7794276

ตำแหน่งครูอาชีวศึกษา ภาค ก

หมวดหมู่สินค้า: ข้อสอบ

10 มีนาคม 2565

ผู้ชม 173 ผู้ชม

แนวข้อสอบครูอาชีวศึกษา ภาค ก
1 สรุปข่าวเด่น-ความรู้ทั่วไป-เกี่ยวกับสังคม-เศรษฐกิจ-การเมือง
2 นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
3 แนวข้อสอบวัฒนธรรมและประเพณี
4 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
5 แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
6 แนวข้อสอบ พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
7 แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
8 แนวข้อสอบกฎหมาย พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
9 แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551
10 แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา พ.ศ.2551
11 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
12 แนวข้อสอบวินัยและการรักษาวินัย
13 แนวข้อสอบ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม
14 แนวข้อสอบจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพครู
15 แนวข้อสอบสมรรถนะวิชาชีพครู
MP3-P049 พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551

 

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 <<


 

 
 สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
ประวัติความเป็นมาเริ่มต้น แนวคิดการจัดการศึกษา อาชีพได้มีมาตั้งแต่ยุคสมัยที่ประเทศไทยเริ่มมีอาชีพหัตกรรมมากขึ้นนอกเหนือไปจากอาชีพ กสิกรรมการ อาชีวศึกษา เริ่มอย่างเป็นระบบเมื่อได้รับการบรรจุในโครงการศึกษา พ.ศ. 2441 เป็นการศึกษาพิเศษซึ่งหมายถึง การเรียนวิชา เฉพาะ เพื่อให้เกิด ความชำนาญ โดยในปี พ.ศ. 2452 การจัดการศึกษา ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โรงเรียน สามัญศึกษา สอนวิชา สามัญ และโรงเรียน วิสามัญศึกษาสอนวิชาเพื่อออกไปประกอบอาชีพ เช่น แพทย์ ผดุงครรภ์ ภาษาอังกฤษ พาณิชยการ ครู เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2453 ได้จัดตั้ง โรงเรียนอาชีวศึกษาแห่งแรก คือ โรงเรียนพาณิชยการที่วัดมหาพฤฒาราม และวัดราชบูรณะ ปี พ.ศ. 2456 จัดตั้งโรงเรียน เพาะช่าง และปี พ.ศ. 2460 จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม แผนการศึกษาแห่งชาติ ได้มีผลต่อการกำหนดการศึกษาอาชีพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2475 ได้กำหนดว่าวิสามัญศึกษา ได้แก่ การศึกษาวิชาชีพซึ่งจัดให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ เช่น กสิกรรม หัตถกรรม และพาณิชยการ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้สำหรับประกอบการเกษตรกรรมและ อุตสาหกรรม ต่าง ๆ และในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2479 ได้ ปรากฏคำว่า "อาชีวศึกษา" เป็นครั้งแรกในระบบการศึกษาของประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ อาชีวศึกษา ชั้นต้น กลาง และสูง รับนักเรียนจากโรงเรียนสามัญศึกษาของทุกระดับประโยค
พ.ศ. 2481ปี พ.ศ. 2481 พระราชกฤษฏีกาจัดวางระเบียบราชการในสังกัดกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบัน) ให้จัดตั้งกรมใหม่ขึ้น 2 กรม คือ 1. กรมสามัญศึกษา มีหน้าที่จัดการศึกษาสายสามัญ, 2. กรมวิชาการ มีหน้าที่จัดการศึกษาสายอาชีพ โดยแบ่งออกเป็น 4 กอง :      1. สำนักงานเลขานุการกรม,       2. กองตำรา      3. กองสอบไล่      4.กองอาชีวศึกษา ซึ่งกองอาชีวศึกษามีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดโรงเรียนอาชีวศึกษา
