
10 ซุ้มประตูหินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปี 2023
28 มีนาคม 2566
ผู้ชม 223 ผู้ชม
10 ซุ้มประตูหินที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ซุ้มประตูหิน หรือ “อาร์ก” (Arch) ถือเป็นผลพลอยความสวยงามซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ธรรมชาติรังสรรค์ด้วยการกัดเซาะของทะเล แม่น้ำ หรือสภาพดินฟ้าอากาศ จนก่อให้เกิดหินรูปร่างแปลกตา เว้าแหว่ง สร้างความสะดุดตาและเติมสีสันให้สภาพแวดล้อมบริเวณนั้น หลายแห่งที่มี ซุ้มประตูหิน กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เรียกความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้ไม่น้อย
ซุ้มประตูหิน สะพานนางฟ้า
สะพานใต้หล้าอันดับหนึ่ง หรือ สะพานเซียนเริ่น หรือ สะพานนางฟ้า คือ ซุ้มประตูหิน ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสะพานเชื่อมแม่น้ำ Buliu ในเขตเทศมณฑล Fengshan ในเขตปกครองตนเอง Guangxi Zhuang ระยะทางยาวประมาณ 400 ฟุต (120 เมตร)
ซุ้มประตูหิน สะพานอมตะเจี่ยงโจว
สะพานอมตะเจียงโจว ธรรมชาติสร้างสรรค์อยู่ที่ เมือง Jiangzhou เขตปกครองตนเอง Guangxi Zhuang มีลักษณะคล้ายกับสะพานเซียนเริ่น ยาวประมาณ 340 ฟุต (103 เมตร)
ซุ้มประตูหิน สะพานหินโค้งแลนด์สเคป
สะพานหินโค้งแลนด์สเคป อุทยานแห่งชาติอาร์เชส หรือ อุทยานแห่งชาติสะพานหินโค้ง หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกาวัดระยะความยาวได้ประมาณ 290 ฟุต (88.4 เมตร) บางช่วงของสะพานมีความเปราะบางมาก หนาเพียง 1.8 เมตร เชิงสะพานเป็นหินทรายยื่นออกจากหินขรุขระ เหนือพื้นหุบผาชันด้วยความสูงประมาณ 30 เมตร
ซุ้มประตูหิน สะพานหินโคลอบ อาร์ค
สะพานหินโคลอบ อาร์ค อยู่ลึกลงไปในเขตทุรกันดารของ อุทยานแห่งชาติไซออน รัฐยูทาห์ ประเทศอเมริกา ยาวประมาณ 287 ฟุต (87เมตร) เคยเป็นสะพานหินธรรมชาติที่ยาวที่สุดในโลกในปี 2006
ซุ้มประตูหิน สะพานหินอโลบา
สะพานหินอโลบา ประเทศ Chad หนึ่งในซุ้มธรรมชาติที่งดงามที่สุดในโลก ยาว 287 ฟุต (87เมตร) ตั้งอยู่กลางเทือกเขา Ennedi ในเขตทะเลทรายซาฮารา จุดเด่นของ ซุ้มประตูหิน คือ เสาหินที่เชื่อมต่อกับสะพานหินซึ่งมีความสูงประมาณ 394 ฟุต (120 เมตร)
ซุ้มประตูหิน สะพานหินธรรมชาติมอร์นิ่ง กลอรี่
สะพานหินธรรมชาติมอร์นิ่ง กลอรี่ ตั้งอยู่ในนิโกรบิลด์แคนยอน ซึ่งอยู่ใกล้เมืองโมอับ เขตรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา แต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวนัก เนื่องจากสะพานอยู่ห่างจากกำแพงผาเพียง 15 ฟุต สามารถวัดระยะความยาวได้ประมาณ 243 ฟุต (74 เมตร)
ซุ้มประตูหิน สะพานหินเรนโบว์
สะพานหินเรนโบว์ ในเขตพื้นที่นันทนาการแห่งชาติเกลนแคนยอน รัฐยูทาห์ ในสหรัฐอเมริกา เดินทางโดยเรือประมาณสองชั่วโมง ความยาวประมาณ 234 ฟุต (71เมตร)
ซุ้มประตูหิน สะพานหินธรรมชาติเกาตัน
สะพานหินธรรมชาติเกาตัน ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำฟูลู่ ไม่ไกลจากเมืองลี่ปิง มณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของบริเวณจุดชมวิว ณ ภูเขา Bazhou มีความยาวประมาณ 230 ฟุต (70 เมตร)
ซุ้มประตูหิน สะพานหินธรรมชาติสิปาปู
สะพานหินธรรมชาติสิปาปู อยู่ในอนุสรณ์สถานแห่งชาติสะพานหินธรรมชาติ รัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา นักท่องเที่ยวสามารถชมสะพานหินแห่งนี้ได้จากริมถนน หรือจะเลือกการเดินเท้าเข้าไปชม สิปาปู มีความยาวประมาณ 225 ฟุต (69 เมตร)
ซุ้มประตูหิน สะพานหินสตีเวนส์
