7959061

บายศรีมีอะไรบ้าง

หมวดหมู่สินค้า: A122 รับจัดบายศรี

25 กุมภาพันธ์ 2565

ผู้ชม 180 ผู้ชม


รับจัดพานบายศรี

รับจัดบายศรี
รับจัดบายศรีเทพ
รับจัดงานแต่งที่บ้าน
รับจัดบายศรีงานแต่ง
พิธีบายศรีสู่ขวัญงานแต่งงาน
งานแต่งงานต้องเตรียมอะไรบ้าง
ผลงานของเรา

                     ติดต่อช่างทำบายศรี



บายศรี

 
พิธีบายศรีสู่ขวัญ บางครั้งก็เรียกว่า พิธีบายศรี, พิธีสู่ขวัญ, พิธีทำขวัญ, พิธีรับขวัญ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของคนไทย และคนลาวด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกคนเกิดมาพร้อมกับสิ่งนามธรรมอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า “ขวัญ” ซึ่งมีหน้าที่รักษาประคับประคองชีวิตและติดตามเจ้าของไปทุกหนแห่ง การทำพิธีสู่ขวัญจึงเป็นการเชิญขวัญที่หนีหายไปให้เข้ามาอยู่กับตัว และเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง มีสติและไม่ประมาท [1]
 
ประเพณีบายศรีสู่ขวัญใช้เครื่องเชิญขวัญที่เรียกว่า บายศรี ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญ (ไข่ต้ม) เสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายประเภท เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่ (ภาษาเขมร บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ) [2] มีการพันสายสิญจน์ไว้โดยรอบเพื่อใช้ผูกข้อมือผู้รับขวัญ ผู้นำทำพิธีเรียกว่า หมอขวัญ
 
ประวัติ
บายศรีนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าได้ประดิษฐ์ขึ้นมาจากคติความเชื่อของพราหมณ์[ต้องการอ้างอิง] พิจารณาจากการนำใบตองมาประดิษฐ์บายศรี เนื่องด้วยใบตองนั้นเป็นของสะอาดบริสุทธิ์ไม่มีมลทินของอาหารเก่าให้แปดเปื้อน และอีกประการหนึ่งก็คือ รูปร่างลักษณะของบายศรีที่ได้จำลองเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร ตลอดจนเครื่องสังเวยก็มีความเชื่อมาจากคติพราหมณ์เช่น ไข่ แตงกวา มะพร้าว รวมถึงพิธีการ เช่น การเวียนเทียน การเจิม และพิธีการต่าง ๆ เหล่านี้พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีทั้งสิ้น
 
ประเภทของบายศรี
ในภาคเหนือจะเรียกบายศรีว่า "ใบสี", "ใบสรี" หรือ "ใบสีนมแมว" และจะเรียกพานบายศรีว่า ขันใบสี เพราะชาวล้านนาจะเรียกพานว่า ขัน แล้วเรียกขันว่า สลุง บายศรีแยกเป็น 4 ประเภท คือ
 
บายศรีหลวง
บายศรีนมแมว
บายศรีปากชาม
บายศรีกล้วย
 
ส่วนในภาคอีสานจะเรียกบายศรีว่า "พาบายศรี", "พาขวัญ" หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า "ขันบายศรี" ในภาคอีสานจะแยกบายศรีออกเป็น 3 ประเภท คือ
 
พาขวัญ
พาบายศรี
หมากเบ็ง
 
ในส่วนภาคอีสานที่มีเชื้อสายของเขมรจะมีการเรียกบายศรีว่า "บายแสร็ย" ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
 
บายแสร็ยเดิม (บายศรีต้น)
บายแสร็ยเถียะ (บายศรีถาด)
บายแสร็ตจาน (บายศรีปากชาม)
เมื่อพูดถึง “บายศรี” เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักและคุ้นเคยเพราะพบเห็นบ่อยในพิธีกรรมต่างๆ แทบทุกภาคของไทย เช่น การทำขวัญคน การทำขวัญข้าว การบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การไหว้ครูนาฏศิลป์ดนตรี และพิธีสมโภชพระพุทธรูป เป็นต้น ซึ่งพิธีกรรมเหล่านี้ล้วนต้องใช้บายศรีเป็นเครื่องประกอบทั้งสิ้น
 
          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำว่า “บายศรี”ว่าหมายถึงเครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตองรูปคล้ายกระทงเป็นชั้นๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี  คำว่า “บายศรี” เกิดจากคำสองคำรวมกันคือ “บาย” เป็นภาษาเขมรแปลว่า “ข้าว” และคำว่า “ศรี”เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า “มิ่งขวัญ สิริมงคล” รวมความแล้ว “บายศรี” ก็คือ ข้าวขวัญหรือข้าวที่มีสิริมงคล เราจึงพบว่า  ตัวบายศรีมักมีข้าวสุกเป็นส่วนประกอบและมักขาดไม่ได้ แต่โดยทั่วไปเราจะหมายถึง ภาชนะที่จัดตกแต่งให้สวยงามเป็นพิเศษด้วยใบตองทำเป็นกระทง หรือใช้พานเงินพานทองตกแต่งด้วยดอกไม้เพื่อเป็นสำรับใส่อาหารคาวหวานในพิธีสังเวยบูชาและพิธีทำขวัญต่างๆ
 
