บทความน่าสนใจ วัด กับ ที่สาธารณประโยชน์
หมวดหมู่สินค้า: A310 สร้างศาลาการเปรียญ
03 มีนาคม 2565
ผู้ชม 198 ผู้ชม
รับเหมาออกแบบก่อสร้างวัด พระใหญ่ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ปั้นพญานาค พร้อมเซนต์ยื่นขออนุญาติงานบูรณะซ่อมแซม หลังคาพระอุโบสถ ประตูโขง หอระฆัง เมรุเผาศพ ศาลาการเปรียญ ศาลาวัด สร้างซุ้มประตู
ก่อสร้างพระใหญ่
ก่อสร้างโบสถ์วิหาร
ก่อสร้างเจดีย์
ปั้นพญานาค
ก่อสร้างประตูโขง
ก่อสร้างประตูโขง
ก่อสร้างหอระฆัง
ก่อสร้างเมรุเผาศพ
"วัด" กับ "ที่สาธารณประโยชน์"
"วัด" คือคำเรียกสถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนาของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ภายในวัด จะมี กุฏิ ซึ่งใช้เป็นที่อาศัยของ พระสงฆ์ อีกทั้งยังมี เจดีย์ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่างๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสองส่วนคือ พุทธาวาส และสังฆาวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฏิสงฆ์สำหรับพระภิกษุสงฆ์สามเณร จำพรรษา และส่วนที่เป็นฌาปนสถาน เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เป็นป่าช้าเดิม ปัจจุบันวัดไทยในชนบทยังคงเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชน ซึ่งต่างจากในเมืองใหญ่ที่วัดกลายเป็นเพียงสถานที่จำพรรษาของพระสงฆ์และเพื่อประกอบพิธีทางศาสนาเท่านั้น
"ที่สาธารณประโยชน์" หมายถึงที่ดินที่ทางราชการได้จัดให้หรือสงวนไว้เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันตามสภาพแห่งพื้นที่นั้น หรือที่ดินที่ประชาชนได้ใช้หรือเคยใช้ประโยชน์ร่วมกันมาก่อนไม่ว่าปัจจุบันจะยังใช้อยู่หรือเลิกใช้แล้วก็ตาม เช่น ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ ป่าช้าฝังและเผาศพ ห้วย หนอง ที่ชายตลิ่ง ทางหลวง ทะเลสาบ เป็นต้น ตามกฎหมายถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ผู้ใดจะเข้ายึดถือครอบครองเพื่อประโยชน์แต่เฉพาะตนนั้นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่ระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดและได้รับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ
ในปัจจุบันสังคมไทยมีความเจริญเติบโตด้านวัตถุและเทคโนโลยี แต่ด้านจิตใจกลับถดถอยลง คนขาดที่พึ่งและสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งสถานที่ที่คนนึกถึงเมื่อเกิดความไม่สบายใจคือ "วัด" เพราะคนไทยเชื่อว่า วัดและพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของสังคมไทย พระสงฆ์จะเป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน เป็นศูนย์กลางความเคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชน นอกจากนี้วัดยังเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมของชุมชน สร้างความสามัคคีในชุมชน
สิ่งที่คนจะปฏิบัติเมื่อเกิดความทุกข์หรือไม่สบายใจคือการทำบุญ และจะไปทำบุญที่วัดไหน นี่คือคำถามที่คิดว่าคนทำบุญคงมีคำตอบให้กับตนเองแล้ว เพราะเหตุผลของการจะไปทำบุญที่วัดไหนของคนบางคนอาจขึ้นอยู่กับความมีชื่อเสียง ความเชื่อ ความชอบ และความศรัทธา ในวัด เจ้าอาวาส หรือพระที่อยู่ภายในวัดที่เรานับถือ เมื่อมีคนไปทำบุญมากทำให้บริเวณวัดเกิดความคับแคบ ไม่สะดวกในการประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ทำให้ต้องมีการขยายเขตวัด หรือขยายสาขาของวัด ซึ่งการขยายสาขาวัด หรือตั้งวัดใหม่ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดจำเป็นต้องมี "ที่ดิน" เพื่อก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ซึ่งถ้าเป็นที่ดินในตัวเมืองอาจจะมี มูลค่าสูง นอกจากนั้นยังมีความคิดว่าการตั้งวัดต้องตั้งในที่ที่มีทรรศนียภาพสวยงาม ที่สงบ ร่มเย็น เพื่อเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้วัดบุกรุกเข้าไปตั้งในที่ป่าสงวนแห่งชาติ หรือที่สาธารณะ เพิ่มมากขึ้น
นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว ความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้มีการสร้างวัดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 หมวด 1 การสร้างวัด ข้อ 1[1] กำหนดให้ผู้ที่มีความประสงค์จะสร้างวัด ให้ยื่นคำขออนุญาตพร้อมหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองที่ดินที่จะยกให้สร้างวัด หมายความว่า การจะขอสร้างวัดได้ที่ดินที่จะเป็นที่วัดต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วแต่ในความเป็นจริงปัจจุบันมักจะหาผู้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินของตนเพื่อทำบุญในการใช้เป็นที่ตั้งวัดยากมากขึ้น จึงมีพระสงฆ์หรือชาวบ้านร่วมกันบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์เพื่อก่อสร้างวัดเป็นจำนวนมากในแทบทุกจังหวัดก็ว่าได้ และเมื่อบุกรุกที่สาธารณะแล้วก็มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ เช่น กุฏิ ศาลาการเปรียญ เมรุเผาศพ เป็นต้น บางแห่งมีชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาบริจาคเงินสร้าง เจดีย์ วิหาร ซึ่งล้วนแล้วเป็นสิ่งก่อสร้าง ที่มั่นคงถาวร ยากต่อการสั่งให้รื้อถอน เพราะนั่นจะนำมาสู่ปัญหาสังคม และมวลชนอย่างแน่นอน
ปัจจุบันจึงมีคำถามตามมาอย่างมากว่า แล้วหน่วยงานผู้ดูแลรักษาคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกันจะทำอย่างไร ก่อนอื่นคงต้องมาดูว่าผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรักษาคุ้มครองป้องกันที่สาธารณะ ก็คือ นายอำเภอท้องที่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ที่ดินตั้งอยู่ ทั้งนี้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 มาตรา 122[2] ซึ่งอำนาจหน้าที่อย่างหนึ่งพูดง่ายๆ ก็คือ การดูแลมิให้มีบุคคลใดบุกรุกที่สาธารณะ เพราะ ที่สาธารณะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1304 (2)[3] แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใครจะอ้างสิทธิยึดถือครอบครองไม่ได้ ซึ่งแน่นอนว่า หากเป็นชาวบ้านเข้าบุกรุก ยึดถือครอบครองที่สาธารณะ ผู้มีหน้าที่ซึ่งได้กล่าวข้างต้นคงทำหน้าที่ป้องกัน ขับไล่ หรือฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้บุกรุกได้อย่างไม่ลำบากใจ แต่หากเป็นกลุ่มมวลชน หรือ พระสงฆ์บุกรุกเพื่อสร้างวัด อย่างนี้คงสร้างความลำบากใจให้นายอำเภอ หรือหน่วยงานท้องถิ่น รวมทั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น อยู่ในปัจจุบัน และมักได้รับคำถามกลับมาว่าในฐานะหน่วยงานส่วนกลาง กระทรวงมหาดไทย หรือกรมที่ดิน มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ อย่างไร จะให้ท้องถิ่น ท้องที่ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลที่สาธารณประโยชน์โดยตรง ทำอย่างไร ผู้เขียนขอยอมรับว่า ปัญหาที่วัด หรือสำนักสงฆ์ ตั้งอยู่ในที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกันตาม มาตรา 1304 (2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นับวันจะเพิ่มมากขึ้น แม้กระทรวงมหาดไทยจะได้เน้นย้ำรวมทั้งแจ้งแนวทางการขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ ในกรณีขอสร้างวัด ไปยังกรมการศาสนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในปัจจุบันหลายครั้งแล้ว แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังคงเกิดขึ้นเป็นประจำและต่อเนื่อง
