ทำความรู้จักโครงสร้างภายนอกบ้านคืออะไร
16 มิถุนายน 2567
ผู้ชม 273 ผู้ชม
รับเหมาต่อเติมบ้าน โครงหลังคาเหล็ก ต่อโรงรถ ต่อเติมครัว ต่อเติมหน้าบ้าน หลังบ้าน หลังคาหน้าบ้าน ต่อเติมทาวน์เฮ้าส์
รับต่อชั้นลอยต่อดาดฟ้า ขยายห้องนอน ต่อระเบียง ต่อห้องน้ำ
ต่อเติมบ้านผลงานของเรา
ต่อเติมหลังบ้าน
ต่อเติมข้างบ้าน
ต่อเติมหน้าบ้าน
ต่อเติมครัวหลังบ้านทาวน์โฮม
ต่อเติมครัว
ต่อเติมห้องข้างบ้าน
ต่อเติมข้างบ้านชั้นเดียว
ติดต่อช่างธงชัย
บริษัทช่างรับเหมา แสตมป์คอนกรีต หรือ เรียกอีกอย่างว่า คอนกรีตพิมพ์ลาย ช่างคอนกรีตพิมพ์ลาย
ทำความรู้จักโครงสร้างภายนอกบ้าน
การต่อเติมพื้นที่ด้านนอกบ้านส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่เราควรคำนึงถึงก็คือโครงสร้างพื้นและเสาเข็มค่ะ โดยปกติแล้วบ้านจัดสรรมักจะทำการเทพื้นบริเวณที่จอดรถและลานซักล้างด้านหลังบ้านมาให้ ส่วนใหญ่เป็นการเทคอนกรีตเสริมเหล็กแบบบนดิน (Slab On Ground) หรือ บนคาน (Slab on Beam) ที่ลงเสาเข็มมาให้ด้วย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดี–ข้อเสียแตกต่างกันไป
พื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slab On Ground)
Slab On Ground เป็นพื้นคอนกรีตหล่อบนพื้นดินหรือทรายบดอัด ไม่มีคานรองรับ มักใช้สำหรับพื้นชั้นล่าง ส่วนใหญ่มักใช้ทำพื้นของที่จอดรถ การถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้จะถ่ายลงสู่พื้นดินโดยตรงโดยกระกระจายแรง ดังนั้นการบดอัดดินหรือทรายให้แน่นเป็นสิ่งสำคัญมาก หากไม่ทำให้ดินแน่นก่อนคอนกรีตอาจแตกจากการทรุดตัวได้ พื้นคอนกรีตวางบนดินนี้ ต้องอยู่อย่างอิสระจากโครงสร้างส่วนอื่น ๆ เพราะมีอัตราการทรุดตัวตามดินที่สูงค่ะ หากจำเป็นต้องมีส่วนที่ติดกันควรจะแยกรอยต่อ โดยการคั่นด้วยแผ่นโฟม หรือออกแบบลดระดับพื้นบริเวณขอบพื้นโดยรอบ หรือจะวางหินกรวดตกแต่งอย่างที่บ้านจัดสรรนิยมทำให้เพื่อปกปิดรอยต่อก็ได้เช่นกันค่ะ
โดยโครงสร้างส่วนใหญ่ของลานจอดรถนั้นเป็นระบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) เป็นการเพิ่มความสามารถของคอนกรีตให้รับแรงได้มากขึ้นโดยใช้เหล็กเข้ามาช่วยนั่นเองค่ะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กจะสามารถรับน้ำหนักได้ 200 – 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร สำหรับลานจอดรถขนาดมาตรฐาน 1 คันนั้น จะมีขนาด 2.40 x 5.00 เมตร หรือประมาณ 12 ตารางเมตร รถเก๋ง 1 คัน จะมีน้ำหนักประมาณ 1,000 – 1,500 กิโลกรัม ต่อคัน , รถกระบะ 1 คัน น้ำหนักประมาณ 1,500 – 1,600 กิโลกรัม ต่อคัน ซึ่งเพียงพอต่อการใช้พื้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดิน
พื้นคอนกรีตวางบนคาน (Slab On Beam)
เป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่คานโดยตรง นิยมใช้ในบ้านและอาคารทั่วไป ลักษณะการถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้มี 2 แบบนะคะ คือ
– พื้นทางเดียว (One Way Slab)
– พื้นสองทาง (Two Way Slab)
พื้นคอนกรีตวางบนคานอาจเป็นได้ทั้งพื้นคอนกรีตหล่อในที่หรือพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปก็ได้ค่ะ แต่สำหรับพื้นส่วนเปียกอย่างเช่น ห้องน้ำ พื้นระเบียงนอกบ้าน ซึ่งเสี่ยงต่อการรั่วซึม ควรใช้เป็นพื้นคอนกรีตหล่อในที่จะสามารถทนต่อความชื่นได้มากกว่าพื้นสำเร็จรูปค่ะ
โครงสร้างเสาเข็ม ( Pile )
