เพาเวอร์แอมพ์ หรือเรียกกันสั้นๆ ว่าแอมพ์
27 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้ชม 139 ผู้ชม
สวัสดีคับหากท่านเป็นคนในพื้นที่ที่ต้องการใช้บริการ เช่าเวทีเครื่องเสียงใน เรามีบริการเครื่องเสียง รับจัดงาน Event Grand opening บริการ เวที ฉาก แสง สี เสียง ออกบูธงาน เช่าเครื่องเสียง ราคาถูก บริการให้เช่าเครื่องเสียงราคาถูก - งานออกบู๊ต ตามห้าง
เช่าเครื่องเสียง เช่าเวที รับจัดงานอีเว้นท์ เช่าไฟ แสงสีเสียง เช่าระบบไฟ ให้เช่าไฟ เช่าไฟเวที ไฟให้เช่า เต็นท์เช่าให้เช่าเต็นท์ราคาถูก เต็นท์สีขาวทรงโค้ง เต็นท์ทรงโรมัน เต็นท์ทรงพีระมิด
ตัวอย่างผลงานของเรา
ติดต่อสอบถามคิวงาน
เพาเวอร์แอมพ์ หรือเรียกกันสั้นๆ ว่าแอมพ์ เป็นการออกแบบวงจรอีเลคทรอนิค เพื่อช่วยขยายขนาดสัญญาณ ด้วยการใช้พลังงานจากภาคจ่ายไฟ (POWER SUPPLY) และวงจรควบคุมสัญญาณเอาท์พุทให้มีรูปร่างเหมือนอินพุท แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า ซึ่งเพาเวอร์แอมพ์รถยนต์ที่เราพบเห็นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่ใช้ทรานซิสเตอร์ในการขยายสัญญาณและแบบหลอดสุญญากาศ ในครั้งนี้จึงได้นำการแบ่งคลาสส์ (CLASS) ต่างๆ ในเพาเวอร์แอมพ์มาฝากกัน ซึ่งในปัจจุบันมีเพาเวอร์แอมพ์ไม่กี่คลาสส์ ที่ได้รับความนิยม นอกจากนั้นก็จะค่อยๆ เลิกผลิตกันไปตามระเบียบ
CLASS A
เพาเวอร์แอมพ์ประเภทนี้ มีข้อดีในเรื่องคุณภาพเสียง มีความเพี้ยนต่ำ เป็นที่ต้องการของนักเล่นเครื่องเสียงอย่างมาก โดยเฉพาะรายละเอียดเสียง จึงเหมาะสำหรับนำไปขับลำโพงเสียงกลาง และแหลม แต่มีข้อเสีย คือ ความร้อนสูง กำลังขับน้อย จึงไม่เป็นที่นิยมสำหรับนักฟังที่เน้นประเภทตูมตาม เปิดอัด และยังมีราคาสูง
CLASS B
เป็นการออกแบบเพาเวอร์แอมพ์โดยใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว ทำงานแบบ PUSH-PULL หรือผลัก-ดัน ช่วยกันทำงานอย่างละครึ่งของรอบไซเคิล (ตัวหนึ่งทำงาน 0-180 องศา ส่วนอีกตัวทำงาน 180-360 องศา) มีข้อดี คือ เครื่องไม่ร้อน แต่มีข้อเสีย คือ ความเพี้ยนสูง ซึ่งเกิดจากรอยต่อรอบไซเคิลที่ไม่แนบสนิทจากการทำงาน
ระหว่างทรานซิสเตอร์ 2 ตัว ทำให้เสียงที่ได้ไม่มีคุณภาพ ปัจจุบันเพาเวอร์แอมพ์คลาสส์นี้ไม่มีจำหน่ายแล้ว
CLASS AB
เป็นการนำเอาข้อดีของ CLASS A และ B มารวมกัน จึงทำให้เพาเวอร์แอมพ์ประเภทนี้ให้คุณภาพเสียงที่ดี ถึงแม้จะไม่เท่า CLASS A แต่ได้เปรียบเรื่องให้กำลังขับที่มากกว่า มีความร้อนน้อยกว่า เป็นเพาเวอร์แอมพ์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน สามารถนำไปขับกับลำโพงเสียงกลาง และแหลม หรือซับวูเฟอร์ได้