          ประวัติความเป็นมาของบายศรีนั้น ไม่มีหลักฐานแน่นอนแต่มีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว เนื่องจากมีการกล่าวถึงบายศรีในวรรณกรรมมหาชาติคำหลวง กัณฑ์มหาราชซึ่งแต่งในสมัยอยุธยาว่า “แล้ว ธ ก็ให้บอกบายศรีบอกมิ่ง” อีกทั้งศิลปวัตถุตู้ลายรดน้ำสมัยอยุธยา ก็ปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับบายศรี อย่างไรก็ดีเชื่อว่าบายศรีนี้น่าจะได้คติมาจากพราหมณ์แน่นอน เพราะบายศรีต้องใช้ใบตองเป็นหลัก ซึ่งตามคติของพราหมณ์เชื่อว่าใบตองเป็นของบริสุทธิ์สะอาดไม่มีมลทินของอาหารเก่าแปดเปื้อนเหมือนถ้วยชาม จึงนำมาทำภาชนะใส่อาหารเป็นรูปกระทง ต่อมาจึงมีการประดับประดาตกแต่งให้สวยงามขึ้น โดยทั่วไปบายศรีจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ บายศรีของราษฎร และบายศรีของหลวง
 
 
          บายศรีของราษฎร ได้แก่ บายศรีที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ของราษฎร ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไป แต่แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ บายศรีปากชาม และบายศรีใหญ่หรือบายศรีต้น
 
          บายศรีปากชาม จะเป็นบายศรีขนาดเล็กนำใบตองมาม้วนเป็นรูปกรวยใส่ข้าวสุกข้างใน ตั้งกรวยคว่ำไว้กลางชามขนาดใหญ่ ให้ยอดแหลมของกรวยอยู่ข้างบนและบนยอดให้ใช้ไม้เสียบไข่ต้มสุกปอกเปลือกที่เรียกว่า “ไข่ขวัญ” ปักไว้โดยมีดอกไม้เสียบต่อขึ้นไปอีกที การจัดทำบายศรีเพื่อประกอบพิธีกรรมตอนเช้ามักจะมีเครื่องประกอบบายศรีเป็นอาหารง่ายๆ เช่น ข้าว ไข่ กล้วย และแตงกวา แต่ถ้าหลังเที่ยงไปแล้วไม่นิยมใส่ข้าว ไข่ แต่จะใช้ดอกบัวเสียบบนยอดกรวยแทนและใช้ดอกไม้ตกแต่งแทนกล้วยและแตงกวา
 
          บายศรีใหญ่หรือบายศรีต้น จะเป็นบายศรีที่มีขนาดใหญ่กว่าบายศรีปากชาม นิยมทำเป็น 3 ชั้น 5 ชั้น และ 7 ชั้น หรือบางทีก็ทำถึง 9 ชั้น ด้วยเหตุว่านำคติเรื่องฉัตรมาเกี่ยวข้อง ซึ่งแท้จริงแล้วการทำบายศรีใหญ่หรือบายศรีต้นนี้ไม่มีการกำหนดชั้นตายตัว สุดแต่ผู้ทำจะเห็นว่าสวยงาม ถ้าทำชั้นมากก็ถือว่าเป็นเกียรติมากและในแต่ละชั้นของบายศรีมักใส่อาหาร ขนม ดอกไม้ ธูปเทียน ลงไปด้วย ปัจจุบันทั้งบายศรีปากชามและบายศรีใหญ่อาจจะใช้วัสดุอื่นๆ แทนใบตองซึ่งหาได้ยากขึ้น เช่น ใช้ผ้า กระดาษหรือวัสดุเทียมอื่นๆ ที่คล้ายใบตองมาตกแต่ง แต่รูปแบบโดยทั่วไป ก็ยังคงลักษณะบายศรีอยู่
 
          บายศรีของหลวง ได้แก่ บายศรีที่ใช้ในพระราชพิธีต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา และพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งในโบราณราชประเพณี และพระราชพิธีที่ทรงมีพระประสงค์ให้จัดขึ้นในโอกาสพิเศษต่างๆ รวมไปถึงรัฐพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ด้วย ทั้งนี้ บายศรีของหลวงในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
 
          บายศรีต้น เป็นบายศรีที่ทำด้วยใบตองมีแป้นไม้เป็นโครง มีลักษณะอย่างบายศรีของราษฎร แต่จะมี 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น และ 9 ชั้น ส่วนใหญ่ถ้าเป็น 9 ชั้น มักจะทำสำหรับพระมหากษัตริย์ พระราชินี ส่วน 7 ชั้น สำหรับพระมหาอุปราชา เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ 5 ชั้น สำหรับเจ้านายพระราชวงศ์ ส่วนขุนนางและประชาชนทั่วไปนิยมทำ 3 ชั้น
 
          บายศรีแก้ว ทอง เงิน บายศรีชนิดนี้ประกอบด้วยพานแก้ว พานทอง และพานเงิน ขนาดใหญ่ เล็ก วางซ้อนกันขึ้นไปตามลำดับเป็นชั้นๆ 5 ชั้น โดยจะตั้งบายศรีแก้วไว้ตรงกลาง บายศรีทองทางขวา และบายศรีเงินตั้งทางซ้ายของผู้รับการสมโภช
 
