หลังคากันสาดแบบไหนคือคำตอบที่ใช่กับบ้านของคุณ ปี 2023
27 มีนาคม 2566
ผู้ชม 250 ผู้ชม
ต่อเติมกันสาดหน้าบ้าน ต่อเติมโครงหลังคาเมทัลชีท ต่อเติมบ้าน รับงานหลังคาโรงรถ ต่อเติมระเบียง ห้องนอน ห้องครัว ผลงานของเรา
ช่างติดตั้งกันสาด
ช่างติดหลังคาไวนิล
ผ้าใบกันแดด
ช่างรางน้ำฝนใกล้ฉัน
หลังคากันสาด
รางน้ำฝนไวนิล
ติดตั้งปล่องดูดควัน
ช่างติดกันสาดเมทัลชีท
ช่างติดหลังคาโปร่งแสง
ช่างทำหลังคาโรงรถ
ต่อเติมหลังคาเมทัลชีท
หลังคากันสาดแบบไหนคือคำตอบที่ใช่กับบ้านของคุณ
รู้จักหลังคาใส หลังคาโปร่งแสง และหลังคาทึบแสง
หลังคาใสกับหลังคาโปร่งแสง จะคล้ายกันตรงที่แสงส่องผ่านได้ทั้งคู่ โดยหลักแล้วถ้าพูดถึงหลังคาใส ย่อมต้องมองเห็นทะลุไปด้านนอกได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าเป็นหลังคาโปร่งแสงนั้นเราจะนึกถึงวัสดุที่ขุ่นกว่า โดยจะมองทะลุอีกฝั่งได้ชัดมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปริมาณที่แสงส่องผ่านได้ หากเป็นวัสดุที่แสงส่องผ่าน 80% จะมองทะลุได้ชัดกว่า วัสดุที่แสงส่องผ่านเพียง 40% เป็นต้น สำหรับครั้งนี้เพื่อไม่ให้งง จะขอเรียกหลังคาใสรวมไปกับ “หลังคาโปร่งแสง” ด้วยเลย
ส่วนหลังคาทึบแสง ก็จะหมายถึงหลังคาที่มุงวัสดุทึบ พูดง่ายๆ ว่าอยู่ใต้หลังคาทึบแสงแล้วแสงแดดจะไม่ส่องเข้ามาในพื้นที่ใช้สอย (แต่ก็ไม่ได้แปลว่าไม่ร้อน เพราะถึงแม้แดดจะไม่ส่องแต่ความร้อนก็ยังผ่านเข้ามาได้อยู่ดี)
หลังคาโปร่งแสงกับหลังคาทึบแสง เลือกใช้แบบไหนดี
จะเลือกหลังคาโปร่งแสงหรือทึบแสงดีนั้น อันดับแรกควรดูเรื่องการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น
ต่อเติมหลังคากันสาดเหนือประตูหน้าต่าง หากเป็นทิศตะวันตกซึ่งต้องการกันทั้งแดดและฝน ก็ควรเลือกหลังคาทึบแสง แต่ถ้าเป็นทิศเหนือที่แดดร่มทั้งวัน อาจเลือกทำหลังคาโปร่งแสงเพื่อกันฝนโดยให้รับแสงธรรมชาติได้ทั้งวัน
ต่อเติมหลังคาลานซักล้าง หากต้องการทำหลังคากันฝนแต่ให้รับแดดขณะตากผ้าด้วย จะเหมาะกับหลังคาโปร่งแสง
ต่อเติมหลังคาโรงจอดรถ ครัว ห้องเก็บของ พื้นที่พักผ่อนนั่งเล่น อันนี้ขึ้นอยู่กับทิศทางแดดและรายละเอียดการใช้สอย แต่ละบ้านมีความต้องการไม่เหมือนกัน หรือถ้าต้องการแสงธรรมชาติแค่บางส่วน อาจใช้ผสมกัน เช่น ห้องครัว อาจทำหลังคาโปร่งแสงให้แดดส่องบริเวณชั้นวางเครื่องครัวกับอ่างล้างจาน ส่วนบริเวณตู้เย็นและที่เก็บอาหารใช้หลังคาทึบ เป็นต้น
บางครั้งเราอาจนำความชอบและสไตล์การตกแต่งเป็นอีกปัจจัยในการเลือก อย่างหลังคาทึบจะเข้ากันได้ง่ายกับบ้านสไตล์ร่วมสมัย ส่วนหลังคากันสาดโปร่งแสงแผ่นเรียบจะนิยมกับบ้านสไตล์โมเดิร์น ในขณะที่บางบ้านทำหลังคาโปร่งแสงเป็น หลังคากันสาด กันฝน พร้อมติดตั้งไม้ระแนงเพื่อช่วยกรองแสงและสร้างลูกเล่นแสงเงาในตัว เป็นต้น
