รับจัดงานเลี้ยง
ติดต่อจัดอาหาร
การจัดเลี้ยงอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ นิยมจัดเลี้ยงกับคนจำนวนมาก เพราะว่าไม่ต้องใช้คนเสิร์ฟมาก ไม่ลำบากในการจัดสถานที่เลี้ยง เวลาไหน ใช้อาหารอะไรก็ได้ ในการเลี้ยงแบบนี้แขกจะตักอาหารเอง ดังนั้นอาหารทุกอย่างตลอดจนเครื่องดื่ม จะจัดไว้ที่โต๊ะให้เรียบร้อย โดยมีคนเสิร์ฟไว้ช่วยดูแลบ้าง การจัดแบบบุฟเฟ่ต์มี 3 แบบ
1. อาหารทุกชนิดวางไว้ที่โต๊ะพร้อมอุปกรณ์ แต่ละโต๊ะที่จัดวางจะมีเก้าอี้จัดให้นั่งตามจำนวนของแขก แขกก็เลือกอาหารที่โต๊ะรับประทานเอง ถ้าอาหารจานไหนเลือกไม่ถึง ตักลำบาก ก็จะยกส่งต่อกัน ในการจัดเลี้ยงแบบนี้ นิยมใช้ในบ้าน ใช้กับจำนวนแขกน้อย ใช้กับแขกที่สนิทสนมกันดี
2. จัดอาหารลงในถาดหรือจานใหญ่ๆ โดยมีคนเสิร์ฟยกมาให้แขก ส่งไปตามโต๊ะที่แขกนั่ง แขกจะตักอาหารเองตามชอบ ถ้าอาหารที่ไม่ชอบก็ปฏิเสธได้ ถ้าเป็นของร้อนพวกเครื่องดื่ม มักจะใช้รถเข็น การจัดเลี้ยงแบบนี้ต้องมีคนเสิร์ฟ คอยรอที่โต๊ะ แขกเลือกตักเอง การจัดเลี้ยงแบบนี้ อุปกรณ์ทุอย่างจะวางไว้บนโต๊ะให้ครบ
3. แบบนี้เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายมาก อุปกรณ์ทุกอย่างตลอดจนอาหารจะจัดวางไว้ที่โต๊ะ โดยให้แขกตักเอง การจัดแบบนี้ต้องมีคนเสิร์ฟอยู่ที่โต๊ะ คอยช่วยเหลือแขกบ้าง ถ้าอาหารหมดก็รีบนำมาเติมทันที
ข้อแนะนำในการจัดโต๊ะอาหารแบบบุฟเฟ่ต์
การจัดเลี้ยงแบบบุฟเฟ่ย์นี้ จะต้องเขียนวางรายการอาหารในที่ที่แขกมองเห็นชัดเจน ให้แขกทราบว่ารายการอาหารนั้นมีอะไรบ้าง รายการอาหารที่ต้องเขียน ตัวอักษรต้องอ่านง่ายและชัดเจน เช่นเขียนที่กระดานที่แขกเข้ามามองเห็นได้ง่าย ในการจัดจัดโต๊ะแบบบุฟเฟ่ย์นั้น เราต้องจัดให้แขกเดินแถวเดียว ทางเดียว หรือเดินรอบๆโต๊ะก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนของแขกว่ามีมากน้อยแค่ไหน วิธีการจัดโต๊ะ ขนาดของโต๊ะ จำนวนอาหารที่จัดวาง
การจัดโต๊ะแบบให้แขกช่วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหารมื้อใดก็ตาม นอกจากอาหารอร่อย ถูกใจแขก ต้องให้ความสะดวกกับแขกที่จะเข้าไปเลือกตักอาหารเองได้สะดวก ฉะนั้น ควรเริ่มต้นตั้งแต่วางแบบการตั้งโต๊ะอาหาร กำหนดทางเดินเข้า ออกให้แขก โดยใช้อาหารที่เสิร์ฟเป็นเครื่องกำหนด
คือเริ่มด้วยอาหารจานแรก เช่น ประเภทยำ สลัด แล้วจึงเป็นอาหารประเภท Main dish(อาหารจานสำคัญ)