ต่อมาสิ่งที่สำคัญสำหรับการต่อเติมบ้านก็คือเสาเข็ม โดยเสาเข็มเป็นโครงสร้างที่เสริมการรับน้ำหนักและป้องกันการทรุดตัว โดยมีหลักการคือช่วยเพิ่มแรงต้านน้ำหนักของตัวบ้านหรือพื้นที่ส่วนต่อเติม ไม่ให้ทรุดตัวลง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบและความลึกของเสาเข็มด้วยค่ะ ถ้าเสาเข็มนั้นสั้นไม่ถึงชั้นดินแข็งจะมีเพียงแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวเสาเข็มกับดิน (Skin Friction) แต่ถ้าเสาเข็มนั้นลึกถึงชั้นดินแข็งก็จะมีแรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing) เพิ่มขึ้นค่ะ และอีกอย่างที่ควรคำนึงถึงนั่นก็คือความแข็งของชั้นดินในแต่ละพื้นที่ ถ้าบ้านใครมีที่ดินอยู่ใกล้กับน้ำ หรือดินพึ่งถมมาไม่นาน(ไม่เกิน 2 ปี) ดินจะไม่แน่นมากทำให้มีโอกาสทรุดตัวมากกว่า จึงจำเป็นต้องใช้เสาเข็มที่ลึกขึ้นค่ะ ดังนั้นเบื้องต้นเราจึงควรรู้ว่าบ้านของเราใช้เสาเข็มอะไร ถ้าเราซื้อบ้านจากโครงการแนะนำว่าให้ถามก่อนซื้อหรือตัดสินใจต่อเติม ถ้าเป็นบ้านที่สร้างเองก็ควรถามวิศวกรหรือผู้ออกแบบเอาไว้ เราจะได้มีข้อมูลสำหรับการต่อเติมในอนาคต
เสาเข็มเดิมของภายในบ้านทั่วไปที่นิยมใช้ แบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete pile)
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเป็นที่นิยมมากที่สุดในอาคารพักอาศัย เป็นเสาคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็วและโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูงค่ะ ใช้วิธีการตอกลงไปในดิน ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากและราคาไม่แพง “แต่เวลาตอกจะเกิดแรงสั่นสะเทือน” แบ่งย่อยออกตามลักษณะรูปทรงหลากหลาย เช่น
เสาเข็มรูปตัวไอ (มักใช้เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักตัวบ้าน)
เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง
เสาเข็มรูปตัวที
เสาเข็มเจาะ (bored pile)
เสาเข็มเจาะนั้นต้องใช้เครื่องมือเจาะลงบนที่ดินบนพื้นที่ใช้งานเลย จากนั้นจึงใส่เหล็กและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม จะมีกรรมวิธีก่อสร้างที่ยุ่งยาก และใช้เวลามากกว่า เหมาะกับงานที่ต้องการรับน้ำหนักสูง “แต่จะไม่เกิดแรงสั่นสะเทือนเวลาติดตั้ง” และมีข้อจำกัดเรื่องขนาดกับความลึกน้อยกว่า รับน้ำหนักได้มากกว่า ส่วนราคานั้นจะแพงและมีขั้นตอนการติดตั้งยากกว่า
เสาเข็มเจาะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก( small diameter bored pile ) เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตร ความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นแบบแห้ง ( dry process )โดยใช้เครื่องมือขุดเจาะธรรมดา วิธีการไม่ยุ่งยากซับซ้อน
เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่( large diameter bored pile ) เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป ความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 25-65 เมตร กรรมวิธีที่ในการเจาะมักจะเป็นระบบเปียก ( wet process ) ซึ่งจะมีความยุ่งยาก และหน้างานเลอะเทอะมากกว่าค่ะ
เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง (prestressed concrete spun pile)
โดยทั่วไปแล้วจะเรียกกันว่าเสาเข็มสปัน ผลิตโดยการใช้ กรรมวิธีปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา มีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง ฝังโครงลวดเหล็กอัดแรง การตอกเสาชนิดนี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดาและแบบกด เนื่องจากตรงกลางกลวงช่วยลดแรงสั่นสะเทือนเวลาตอกได้ค่ะ ช่วยให้ไม่สะเทือนกระทบต่อโครงสร้างเดิมเท่าเสาเข็มอัดแรงธรรมดา
