รับเหมาต่อเติมบ้าน โครงหลังคาเหล็ก ต่อโรงรถ ต่อเติมครัว ต่อเติมหน้าบ้าน หลังบ้าน หลังคาหน้าบ้าน ต่อเติมทาวน์เฮ้าส์
รับต่อชั้นลอยต่อดาดฟ้า ขยายห้องนอน ต่อระเบียง ต่อห้องน้ำ
ต่อเติมบ้านผลงานของเรา
ต่อเติมหลังบ้าน
ต่อเติมข้างบ้าน
ต่อเติมหน้าบ้าน
ต่อเติมครัวหลังบ้านทาวน์โฮม
ต่อเติมครัว
ต่อเติมห้องข้างบ้าน
ต่อเติมข้างบ้านชั้นเดียว
ติดต่อช่างธงชัย
บริษัทช่างรับเหมา แสตมป์คอนกรีต หรือ เรียกอีกอย่างว่า คอนกรีตพิมพ์ลาย ช่างคอนกรีตพิมพ์ลาย
ห้องด้านข้างบ้าน
สำหรับคนที่มีพื้นที่ดินเยอะ และต้องการต่อเติมห้องเพิ่มด้านข้างหรือด้านหลังตัวบ้าน ควรต่อเติมโดยแยกโครงสร้างใหม่ออกจากโครงสร้างเดิม เนื่องจากโครงสร้างเดินนั้นตั้งอยู่บนเสาเข็มที่มีการตอกไปก่อนแล้วทำให้เกิดอัตราการทรุดไม่เท่ากับโครงสร้างใหม่ ถ้าเราต่อเติมโดยให้โครงสร้างใหม่ต่อกับบ้านเดิมอาจจะทำให้เกิดความเสียหายจากการทรุดได้
พื้น : พื้นโครงสร้างห้องที่ต่อเติมควรเป็นโครงสร้างที่ลงเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เนื่องจากห้องที่ต่อเติมออกมามีอัตราการทรุดสูง เพราะต้องรองรับน้ำหนักมากทั้งผนังและหลังคาค่ะ
ผนัง : การทำผนังห้องควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของที่ตั้ง ถ้ามีความชื้นสูงหรือต้องอยู่ภายนอกก็ไม่ควรใช้ผนังโครงเบา ควรใช้เป็นผนังก่อจะแข็งแรงทนทานมากกว่าค่ะ
หลังคา : หลังคาสามารถทำได้ทุกรูปแบบโครงสร้าง มีจุดสำคัญคือวัสดุมุงที่เราต้องการใช้ ซึ่งเป็นตัวกำหนดสไตล์ และรูปทรงหลังคา นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติทางวัสดุที่ต่างกัน เช่น กระเบื้องลอน มีขนาดใหญ่สามารถทำองศาหลังคาได้ต่ำ แต่จะเกิดเสียงดังเมื่อฝนตก เป็นต้น
การต่อเติม-ทุบ ผนังภายในบ้าน
ใครที่ต้องการพื้นที่ภายในบ้านที่มากขึ้น หรือมีคนใช้งานภายในบ้านน้อยกว่าจำนวนห้องที่มี ก็มักจะอยากเชื่อมต่อห้องโดยการทุบผนังออก เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในให้มากขึ้น และในทางกลับกันสำหรับคนที่คิดว่าพื้นที่ภายในบ้านนั้นโล่งกว้างต้องการกั้นห้องเพื่อการใช้งานที่เป็นสัดส่วนมากขึ้น ควรคำนึงถึงการต่อเติม, ดัดแปลงดังนี้ค่ะ
เจาะผนัง : ผนังที่สามารถทำการเจาะ หรือทุบออกได้ต้องเป็นผนังที่เกิดจากการก่อ , ผนังเบา หรือผนัง Precast ที่ไม่ใช่ผนังรับน้ำหนักและมีแบบตำแหน่งการเดินท่องานระบบชัดเจน เพื่อให้ทำการเจาะแล้วงานระบบไม่เสียหายค่ะ
ต่อเติมผนัง : หากต้องการต่อเติมผนังภายในบ้านสามารถต่อเติมได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของค่ะ ถ้าต้องการกั้นห้องชั่วคราว รื้อออกได้ไม่เสียหาย แนะนำเป็นผนังโครงเบาค่ะ แต่ถ้าต้องการกั้นห้องแบบถาวร ป้องกันเสียงได้ แนะนำให้กั้นเป็นผนังก่อ เป็นต้น โดยวัสดุที่นิยมใช้ในการต่อเติมผนังได้แก่การก่ออิฐฉาบปูนนั่นเอง
ผนังชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่ก่ออิฐฉาบปูน
ผนังโครงเบา (Smart Board)
ผนังโครงเบาคือผนังที่มีโครงคร่าวติดกับแผ่นผนัง โครงคร่าวมีทั้งเป็นไม้แต่ที่นิยมใช้กันนั้นจะเป็นโครงคร่าวโลหะ (กัลวาไนซ์ , เหล็กรูปพรรณ) วัสดุแผ่นหนังเองก็มีให้เลือกใช้มากมายเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ , ไม้อัดซีเมนต์, แผ่นยิปซั่ม หรือแผ่นไม้อัด ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป
ผนังโครงสร้างเบานั้นสามารถซ่อมแซม รื้อถอนได้ง่ายเนื่องจากมีน้ำหนักที่เบา แผ่นที่รื้อออกมาแล้วนำกลับไปใช้ใหม่ได้ และใช้เวลาในการติดตั้งน้อยค่ะ แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ไม่สามารถใช้กับพื้นที่ที่มีน้ำขังได้ จึงไม่ควรใช้กับภายนอกด้วย ผนังโครงเบาเหมาะกับคนที่ต้องการต่อเติมกั้นห้องภายในบ้าน โดยไม่ต้องเลอะเทอะกับการผสมปูนก่ออิฐ
ผนังกระจก (Curtain wall)
เป็นผนังที่ยึดกับโครงสร้างของอาคาร โดยจะมีกรอบโครงเหล็กหรืออลูมิเนียม มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยจะใช้กระจกที่มีความหนาอย่างน้อย 6 มิลลิเมตร ควรใช้เป็นกระจกเทมเปอร์ที่แตกเป็นเม็ดข้าวโพดไม่แหลมคม ,กระจกเทมเปอร์ลามิเนตที่มีฟิล์มช่วยยึดกระจกไม่ให้ร่วงหล่นลงมา หรือกระจกฮีทสเตรงเท่น (Heat Strengthened glass หรือ H/S) ที่มีความแข็งแรงมากกว่ากระจกธรรมดา 2 เท่า ทั้งนี้ควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้วยค่ะ เนื่องจากเป็นวัสดุที่เปราะบางและอาจเกิดอันตรายได้
ผนังกระจกจะมีความสามารถการกันเสียงน้อยกว่าผนังก่อ แผ่ความร้อนได้มากกว่า เนื่องจากมีคุณสมบัติโปร่งใส แต่การกั้นห้องด้วยผนังกระจกทำให้ห้องดูโปร่งโล่ง และมีแสงผ่านได้มาก เหมาะกับห้องที่ต้องการกั้นต่อเติมโดยไม่ให้ความรู้สึกคับแคบ ไม่เน้นเรื่องความเป็นส่วนตัว, เสียงรบกวนมากนัก
ในการต่อเติมบ้านนอกเหนือจากเรื่องของกฎหมายและโครงสร้างแล้ว ยังมีเรื่องของการขออนุญาต สัญญาการก่อสร้าง และแบบก่อสร้างซึ่งมีผลต่อการต่อเติมบ้านพอสมควรเลยค่ะ
ต้องของอนุญาตไหม
ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กำหนดว่าถ้าดัดแปลง-ต่อเติม อาคารจะต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ที่บ้านของเราตั้งอยู่ค่ะ เช่น ถ้าอยู่กรุงเทพฯ ให้แจ้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดย ผ่านสำนักงานเขตกรุงเทพฯ ที่บ้านเราตั้งอยู่ หรือถ้าตั้งอยู่ที่ต่างจังหวัดก็ให้ขอ หรือแจ้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยเดินเรื่องผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั่นเองค่ะ
แล้วแบบไหนถึงเรียกว่าดัดแปลง-ต่อเติม