เนื่องจากปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นและสั่งสมมานานยากต่อการแก้ไข ประกอบกับคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยให้ความเห็นไว้เกี่ยวกับ กรณี วัดบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ สรุปได้ว่า ให้กรมการศาสนา (ในขณะนั้น) กำชับมิให้วัดบุกรุกครอบครอง หรือก่อสร้างอาคารในที่สาธารณประโยชน์โดยเด็ดขาด หากพบว่ามีการก่อสร้างรุกล้ำที่สาธารณประโยชน์ ก็ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น จึงต้องมาพิจารณากันว่าการดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีแนวทางเป็นไปได้อย่างไรบ้าง และควรใช้แนวทางใด ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเห็นว่า การนำที่ดินสาธารณประโยชน์ไปสร้างวัด มิใช่การนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในราชการ ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ข้อ 1 สรุปความว่า การขอสร้างวัดจะต้องเป็นกรณีที่ราษฎรมีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินของตนให้เป็นที่สร้างวัด ที่ดินนั้นราษฎรต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย และได้แสดงความจำนงจะให้ที่ดินเพื่อสร้างวัด ดังนั้น การดำเนินการถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์ ตามมาตรา 8[4] แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อสร้างวัดจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะขอถอนสภาพได้
อย่างไรก็ตาม หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าได้มีการสร้างวัดไปแล้ว เพื่อให้การใช้ที่ดินเป็นไปโดยถูกต้อง ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการก่อสร้างศาสนสถานของวัดในที่ดินสาธารณประโยชน์ ให้ถูกต้องตามกฎหมายและต้องขอเน้นย้ำว่าแนวทางนี้เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะกรณีที่มีการสร้างวัดไปแล้วเท่านั้น ซึ่งมีแนวทาง ดังนี้
1. การดำเนินการถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์ตามมาตรา 8 เพื่อนำไปจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน น่าจะเป็นวิธีที่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาวัดสร้างในที่ดินสาธารณะได้ตรงประเด็น และน่าจะเป็นวิธีที่สามารถดำเนินการได้เหมาะสมมากที่สุด โดยให้ส่วนราชการซึ่งมีสถานะเป็นทบวงการเมืองตามประมวลกฎหมายที่ดิน เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินการขอจัดหาผลประโยชน์ โดยการถอนสภาพที่ดินบริเวณดังกล่าวตามมาตรา 8 วรรคสอง (1) และนำไปจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดยการขาย ให้กับบุคคลที่มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินตั้งวัด ที่ดินแปลงนี้เมื่อได้ดำเนินการถอนสภาพ เพื่อจัดหาผลประโยชน์แล้วจะต้องออกเอกสารสิทธิในนามทบวงการเมืองที่ขอจัดหาผลประโยชน์ แล้วจึงดำเนินการโอนขายให้แก่บุคคลผู้มีจิตศรัทธา หลังจากนั้นจึงนำเอกสารสิทธิไปประกอบการขอสร้างวัดต่อไป ก็จะเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
