7721897

ตำแหน่งกลุ่มตำแหน่งรัฐศาสตร์ กองทัพไทย

หมวดหมู่สินค้า: ข้อสอบ

10 มีนาคม 2565

ผู้ชม 126 ผู้ชม

กลุ่มตำแหน่งนิติศาสตร์ กองทัพไทย
1 ความรู้เกี่ยวกับกองบัญชาการกองทัพไทย
2 แนวข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์
3 แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย
4 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
5 สาระสำคัญของประชาคมอาเซียน
6 สรุปข่าวเด่น-ความรู้ทั่วไป-เกี่ยวกับสังคม-เศรษฐกิจ-การเมือง-
7 วิชาความรู้ทั่วไป (ภูมิศาสตร์, ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และการทหารของไทย)
8 แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
9 แนวข้อสอบกฎหมายอาญา
10 แนวข้อสอบวิธีพิจารณาความแพ่ง
11 แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
12 แนวข้อสอบกฎหมายเบื้องต้น
MP3- วิชาภาษาอังกฤษ

 

แนวข้อสอบ

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 <<


 

 
กองทัพไทยกองทัพไทย
ประวัติกองบัญชาการกองทัพไทย (Royal Thai Armed Forces Headquarters) เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ซึ่งแปรสภาพมาจากกองบัญชาการทหารสูงสุด (Supreme Command Headquater) มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการและกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทยในการเตรียมกําลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดําเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบมีที่ตั้งอยู่ เลขที่ 127 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้องเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
อนหน้า กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้จัดตั้งขึ้นมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกในช่วงปีพ.ศ.2483 เนื่องในกรณีพิพาทอินโดจีน-ฝรั่งเศส และในปีถัดมา จากการที่ไทยเข้าร่วมสงครามมหาเอเชียบูรพา เพื่อทําหน้าที่ด้านบัญชาการรบ ในแต่ละคราวจัดเป็นกองบัญชาการเฉพาะกิจโดยมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นสงครามแต่ละคราวแล้ว ทางราชการจึงได้ยุบกองบัญชาการทหารสูงสุดลง
ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รับการรื้อฟื้นอีกครั้งเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดํารงตําแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในวันที่ 27 กันยายนพ.ศ.2500 โดยมีกรมเสนาธิการกลาโหม กระทรวงกลาโหมทําหน้าที่เป็นส่วนบัญชาการของผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ทางราชการได้เล็งเห็นความจําเป็นในการจัดตั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นการถาวร เพื่อทำหน้าที่ในการเตรียมกำลังรบและป้องกันประเทศ จึงได้มีการแปรสภาพกรมเสนาธิการกลาโหมเป็นกองบัญชาการทหารสูงสุด พร้อมทั้งปรับปรุงและเพิ่มหน่วยงานต่ างๆ เพื่อให้ สามารถดำเนินได้อย่ างมีประสิทธิภาพตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2503
ในระยะเริ่มแรก กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายเสนาธิการ ฝ่ายกิจการพิเศษฝ่ายยุทธบริการ และฝ่ายการศึกษา ต่อมาได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปัจจุบันนี้กองบัญชาการทหารสูงสุดจึงได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ส่วน คือ ส่วนการบังคับบัญชาส่วนเสนาธิการร่วม ส่วนปฏิบัติการ ส่วนกิจการพิเศษ และส่วนการศึกษา
ใน พ.ศ. 2551 ได้มีการจัดส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมใหม่ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2551 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551ซึ่งตามมาตรา 17 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้แปรสภาพเป็นกองบัญชาการกองทัพไทย โดยเป็นส่วนราชการในกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ควบคุมอำนวยการ สั่งการ และกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทย ในการเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้รับผิดชอบ
ตราประจำหน่วยงาน เป็นรูปจักร มีสมอขัดในจักร ด้านซ้ายขวามีรูปปีกนกกางและล้อมรอบทั้งหมดนี้ด้วยช่อชัยพฤกษ์ จักร : เป็นสัญญาลักษณ์ของกองทัพบก สมอ : เป็นสัญญาลักษณ์ของกองทัพเรือ ปีกนกกาง : เป็นสัญญาลักษณ์ของกองทัพอากาศ ช่อชัยพฤกษ์ : แสดงความหมายว่า กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นหน่วยรวมการบังคับบัญชา อำนวยการและประสานกิจการของกองทัพทั้งสามไม่จํากัดขนาดและสี
ภารกิจ รับผิดชอบการวางแผน พัฒนาและดำเนินการเกี่ยวกับระบบควบคุมบังคับบัญชากองทัพไทย ให้สามารถติดต่อเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับรัฐบาล ระดับกระทรวง และหน่วยงานในกระทรวงกลาโหมตลอดจนการแบ่งมอบความรับผิดชอบในการดำเนินการให้กับกองทัพ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
อำนาจหน้าที่ กองบัญชาการกองทัพไทย มีหน้าที่ควบคุมอำนวยการ สั่งการและกำกับดูแล การดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทยในการเตรียมกำลังการป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
ค่านิยม R : Respect ความจงรักภักดีและการปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด T : Teamwork การปฏิบัติการร่วม A : Altruism การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม R : Responsibility ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานและสังคม  F : Faith การสร้างความเชื่อถือศรัทธา
คณะผู้บังคับบัญชาพลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด Chief of Defence Forcesพลเอก ปริพัฒน์ ผลาสินธุ์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (๑) Deputy Chief of Defence Forcesพลเอก ค ารณ เครือวิชฌยาจารย์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (๒) Deputy Chief of Defence Forcesพลเรือเอก ช่อฉัตร กระเทศ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (๓) Deputy Chief of Defence Forcesพลอากาศเอก สุทธิพันธุ์ ต่ายทอง รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (๔) Deputy Chief of Defence Forces
คณะผู้บังคับบัญชาพลเอก สุพจน์ มาลานิยม เสนาธิการทหาร Chief of Joint Staffพลเอก ธิติชัย เทียนทอง รองเสนาธิการทหาร (๑) Deputy Chief of Joint Staffพลเอก ฉลองชัย ชัยยะค า รองเสนาธิการทหาร (๒) Deputy Chief of Joint Staffพลเรือเอก เจริญพล คุ้มราษี รองเสนาธิการทหาร (๓) Deputy Chief of Joint Staffพลอากาศเอก ธนศักดิ์เมตะนันท์ รองเสนาธิการทหาร (๔) Deputy Chief of Joint Staff
แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ -แผนปฏิบัติราชการ ๓ ปี พ.ศ.๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ กองบัญชาการกองทัพไทย (ฉบับปรับปรุง) -แผนปฏิบัติราชการกองบัญชาการกองทัพไทย พ.ศ.๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ -แผนปฏิบัติราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ -แผนปฏิบัติราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ -แผนที่ยุทธศาสตร์ กองทัพไทย พ.ศ.๒๕๕๙ - ๒๕๖๒ -แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี กองทัพไทยและกองบัญชาการกองทัพไทย พ.ศ.๒๕๕๙ - ๒๕๖๒ -แผนปฏิบัติการการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กองบัญชาการกองทัพไทย ๔ ปี -แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กองทัพไทย และ กองบัญชาการกองทัพไทย พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑
ที่อยู่ 127 กองบัญชาการกองทัพไทย ถนน แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210โทรศัพท์ 0-2572-1234 ,0-2572-1227  แผนที่ https://goo.gl/maps/Yt8whbDFTan
 
 
Engine by shopup.com