ประวัติพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
หมวดหมู่สินค้า: A295 รับจัดงานพิธี
03 มีนาคม 2565
ผู้ชม 137 ผู้ชม
รับจัดพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์ ทำบุญบ้าน บริษัท ทำบุญเลี้ยงพระ จัดเครื่องไหว้ จัดบวงสรวง บายศรี ตั้งศาลพระภูมิ เสาหลัก ถอนศาลวางศิลาฤกษ์ ปรับฮวงจุ้ยบ้าน ดอกไม้หน้าศพ หน้าเมรุ ซุ้มดอกไม้งานแต่ง ผลงานของเรา
ทำบุญบริษัท
ตั้ง/รื้อศาลพระภูมิ
วางศิลาฤกษ์
ปรับฮวงจุ้ยบ้าน
รับทำบายศรี
ประวัติพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธี ๒ พิธีรวมกัน คือ
พระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นพิธีพราหมณ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีสนามหลวง
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้ง กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น
ครั้งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธาน เหมือนกับสมัยกรุงสุโขทัย และจะทรงจำศีลเงียบ ๓ วัน แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้ เจ้าพระยาจันทกุมาร เป็นผู้แทนพระองค์ โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการประกอบพระราชพิธีนี้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แต่ผู้ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพลเทพ คู่กันกับการยืนชิงช้า แต่พอถึงรัชกาลที่ ๓ ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ทุกพิธี ดังนั้น พระราชพิธีพืชมงคล จึงได้เริ่มมีขึ้น แต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ความมุ่งหมายอันเป็นมูลเหตุให้เกิดมีพระราชพิธีนี้ขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า
"การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นธรรมเนียมนิยม มีมาแต่โบราณ เช่น ในเมืองจีนสี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ลงทรงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสี เลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามนี้ ที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ ก็มีอยู่เสมอเป็นนิตย์ ไม่มีเวลาว่างเว้น ด้วยการซึ่งผู้นั้นเป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎรชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์ แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่าง เหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตนตามปกติ ก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือ น้ำฝนน้ำท่ามากไปน้อยไป ด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นเหตุอันตราย ไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกำลัง จึงต้องหาทางที่จะแก้ไขและหาทางที่จะอุดหนุนและที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้า จะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจโดยอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษ นับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สิ้นสุด"