CLASS D
เพาเวอร์แอมพ์ประเภทนี้ถูกออกแบบให้ขับลำโพงซับวูเฟอร์ โดยเฉพาะนักเล่นที่เน้นเรื่องกำลังขับสูงๆ ให้เสียงเบสส์ที่หนักแน่น กระแทกกระทั้น และมีความร้อนที่ต่ำมาก ในบางยี่ห้อมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า 80% ทำให้เหมาะกับการนำไปขับซับวูเฟอร์ เนื่องจากการทำงานในส่วนของภาคสวิทชิงยังไม่รวดเร็วพอที่จะนำไปใช้กับการผลิตความถี่สูง แต่ก็มีความเพี้ยนสูงกว่าแบบ CLASS AB มาก นอกจากนี้ยังมีแบบ CLASS D FULL RANGE ที่สามารถขับลำโพงเสียงกลาง และแหลมได้
CLASS G
เพาเวอร์แอมพ์ที่มีประสิทธิภาพการทำงานเทียบเท่าแอมพ์ CLASS D หรือ CLASS T แอมพ์ประเภทนี้มีการออกแบบการทำงานที่สลับซับซ้อน โดยใช้พื้นฐานของแอมพ์แบบ CLASS AB คือ สามารถให้ทั้งคุณภาพเสียง กำลังขับที่สูง ความร้อนต่ำ แต่มีราคาสูง ทำให้ไม่เป็นที่นิยมในกลุ่มนักเล่นเครื่องเสียงรถยนต์
CLASS H
เป็นการนำเอาข้อดีในด้านประสิทธิภาพการทำงานของเพาเวอร์แอมพ์ CLASS D มาใช้ สามารถให้กำลังขับที่สูงในแบบ CLASS D และให้คุณภาพเสียงเทียบเท่า CLASS AB ซึ่งแอมพ์ CLASS H ถูกออกแบบให้มีการทำงานที่ซับซ้อน และมีราคาสูง
CLASS T
เป็นเพาเวอร์แอมพ์ที่นำเอาข้อดีของ CLASS D และ CLASS AB มารวมกัน เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้น และกำลังขับสูงขึ้น โดยใช้การทำงานของระบบดิจิทอล เพื่อให้ภาคสวิทชิงสามารถทำงานที่ความถี่สูงๆ หลังจากนั้นจึงใช้วงจรกรองความถี่ต่ำ (LOW PASS) เพื่อให้ได้เครื่องขยายเสียงแบบ CLASS D ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับเพาเวอร์แอมพ์คลาสส์ต่างๆ ที่นำมาจัดเรียงลำดับให้ดูกันครั้งนี้ เพื่อที่จะได้รู้ว่าแอมพ์แต่ละคลาสส์นั้นถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภท เช่น แอมพ์ CLASS AB จึงเหมาะสำหรับขับลำโพงกลางและแหลม ส่วน CLASS D นั้นเหมาะกับลำโพงซับวูเฟอร์ ซึ่งก็มีแอมพ์ไม่กี่คลาสส์ ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มนักเล่น/นักฟังในขณะนี้ ส่วนที่ไม่ได้รับความนิยมก็อาจจะขึ้นอยู่กับราคาที่สูง หรือเลิกผลิตกันไปแล้ว ใครชอบแบบไหน เลือกให้ถูกต้องกับการใช้งานนะครับ
ข้อควรระวังในการต่อใช้งานของลำโพง
1. ควรเลือกลำโพงให้เหมาะสมกับงาน
2. ควรใช้ลำโพงที่มีขนาดกำลังวัตต์เหมาะสมกับเครื่องขยายเสียง
3. ควรต่อลำโพงให้มีขนาดของอิมพีแดนซ์ตรงกับค่าอิมพีแดนซ์ของเครื่องเสียง
4. ควรต่อลำโพงให้ตรงเฟสกับขั้วเครื่องเสียง
5. ไม่ควรใช้ลำโพงฟังเพลงที่คุณภาพดี ๆ มาใช้กับการพูดผ่านไมโครโฟนเพราะอาจทำให้ลำโพงเสียหายได้