          บายศรีตองรองทองขาว เป็นบายศรีที่ทำด้วยใบตองอย่างบายศรีใหญ่ของราษฎร มีลักษณะเป็น 5 ชั้น หรือ 7 ชั้น แต่โดยมากมักทำ 7 ชั้น บายศรีตองชนิดนี้มักตั้งบนพานใหญ่ซึ่งเป็นโลหะทองขาว จึงเรียกว่าบายศรีตองรองทองขาว ส่วนใหญ่จะตั้งคู่กับบายศรีแก้ว ทอง เงิน  มักใช้ในงานพระราชพิธีใหญ่ เช่น พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ เป็นต้น
 
          โอกาสในการใช้บายศรี ส่วนใหญ่จะใช้ในการทำขวัญต่างๆ ที่เป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิต เช่น การทำขวัญเดือน ทำขวัญนาค ทำขวัญแต่งงาน (นิยมในภาคเหนือและอีสาน) ทำขวัญนา ทำขวัญแม่โพสพ หรือแม้แต่การทำขวัญสัตว์อย่างวัว ควาย เป็นต้น รวมไปถึงพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน การบวงสรวงสังเวยและการสมโภชต่างๆ เช่น การตั้งศาลพระภูมิ การวางศิลาฤกษ์ การไหว้เทวดาอารักษ์ การบูชาครูช่าง เป็นต้น
 
          ส่วนการใช้บายศรีชนิดใดในโอกาสไหนนั้น มีข้อสังเกตง่ายๆ ว่าบายศรีปากชาม มักใช้ในพิธีทำขวัญในครัวเรือนอย่างง่ายๆ ที่มิใช่งานใหญ่โต เช่น การทำขวัญเดือนเด็ก หรือในพิธีตั้งศาลหรือถอนศาลพระภูมิ เป็นต้น ส่วนบายศรีต้นหรือบายศรีใหญ่ มักใช้เป็นเครื่องบูชาเทพยดาตามลัทธิพราหมณ์ที่มิใช่บูชาพระ หรือมักใช้ในงานใหญ่ที่ครึกครื้น เช่น ทำขวัญนาค ฉลองสมณศักดิ์ หรือในการไหว้ครู เป็นต้น แต่ในบางงานก็อาจจะใช้ทั้งสองชนิดควบคู่กันไปก็มี เป็นที่น่าสังเกตว่าในภาคกลางเรามักจะเป็นการใช้บายศรีในการบวงสรวง พิธีไหว้ครูหรือพิธีสมโภช ส่วนภาคอีสานและล้านนามักใช้บายศรีในการทำขวัญต่างๆ โดยทางล้านนาจะเขียนเป็น “บายศรี”(อ่านว่า บายสี) แต่นิยมเรียกว่า “ใบสี”หรือ “ใบสรี”ส่วนอีสานจะเรียกบายศรีว่า “พาบายศรี”หรือ “พาขวัญ”หรือบางท้องถิ่นก็เรียก “ขันบายศรี” ก็มี
 
          อนึ่ง การที่ต้องมีการทำขวัญต่างๆ นั้น ก็เพราะคนโบราณเชื่อว่าร่างกายของมนุษย์  ทุกคนจะมีขวัญกำกับอยู่ เมื่อขวัญได้รับการกระทบกระเทือนก็จะตกหรือหนีหายไปจากร่างกาย  ที่เรียกว่า ขวัญหนี ขวัญหาย ขวัญบิน ฯลฯ ทำให้เจ้าตัวไม่สบายหรือเจ็บไข้ได้ป่วย จึงต้องมีการเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับตนหรืออาจจะเป็นการรับขวัญผู้มาเยือนเพื่อเป็นสิริมงคลก็ได้ นอกจาก ทำขวัญคนแล้วยังสามารถทำขวัญสัตว์ และสิ่งของต่างๆ ได้ด้วย
 
5.สถานปฏิบัติธรรม สวนพุทธมงคลหทัยนเรศวร์ ฯ มีการจัดปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญและบวงสรวงสังเวยเต็มรูปแบบมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ.2544 บายศรีต้องงดงาม ยิ่งใหญ่เป็นหลักสำคัญของพิธีกรรมทุกครั้งและต้องใช้ทุนทรัพย์อย่างมากทีเดียว ญาติธรรมที่เข้าร่วมพิธี รวมถึงผู้เข้าเยี่ยมชมเวปไซท์ จำนวนมากขึ้นๆ เราจึงเก็บรวบรวมเกร็ดความรู้เรื่องบายศรีตามวัฒนธรรมประเพณีที่ชาวไทยสืบทอดกันมาแบ่งปันความรู้ ซึ่งยังต้องหาภาพมาเพิ่มเติมต่อไป ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลทุกแห่งที่รวบรวมไว้เผยแพร่เป็นวิทยาทาน เราเองก็ได้ศึกษาได้ด้วย บายศรีแต่ละประเภทมีหลายรูปแบบซึ่งต้องใช้ใบตองกล้วยตานี เป็นหลัก ซึ่งวัฒธรรมท้องถิ่นและความศรัทธาของบุคคลอาจดลบันดาลใจให้รูปแบบที่งดงามแตกต่างกัน เช่น บายศรีปากชาม ก็มีหลายแบบ บายศรีเทพ บายศรีพรหม บายศรีหลัก บายศรีตอ บายศรีบัลลังก์นาคราช บายศรีบารมี พานพุ่ม พานธูปเทียนแพ พานขมา พานขันธ์5/พานครู ฯลฯ ก็จะเสาะหารูปมาแบ่งปันต่อไป..
               ในพิธีการ งานมงคลของชาวไทย จะนำบายศรีมานำหน้าพิธีการงานต่างๆ บ้านใครมีงานพิธีอะไร เช่น มงคลสมรส อุปสมบท โกนจุก งานบุญ งานไหว้ครู ตั้งศาลพระภูมิ ศาลเพียงตา พิธีอันเชิญเทพ เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์งานหล่อพระ งานชักพระ งานสำคัญพิธีกรรมบรวงสรวง
บายศรีเป็นของสูง สิ่งที่มีคุณค่าสำหรับชาวไทยตั่งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
          บายศรี หมายถึง เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตอง  รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ
เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียอยู่บนยอดบายศรี 
มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่ ( ภาษาเขมร บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ )
ประวัติ
บายศรีนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าได้ประดิษฐ์ขึ้นมาจากคติความเชื่อ  ของพราหมณ์ พิจารณาจากการนำใบตองมาประดิษฐ์บายศรี
เนื่องด้วยใบตองนั้นเป็นของสะอาดบริสุทธิ์ไม่มีมลทินของอาหารเก่า  ให้แปดเปื้อน และอีกประการหนึ่งก็คือ รูปร่างลักษณะของบายศรี  ที่ได้จำลองเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร  ตลอดจนเครื่องสังเวยก็มีความเชื่อมาจากคติพราหมณ์
เช่น ไข่ แตงกวา มะพร้าว รวมถึงพิธีการ เช่น การเวียนเทียน การเจิมและพิธีการต่าง ๆ เหล่านี้พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีทั้งสิ้น
 