2. ให้วัดขออนุญาตใช้ที่ดินตามมาตรา 9[5] และเสียค่าตอบแทนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรา 9/1[6] แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามระเบียบ-
กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 ซึ่งกรณีนี้ ขอเรียนว่า หนังสืออนุญาตให้เข้าอยู่อาศัย หรือใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 9 มิใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินแต่อย่างใด และจะใช้เป็นหลักฐานในการขออนุญาตสร้างวัดไม่ได้ หากจะขอใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามแนวทางนี้ ก็ควรเป็นการแก้ไขปัญหา กรณีที่ดินบริเวณดังกล่าว ใช้เป็นที่ตั้งถาวรวัตถุที่มีลักษณะไม่มั่นคงถาวร อาจรื้อถอนได้ เนื่องจากการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นการอนุญาตให้ใช้ชั่วคราว ที่ดินยังคงมีสถานะทางกฎหมายเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอยู่
อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอแนะ และเป็นความเห็นของผู้เขียนเท่านั้น ที่สำคัญคือการช่วยกันป้องกันปัญหาจากต้นเหตุน่าจะดีกว่าการต้องมาแก้ไข และควรให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้สอดส่องดูแลและประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าการเข้าไปใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ของวัด หรือสำนักสงฆ์ เป็นการเข้าใช้โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการบุกรุก ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีความผิดและมีโทษตามกฎหมาย และควรตระหนักว่า ที่ดินสาธารณประโยชน์ มีไว้เพื่อให้ประชาชนใช้ร่วมกัน การนำไปใช้ประโยชน์จะต้องคำนึงถึงการที่จะอนุรักษ์ที่ดินไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้มีที่ดินส่วนกลางไว้ใช้ร่วมกัน เพราะนับวันที่ดินประเภทนี้มีแต่จะลดน้อยลง และ หากในอนาคตทางราชการมีโครงการ หรือมีความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์เพื่อการบริการสาธารณะ จะได้ไม่ต้องจัดซื้อที่ดินจากเอกชน ซึ่งทำให้สูญเสียงบประมาณแผ่นดินโดยไม่จำเป็น
ข้อ 1 บุคคลใดประสงค์จะสร้างวัด ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อนายอำเภอท้องที่ที่จะสร้างวัด พร้อมด้วยรายการและเอกสารดังต่อไปนี้
(1) หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินที่ยกให้สร้างวัด และที่ดินนั้นต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 6 ไร่
มาตรา 122 นายอำเภอมีหน้าที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน และสิ่งซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์อื่นอันอยู่ในเขตอำเภอ
นายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีอำนาจใช้หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้ที่ดินตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดและปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีที่มีข้อพิพาทหรือคดีเกี่ยวกับที่ดินตามวรรคหนึ่ง นายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะร่วมกันดำเนินการหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้ดำเนินการ ก็ให้มีอำนาจกระทำได้ ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยจะวางระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์เป็นแนวปฏิบัติด้วยก็ได้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสามให้จ่ายจากงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาตรา 1304 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น
