มาทำความรู้จัก ลักษณะหินทราย และการเกิดหินทราย
03 มีนาคม 2565
ผู้ชม 165 ผู้ชม
จำหน่ายหินทราย หิน ทราย สิบล้อพ่วง วัดคิวหน้างาน หิน หินคลุก ลูกรัง ทรายหยาบ ทรายละเอียด ทรายถม บ่อทรายจำหน่าย ทรายถม ทรายหยาบ หินคลุกทำทางหรือ ลานจอดรถ
บ่อทราย ขายส่งทราย
ราคาหินคลุกคิวละเท่าไร
หินคลุกคิวละเท่าไหร่
ขายส่งรถพ่วงหินปูนทราย
ราคาหินปูนทราย
จำหน่ายดินหินทรายลูกรัง
ราคาหินคลุก10ล้อ
ราคาหินคลุกสิบล้อพ่วง
หินทราย (อังกฤษ: Sandstone) เป็นหินมีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน (1/16 – 2 มม.) เม็ดแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็งมากสามารถขูดเหล็กเป็นรอยได้ มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซากดึกดำบรรพ์
เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดทราย ประกอบด้วยควอร์ตซ์เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่แมกเนไทต์และไมกาปะปนอยู่ วัตถุประสาร (ซีเมนต์) ส่วนมากเป็นพวกซิลิกา (ควอร์ตซ์ หรือ เชิร์ต) แคลไซด์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ซึ่งมักทำให้หินมีสีเหลือง น้ำตาล แดง
ในประเทศไทย พบมากทางภาคอีสาน จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และทางภาคใต้บางแห่งประโยชน์[แก้]
หินทราย ใช้ประโยชน์ทางด้านการสร้างปราสาทในสมัยโบราณ ทำหินลับมีด ทำครก ทำโม่
หินทราย การเกิด และลักษณะที่พบ
หินที่พบมากสุดในบริเวณแหล่งเรียนรู้ลานหินแตก และลานหินปุ่ม คือหินทราย(ชนิดหนึ่งของหินตะกอน)เนื้อหาในส่วนนี้จะกล่าวถึงการเกิด การจำแนก และลักษณะของหินทรายที่พบในพื้นที่แหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ
การเกิดหินทราย
หินทรายเป็นหินที่เริ่มต้นการเกิดจากกระบวนการทางธรณีที่เกิดบนผิวโลก หินทุกประเภทบริเวณผิวโลก หรืออยู่ใต้ผิวโลกที่ไม่ลึกมากนักจะผุพัง แตกหัก กร่อนและ/หรือละลายจาก น้ำฝน หิมะ ลูกเห็บ ธารน้ำ ธารน้ำแข็ง หรือลม ที่เป็นตัวกลาง รวมถึงสิ่งมีชีวิต ซึ่งกระบวนการที่เกิดขึ้นมีแรงโน้มถ่วงเป็นปัจจัย สำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับหินทรายนี้ จะยกตัวอย่างหินทรายที่กำเนิดโดยมีธารน้ำเป็นตัวกลาง
เศษหินที่หลุดจากแหล่งกำเนิด เรียกโดยรวมว่า “ตะกอน” ซึ่งตะกอนเหล่านี้จะถูกพาออกจากหินต้นกำเนิด จากตัวกลางประเภทต่างๆ เช่น ห้วย ธารน้ำ แม่น้ำ ธารน้ำแข็ง ลม และกระแสน้ำขึ้นน้ำลง เป็นต้น เมื่อพลังงานของตัวกลางที่พาตะกอนไม่สามารถจะพาตะกอน มาได้จะเกิดการสะสมตัวเกิดขึ้น การสะสมตัวของตะกอนจะเริ่มที่ผิวโลก และมีการทับซ้อนจากตะกอนชุดใหม่ เมื่อเวลาผ่านไป(หน่วยล้านปี)ตะกอนจะจมตัวลงลึกอยู่ใต้ผิวโลก และค่อยๆ เปลี่ยนสภาพเป็นหิน เนื่องจากการถูกกดทับ และ/หรือเกิดการเชื่อมประสาน ทำให้ตะกอนแข็งตัวเป็นหิน(ดูรูปที่ 2)
รูปที่ 2: กระบวนการเกิดหินทรายโดยมีธารน้ำเป็นตัวกลาง เริ่มจากกระบวนการผุพัง แตกหัก ของหินบริเวณผิวโลก ต่อมาเศษแร่ และหิน จะถูกธารน้ำพาไปตกตะกอนบริเวณปลายน้ำ ตะกอนทรายหรือทราย หมายถึงเศษหิน-แร่ ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 0.06 – 2 มม. ส่วนใหญ่ประกอบด้วย แร่ควอตซ์ ดูรูปที่ 3