ประเภทของบายศรี
 
      ในภาคเหนือจะเรียกบายศรีว่า " ใบสี " , " ใบสรี " หรือ " ใบสีนมแมว " และจะเรียกพานบายศรีว่า ขันใบสี เพราะชาวล้านนาจะเรียกพานว่า ขัน แล้วเรียกขันว่า สลุง บายศรีแยกเป็น 4 ประเภท คือ
1.บายศรีหลวง 
2.บายศรีนมแมว 
3.บายศรีปากชาม 
4.บายศรีกล้วย 
       ส่วนในภาคอีสานจะเรียกบายศรีว่า " พาบายศรี " " พาขวัญ " หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า " ขันบายศรี " ในภาคอีสานจะแยกบายศรีออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.พาขวัญ 
2.พาบายศรี 
3. หมากเบ็ง 
          ในส่วนภาคอีสานที่มีเชื้อสายของเขมรจะมีการเรียกบายศรีว่า " บายแสร็ย " ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือบายแสร็ยเดิม ( บายศรีต้น ) บายแสร็ยเถียะ ( บายศรีถาด ) บายแสร็ตจาน ( บายศรีปากชาม ) 
       ชื่อบายศรี ได้แก่ 1.บายศรีบงกช  2.บายศรีพานพุ่ม 3.บายศรีผูกข้อมือ
บายศรีขันผูกมือ ใช้สำหรับพิธีแต่งงาน งานบวช สืบชะตา หรือให้เป็นของขวัญของที่ระลึก 
4.บายศรีเทพหงส์ ริบบิ้นเงิน-ทอง 5.บายศรีผูกข้อมือ บายศรีขันผูกมือ ใช้สำหรับพิธีมงคลของชาวล้านนา
6.บายศรีเทพ  7.บายศรีพานพุ่ม 8.บายศรีเทพหงส์  9.บายศรีเทพ   10.บายศรีเทพพรหม 11.บายศรีธรรมจักร 12.บายศรีปากชาม
 
      บายศรี ความหมาย ของ คำว่า “ บายศรี “
       บายศรีนั้นเป็นคำภาษาเขมร “บาย” หมายถึงข้าว “ศรี” คือสิริมงคล  รวมความแล้วหมายถึง ข้าวอันเป็นมงคล 
บางครั้งก็เรียกกันว่า “ข้าวขวัญ” ด้วย ... ส่วนอีกความหมายหนึ่ง ใช้เรียกภาชนะใส่เครื่องสังเวยในพิธีทำขวัญ 
... ตามคติความเชื่อสืบเชื้อแต่โบราณกาล การตั้งเครื่องสังเวยบูชาด้วยบายศรี เพื่ออัญเชิญปฐมบรมครูคือ
พระพุทธเจ้าบรมศาสดา บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ตลอดจน ท้าวมหาพรหม มหาเทพทั้งหลาย อีกทั้งเทพแห่งศิลปศาสตร์ 
อาทิ พระตรีมูรติ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิฆคเณศวร พระแม่อุมา ปาวารตี พระแม่ลักษมี พระแม่สุรัสวดี พ่อแก่ (ปู่ฤษี) 
พระประคนธรรพ์ ปัญจสิงขร พระพิภพ และวิษณุกรรม มาประสาทพรประสิทธิ์ชัย ให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
*ประเภทของบายศรี บายศรีมีหลายประเภทแยกตามการใช้งานดังนี้ 
๑. บายศรีราษฎร์ ได้แก่
- บายศรีปากชาม เป็นบายศรีขนาดเล็กสุด บรรจุในชามขนาดพอเหมาะ (ชามข้าวต้ม ไม่ใช่ชามโฟม อย่างปัจจุบัน) ใช้สำหรับบวงสรวงบูชา ครู เทพยดา ทั่วไป
- บายศรีใหญ่ หรือ บายศรีสู่ขวัญ หรือ บายศรีเชิญขวัญ บางที่เรียก บายศรี รับขวัญ เป็นบายศรีขนาดใหญ่ 
จัดใส่ พาน โตก ตะลุ่ม จะทำหลายชั้นซ้อนกันก็ได้ตามขนาดของพิธี
 