พ.ศ. 2484ปี พ.ศ. 2484 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 ซึ่งตราขึ้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2484 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ วันที่ 19 สิงหาคม 2484 กระทรวงธรรมการได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงศึกษาธิการ และตั้งกรมอาชีวศึกษาขึ้นแทนกรมวิชาการ ส่วนกองวิชาการเป็นกอง ๆ หนึ่งในกรมอาชีวศึกษา ดังนั้น กรมอาชีวศึกษา จึงได้ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2484การแบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 กอง คือ สำนักงานเลขานุการกรม กองโรงเรียน ทำหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินการโรงเรียนอาชีวศึกษา กองวิชาการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับหลักสูตรแบบเรียน ทะเบียน การสอบไล่ และการออกประกาศนียบัตร ช่วงระหว่างมหาสงครามเอเซียบูรพา การอาชีวศึกษาได้รับผลกระทบจากภัยสงคราม ก่อให้เกิดการขาดแคลนอุปกรณ์ การสอน นักเรียนต้องหลบภัย จำนวนครูและนักเรียนน้อยลง จนกระทั่งภาวะสงครามสงบลง รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น โดยในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2494 การอาชีวศึกษาได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษา ตอนปลาย และมัธยมอาชีวศึกษาชั้นสูง โดยในแต่ละระดับกำหนดเวลา เรียนไม่เกิน 3 ปีพ.ศ. 2495ปี พ.ศ. 2495 ได้มีพระราชกฤษฏีการจัดวางระเบียบราชการในกรมอาชีวศึกษา แบ่งส่วนราชการออกเป็น 7 กอง คือ 1. สำนักงานเลขานุการกรม 2. กองโรงเรียนการช่าง 3. กองโรงเรียนพาณิชย์และอุสาหกรรม  4. กองโรงเรียนเกษตรกรรม 5. กองวิทยาลัยเทคนิค 6.กองส่งเสริมอาชีพ และ 7. กองออกแบบและก่อสร้าง
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ.ดังกล่าวได้ริเริ่มจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคหลัก 4 แห่งทั่วประเทศ คือ       1. วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ (2495)       2. วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ - สงขลา (2497)       3. วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-นครราชสีมา (2499)      4.  และวิทยาลัยเทคนิคภาคเหนือ- เชียงใหม่(2500) พ.ศ. 2499ปี พ.ศ. 2499 การอาชีวศึกษาได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ โดยโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับมัธยมอาชีวศึกษา ตอนปลาย หลายแห่ง ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนในระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง และโรงเรียนอาชีวศึกษาชั้นสูงเฉพาะวิชาอีกหลายแห่ง ได้จัดตั้งขึ้น เพื่อรับนักเรียน ที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญเข้าศึกษาต่อ
พ.ศ. 2501ปี พ.ศ. 2501 กรมอาชีวศึกษาได้รับความช่วยเหลือจากองค์การ SEATO โดยมหาวิทยาลัยฮาวาย ในการปรับปรุง หลักสูตรตามโครงการฝึกช่างฝีมือ และฝึกกอบรมครูวิชาช่างก่อสร้าง ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ และช่างเชื่อมโลหะ โดยมีโรงเรียน การช่าง 18 แห่ง เข้าร่วมโครงการ ในระยะแรกแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 จำนวนนักเรียนอาชีวศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีที่ 1-3 มีจำนวน ลดลง แต่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 4 จำนวนนักเรียนในประเภทช่างอุตสาหกรรมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งต้องเปิด การเรียนการสอนใน 2 ผลัด