วัสดุมุงหลังคาโปร่งแสงและทึบแสง มีแบบไหนให้เลือกบ้าง
หลังคาแบบโปร่งแสงและทึบแสงมีวัสดุมุงหลายแบบหลายสีให้เลือก สำหรับหลังคาโปร่งแสงจะมีวัสดุแผ่นเรียบอย่างโพลีคาร์บอเนต (แบบแผ่นตัน แบบแผ่นลูกฟูก แบบผิวส้ม) และอะคริลิก (มีทั้งรุ่นธรรมดา รุ่นคุณภาพสูงเพิ่มความแข็งแกร่ง รุ่นป้องกันความร้อน) นอกจากนี้ยังมีไฟเบอร์กลาสทั้งแผ่นเรียบและแผ่นลอน กับอีกวัสดุคือ UPVC ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นลอน (หากเป็นสีขาวขุ่นแสงจะส่องผ่านเพียง 40 %)
ส่วนวัสดุสำหรับต่อเติมหลังคาแบบทึบที่นิยมกันมากจะ ได้แก่ เมทัลชีท เป็นแผ่นหลังคาเหล็กรีดลอนซึ่งมีรุ่นธรรมดาและรุ่นติดตั้งฉนวนในตัว) กับอีกชนิดซึ่งมีรูปลอนใกล้เคียงกัน คือ UPVC ซึ่งมักมีฉนวนกันความร้อนสอดไส้ไว้ด้วย อีกวัสดุที่น่าสนใจคือ ไวนิล มีลักษณะเป็นชิ้นยาว หน้ากว้าง 12.5 ซม. ยาว 4-6 เมตร ตัวแผ่นถูกออกแบบให้ล็อกต่อกันได้เลย สำหรับกรณีที่ต้องการต่อเติมหลังคาแบบทึบควบคู่กับหลังคาโปร่งแสง อาจเลือกใช้ กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งมีกระเบื้องโปร่งแสง (วัสดุไฟเบอร์กลาสหรือโพลีคาร์บอเนต) รูปลอนเดียวกันให้ใช้ด้วย
สรุปข้อดี ข้อคำนึง ของหลังคาโปร่งแสงและทึบแสง
หลังคาโปร่งแสงจะได้เปรียบกว่าหลังคาทึบแสงในเรื่องความสว่างและบรรยากาศจากแสงธรรมชาติ (อาจเหมาะกับคอนเซปต์ประหยัดพลังงานตรงที่ช่วยลดการเปิดไฟได้) และยังสร้างลูกเล่นการตกแต่งแสงเงาได้มากกว่า ข้อสำคัญในการเลือกใช้หลังคาโปร่งแสงคือ ควรดูปริมาณและทิศทางแดดให้ดีเพื่อไม่ให้แดดส่องจนร้อนเกินไป และอาจต้องทำใจว่าเมื่อใช้งานไปนานจะมองเห็นคราบสกปรกได้ง่าย รวมถึงไม่เหมาะกับการติดตั้งฉนวนกันร้อนกันเสียง เนื่องจากจะทำลายทั้งความสวยงามและจุดประสงค์หลักที่ต้องการให้แสงส่องผ่านได้
ส่วนหลังคาทึบแสง ถ้าพูดถึงเรื่องบรรยากาศรับแสงธรรมชาติ ความสวยงามเชิงทันสมัย และการสร้างลูกเล่นตกแต่ง อาจหลากหลายน้อยกว่าหลังคาโปร่งแสง ในขณะเดียวกัน หากเราจำเป็นต้องสร้างส่วนต่อเติมในพื้นที่ที่โดนแดดแรงนานๆ หลังคาทึบแสงจะตอบโจทย์เรื่องกันแดดกันร้อนได้ดีกว่า เพราะนอกจากแดดจะไม่ส่องโดยตรงแล้ว ยังสามารถติดตั้งฉนวนกันร้อนและกันเสียงใต้วัสดุมุงได้ด้วยโดยไม่ต้องคำนึงเรื่องความสวยงามจากภายนอก นอกจากนี้ วัสดุหลังคาทึบแสงมักมีราคาถูกกว่าหลังคาโปร่งแสง (เมื่อเทียบระดับคุณภาพการใช้งานที่ใกล้เคียงกัน)