(2) ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่าที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวงทะเลสาบ
]มาตรา 8 บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้อธิบดีมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษา และดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามควรแก่กรณีอำนาจหน้าที่ดังว่านี้ รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือเป็นที่ดินที่ได้หวงห้ามหรือสงวนไว้ตามความต้องการของทบวงการเมืองอาจถูกถอนสภาพหรือโอนไปเพื่อใช้ประโยชน์ อย่างอื่นหรือนำไปจัดเพื่อประชาชนได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ถ้าทบวงการเมือง รัฐวิสาหกิจหรือเอกชนจัดหาที่ดินมาให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทนแล้ว การถอนสภาพหรือโอนให้กระทำโดยพระราชบัญญัติ แต่ถ้าพลเมืองได้เลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น หรือที่ดินนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และมิได้ตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใดตามอำนาจกฎหมายอื่นแล้ว การถอนสภาพให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา
(2) ที่ดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือที่ดินที่ได้หวงห้ามหรือสงวนไว้ตามความต้องการของทบวงการเมืองใด ถ้าทบวงการเมืองนั้นเลิกใช้ หรือไม่ต้องการหวงห้ามหรือสงวนต่อไป เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพแล้ว คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ใช้หรือจัดหาประโยชน์ก็ได้ แต่ถ้าจะโอนต่อไปยังเอกชน ให้กระทำโดยพระราชบัญญัติ และถ้าจะนำไปจัดเพื่อประชาชนตามประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ให้กระทำโดย พระราชกฤษฎีกา
การตราพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาตามวรรคสองให้มีแผนที่แสดงเขตที่ดินแนบท้ายพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกานั้นด้วย
มาตรา 9 ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้ ที่ดินของรัฐนั้นถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง หรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ห้ามมิให้บุคคลใด
(1) เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่นสร้างหรือเผาป่า
(2) ทำด้วยประการใด ให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด หรือที่ทราย ในบริเวณที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา หรือ
(3) ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรในที่ดิน
มาตรา 9/1 ให้ผู้รับอนุญาตตามมาตรา 9 เสียค่าตอบแทนเป็นรายปีให้แก่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งที่ที่ดินที่ได้รับอนุญาตตั้งอยู่ ยกเว้นองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทั้งนี้ ตามวิธีการและอัตราที่กำหนดในข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น แต่ต้องไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดแบ่งค่าตอบแทนที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในอัตราร้อยละสี่สิบของค่าตอบแทนที่ได้รับภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ เพื่อเป็นรายได้ขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัด และให้ค่าตอบแทนส่วนที่เหลือตกเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ที่ดินที่ได้รับอนุญาตตั้งอยู่ ในกรณีที่ที่ดินดังกล่าวไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ค่าตอบแทนที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง ตกเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นทั้งหมด
