จ้างรถขนของย้ายบ้าน และวิธีเลือกบริการขนของย้ายบ้านที่ดี
01 มกราคม 2567
ผู้ชม 241 ผู้ชม
บริการรถบรรทุก 4ล้อ 6ล้อ 10ล้อ
รถบรรทุกรับจ้าง ขนของ ขนสินค้า ขนย้ายบ้าน
รับขนย้ายรถบด แม็คโคร รถไถ
รถเทเลอร์โรเบส
รับย้ายรถขุด รถตัก รถดั้ม สิบล้อ
รับย้ายรถแทรคเตอร์
รับย้ายรถแบคโฮ ย้ายรถแม็คโคร
บริการขนย้ายเครื่องจักร รถโฟล์คลิฟ เครื่องจักรมือสอง
เทรลเลอร์พื้นเลียบโรเบท
ขนของใส่รถกระบะ อย่างไรให้ถูกกฎหมาย
ขนของใส่รถกระบะ อย่างไรให้ถูกกฎหมาย? หากพูดถึงรถกระบะ ปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากมีการพัฒนาให้มีสมรรถนะที่ดียิ่งขึ้น เป็นรถที่เหมาะสมกับการขนส่งสินค้าต่างๆ บรรทุกคน บรรทุกของ ไม่ว่าจะเป็นงานหนัก งานเบา หรือแม้แต่ขับลุยในพื้นที่ทุรกันดาร ก็สามารถทำได้สบายๆ มีความแข็งแรงทนทาน สำหรับการ ขนของใส่รถกระบะ จะมีข้อกำหนดกฎหมายระบุเอาไว้ เพื่อป้องกันการขนของมากเกินไปจนทำให้เกิดอันตรายบนท้องถนนได้ น้องยูคอน มีวิธีขนของใส่รถกระบะมาแนะนำ เพื่อความปลอดภัย และป้องกันไม่ให้ผิดกฎหมาย มาเริ่มกันเลย
สิ่งที่ต้องรู้ เมื่อต้องขนของใส่รถกระบะ
- ความกว้าง
สำหรับการขนของไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม จะต้องมีความกว้าง “ไม่เกินความกว้างของตัวรถเท่านั้น”
- ความยาว
ต่อมาเป็นเรื่องของความยาวกันบ้าง สำหรับความยาว จะต้องยาวไม่เกินด้านหน้าของตัวรถ ส่วนด้านหลังสามารถยื่นเกินตัวรถได้ “ไม่เกิน 2.50 เมตร” และควรติดธงสีแดง เพื่อเป็นสัญญาณให้รถอื่นๆระมัดระวัง (เช่นเดียวกับการบรรทุก หรือขนของแบบเปิดท้ายกระบะ)
- ความสูง
เรื่องของความสูงจะแบ่งได้ 2 กรณี คือ
ถ้าตัวรถกระบะมีความกว้างไม่เกิน 2.30 เมตร จะสามารถขนของที่มีความสูงจากพื้นได้ไม่เกิน 3 เมตร
หากตัวรถกระบะมีความกว้างเกิน 2.30 เมตร จะสามารถขนของที่มีความสูงจากพื้นได้ไม่เกิน 3.80 เมตร
- การป้องกันสิ่งของตกหล่น
ไม่ว่าจะเป็นการขนคน สัตว์ หรือสิ่งของ จะต้องมีการป้องกันไม่ให้สิ่งๆนั้น ตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวออกไปจากรถ จนก่อให้เกิดเหตุอันตรายกับผู้อื่น
กรณีบรรทุกของแบบเปิดท้ายกระบะ
หากจำเป็นต้องบรรทุกของแบบเปิดท้ายกระบะ จะมีข้อกำหนดโดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ
- ในช่วงเวลากลางวัน จะต้องติดธงสีแดงเรืองแสงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ที่มีความกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร เพื่อเป็นสัญญาณให้รถอื่นๆระมัดระวัง และมองเห็นได้อย่างชัดเจน
- สำหรับช่วงเวลากลางคืน หรือ เวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร จะต้องติดสัญญาณไฟสีแดง ที่มองเห็นชัดเจน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
(ในกรณีที่บรรทุกของแบบเปิดท้ายกระบะ บางพื้นที่อาจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย ทางที่ดีไม่ควรบรรทุกของแบบเปิดท้ายกระบะ)
การดัดแปลง หรือต่อเติมตัวรถกระบะ
รถกระบะส่วนใหญ่จะมีการดัดแปลง ต่อเติมสภาพตัวรถที่ต่างจากเดิม เช่น การติดตะแกรงเหล็กเสริมรั้วกระบะด้านข้าง หรือการติดโครงเหล็กตะแกรงบนหลังคา ซึ่งไม่ว่าจะดัดแปลงส่วนใดก็ตาม จะต้องมีการแจ้งเข้าตรวจสภาพและแจ้งแก้ไข ที่สำนักงานขนส่งที่จดทะเบียนไว้ เพื่อตรวจสอบว่า มีความแข็งแรงทนทานหรือไม่ หากไม่มีการแจ้ง จะถือว่ามีความผิด ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 60 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ข้อกำหนดการบรรทุกเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
หากมีการขน หรือบรรทุกเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ จะสามารถขนได้ไม่เกิน 10 ลิตร หากเกินกว่านั้นจะต้องมีใบอนุญาต ตามกฏหมายพ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 ในมาตรา 14 ระบุเอาไว้ว่า
“ห้ามมิให้ทําการขนสุราตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไป เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตขนสุรา จากเจ้าพนักงานสรรพสามิต หรือกรณีขนสุราเข้ามาในราชอาณาจักรจากเจ้าพนักงาน ศุลกากร หรือเป็นสุราชนิดที่ได้มีกฎกระทรวงยกเว้นให้ทําการขนได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตขนสุรา ซึ่งผู้ที่ได้รับใบอนุญาตต้องนำใบอนุญาตขนสุรากํากับไปกับสุราที่ขนด้วย”
และมาตรา 15 ระบุไว้ว่า “ผู้ใดทำการขนส่งสุราในราชอาณาจักรเกินกว่า 1 ลิตร แต่ไม่ถึง 10 ลิตร เข้าในหรือออกนอกเขตพื้นที่ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต ศุลกากร และต้องพกใบอนุญาตติดรถไว้ด้วย“