สะพานหินสตีเวนส์ เขต Escalante แคนยอน อยู่เหนือแม่น้ำ Escalante เขตรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา สามารถวัดระยะความยาวได้ประมาณ 220 ฟุต (67 เมตร)
หินเกิดจากอะไร
หิน เป็นของแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารผสมที่เกิดจากการเกาะตัวกันแน่นของแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป หรือ เป็นสารผสมของแร่กับแก้วภูเขาไฟ หรือ แร่กับซากดึกดำบรรพ์ หรือของแข็งอื่น ๆ หินมีหลายลักษณะ รูปร่างที่แตกต่างกันออกไป มีสีสันที่ต่างกันออกไป ตามถิ่นที่อยู่
ชนิดของหิน
หิน (Rock) หมายถึง มวลของแข็งที่ประกอบขึ้นด้วยแร่ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 3 ชนิดใหญ่
1. หินอัคนี (Igneous Rock)
เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกแทรกดันขึ้นมาแล้วตกผลึกเป็นแร่ต่างๆ และเย็นตัวลงจับตัวแน่นเป็นหินที่ผิวโลก แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive Igneous Rock) เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ของหินหนืดใต้เปลือกโลก มีผลึกแร่ขนาดใหญ่ (>1 มิลลิเมตร) เช่นหินแกรนิต (Granite) หินไดออไรต์ (Diorite) หินแกบโบร (Gabbro)
หินอัคนีพุ (Extruisive Igneous Rock) หรือหินภูเขาไฟ (Volcanic Rock) เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วของหินหนืดที่ดันตัวพุออกมานอกผิวโลกเป็นลาวา (Lava) ผลึกแร่มีขนาดเล็กหรือไม่เกิดผลึกเลยเช่น หินบะซอลต์ (Basalt) หินแอนดีไซต์ (Andesite) หินไรโอไลต์ (Rhyolite)
2. หินชั้นหรือหินตะกอน (Sedimentary Rock)
เกิดจากการทับถม และสะสมตัวของตะกอนต่างๆ ได้แก่ เศษหิน แร่ กรวด ทราย ดินที่ผุพังหรือสึกกร่อนถูกชะละลายมาจากหินเดิม โดยตัวการธรรมชาติ คือ ธารน้ำ ลม ธารน้ำแข็งหรือคลื่นในทะเล พัดพาไปทับถมและแข็งตัวเป็นหินในแอ่งสะสมตัวหินชนิดนี้แบ่งตามลักษณะเนื้อหินได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
หินชั้นเนื้อประสม (Clastic Sedimentary Rock) เป็นหินชั้นที่เนื้อเดิมของตะกอน พวกกรวด ทราย เศษหินและดิน ยังคงสภาพอยู่ให้พิสูจน์ได้ เช่น หินทราย (Sandstone) หินดินดาน (Shale) หินกรวดมน (Conglomerate) เป็นต้น
หินเนื้อประสาน (Nonclastic Sedimentary Rock) เป็นหินที่เกิดจากการตกผลึกทางเคมี หรือจากสิ่งมีชีวิต มีเนื้อประสานกันแน่นไม่สามารถพิสูจน์สภาพเดิมได้ เช่น หินปูน (Limestone) หินเชิร์ต (Chert) เกลือหิน (Rock Salte) ถ่านหิน (Coal) เป็นต้น
3. หินแปร (Metamorphic Rock)
เกิดจากการแปรสภาพโดยการกระทำของความร้อน ความดันและปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้เนื้อหิน แร่ประกอบหินและโครงสร้างเปลี่ยนไปจากเดิม การแปรสภาพของหินจะอยู่ในสถานะของของแข็ง ซึ่งจัดแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
การแปรสภาพบริเวณไพศาล (Regional metamorphism) เกิดเป็นบริเวณกว้างโดยมีความร้อนและความดันทำให้เกิดแร่ใหม่หรือผลึกใหม่เกิดขึ้น มีการจัดเรียงตัวของแร่ใหม่ และแสดงริ้วขนาน (Foliation) อันเนื่องมาจากแร่เดิมถูกบีบอัดจนเรียงตัวเป็นแนวหรือแถบขนานกัน เช่น หินไนส์ (Gneiss) หินชีสต์ (Schist) และหินชนวน (Slate) เป็นต้น
การแปรสภาพสัมผัส (Contact metamorphism) เกิดจากการแปรสภาพโดยความร้อนและปฏิกิริยาทางเคมีของสารละลายที่ขึ้นมากับหินหนืดมาสัมผัสกับหินท้องที่ ไม่มีอิทธิพลของความดันมากนัก ปฏิกิริยาทางเคมีอาจทำให้ได้แร่ใหม่บางส่วนหรือเกิดแร่ใหม่แทนที่แร่ในหินเดิม หินแปรที่เกิดขึ้นจะมีการจัดเรียงตัวของแร่ใหม่ ไม่แสดงริ้วขนาน (Nonfoliation) เช่น หินอ่อน (Marble) หินควอตไซต์ (Quartzite)