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ความมุ่งหมายของพิธีแรกนาอยู่ที่จะทำให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎรเพื่อชักนำให้มีความมั่นใจในการทำนา แม้จะเป็นความจำเป็นสำหรับบ้านเมืองในสมัยโบราณอย่างไร ถึงปัจจุบันนี้คงเป็นอยู่อย่างนั้น เพราะการเกษตรซึ่งมีการทำนา เป็นหลักนั้น เป็นสิ่งสำคัญแก่ชีวิตความเป็นอยู่และการเศรษฐกิจของประเทศทุกสมัย
ส่วนพิธีกรรมนอกเหนือจากการทำให้เป็นตัวอย่างตามที่ทรงจำแนกไว้ ๓ อย่าง โดย ๒ อย่างแรกที่ว่า "อาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่ง ไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง” นั้น ทรงหมายถึง พิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ที่กระทำ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนอีกอย่างหนึ่งที่ว่า "บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง” นั้น ทรงหมายถึง พิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญ อันเป็นพิธีพราหมณ์
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีการเพื่อความเป็น สิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย แต่ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธีอื่น ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น
การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้กระทำเต็มรูปบูรพประเพณี ครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ เว้นไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ให้ฟื้นฟูพระราชประเพณีนี้ขึ้นใหม่ และได้กระทำติดต่อกันมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน ด้วยเห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชกระแส ให้ปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีนี้ทุกปีสืบมามิได้ขาด
เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชประเพณีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ขึ้นมาในระยะแรกนั้น พระยาแรกนา ได้แก่ อธิบดีกรมการข้าวโดยตำแหน่ง สำหรับเทพีทั้งสี่พิจารณาคัดเลือก จากภริยาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายหลังพระยาแรกนา ได้แก่ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยตำแหน่ง ส่วนผู้ที่มาทำหน้าที่เป็นเทพีคู่หาบทอง และคู่หาบเงินนั้น ได้ทำการพิจารณาคัดเลือกจากข้าราชการหญิงโสดในสังกัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นไป
พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหารที่ พระมหากษัตริย์ทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย ข้าวนั้นถือว่าเป็นอาหารหลักของประชาชนในภาษาบาลีเรียกว่า ปุพพัณณะ หรือ บุพพัณณะ หรือ บุพพัณณชาติ ส่วนพืชอื่นๆ ที่เป็นอาหารเรียกว่า อปรัณณ หรืออปรัณชาติ หมายถึง พืชจำพวกถั่วงา เป็นต้น ถ้าเรียกควบทั้งสองอย่างก็เรียกว่า บุพพัณณปรัณณชาติ ที่หมายถึงพืชที่เป็นอาหารทุกชนิด