๒. บายศรีพิธีหลวง พระราชประเพณีนิยม ประกอบด้วยบายศรี ๓ ชนิดดังนี้
- บายศรีสำรับเล็ก ประกอบด้วย บายศรีทำจากผ้าตาดเงินมี ๓ ชั้น บนพานแก้ว เรียกว่า “บายศรีแก้ว” ถ้าผ้าตาดทองเรียก “บายศรีทอง” ถ้าผ้าตาดเขียวเรียก “บายศรีเงิน” จัดวางโดยบายศรีทองอยู่ขวา 
บายศรีเงินอยู่ซ้ายและบายศรีแก้วอยู่ตรงกลาง 
- บายศรีสำรับใหญ่ เหมือนบายศรีสำรับเล็ก แต่มีขนาดใหญ่กว่า สำหรับพิธีทำขวัญสมโภชงานสำคัญ โดยจัดแต่ละชุดมี ๕ ชั้น 
- บายศรีตองรองทองขาว ก็คือบายศรีใหญ่ ใช้แป้นและแกนเป็นทองขาวแทนไม้ทั่วไป
*** นอกจากนี้ ยังมี บายศรีชั้นหรือบายศรีต้น มีหลายขนาดตามบรรดาศักดิ์คือ
- ๙ ชั้น สำหรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
- ๗ ชั้น สำหรับ เจ้านายชั้นเจ้าฟ้า และพระราชอาคันตุกะชั้นประธานาธิบดี 
- ๕ ชั้น สำหรับ เจ้านายที่ทรงกรมหรือเสนาบดี
- ๓ ชั้น ใช้ในพิธีสมรสชั้นหลานของเจ้านายฝ่ายเหนือ
- ส่วนประกอบสำคัญในพิธีต้องมีบายศรี ปากชาม ข้าวปากหม้อ บรรจุกรวยตองเป็นยอดบายศรี ไข่ต้มสุก (แข็งๆ) เสียบยอด 
ดอกไม้มงคล สดประดับให้สวยงาม ตามด้วย ธูป เทียน สำหรับบูชา
- โอกาสที่จะใช้บายศรี พิธีที่จะใช้บายศรีนั้น ได้แก่ งานมงคลทั่วไป
ทั้ง งานแต่งงาน งานบวช รับขวัญ ส่งขวัญต่างๆ ขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ ขอขมาต่อ เจ้ากรรมนายเวร ผู้มีพระคุณ
- คติธรรม ที่ได้จากบายศรี
       ปกติการทำบายศรี จะต้องทำจากใบตองตานี อาศัยความประณีต อดทนยิ่งยวดผสมกับศาสตร์ และศิลป์ในตัว
ผู้ทำบายศรีต้องไม่กล่าวคำหยาบ (ถ้าเป็นบายศรีที่ใช้ในพิธีกรรมทางพราหมณ์ ผู้ทำบายศรี ต้องถือศีล 8 จึงจะทำให้บายศรีนั้นๆ ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง) มีความหมายทางธรรมะว่า การทำความดีนั้นทำได้ยาก ต้องอดทน รักดี ใฝ่ดี ต้องมีสติ มีสมาธิ เมื่อเราเตรียมตอง ฉีดตอง เช็ดตอง ม้วนนิ้วบายศรี ประกอบตัวบายศรี และแม้แต่การแต่งบายศรีด้วยดอกไม้มงคลนาม
ต้องทำอย่างใจเย็น เบามือ ตองจะได้ไม่แตกจนเสียงาน นั่นคือการฝึกสมาธิ ต้องมีสติ และ สามัคคี ตลอดเวลาจึงจะสำเร็จ จะเห็นได้ว่า บายศรี แท้จริงคือ อุบายสั่งสอนลูกหลาน ปลูกฝัง ธรรมะ ทั้งความอ่อนน้อมความจงรักภักดี ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ฯลฯ 
ซึ่งเราควรชื่นชมในภูมิปัญญาบรรพชนไทย ของเรา 
.... จุดประสงค์หลักของการทำขวัญ ก็เพื่ออำนวยชัยให้พร ให้ ประสบแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง มีความสุข และ กำลังใจที่ดี
เพื่อต่อสู้กับชีวิตต่อไป หากใครจะถามว่า เราใช้บายศรีเมื่อไร?  งานใดบ้าง? ก็คงต้องบอกว่า ใช้ในงานพิธีมงคลของคนไทยโดยทั่วไปนั้น  นอกจากทำขวัญเด็กแรกเกิด แล้วยังปัดเป่าเสนียดจัญไรต่าง ๆ  ไม่ให้แผ้วพาน นอกนั้นยังมีอีกหลายโอกาสที่ต้องใช้บายศรี ดังนี้
 