สร้างศาลาการเปรียญเชียงราย
สร้างศาลาการเปรียญเชียงใหม่
สร้างศาลาการเปรียญน่าน
สร้างศาลาการเปรียญพะเยา
สร้างศาลาการเปรียญแพร่
สร้างศาลาการเปรียญแม่ฮ่องสอน
สร้างศาลาการเปรียญลำปาง
สร้างศาลาการเปรียญลำพูน
สร้างศาลาการเปรียญอุตรดิตถ์
สร้างศาลาการเปรียญกาฬสินธุ์
สร้างศาลาการเปรียญขอนแก่น
สร้างศาลาการเปรียญชัยภูมิ
สร้างศาลาการเปรียญนครพนม
สร้างศาลาการเปรียญนครราชสีมา
สร้างศาลาการเปรียญบึงกาฬ
สร้างศาลาการเปรียญบุรีรัมย์
สร้างศาลาการเปรียญมหาสารคาม
สร้างศาลาการเปรียญมุกดาหาร
สร้างศาลาการเปรียญยโสธร
สร้างศาลาการเปรียญร้อยเอ็ด
สร้างศาลาการเปรียญเลย
สร้างศาลาการเปรียญสกลนคร
สร้างศาลาการเปรียญสุรินทร์
สร้างศาลาการเปรียญศรีสะเกษ
สร้างศาลาการเปรียญหนองคาย
สร้างศาลาการเปรียญหนองบัวลำภู
สร้างศาลาการเปรียญอุดรธานี
สร้างศาลาการเปรียญอุบลราชธานี
สร้างศาลาการเปรียญอำนาจเจริญ
สร้างศาลาการเปรียญกำแพงเพชร
สร้างศาลาการเปรียญชัยนาท
สร้างศาลาการเปรียญนครนายก
สร้างศาลาการเปรียญนครปฐม
สร้างศาลาการเปรียญนครสวรรค์
สร้างศาลาการเปรียญนนทบุรี
สร้างศาลาการเปรียญปทุมธานี
สร้างศาลาการเปรียญพระนครศรีอยุธยา
สร้างศาลาการเปรียญพิจิตร
สร้างศาลาการเปรียญพิษณุโลก
สร้างศาลาการเปรียญเพชรบูรณ์
สร้างศาลาการเปรียญลพบุรี
สร้างศาลาการเปรียญสมุทรปราการ
สร้างศาลาการเปรียญสมุทรสงคราม
สร้างศาลาการเปรียญสมุทรสาคร
สร้างศาลาการเปรียญสิงห์บุรี
สร้างศาลาการเปรียญสุโขทัย
สร้างศาลาการเปรียญสุพรรณบุรี
สร้างศาลาการเปรียญสระบุรี
สร้างศาลาการเปรียญอ่างทอง
สร้างศาลาการเปรียญอุทัยธานี
สร้างศาลาการเปรียญจันทบุรี
สร้างศาลาการเปรียญฉะเชิงเทรา
สร้างศาลาการเปรียญชลบุรี
สร้างศาลาการเปรียญตราด
สร้างศาลาการเปรียญปราจีนบุรี
สร้างศาลาการเปรียญระยอง
สร้างศาลาการเปรียญสระแก้ว
สร้างศาลาการเปรียญกาญจนบุรี
สร้างศาลาการเปรียญตาก
สร้างศาลาการเปรียญประจวบคีรีขันธ์
สร้างศาลาการเปรียญเพชรบุรี
สร้างศาลาการเปรียญราชบุรี
สร้างศาลาการเปรียญกระบี่
สร้างศาลาการเปรียญชุมพร
สร้างศาลาการเปรียญตรัง
สร้างศาลาการเปรียญนครศรีธรรมราช
สร้างศาลาการเปรียญนราธิวาส
สร้างศาลาการเปรียญปัตตานี
สร้างศาลาการเปรียญพังงา
สร้างศาลาการเปรียญพัทลุง
สร้างศาลาการเปรียญภูเก็ต
สร้างศาลาการเปรียญระนอง
สร้างศาลาการเปรียญสตูล
สร้างศาลาการเปรียญสงขลา
สร้างศาลาการเปรียญสุราษฎร์ธานี
สร้างศาลาการเปรียญยะลา
สร้างศาลาการเปรียญกรุงเทพมหานคร
สร้างศาลาการเปรียญคลองสาน
สร้างศาลาการเปรียญคลองสามวา
สร้างศาลาการเปรียญคลองเตย
สร้างศาลาการเปรียญคันนายาว
สร้างศาลาการเปรียญจอมทอง
สร้างศาลาการเปรียญดอนเมือง
สร้างศาลาการเปรียญดินแดง
สร้างศาลาการเปรียญดุสิต
สร้างศาลาการเปรียญตลิ่งชัน
สร้างศาลาการเปรียญทวีวัฒนา
สร้างศาลาการเปรียญทุ่งครุ
สร้างศาลาการเปรียญธนบุรี
สร้างศาลาการเปรียญบางกอกน้อย
สร้างศาลาการเปรียญบางกอกใหญ่
สร้างศาลาการเปรียญบางกะปิ