กฎหมายได้กำหนดข้อยกเว้นกรณีที่ไม่ต้องขออนุญาตก่อสร้างไว้ 5 กรณี ซึ่งหมายความว่าถ้านอกเหนือจากนี้จะต้องขออนุญาตค่ะ จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของพื้นชั้นใดชั้นหนึ่งรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน หมายความว่า : ถ้าเพิ่ม-ลดพื้นที่มากกว่า 5 ตารางเมตร หรือมีการเพิ่มเสาหรือคาน จะต้องขออนุญาต
การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของหลังคารวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน หมายความว่า : ถ้าเพิ่ม-ลดพื้นที่หลังคา มากกว่า 5 ตารางเมตร หรือมีการเพิ่มเสาหรือคาน จะต้องขออนุญาต
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร ด้วยการใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิมหมายความว่า : ถ้าเราเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร ด้วยวัสดุ คนละชนิดกับของเดิมจะต้องขออนุญาตค่ะ
การเปลี่ยนส่วนใดๆ ภายในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร ด้วยการใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุชนิดอื่นที่ไม่ได้เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมเกิน 10% ของน้ำหนักเดิม หมายความว่า : ถ้าเราเปลี่ยนแปลงส่วนของอาคาร(ที่ไม่ใช่โครงสร้าง) ด้วยวัสดุอะไรก็ตามที่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10 % ต้องขออนุญาต
การเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ส่วนใดๆ ก็ตามในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร และไม่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10% ของโครงสร้างอาคารเดิม หมายความว่า : ถ้าเรามีการ ต่อเติม เพิ่ม ลด ส่วนของอาคาร(ที่ไม่ใช่โครงสร้าง) ด้วยวัสดุอะไรก็ตามที่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10 % ต้องขออนุญาต
สัญญาก่อสร้างต้องทำอย่างไร
ในการว่าจ้างทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการก่อสร้างต่อเติม เจ้าของบ้าน (ผู้ว่าจ้าง) ควรร่างสัญญาด้วยตัวเองนะคะ บางคนคิดว่าไม่จำเป็นถ้าเป็นผู้รับเหมาที่รู้จักกันอยู่แล้ว แค่สัญญาตามตกลงปากเปล่าก็พอ แต่ถึงอย่างนั้นก็แนะนำว่ามีไว้ดีกว่าค่ะ ซึ่งการทำสัญญาว่าจ้างนั้นจะประกอบด้วยเอกสาร 3 อย่าง ดังนี้
สัญญาว่าจ้าง
สัญญาควรระบุว่าผู้รับจ้างเป็นใคร ควรมีเอกสารของบริษัทหรือสำเนาบัตรประชาชนประกอบ เพื่อระบุตัวตนให้ชัดเจน
ผู้ว่าจ้างมีจุดประสงค์อย่างไร หมายความว่าให้ทำอะไร ที่ไหน วงเงินเท่าไร รวมถึงระยะเวลาการก่อสร้างนานเท่าไร ซึ่งควรระบุเป็นวันที่ชัดเจน เป็นต้น
กำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดๆ และกำหนดค่าปรับถ้างานล่าช้ากว่ากำหนด โดยทั่วไปแล้วมักคิดหน่วยเป็นวันค่ะ รวมถึงควรระบุงานเพิ่ม-ลด และค่าใช้จ่ายต่างๆที่ผู้รับจ้า (ผู้รับเหมา) ต้องรับผิดชอบ