- พิธีทำขวัญเดือน , พิธีทำขวัญตัดจุกหรือโกนจุก ,พิธีทำขวัญบวชเณร และ บวชนาค , แต่งงาน (เราเรียกพิธีนี้ว่า ทำขวัญบ่าวสาว รดน้ำสังข์ นั่น  เอง) , การสู่ขวัญ รับขวัญ ผู้ที่มารับตำแหน่งใหม่ การเลื่อนยศ  การจบการศึกษา การกลับมาจากสงคราม , เจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุ  ต้องทำพิธีเชิญขวัญจากที่เกิดเหตุใส่ภาชนะกลับมาบรรจุลงในชามบายศรี ก่อนเริ่มพิธีด้วยเมื่อหายป่วยก็ทำขวัญให้อีกครั้ง เพื่อให้ญาติพี่น้องมาแสดง  ความยินดีกับผู้หายป่วย , ขึ้นบ้านใหม่เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข  โดยมีบายศรีสังเวยผีบ้าน ผีเรือน กับพระภูมิเจ้าที่ , เมื่อข้าวเริ่มออกรวง  มีพิธีบายศรีสังเวยทำนา บูชาแม่โพสพให้บำรุงรักษาต้นข้าว บูชาพระพิรุณ
ให้บันดาลฝนตกพอเพียงแก่การทำนา มีน้ำท่าบริบูรณ์ตลอดฤดูกาล , ทำขวัญข้าว เราจะทำเมื่อเก็บเกี่ยวเต็มยุ้งฉางแล้ว สำหรับเชิญขวัญแม่  โพสพให้มาอยู่ในยุ้งฉาง ยามขายก็ให้ได้ราคา  ประกอบด้วยบายศรีต้น ๕ ชั้น พร้อมเครื่องสังเวยถือว่า
เป็นงานใหญ่เพราะอัญเชิญเทพยาดาทุกชั้นฟ้ามาร่วมพิธี , -- ในการตั้งศาลภูมิ หรือสังเวยประจำปีต้องตั้งบายศรีประกอบด้วย
ทุกครั้ง พิธีวางศิลาฤกษ์ หรือยกเสาเอกของบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นั้น ต้องทำพิธีเซ่น เจ้ากรุงพาลี พระภูมิเจ้าที่ แม่พระธรณี เทวดาอารักษ์ทั้งหลายก่อนยกเสาลงหลุม ทำบัตรพลีบูชา ตั้งบายศรีสังเวย และ ขอขมา ตลอดจนเจ้าที่เจ้าทาง นางไม้
ซึ่งเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับเสาอันเคยเป็นต้นไม้ใหญ่อยู่ในป่ามาก่อน ขอให้งานดำเนินไปด้วยดี ไม่มีอุปสรรค์ใด ๆ
 
       พิธีไหว้ครูดนตรี โขน ละคร ฟ้อนรำประจำปี หรือแม้แต่ก่อนแสดง ครั้งสำคัญ ๆ ต้องมีการตั้งเครื่องสังเวยบูชาด้วยบายศรีทุกครั้ง
เพื่ออัญเชิญปฐมบรมครู คือ สมเด็จพระบรมศาสดา บิดา มารดา  ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ ที่ประสิทธิ์ประสาทสรรพวิชาให้หาเลี้ยงตน 
ตลอดจนท่านท้าวมหาพรหม มหาเทพทั้งหลาย อีกทั้งเทพแห่งศิลปะ  ศาสตร์ อาทิ พระศิวะ พระนารายณ์ พระพิฆเนศวร พ่อแก่ พระ
ประคนธรรพ์ พระปัญจสิงขร พระพิราพ และพระวิษณุกรรม  มาอวยชัยให้พร มักใช้บายศรีปากชาม ๗-๙ ชั้น จำนวน ๓ คู่ พร้อมเครื่องสังเวย ๓ สำรับ 
 
-- บางครั้งเมื่อได้รับโชคลาภสิ่งของอันเป็นมิ่งมงคล  หรือก่อนลงมือทำงานอันสำคัญ เราอาจหาฤกษ์งามยามดี 
ตั้งพิธีบวงสรวงสังเวยเทพยดา เพื่อขอความเมตตาในบางสิ่งบ่างอย่าง   หรือแสดงความขอบคุณในกรณีที่ได้ลาภ ได้ยศประกอบด้วย
- บายศรีปากชาม ๙ ชั้น ๑ คู่ 
- บายศรีใหญ่ ๙ หรือ ๑๖ ชั้น 
สำหรับเทพพรหมอันสูงศักดิ์ ๑ คู่ 
- พิธีเช่นนี้ ทำเพื่อบอกกล่าวขอขมาลาโทษ เนื่องจากอาจกระทำ  สิ่งใดผิดพลาดไปทั้งที่รู้และไม่รู้ต่อพระพุทธเจ้า ตลอดจนบิดามารดา   กับผู้มีพระคุณทั้งหลาย ครู อาจารย์ ด้วยเหมือนเป็นการสารภาพบาป   
-- ต่อไปก็เป็นพิธีเชิญทำขวัญช้างคนโบราณก่อนเข้าป่าคล้องช้าง  ต้องทำพิธีเซ่นสังเวยเทวดา ผีบ้านผีเรือนเพื่อเอาฤกษ์ บำรุงขวัญ ครั้นจะลงมือคล้องช้างก็เซ่นสรวงผีป่า เทวาอารักษ์ให้คล้องช้างโดยปลอดภัย เมื่อถึงบ้าน ก็ทำขวัญให้เลี้ยงเชื่อง 
จงรักภักดีต่อตนเองและควาญช้าง 
-- ชาวอีสาน เมื่อได้พระพุทธรูปมาใหม่ หรือ ใครนำพระพุทธรูปไปถวาย  จะช่วยกันทำบายศรีใหญ่ใส่ขันโตกทองเหลือง หรือโตกสาน โตกไม้สูงใหญ่หลายชั้น เพื่อทำขวัญเนื่องในงานฉลองพระพุทธรูปและขอพรพระพุทธานุภาพ และเทพยดาที่ประจำพระพุทธรูปองค์นั้น ขอให้คุ้มครองพวกตนให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป ส่วนคณะผู้นำพระมาถวายนั้น ขอให้เดินทางสวัสดีมีโชคชัยอย่างนี้ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า พิธีกรรมบางอย่าง มีไว้เพื่อจุดประสงค์ เป็นอุบายในการสั่งสอนลูกหลานผ่านพิธีกรรม เพื่อให้มี ธรรมะ มีสติ มีความอดทน ความศรัทธา ความสามัคคี  เป็นการปลูกฝังคุณธรรมหลายอย่าง ทั้งความกตัญญูความอ่อนน้อมถ่อมตน ความจงรักภักดี ความรับผิดชอบ การรู้หน้าที่แห่งตน การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ความสามัคคี ฯลฯ จึงไม่ควรมองข้าม ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยไป หรือเห็นว่าเป็นเรื่องงมงาย