สร้างศาลาการเปรียญบางคอแหลม
สร้างศาลาการเปรียญบางซื่อ
สร้างศาลาการเปรียญบางนา
สร้างศาลาการเปรียญบางพลัด
สร้างศาลาการเปรียญบางรัก
สร้างศาลาการเปรียญบางเขน
สร้างศาลาการเปรียญบางแค
สร้างศาลาการเปรียญบึงกุ่ม
สร้างศาลาการเปรียญปทุมวัน
สร้างศาลาการเปรียญประเวศ
สร้างศาลาการเปรียญป้อมปราบศัตรูพ่าย
สร้างศาลาการเปรียญพญาไท
สร้างศาลาการเปรียญพระนคร
สร้างศาลาการเปรียญพระโขนง
สร้างศาลาการเปรียญภาษีเจริญ
สร้างศาลาการเปรียญมีนบุรี
สร้างศาลาการเปรียญยานนาวา
สร้างศาลาการเปรียญราชเทวี
สร้างศาลาการเปรียญราษฎร์บูรณะ
สร้างศาลาการเปรียญลาดกระบัง
สร้างศาลาการเปรียญลาดพร้าว
สร้างศาลาการเปรียญวังทองหลาง
สร้างศาลาการเปรียญวัฒนา
สร้างศาลาการเปรียญสวนหลวง
สร้างศาลาการเปรียญสะพานสูง
สร้างศาลาการเปรียญสัมพันธวงศ์
สร้างศาลาการเปรียญสาทร
สร้างศาลาการเปรียญสายไหม
สร้างศาลาการเปรียญหนองจอก
สร้างศาลาการเปรียญหนองแขม
สร้างศาลาการเปรียญหลักสี่
สร้างศาลาการเปรียญห้วยขวาง
สร้างศาลาการเปรียญเมืองนครปฐม
สร้างศาลาการเปรียญกำแพงแสน
สร้างศาลาการเปรียญดอนตูม
สร้างศาลาการเปรียญนครชัยศรี
สร้างศาลาการเปรียญบางเลน
สร้างศาลาการเปรียญพุทธมณฑล
สร้างศาลาการเปรียญสามพราน
สร้างศาลาการเปรียญเมืองนนทบุรี
สร้างศาลาการเปรียญบางกรวย
สร้างศาลาการเปรียญบางบัวทอง
สร้างศาลาการเปรียญบางใหญ่
สร้างศาลาการเปรียญปากเกร็ด
สร้างศาลาการเปรียญไทรน้อย
สร้างศาลาการเปรียญเมืองปทุมธานี
สร้างศาลาการเปรียญคลองหลวง
สร้างศาลาการเปรียญธัญบุรี
สร้างศาลาการเปรียญลาดหลุมแก้ว
สร้างศาลาการเปรียญลำลูกกา
สร้างศาลาการเปรียญสามโคก
สร้างศาลาการเปรียญหนองเสือ
สร้างศาลาการเปรียญเมืองสมุทรปราการ
สร้างศาลาการเปรียญบางพลี
สร้างศาลาการเปรียญบางเสาธง
สร้างศาลาการเปรียญพระประแดง
สร้างศาลาการเปรียญพระสมุทรเจดีย์
สร้างศาลาการเปรียญเมืองระยอง
สร้างศาลาการเปรียญนิคมพัฒนา
สร้างศาลาการเปรียญเขาชะเมา
สร้างศาลาการเปรียญบ้านฉาง
สร้างศาลาการเปรียญปลวกแดง
สร้างศาลาการเปรียญวังจันทร์
สร้างศาลาการเปรียญแกลง
สร้างศาลาการเปรียญเมืองชลบุรี
สร้างศาลาการเปรียญเกาะจันทร์
สร้างศาลาการเปรียญบางละมุง
สร้างศาลาการเปรียญบ่อทอง
สร้างศาลาการเปรียญบ้านบึง
สร้างศาลาการเปรียญพนัสนิคม
สร้างศาลาการเปรียญพานทอง
สร้างศาลาการเปรียญศรีราชา
สร้างศาลาการเปรียญสัตหีบ
สร้างศาลาการเปรียญหนองใหญ่
สร้างศาลาการเปรียญเกาะสีชัง
สร้างศาลาการเปรียญเมืองสมุทรสาคร
สร้างศาลาการเปรียญกระทุ่มแบน
สร้างศาลาการเปรียญบ้านแพ้ว
สร้างศาลาการเปรียญมหาชัย
สร้างศาลาการเปรียญเมืองสมุทร
สร้างศาลาการเปรียญอัมพวา
สร้างศาลาการเปรียญบางคนที
สร้างศาลาการเปรียญเมืองราชบุรี
สร้างศาลาการเปรียญบ้านคา
สร้างศาลาการเปรียญจอมบึง
สร้างศาลาการเปรียญดำเนินสะดวก
สร้างศาลาการเปรียญบางแพ
สร้างศาลาการเปรียญบ้านโป่ง
สร้างศาลาการเปรียญปากท่อ
สร้างศาลาการเปรียญวัดเพลง
สร้างศาลาการเปรียญสวนผึ้ง
สร้างศาลาการเปรียญโพธาราม
สร้างศาลาการเปรียญเมืองฉะเชิงเทรา
สร้างศาลาการเปรียญคลองเขื่อน
สร้างศาลาการเปรียญท่าตะเกียบ
สร้างศาลาการเปรียญบางคล้า
สร้างศาลาการเปรียญบางน้ำเปรี้ยว
สร้างศาลาการเปรียญบางปะกง
สร้างศาลาการเปรียญบ้านโพธิ์
สร้างศาลาการเปรียญพนมสารคาม
สร้างศาลาการเปรียญราชสาส์น
สร้างศาลาการเปรียญสนามชัยเขต
สร้างศาลาการเปรียญแปลงยาว
สร้างศาลาการเปรียญเมืองนครนายก
สร้างศาลาการเปรียญปากพลี
สร้างศาลาการเปรียญบ้านนา
สร้างศาลาการเปรียญองครักษ์