หากเป็นการต่อเติมบ้านทั้งส่วนลานจอดรถเองหรือครัวด้านหลังบ้านนั้นแน่นอนว่าการใช้เสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งจะทำให้โครงสร้างนั้นแข็งแรงกว่า แต่ในทางปฏิบัติจริงๆแล้วการใช้เสาเข็มลึกจะต้องมีพื้นที่และเครื่องมือที่ยุ่งยากมากกว่า เสียค่าใช้จ่ายแพงกว่า จึงต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละบ้านค่ะ โดยส่วนใหญ่แล้วในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนต่อเติมมักใช้เข็มความยาวประมาณ 3 – 6 เมตร (แต่ชั้นดินแข็งของกรุงเทพฯจะอยู่ลึกประมาณ 17 – 23 เมตร) อาจจะมีการทรุดตัวได้ในอนาคตแต่ก็จะน้อยกว่าพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดินแน่นอนค่ะ
ทำความรู้จักโครงสร้างภายในบ้าน
นอกจากโครงการต่างๆที่อยู่ภายนอกบ้านแล้ว โครงสร้างในบ้านก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งการต่อเติมในบ้านส่วนใหญ่จะเป็นการกั้นผนัง ซึ่งถ้าเราไม่รู้แลยว่าผนังบ้านเราทำจากอะไรแล้วเกิดไปเจาะ ทุบ ในส่วนที่เป็นโครงสร้างหลักก็อาจจะทำให้บ้านเราเสียหายได้ โดยโครงสร้างภายในบ้านที่เราต้องดูมีดังนี้
ผนังภายในบ้าน
การต่อเติมเพิ่มห้องหรือลดจำนวนห้องภายในบ้านนั้นจำเป็นจะต้องทราบโครงสร้างของผนังภายในบ้าน เนื่องจากผนังบางชนิดสามารถต่อเติมได้ไม่มีปัญหา แต่บางชนิดไม่สามารถทุบหรือเปลี่ยนแปลงได้ โดยส่วนใหญ่แล้วในบ้านจัดสรรมักมีโครงสร้างผนังภายใน ดังนี้
ผนังก่ออิฐฉาบปูน
ผนังก่ออิฐ คือ การนำอิฐมาประสานต่อกันโดยมีปูนก่อเป็นตัวเชื่อมนั่นเองค่ะ เมื่อก่อเสร็จแล้วจะมีการฉาบปูนให้ผนังมีนั้นเรียบสวยงาม ซึ่งต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญ ผนังก่ออิฐมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น อิฐมอญ, อิฐมวลเบา, อิฐขาว, ซีเมนต์บล็อก หรืออิฐประสาน และวิธีการก่อสร้างมีทั้งก่อแบบเต็มแผ่นและก่อแบบครึ่งแผ่น
ผนังก่ออิฐนั้นมีน้ำหนักมาก ประมาณ 60-180 กิโลกรัม/ตารางเมตร (ขึ้นอยู่กับชนิดของอิฐ) ทำให้ต้องก่อผนังตามแนวคานเท่านั้น แต่เป็นผนังที่มีความแข็งแรงใช้งานได้ทั้งภายใน, ภายนอก รวมถึงพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วย สามารถตกแต่งพื้นผิวได้หลายรูปแบบ และสามารถเจาะช่องเปิดได้ค่ะ ทำให้บ้านที่มีโครงสร้างแบบก่ออิฐมีอิสระในการเลือกตกแต่ง, เจาะแขวน, ต่อเติม ได้มากกว่าแบบอื่นๆ
ผนังสำเร็จรูป ( Precast )
ในปัจจุบันโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมนั้นนิยมใช้การก่อสร้างแบบ Precast กันมากเลยนะคะ Precast นั้นเป็นระบบการก่อสร้างชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปมาจากโรงงาน ทำให้ควบคุมคุณภาพได้ง่าย ไม่ต้องมากังวลว่าช่างมีฝีมือไหม ชิ้นส่วนต่างๆมีสัดส่วน และช่องเปิด รวมถึงท่องานระบบที่คำนวณมาให้เหมาะกับการใช้งานเรียบร้อยแล้ว และสามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว เหมือนกับตัวต่อเลโก้ ที่ขนส่งมาเป็นชิ้นๆและประกอบกันได้เลยที่หน้างานค่ะ
โดยส่วนใหญ่แล้วผนังของโครงสร้างแบบ Precast มักเป็นผนังรับน้ำหนักที่ทำหน้าที่เป็นทั้งโครงสร้างและผนัง ทำให้มีความแข็งแรง รับแรงด้านข้างได้มากกว่าระบบก่อ แต่ก็ทำให้มีข้อจำกัดด้านการเจาะช่องเปิด และไม่สามารถทุบผนังบางส่วนทิ้งได้ เนื่องจากผนังทำหน้าที่เป็นโครงสร้างด้วยนั่นเองค่ะ ทำให้ไม่เหมาะกับการต่อเติมหรือดัดแปลง
เมื่อเราทราบโครงสร้างเดิมของบ้านแล้วก็มาถึงขั้นตอนในการต่อเติมค่ะ สำหรับการต่อเติมแนะนำว่าให้ทำการคุยขอบเขตกับผู้รับเหมาหรือผู้ออกแบบให้เรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันการทำงานไปเรื่อยๆไม่มีแผนงานซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายได้ โดยส่วนต่างๆในบ้านที่เรามักทำการต่อเติมได้แก่