พ.ศ. 2508ปี พ.ศ. 2508 กรมอาชีวศึกษาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ในการก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิค ขอนแก่น โดยมหาวิทยาลัยฮาวาย ในการปรับปรุง หลักสูตรตามโครงการฝึกช่างฝีมือ และฝึกกอบรมครูวิชาช่างก่อสร้าง ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ และช่างเชื่อมโลหะ โดยมีโรงเรียน การช่าง 18 แห่ง เข้าร่วมโครงการ ในระยะแรกแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 จำนวนนักเรียนอาชีวศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีที่ 1-3 มีจำนวน ลดลง แต่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 4 จำนวนนักเรียนในประเภทช่างอุตสาหกรรมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งต้องเปิด การเรียนการสอนใน 2 ผลัด
พ.ศ. 2509ปี พ.ศ. 2509 ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การยูนิเซฟในการปรับปรุงโรงเรียนการช่างสตรี จำนวน 35 แห่ง ทั้งในด้านหลักสูตร การเรียนการสอนและครุภัณฑ์ โดยเฉพาะ
พ.ศ. 2510 ปี พ.ศ. 2510 กรมอาชีวศึกษาได้มีหน่วยงานโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา มีหน้าที่ประ สานงานระหว่างโรงเรียนในโครงการประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม รวม 25 แห่งกับกรมอาชีวศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2512ปี พ.ศ. 2512 ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศออสเตรีย ในการจัดตั้งโรงเรียนเทคนิคสัตหีบ จังหวัดชลบุรี สถานศึกษาหลายแห่งได้รับการพัฒนาและเปิดสอนจนถึงระดับ ปวส. โดยในปี พ.ศ. 2512 ได้รับการยกฐานะจาก โรงเรียนเป็น วิทยาลัย ซึ่งแห่งแรกคือวิทยาลัยพณิชยการพระนคร จนถึงปี พ.ศ. 2522 กรมอาชีวศึกษามีวิทยาลัยอยู่ในสังกัด จำนวน 90 แห่ง ในจำนวนสถานศึกษาทั้งสิ้น 159 แห่ง
พ.ศ. 2513ปี พ.ศ. 2513 รวมโรงเรียนการช่างสตรีและโรงเรียนการช่าง 4 จังหวัด คือ อ่างทอง ราชบุรี บุรีรัมย์ และพัทลุง ปี พ.ศ. 2514 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า โดยรวมวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี วิทยาลัย เทคนิค พระนครเหนือ วิทยาลัยโทรคมนาคม และวิทยาลัยช่างก่อสร้างในสังกัดกรมอาชีวศึกษาไปรวมเป็นสถาบัน และเปิดสอน ถึงระดับ ปริญญาตรี ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 217 พ.ศ. 2515 ให้โอนโรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ 36 แห่ง ของกรมอาชีวศึกษาไป กรมสามัญ
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 172 พ.ศ. 2515 ได้แบ่งส่วนราชการในสังกัดกรมอาชีวศึกษาออกเป็น 9 กอง คือ 1. สำนักงานเลขานุการกรม 2. กองวิทยาลัย  3. กองโรงเรียน  4. กองแผนงาน 5. กองการเจ้าหน้าที่ 6. กองคลัง 7. กองออกแบบและก่อสร้าง 8. กองบริการเครื่องจักรกล 9. หน่วยศึกษานิเทศก์ พ.ศ.2561-2520มีโครงการเงินกู้ ADB เพื่อพัฒนาวิทยาลัยเทคนิค 4 แห่ง (กรุงเทพ สงขลา เชียงใหม่ และ นครราชสีมา) ปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ พัฒนาครู และอาคารสถานที่ใน 6 สาขาวิชา คือ อิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า ก่อสร้าง เครื่องกล เทคนิคโลหะ และช่างยนต์
พ.ศ. 2518ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาขึ้นโดยแยกวิทยาลัย 28 แห่ง ออกจาก กรมอาชีวศึกษา เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี และได้โอนศูนย์ฝึกต่อเรือหนองคายของสำนักงานพลังงานแห่งชาติมาอยู่ในสังกัด กรมอาชีวศึกษา โดยเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอุตสาหกรรมต่อเรือหนองคาย