บุพพัณณปรัณณชาติที่นำเข้าพระราชพิธีพืชมงคลนั้น เป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียว นอกจากนี้มีเมล็ดพืชต่างๆ รวม ๔๐ อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาว กับเผือกมันต่างๆ พันธุ์พืชเหล่านี้เป็นของปลูกงอกได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีข้าวเปลือกที่หว่าน ในพิธีแรกนาบรรจุกระเช้าทองคู่หนึ่งและเงินคู่หนึ่ง เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ปลูกในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดารโหฐาน และพระราชทานมาเข้าพระราชพิธีพืชมงคล พันธุ์ข้าวพระราชทานนี้ จะใช้หว่านในพระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งที่เหลือทางการ จะบรรจุซอง แล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่างๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้
อนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลนี้เป็น วันเกษตรกร ประจำปี อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศชาติ จึงได้จัดงาน วันเกษตรกรควบคู่ไปกับงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตลอดมา
ทั้งนี้ ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ ประเทศไทยและนานาประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ซึ่งมีมาตรการและข้อปฏิบัติทางสาธารณสุขหลายประการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยงดการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปีนี้จากเดิมที่สำนักพระราชวังได้กำหนดให้ประกอบพระราชพิธีในวันวันอาทิตย์ที่ ๙ และวันจันทร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔ โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตประกอบพิธี ปลุกเสกเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานและพืชพันธุ์ต่าง ๆ ในวันอาทิตย์ที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๔ โดยนำพันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทานในฤดูทำนาปี ๒๕๖๓ และพันธุ์พืชต่าง ๆ มาเข้าประกอบพิธี พร้อมทั้งพิธีหว่านหว่านข้าวในแปลงนาทดลอง สวนจิตรลดา ในวันจันทร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เพื่อความเป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรทุกสาขาทั่วประเทศ
ศาลพระภูมิเชียงราย
ศาลพระภูมิเชียงใหม่
ศาลพระภูมิน่าน
ศาลพระภูมิพะเยา
ศาลพระภูมิแพร่
ศาลพระภูมิแม่ฮ่องสอน
ศาลพระภูมิลำปาง
ศาลพระภูมิลำพูน
ศาลพระภูมิอุตรดิตถ์
ศาลพระภูมิกาฬสินธุ์
ศาลพระภูมิขอนแก่น
ศาลพระภูมิชัยภูมิ
ศาลพระภูมินครพนม
ศาลพระภูมินครราชสีมา
ศาลพระภูมิบึงกาฬ
ศาลพระภูมิบุรีรัมย์
ศาลพระภูมิมหาสารคาม
ศาลพระภูมิมุกดาหาร
ศาลพระภูมิยโสธร
ศาลพระภูมิร้อยเอ็ด
ศาลพระภูมิเลย
ศาลพระภูมิสกลนคร
ศาลพระภูมิสุรินทร์
ศาลพระภูมิศรีสะเกษ
ศาลพระภูมิหนองคาย
ศาลพระภูมิหนองบัวลำภู
ศาลพระภูมิอุดรธานี
ศาลพระภูมิอุบลราชธานี
ศาลพระภูมิอำนาจเจริญ
ศาลพระภูมิกำแพงเพชร
ศาลพระภูมิชัยนาท
ศาลพระภูมินครนายก
ศาลพระภูมินครปฐม
ศาลพระภูมินครสวรรค์
ศาลพระภูมินนทบุรี
ศาลพระภูมิปทุมธานี
ศาลพระภูมิพระนครศรีอยุธยา
ศาลพระภูมิพิจิตร
ศาลพระภูมิพิษณุโลก
ศาลพระภูมิเพชรบูรณ์
ศาลพระภูมิลพบุรี
ศาลพระภูมิสมุทรปราการ
ศาลพระภูมิสมุทรสงคราม
ศาลพระภูมิสมุทรสาคร
ศาลพระภูมิสิงห์บุรี
ศาลพระภูมิสุโขทัย
ศาลพระภูมิสุพรรณบุรี
ศาลพระภูมิสระบุรี
ศาลพระภูมิอ่างทอง
ศาลพระภูมิอุทัยธานี
ศาลพระภูมิจันทบุรี
ศาลพระภูมิฉะเชิงเทรา
ศาลพระภูมิชลบุรี
ศาลพระภูมิตราด
ศาลพระภูมิปราจีนบุรี
ศาลพระภูมิระยอง