รับจัดบายศรีเชียงราย 

รับจัดบายศรีเชียงใหม่ 
รับจัดบายศรีน่าน 
รับจัดบายศรีพะเยา 
รับจัดบายศรีแพร่ 
รับจัดบายศรีแม่ฮ่องสอน 
รับจัดบายศรีลำปาง 
รับจัดบายศรีลำพูน 
รับจัดบายศรีอุตรดิตถ์
รับจัดบายศรีกาฬสินธุ์ 
รับจัดบายศรีขอนแก่น 
รับจัดบายศรีชัยภูมิ 
รับจัดบายศรีนครพนม 
รับจัดบายศรีนครราชสีมา 
รับจัดบายศรีบึงกาฬ 
รับจัดบายศรีบุรีรัมย์ 
รับจัดบายศรีมหาสารคาม 
รับจัดบายศรีมุกดาหาร 
รับจัดบายศรียโสธร 
รับจัดบายศรีร้อยเอ็ด 
รับจัดบายศรีเลย 
รับจัดบายศรีสกลนคร 
รับจัดบายศรีสุรินทร์ 
รับจัดบายศรีศรีสะเกษ 
รับจัดบายศรีหนองคาย 
รับจัดบายศรีหนองบัวลำภู 
รับจัดบายศรีอุดรธานี 
รับจัดบายศรีอุบลราชธานี 
รับจัดบายศรีอำนาจเจริญ 
รับจัดบายศรีกำแพงเพชร 
รับจัดบายศรีชัยนาท 
รับจัดบายศรีนครนายก 
รับจัดบายศรีนครปฐม 
รับจัดบายศรีนครสวรรค์ 
รับจัดบายศรีนนทบุรี 
รับจัดบายศรีปทุมธานี 
รับจัดบายศรีพระนครศรีอยุธยา 
รับจัดบายศรีพิจิตร 
รับจัดบายศรีพิษณุโลก 
รับจัดบายศรีเพชรบูรณ์ 
รับจัดบายศรีลพบุรี 
รับจัดบายศรีสมุทรปราการ 
รับจัดบายศรีสมุทรสงคราม 
รับจัดบายศรีสมุทรสาคร 
รับจัดบายศรีสิงห์บุรี 
รับจัดบายศรีสุโขทัย 
รับจัดบายศรีสุพรรณบุรี 
รับจัดบายศรีสระบุรี 
รับจัดบายศรีอ่างทอง 
รับจัดบายศรีอุทัยธานี 
รับจัดบายศรีจันทบุรี 
รับจัดบายศรีฉะเชิงเทรา 
รับจัดบายศรีชลบุรี 
รับจัดบายศรีตราด 
รับจัดบายศรีปราจีนบุรี 
รับจัดบายศรีระยอง 
รับจัดบายศรีสระแก้ว 
รับจัดบายศรีกาญจนบุรี 
รับจัดบายศรีตาก 
รับจัดบายศรีประจวบคีรีขันธ์ 
รับจัดบายศรีเพชรบุรี 
รับจัดบายศรีราชบุรี 
รับจัดบายศรีกระบี่ 
รับจัดบายศรีชุมพร 
รับจัดบายศรีตรัง 
รับจัดบายศรีนครศรีธรรมราช 
รับจัดบายศรีนราธิวาส 
รับจัดบายศรีปัตตานี 
รับจัดบายศรีพังงา 
รับจัดบายศรีพัทลุง 
รับจัดบายศรีภูเก็ต 
รับจัดบายศรีระนอง 
รับจัดบายศรีสตูล 
รับจัดบายศรีสงขลา 
รับจัดบายศรีสุราษฎร์ธานี 
รับจัดบายศรียะลา 
รับจัดบายศรีกรุงเทพมหานคร
 