เมื่อกระแสน้ำมีความเร็วลดลง ตะกอนที่ธารน้ำพามาจะตกทับถมกันบริเวณดังกล่าว อาจเป็นในส่วนของร่องน้ำ สันทรายกลางน้ำ หาดทรายริมน้ำ สบน้ำ และรวมถึงบริเวณที่ธารน้ำไหลลงทะเลสาบ การทับถมของตะกอนที่เกิดต่อเนื่องและใช้เวลานาน สามารถทำกิจกรรมจำลองการเกิดหินตะกอนประเภทที่เกิดจากกระบวนการสะสมตัวของตะกอนโดยมีน้ำเป็นตัวกลางได้ โดยใช้ทรายก่อสร้าง (ไม่ล้าง ไม่คัดขนาด)กรอกใช้ขวดน้ำดื่มใส(สูงประมาณ 2 – 3 ซม.)และใส่น้ำให้ได้ระดับประมาณ 3 ใน 4 ของขวด ต่อจากนั้นให้เขย่าขวดและตั้งทิ้งไว้ สังเกตผลทันทีทิ้งไว้ 0.5, 1 และ 2 ชั่วโมงตามลำดับ
รูปที่ 4 เป็นผลจากการทำกิจกรรมเมื่อปล่อยให้ทรายตกตะกอนในขวดที่ตั้งในแนวราบ และเอียงขวดสังเกตการตกตะกอนภายในขวด พบว่าตะกอนขนาดใหญ่ตกตะกอนก่อนตะกอนขนาดเล็ก การตกตะกอนจะเกิดเป็นชั้นราบขนานกัน การตกตะกอนพบว่าเกิดความต่อเนื่องในด้านข้าง การจำลองดังกล่าวคล้ายคลึงกับน้ำป่าที่ไหลพาเศษตะกอนที่ปั่นป่วนลงไปสะสมตัวในทะเลสาบ แตกต่างจากการสะสมตัวของตะกอนจากกระแสน้ำที่ไหลตามธารน้ำทั่วไป สำหรับการแข็งตัวเป็นหินตะกอน เป็นกระบวนการที่เกิดใต้ผิวโลก เกิดต่อเนื่องจากกระบวนการสะสมตัว การอัดตัวกันแน่นและการเชื่อมประสานเป็นชนิดหนึ่งของการแข็งตัวเป็นหินทราย การเชื่อมประสานเกิดจากสารละลายที่อยู่ระหว่างช่องว่างของตะกอนตกผลึก วัสดุเชื่อมประสานที่พบในหินตะกอนส่วนมากเป็นควอตซ์ แคลไซต์ และ/หรือสนิมเหล็ก และกระบวนการที่กล่าวถึงนี้ใช้เวลายาวเป็นล้านปี
ลักษณะหินทราย
ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการสังเกตหินทรายที่พบบริเวณแหล่งเรียนรู้ภูหินร่องกล้า โดยจากลักษณะหินและลักษณะโครงสร้าง ดังนี้
ลักษณะหิน
หินทรายมีเนื้อหินแบบเนื้อประสม ประกอบด้วยเม็ดตะกอนขนาดทราย(0.06–2 มม.)ที่มีความกลมมนพอประมาณ อยู่ชิดติดกัน(เหมือนเนื้อน้ำตาลทรายก้อน) ด้วยเม็ดตะกอนส่วนมากเป็นแร่ควอรตซ์(มีความแข็ง 7) ดังนั้นหินหินทรายจึงเป็นหินที่มีความแข็งเช่นกัน หินทรายที่พบมีสีในโทนสีน้ำตาลเหลือง ส้มเหลือง จนถึงสีแดง บ่อยครั้งที่พบตะกอนขนาดกรวดเกิดปนในหิน(หินทรายปนกรวด ) และชั้นหินกรวดมน ดูรูปที่ 5
โครงสร้างของหิน (โครงสร้างที่เกิดพร้อมกับการเกิดหินตะกอน)
โครงสร้างของหินสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือโครงสร้างที่เกิดพร้อมการเกิดหินตะกอนและโครงสร้างหินที่เกิดภายหลังการแข็งตัวเป็นหินแล้ว ในส่วนนี้จะกล่าวถึงโครงสร้างที่เกิดพร้อมกับการเกิดหิน ส่วนโครงสร้าง ส่วนโครงสร้างของหินที่เกิดภายหลังการแข็งตัวเป็นหินจะกล่าวในหัวข้อที่ 5 ระนาบแตกในหิน
ชั้นหินและชั้นเฉียงระดับเป็นโครงสร้างหินที่สังเกตเห็นได้ทั่วไป ภายในแหล่งเรียนรู้ภูหินร่องกล้า
ชั้นหิน หมายถึงหินชนิดเดียวกันที่เกิดเป็นระนาบต่อเนื่องมีความหนาตั้งแต่ 1 ซม. ไปจนถึง 3 เมตร ถ้ามีความหนาน้อยกว่า 1 ซม. มีชื่อเรียกว่า“ชั้นบาง”โดยทั่วไปในการเกิดหินตะกอนชั้นหินจะวางตัวในระนาบราบขนานไปกับพื้นโลก ลักษณะชั้นหินสังเกตจาก (1)เนื้อหินที่เหมือนกัน (2)ส่วนประกอบหินแบบเดียวกัน และ (3)สีเหมือนกัน(ใช้มากกรณีที่หินเนื้อละเอียด) ลักษณะชั้นหินที่พบในแหล่งเรียนรู้ภูหินร่องกล้าแสดงในรูปที่ 6
ชั้นเฉียงระดับคือ ชั้นหินที่วางตัวทำมุมกับ ระนาบการวางตัวปกติของชั้นหิน การเอียงเทของชั้นหินเป็นผลจากการตกตะกอนของตะกอนในตอนเกิดหิน มีกระแสน้ำไหล(หรือลมพัด) ทำให้ตะกอนมีการเรียงตัวเอียงไปตามทิศทางของกระแสน้ำ(ลม) ดูรูปที่ 7