พ.ศ. 2519ปี พ.ศ. 2519 รวมโรงเรียนเทคนิค โรงเรียนอาชีวศึกษา โรงเรียนการช่างใน 65 วิทยาเขต และยกฐานะโรงเรียน เกษตรกรรม 12 แห่งเป็นวิทยาลัย
พ.ศ. 2520ปี พ.ศ. 2520 จัดตั้งโรงเรียนเกษตรกรรม 10 แห่ง ปี พ.ศ. 2521-2527 มีโครงการเงินกู้ธนาคารโลก จัดตั้งศูนย์ฝึกวิชาชีพ 12 แห่งในแต่ละเขตการศึกษา
พ.ศ. 2522-2523ปี พ.ศ. 2522-2523 พบว่ามีปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการดำเนินการแยกวิทยาเขตต่างๆ ออกเป็นอิสระ
พ.ศ. 2522ปี พ.ศ. 2522 ได้มีการโอนวิทยาลัยเกษตรเจ้าคุณทหารไปสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ประกาศใช้หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิาชีพเทคนิค (ปวท.) และจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาอาชีวศึกษา ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.) รับนักเรียนผู้จบมัธยมศึกษา ตอนปลาย โปรแกรมวิชาสามัญเข้าเรียนวิชาชีพ เป็นเวลา 2 ปี
พ.ศ. 2523ปี พ.ศ. 2523 ได้มี "พระราชกฤษฏีกาแบ่งส่วนราชการกรม อาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2523" กำหนดให้มี 10 หน่วยงาน ให้เกิดหน่วยงานใหม่จากเดิม คือ กองวิทยาลัย และกองโรงเรียนเป็นกองใหม่ คือ กองวิทยาลัยเกษตรกรรม, กองวิทยาลัยเทคนิค, กองวิทยาลัยอาชีวศึกษา
พ.ศ. 2524ปี พ.ศ. 2524 ได้ประกาศใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2524 ปี พ.ศ. 2527 ได้ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2527 และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค พ.ศ. 2527
พ.ศ. 2528 ปี พ.ศ. 2528 ส่งเสริมแนวคิด "การอาชีวศึกษา ครบวงจร" และได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานโครงการพิเศษ" เป็นหน่วยงานภายในมีหน้าที่ประสานงานกับสำนักงานโครงการพิเศษและ รับผิดชอบ งานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและงานพัฒนาชนบท และปี พ.ศ. 2530 ได้มีการจัดตั้ง "วิทยาลัยการอาชีพ" ในพื้นที่จังหวัด มุกดาหาร และแม่ฮ่องสอน โดยมีเป้าหมายที่จะจัดการศึกษาทุกประเภทวิชาชีพและทุกหลักสูตร ทั้งในและนอกระบบการศึกษา
พ.ศ. 2531ปี พ.ศ. 2531 รับความช่วยเหลือจากเยอรมันเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษาทวิภาคี
พ.ศ. 2532-2533ปี 2532-2533 UNDP ให้ความช่วยเหลือจัดตั้ง สถาบันพัฒนา ครูอาชีวศึกษา
พ.ศ. 2533ปี พ.ศ. 2533 รัฐบาลเดนมาร์กได้ให้ความช่วยเหลือเงินกู้ยืมเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษาเกษตร ตลอดจนประเทศอื่น ในแถบทวีปยุโรป เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ออสเตรีย อังกฤษ และอิตาลี ในการช่วยเหลือสถานศึกษาประเภทช่างอุตสาหกรรม นอกจากนี้หน่วยงานหรือองค์กรอื่นต่างประเทศที่ได้ให้ความช่วยเหลือ เช่น The United Nation Development Programme (UNDP) International Labour Organization (ILO), UNESCO เป็นต้น รวมถึงการได้รับความช่วยเหลือจากประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น คานาดา องค์กร CIDA และการได้รับอาสาสมัครจากออสเตรเลีย เยอรมนี ญี่ปุ่น และอังกฤษ ในการให้ความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อการ พัฒนา และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการด้านอาชีวศึกษา และในปี 2533 ได้ประกาศใช้หลักสูตรประกาศนียบัตร ครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.)