รับจัดบายศรีคลองสาน 
รับจัดบายศรีคลองสามวา 
รับจัดบายศรีคลองเตย
รับจัดบายศรีคันนายาว 
รับจัดบายศรีจอมทอง 
รับจัดบายศรีดอนเมือง
รับจัดบายศรีดินแดง 
รับจัดบายศรีดุสิต 
รับจัดบายศรีตลิ่งชัน 
รับจัดบายศรีทวีวัฒนา
รับจัดบายศรีทุ่งครุ 
รับจัดบายศรีธนบุรี 
รับจัดบายศรีบางกอกน้อย
รับจัดบายศรีบางกอกใหญ่ 
รับจัดบายศรีบางกะปิ 
รับจัดบายศรีบางคอแหลม
รับจัดบายศรีบางซื่อ 
รับจัดบายศรีบางนา 
รับจัดบายศรีบางพลัด 
รับจัดบายศรีบางรัก
รับจัดบายศรีบางเขน 
รับจัดบายศรีบางแค 
รับจัดบายศรีบึงกุ่ม 
รับจัดบายศรีปทุมวัน
รับจัดบายศรีประเวศ 
รับจัดบายศรีป้อมปราบศัตรูพ่าย 
รับจัดบายศรีพญาไท
รับจัดบายศรีพระนคร 
รับจัดบายศรีพระโขนง 
รับจัดบายศรีภาษีเจริญ 
รับจัดบายศรีมีนบุรี
รับจัดบายศรียานนาวา 
รับจัดบายศรีราชเทวี 
รับจัดบายศรีราษฎร์บูรณะ
รับจัดบายศรีลาดกระบัง 
รับจัดบายศรีลาดพร้าว 
รับจัดบายศรีวังทองหลาง
รับจัดบายศรีวัฒนา 
รับจัดบายศรีสวนหลวง 
รับจัดบายศรีสะพานสูง
รับจัดบายศรีสัมพันธวงศ์ 
รับจัดบายศรีสาทร 
รับจัดบายศรีสายไหม
รับจัดบายศรีหนองจอก 
รับจัดบายศรีหนองแขม 
รับจัดบายศรีหลักสี่ 
รับจัดบายศรีห้วยขวาง
รับจัดบายศรีเมืองนครปฐม 
รับจัดบายศรีกำแพงแสน 
รับจัดบายศรีดอนตูม
รับจัดบายศรีนครชัยศรี 
รับจัดบายศรีบางเลน 
รับจัดบายศรีพุทธมณฑล 
รับจัดบายศรีสามพราน
รับจัดบายศรีเมืองนนทบุรี 
รับจัดบายศรีบางกรวย 
รับจัดบายศรีบางบัวทอง
รับจัดบายศรีบางใหญ่ 
รับจัดบายศรีปากเกร็ด 
รับจัดบายศรีไทรน้อย
รับจัดบายศรีเมืองปทุมธานี 
รับจัดบายศรีคลองหลวง 
รับจัดบายศรีธัญบุรี
รับจัดบายศรีลาดหลุมแก้ว 
รับจัดบายศรีลำลูกกา 
รับจัดบายศรีสามโคก 
รับจัดบายศรีหนองเสือ
รับจัดบายศรีเมืองสมุทรปราการ 
รับจัดบายศรีบางพลี 
รับจัดบายศรีบางเสาธง
รับจัดบายศรีพระประแดง
 รับจัดบายศรีพระสมุทรเจดีย์
รับจัดบายศรีเมืองระยอง
รับจัดบายศรีนิคมพัฒนา 
รับจัดบายศรีเขาชะเมา
รับจัดบายศรีบ้านฉาง 
รับจัดบายศรีปลวกแดง 
รับจัดบายศรีวังจันทร์ 
รับจัดบายศรีแกลง
รับจัดบายศรีเมืองชลบุรี 
รับจัดบายศรีเกาะจันทร์ 
รับจัดบายศรีบางละมุง
รับจัดบายศรีบ่อทอง  
รับจัดบายศรีบ้านบึง 
รับจัดบายศรีพนัสนิคม
รับจัดบายศรีพานทอง
รับจัดบายศรีศรีราชา 
รับจัดบายศรีสัตหีบ 
รับจัดบายศรีหนองใหญ่ 
รับจัดบายศรีเกาะสีชัง
รับจัดบายศรีเมืองสมุทรสาคร 
รับจัดบายศรีกระทุ่มแบน 
รับจัดบายศรีบ้านแพ้ว 
รับจัดบายศรีมหาชัย
รับจัดบายศรีเมืองสมุทร
รับจัดบายศรีอัมพวา 
รับจัดบายศรีบางคนที
รับจัดบายศรีเมืองราชบุรี 
รับจัดบายศรีบ้านคา 
รับจัดบายศรีจอมบึง
รับจัดบายศรีดำเนินสะดวก 
รับจัดบายศรีบางแพ 
รับจัดบายศรีบ้านโป่ง
รับจัดบายศรีปากท่อ
รับจัดบายศรีวัดเพลง 
รับจัดบายศรีสวนผึ้ง 
รับจัดบายศรีโพธาราม
รับจัดบายศรีเมืองฉะเชิงเทรา 
รับจัดบายศรีคลองเขื่อน 
รับจัดบายศรีท่าตะเกียบ 
รับจัดบายศรีบางคล้า
รับจัดบายศรีบางน้ำเปรี้ยว 
รับจัดบายศรีบางปะกง 
รับจัดบายศรีบ้านโพธิ์
รับจัดบายศรีพนมสารคาม
รับจัดบายศรีราชสาส์น 
รับจัดบายศรีสนามชัยเขต 
รับจัดบายศรีแปลงยาว
รับจัดบายศรีเมืองนครนายก 
รับจัดบายศรีปากพลี 
รับจัดบายศรีบ้านนา 
รับจัดบายศรีองครักษ์
 
Engine by shopup.com