ศาลพระภูมิสระแก้ว
ศาลพระภูมิกาญจนบุรี
ศาลพระภูมิตาก
ศาลพระภูมิประจวบคีรีขันธ์
ศาลพระภูมิเพชรบุรี
ศาลพระภูมิราชบุรี
ศาลพระภูมิกระบี่
ศาลพระภูมิชุมพร
ศาลพระภูมิตรัง
ศาลพระภูมินครศรีธรรมราช
ศาลพระภูมินราธิวาส
ศาลพระภูมิปัตตานี
ศาลพระภูมิพังงา
ศาลพระภูมิพัทลุง
ศาลพระภูมิภูเก็ต
ศาลพระภูมิระนอง
ศาลพระภูมิสตูล
ศาลพระภูมิสงขลา
ศาลพระภูมิสุราษฎร์ธานี
ศาลพระภูมิยะลา
ศาลพระภูมิกรุงเทพมหานคร
ศาลพระภูมิคลองสาน
ศาลพระภูมิคลองสามวา
ศาลพระภูมิคลองเตย
ศาลพระภูมิคันนายาว
ศาลพระภูมิจอมทอง
ศาลพระภูมิดอนเมือง
ศาลพระภูมิดินแดง
ศาลพระภูมิดุสิต
ศาลพระภูมิตลิ่งชัน
ศาลพระภูมิทวีวัฒนา
ศาลพระภูมิทุ่งครุ
ศาลพระภูมิธนบุรี
ศาลพระภูมิบางกอกน้อย
ศาลพระภูมิบางกอกใหญ่
ศาลพระภูมิบางกะปิ
ศาลพระภูมิบางคอแหลม
ศาลพระภูมิบางซื่อ
ศาลพระภูมิบางนา
ศาลพระภูมิบางพลัด
ศาลพระภูมิบางรัก
ศาลพระภูมิบางเขน
ศาลพระภูมิบางแค
ศาลพระภูมิบึงกุ่ม
ศาลพระภูมิปทุมวัน
ศาลพระภูมิประเวศ
ศาลพระภูมิป้อมปราบศัตรูพ่าย
ศาลพระภูมิพญาไท
ศาลพระภูมิพระนคร
ศาลพระภูมิพระโขนง
ศาลพระภูมิภาษีเจริญ
ศาลพระภูมิมีนบุรี
ศาลพระภูมิยานนาวา
ศาลพระภูมิราชเทวี
ศาลพระภูมิราษฎร์บูรณะ
ศาลพระภูมิลาดกระบัง
ศาลพระภูมิลาดพร้าว
ศาลพระภูมิวังทองหลาง
ศาลพระภูมิวัฒนา
ศาลพระภูมิสวนหลวง
ศาลพระภูมิสะพานสูง
ศาลพระภูมิสัมพันธวงศ์
ศาลพระภูมิสาทร
ศาลพระภูมิสายไหม
ศาลพระภูมิหนองจอก
ศาลพระภูมิหนองแขม
ศาลพระภูมิหลักสี่
ศาลพระภูมิห้วยขวาง
ศาลพระภูมิเมืองนครปฐม
ศาลพระภูมิกำแพงแสน
ศาลพระภูมิดอนตูม
ศาลพระภูมินครชัยศรี
ศาลพระภูมิบางเลน
ศาลพระภูมิพุทธมณฑล
ศาลพระภูมิสามพราน
ศาลพระภูมิเมืองนนทบุรี
ศาลพระภูมิบางกรวย
ศาลพระภูมิบางบัวทอง
ศาลพระภูมิบางใหญ่
ศาลพระภูมิปากเกร็ด
ศาลพระภูมิไทรน้อย
ศาลพระภูมิเมืองปทุมธานี
ศาลพระภูมิคลองหลวง
ศาลพระภูมิธัญบุรี
ศาลพระภูมิลาดหลุมแก้ว
ศาลพระภูมิลำลูกกา
ศาลพระภูมิสามโคก
ศาลพระภูมิหนองเสือ
ศาลพระภูมิเมืองสมุทรปราการ
ศาลพระภูมิบางพลี
ศาลพระภูมิบางเสาธง
ศาลพระภูมิพระประแดง
ศาลพระภูมิพระสมุทรเจดีย์
ศาลพระภูมิเมืองระยอง
ศาลพระภูมินิคมพัฒนา
ศาลพระภูมิเขาชะเมา
ศาลพระภูมิบ้านฉาง
ศาลพระภูมิปลวกแดง
ศาลพระภูมิวังจันทร์
ศาลพระภูมิแกลง
ศาลพระภูมิเมืองชลบุรี
ศาลพระภูมิเกาะจันทร์
ศาลพระภูมิบางละมุง
ศาลพระภูมิบ่อทอง
ศาลพระภูมิบ้านบึง
ศาลพระภูมิพนัสนิคม
ศาลพระภูมิพานทอง
ศาลพระภูมิศรีราชา
ศาลพระภูมิสัตหีบ
ศาลพระภูมิหนองใหญ่
ศาลพระภูมิเกาะสีชัง
ศาลพระภูมิเมืองสมุทรสาคร
ศาลพระภูมิกระทุ่มแบน
ศาลพระภูมิบ้านแพ้ว
ศาลพระภูมิมหาชัย
ศาลพระภูมิเมืองสมุทร
ศาลพระภูมิอัมพวา
ศาลพระภูมิบางคนที
ศาลพระภูมิเมืองราชบุรี
ศาลพระภูมิบ้านคา
ศาลพระภูมิจอมบึง
ศาลพระภูมิดำเนินสะดวก
ศาลพระภูมิบางแพ
ศาลพระภูมิบ้านโป่ง
ศาลพระภูมิปากท่อ
ศาลพระภูมิวัดเพลง
ศาลพระภูมิสวนผึ้ง
ศาลพระภูมิโพธาราม
ศาลพระภูมิเมืองฉะเชิงเทรา
ศาลพระภูมิคลองเขื่อน
ศาลพระภูมิท่าตะเกียบ
ศาลพระภูมิบางคล้า
ศาลพระภูมิบางน้ำเปรี้ยว
ศาลพระภูมิบางปะกง
ศาลพระภูมิบ้านโพธิ์
ศาลพระภูมิพนมสารคาม
ศาลพระภูมิราชสาส์น
ศาลพระภูมิสนามชัยเขต
ศาลพระภูมิแปลงยาว
ศาลพระภูมิเมืองนครนายก
ศาลพระภูมิปากพลี
ศาลพระภูมิบ้านนา
ศาลพระภูมิองครักษ์