พ.ศ. 2533-2535ปี พ.ศ. 2533-2535 นี้มีผู้สนใจเรียนอาชีวศึกษามาก จึงจัดตั้งสถานศึกษาเพิ่ม 20 แห่ง พระราชกฤษฏีกาแบ่งส่วนราชการกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2535 ได้ถูกประกาศและกำหนด ใช้จนถึง ปัจจุบัน แบ่งส่วนราชการออกเป็น 11 หน่วยงาน โดยเพิ่มสถาบันพัฒนาครูอาชีวศึกษาเป็นหน่วยงานอิสระระดับกอง
พ.ศ. 2535-2539ปี พ.ศ. 2535-2539 ได้มีโครงการจัดตั้งวิทยาลัยเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 93 แห่ง เฉพาะโครงการจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพ ระดับ อำเภอ 60 แห่ง วิทยาลัยสารพัดช่าง 25 แห่ง และอีก 8 แห่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพไปสู่ท้องถิ่น สนับสนุน การพัฒนาชนบท เพื่อผลิตกำลังคนด้านวิชาชีพในระดับช่างกี่งฝีมือ และช่างเทคนิค ให้ตรงกับความต้องการ ของตลาด แรงงาน และสอดคล้องกับสภาพเศษฐกิจและสังคมของประเทศ
พ.ศ. 2536-2543ปี พ.ศ. 2536-2543 ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลญี่ปุ่น พัฒนาการผลิตกำลังคนสาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์ ที่วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ปี พ.ศ. 2537 มีโครงการเงินกู้กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (Overseas Economic Cooperation Fund, JAPAN) โดยได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2537 เพื่อพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ และ บุคลากร ในสถานศึกษา 20 แห่ง
พ.ศ. 2538ปี พ.ศ. 2538 กรมอาชีวศึกษาได้พัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ของกรมอาชีวศึกษาและการจัดการเรียน การสอนอาชีวศึกษาระบบทางไกล
พ.ศ. 2537-2539ปี พ.ศ. 2537-2539 ได้รับความ ช่วยเหลือ จากรัฐบาลเบลเยี่ยม พัฒนาการผลิตกำลังคน สาขาวิชาเทคนิค การผลิตและพัฒนสื่อการสอน
พ.ศ. 2540 ปี พ.ศ. 2540 การอาชีวศึกษา ได้รับความสนใจอย่างมากโดยรัฐบาลให้การสนับสนุน จัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพ 70 แห่ง วิทยาลัยเทคนิค 19 แห่ง และวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยว 2 แห่ง ในปัจจุบันได้มีพระราชกฤษฏีกาแบ่งส่วนราชการกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2) กำหนดให้ สถาบัน เทคโนโลยีปทุมวันเป็นส่วนราชการของกรมอาชีวศึกษา และกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กรมอาชีวศึกษาจัดและส่งเสริม การศึกษาวิชาชีพ ในระดับปริญญาตรี อนุปริญญา ประกาศนียบัตรหลักสูรระยะสั้นและหลักสูตรพิเศษ รวมถึงพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
พ.ศ. 2541ปี พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้สถาบันเทคโนโลยีปทุวันมีอำนาจจัดการศึกษาระดับ ปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี และสถานศึกษาที่จัดหลักสูตรระดับปริญญาหรือเทียบเท่า ได้แก่หลักสูตร ประกาศนียบัตรครูวิชาชีพชั้นสูง (ปทส.) และ ปริญญาตรี ในการเปิดสอนเป็นไปตามเกณฑ์ มหาวิทยาลัยกำหนด
พ.ศ. 2542 ปี พ.ศ. 2542 ได้รับโครงการเงินยืมจากรัฐบาลเดนมาร์กเพื่อพัฒนาอาชีวเกษตรตามโครงการปรับปรุงรูปแบบ โครงสร้างสถานศึกษาเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะปฏิบัติ และจัดหาเครื่องมือ-อุปกรณ์ เครื่องจักรกล และเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้แก่นักเรียน นักศึกษา ในการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงการ ขยายผลให้แก่ เกษตรกรท้องถิ่น ตลอดจนพัฒนาบุคลากร หลักสูตรการจัดอาชีวศึกษาเกษตร การพัฒนาอาชีวศึกษาได้พัฒนา เป็นลำดับ โดยพิจารณาถึงระบบการประกันคุณภาพอาชีวศึกษา การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การเทียบโอนหน่วยกิตสะสม การขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนและการพัฒนาบุคลากร ครู อาจารย์อาชีวศึกษา ตลอดจนการส่งเสริม ความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐและเอกชนรวมถึงต่างประเทศ
พ.ศ. 2546วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ความหมายของตราสัญลักษณ์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา-เสมาธรรมจักร หมายถึง ความดีงาม-บัลลังก์สิงห์ หมายถึง ความมั่นคง-ศิระประภา (รัศมีเปลวพระพุทธรูป) ใต้เสมาธรรมจักร หมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญา-ตัวเลข ๑ (ในรัศมีเปลว) หมายถึง ความล้ำเลิศแห่งปัญญา-ดอกบัวที่บานพ้นน้ำ (ด้านข้างทั้งสอง) หมายถึง การเกิดปัญญา-กนกเปลว (ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากเปลวไฟ) หมายถึง ความสว่างไสว โชติช่วงตลอดเวลา-อักษร ทุ.ส.นิ.ม. (ด้านล่างย่อมาจาก องค์ประกอบของอริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ-เส้นโค้งโดยรอบ มีอักษร “สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา” ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ความหมายรวมของตราสัญลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คือความล้ำเลิศทางปัญญาตั้งอยู่บนรากฐานที่มั่นคงและดีงาม โอบล้อมด้วยความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคและความสว่างไสวโชติช่วงของปัญญา ที่ได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
ผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษานายยศพล เวณุโกเศศ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษานายมณฑล ภาคสุวรรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษานายสง่า แต่เชื้อสาย ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
วิสัยทัศน์/พัทธกิจ/ยุทธศาสตร์ (ปีพ.ศ.2561 - ปีพ.ศ.2564)วิสัยทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นองค์กรผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ
พันธกิจ 1. จัดและส่งเสริมและพัฒนาการอาชีวศึกษา และการอบรมวิชาชีพ ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน มุ่งตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ 2. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานกำลังคนสายอาชีพสู่สากล 3. ขยายโอกาสทางการศึกษาสายอาชีพให้ทั่วถึง ต่อเนื่อง เสมอภาค และเป็นธรรม  4. เป็นแกนกลางในการจัดอาชีวศึกษาและอบรมวิชาชีพ ระดับฝีมือ เทคนิค และเทคโนโลยีของประเทศ 5. สร้างเครือข่ายความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ 6. วิจัย สร้างนวัตกรรม จัดการองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน 7. ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาให้มีศักยภาพสูงขึ้นและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ
ยุทธศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
อำนาจหน้าที่ สอศ. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดและส่งเสริมการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ โดยคำนึงถึงคุณภาพและความเป็นเลิศทางวิชาชีพ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. จัดทำข้อเสนอแนวนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับ 2. ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ 3. กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดงบประมาณและสนับสนุนทรัพยากร 4. พัฒนาครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา 5. ส่งเสริมประสานงานการจัดการอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชน รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และรูปแบบความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นและสถานประกอบการ 6. ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการจัดการอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 7. จัดระบบ ส่งเสริม และประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ 8. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและดำเนินการตามที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษามอบหมาย 9. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดังต่อไปนี้ -สำนักอำนวยการ -สำนักความร่วมมือ -สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา -สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา -สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา -สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ -สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. สำนักอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ -ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษางานเลขานุการของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประสานราชการ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป กิจการพิเศษการประชาสัมพันธ์และงานเผยแพร่การอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ และงานอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา -พัฒนาระบบงานและการบริหารงานบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา -ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การพัสดุ งานอาคารสถานที่ งบประมาณและสินทรัพย์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กำหนดและตรวจสอบมาตรฐานอาคาร งานออกแบบและก่อสร้าง รวมทั้งการประสานและส่งเสริมการดำเนินงานของสถานศึกษา -ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมวินัยและระบบคุณธรรม กฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายสำนักความร่วมมือ มีอำนานหน้าที่ดังต่อไปนี้ -พัฒนาระบบ รูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับความร่วมมือกับเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษา รวมทั้งติดตามและประเมินผล -ส่งเสริมและสนับสนุนเอกชนและสถานประกอบการให้จัดการอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรและมาตรฐานการอาชีวศึกษา รวมทั้งการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี -ส่งเสริมและพัฒนาระบบการสนับสนุนทรัพยากร และการจัดให้มีกองทุนอาชีวศึกษา -ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาองค์กรวิชาชีพ กลุ่มอาชีพ และสมาคมอาชีพ -ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย 3. สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา มีอำนานหน้าที่ดังต่อไปนี้ -ดำเนินการเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษาในภาพรวมของประเทศ -ส่งเสริมและประสานงานการติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -ให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริหารและการจัดการอาชีวศึกษา -ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย 4. สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา มีอำนานหน้าที่ดังต่อไปนี้ -จัดทำข้อเสนอนโยบาย แผนยุทธศาสตร์การอาชีวศึกษา และเป้าหมายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา -จัดทำข้อเสนอแนะหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสนับสนุนทรัพยากรและงบประมาณเพื่อการอาชีวศึกษา รวมทั้งการติดตามและประเมินผล -พัฒนาระบบข้อมูลเครือข่ายสารสนเทศและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการบริหารจัดการอาชีวศึกษา -ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิเทศสัมพันธ์ การประสานนโยบายและความร่วมมือทางการอาชีวศึกษากับองค์กรและหน่วยงานในและต่างประเทศ -ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย 5. สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา มีอำนานหน้าที่ดังต่อไปนี้ -จัดทำและประเมินมาตรฐานครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา พร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอแผนการพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา -ติดตามและประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา -ดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งประสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการฝึกอบรมและพัฒนาครู บุคลากรการอาชีวศึกษา และครูฝึกในสถานประกอบการด้านอาชีพ -วิจัยและพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ ผลิตและบริการเครื่องจักรกลและเทคโนโลยี พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา -สร้างและพัฒนารูปแบบการฝึกสมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษาและสร้างเครือข่ายการฝึกอบรมวิชาเรียน ครู และบุคลากรการอาชีวศึกษา -ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย 6. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ มีอำนานหน้าที่ดังต่อไปนี้ -วิจัยและพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการอาชีวศึกษาทุกระดับ -วิจัยและพัฒนามาตรฐานสื่อต้นแบบและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา -ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาระบบมาตรฐาน การแนะแนวการอาชีวศึกษา และอาชีพการกำหนดคุณวุฒิวิชาชีพ มาตรฐานวิชาชีพ การเทียบประสบการณ์และการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ -พัฒนาระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพในสถาบันการอาชีวศึกษา สถานศึกษารวมทั้งระบบการเรียนรู้ที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬากับการอาชีวศึกษา -ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย 7. สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา มีอำนานหน้าที่ดังต่อไปนี้ -วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษา เพื่อประกอบการเสนอแนะแนวนโยบาย แผนงาน โครงการ ความต้องการกำลังคนด้านอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ -วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเรียนการสอน และการบริหารจัดการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งติดตามและประเมินผล -ส่งเสริม ผลิต พัฒนา และเผยแพร่นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ทางการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการอาชีวศึกษาและคุณภาพของนักเรียน นักศึกษา       -รวบรวมการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำสารสนเทศงานการวิจัยอาชีวศึกษา -ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
ติดต่อ สอศ.ที่อยู่ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300เบอร์โทรศัพท์ : 0-2281-5555เบอร์โทรศัพท์ : 0-2062-5555เบอร์โทรสาร : 0-2282-0855ผู้ดูแลระบบ : webmaster@vec.go.th
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษาExcellent Center 3021
 
Engine by shopup.com