตกแขนงกิจการได้ เช่น ก่อตั้งบริษัทร่วมลงทุนในการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด หรือขายส่งน้ำดิบให้อุตสาหกรรม เป็นต้น 4. รัฐบาลให้การสนับสนุนและส่งเสริมการกระจาย อุตสาหกรรมภาคต่างๆ ไปยังส่วนภูมิภาค ทำให้มีความต้องการน้ำประปาสูงขึ้นในภูมิภาคต่างๆ 5. รัฐบาลมีนโยบายในการสนับสนุนเงินงบประมาณ เพื่อการจัดหาน้ำสะอาดไปสู่ภูมิภาค และ พื้นที่ชนบทเพิ่มมากขึ้น 6. การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกิดความขยายตัวของชุมชนเมืองมากขึ้น ดังนั้น ความต้องการใช้น้ำอุปโภค บริโภค จึงเพิ่มสูงขึ้น
ข้อจำกัด 1. พื้นที่ในความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาค เป็นพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่กระจัดกระจายและห่างไกลกัน ทำให้ต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงาน และการลงทุนในการวางท่อและสรรหาแหล่งน้ำ 2. ฐานะการเงินของ กปภ. มีขีดจำกัด ทำให้ขยายงานไม่ได้ตามความต้องการของประชาชน การอุดหนุนงบประมาณจากรัฐบาลก็ยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้เอกชนเข้ามาดำเนินการในบางกิจกรรม 3. บุคลากรเฉพาะด้าน มีไม่เพียงพอกับการดำเนินงานตามแผน เนื่องจากอัตราค่าจ้างไม่จูงใจ มีระบบค่าตอบแทนต่ำ 4. ปริมาณน้ำสูญเสียในเกณฑ์สูงเนื่องจากการปรับเปลี่ยนท่อเก่า หรือวางท่อใหม่ในชุมชนจ่ายน้ำเดิมไม่สามารถดำเนินการได้ในคราวเดียวกัน จำเป็นต้องทยอยเปลี่ยนเพื่อให้มีผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำเดิมน้อยที่สุด กระบวนการลดน้ำสูญเสียจำเป็นต้องมีมาตรการตรวจสอบและแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นภาระหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการประปาที่มีท่อเก่าเป็นจำนวนมากหรือมีจำนวนพนักงานไม่พอกับการบำรุงรักษาท่อจ่ายน้ำ 5. อัตราค่าน้ำประปาปัจจุบันต่ำกว่าต้นทุน และยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นไปตามปัจจัยแวดล้อมที่แท้จริง 6. การดำเนินงานของการประปาส่วนภูมิภาคไม่คล่องตัว เนื่องจากมีกฏระเบียบที่ใช้ปฏิบัติเช่นเดียวกับภาคราชการ 7. ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมและจัดสรรการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ แหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน ทำให้แหล่งน้ำเหล่านั้น มีปริมาณ และคุณภาพด้อยลง รวมทั้งหายากขึ้นในอนาคต 8. ประชาชนขาดความเข้าใจในงานบริการขององค์กรที่มีภารกิจสองด้าน คือ การบริการสังคมที่เน้นความผาสุกของประชาชน กับการบริการเชิงธุรกิจที่ต้องจัดการให้สามารถเลี้ยงตนเอง รวมทั้งขยายกิจการในอนาคต
คณะกรรมการ กปภ.นายธนาคม จงจิระ ประธานกรรมการ
กรรมการนายพรพจน์ เพ็ญพาส กรรมการโดยตำแหน่ง (อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง)นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย กรรมการโดยตำแหน่ง (อธิบดีกรมอนามัย)พลเอก พงษ์สวัสดิ์ พรรณจิตต์ กรรมการอื่นพลเอก กู้เกียรติ ศรีนาคา กรรมการอื่นพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ กรรมการอื่นนายวิษณุ ตัณฑวิรุฬห์ กรรมการอื่นนายธิบดี วัฒนกุล กรรมการอื่น (ผู้แทนกระทรวงการคลัง)
กรรมการและเลขานุการนายสมบูรณ์ สุนันทพงศ์ศักดิ์ ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค
ที่ทำการ72 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210เว็บไซต์ http://www.pwa.co.th