จบด้วยรายการอาหารจานสุดท้ายของรายการ
วิธีที่บอกให้แขกรู้ว่าจะเริ่มตรงไหนง่ายที่สุดคือตั้งจาน ช้อน ส้อม ที่จะเสิร์ฟไว้ตรงมุมนั้น พร้อมทั้งอาหารจานแรก
ถ้าแขกมีจำนวนมาก ควรแยกเป็นหลายๆโต๊ะ โต๊ะหนึ่ง 5 คน กำลังดี ถ้า 100 คน ต้องตั้งอาหารข้างท้ายโต๊ะเหมือนกัน ให้แขกเดินมาบรรจบกันตรงกลาง แล้วแยกออก
อย่างไรก็ตามอย่าให้แขกอึดอัด ต้องเดินเบียดกัน หรือต้องคอยนาน จุเริ่มอาจใช้จานแบ่งอาหารเป็นเครื่องหมาย โดยตักอาหารก่อน แล้วจึงมาหยิบช้อน ส้อม กระดาษ
ข้อแนะนำการจัดอุปกรณ์และของใช้บนโต๊ะอาหารแบบบุฟเฟ่ต์
1. จานที่ใช้สำรับตักอาหารควรเลือกจานขนาดใหญ่ เช่นจานที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-12 นิ้ว เพื่อให้แขกตักอาหารได้ทุกชนิด ในคราวเดียว เพื่อให้ความสะดวกแก่แขกที่ไม่ต้องลุกมาตักอาหารบ่อยๆ
2. ช้อน ส้อม ควรจัดวางไว้ใกล้ๆจาน วางหงาย ถ้าวางคว่ำแสดงว่ายังไม่พร้อมที่จะให้แขกรับประทาน
3. ในการจัดจานวางบนโต๊ะอาหาร อย่าซ้อนกันให้สูง เพราะจะล้มได้ ควรจะวางไว้หลายตั้งดีกว่าตั้งเดียวสูงๆ จำนวนของจานควรพอดีกับแขก ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทานอาหาร ควรจัดเผื่อไว้บ้าง เช่น แขก 200 คน ควรเกินไว้ 1 โหล
4. ภาชนะที่ใช้ใส่อาหารตั้งโต๊ะ เช่น ใส่แกง ใส่ผัด ใส่ผลไม้ ใส่อาหารที่จะเสิร์ฟ ควรจะเลือกที่มีรูปร่างและเนื้อวัสดุต่างๆกัน เช่น แกงเราต้องการให้เห็นสีของน้ำแกงด้วยก็ใส่ชามแก้ว ในการจัดโต๊ะเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพื่อให้ตะอาหารนั้นเด่นขึ้นมา ต้องเลือกสิ่งที่ตรงข้ามกันในเรื่องวัสดุ รูปร่าง ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปไข่ สี่เหลี่ยมด้านเท่า เมื่อจัดอาหารวางเรียงกันบนโต๊ะ ทำให้เกิดความน่าดูขึ้น ดีกว่าภาชนะที่รูปทรงเหมือนกันทั้งโต๊ะ
นอกจากนี้ควรเลือกภาชนะที่เหมาะสมกับชนิดของอาหารที่จะใส่ เช่น ของมีความละเอียดลออ นุ่มนวลก็ควรใส่ชามแก้วหรือจานแก้ว เช่นขนมปุยฝ้ายจัดลงในถาดแก้วคงจะน่าดูกว่าจัดในถาดไม้ หรือกระด้ง ในทำนองเดียวกัน ห่อหมกควรจัดวางในกระด้งจะดูสวยงามกว่า
5. ในการวางอาหารบนโต๊ะอาหาร อย่าวางชิดติดกัน ให้เว้นช่องไฟไว้บ้าง และอย่าวางชิดขอบโต๊ะ อาหารแต่ละจานควรจะห่างกันอย่างน้อย 3-4 นิ้ว และอาหารแต่ละจานควรวางห่างขอบโต๊ะ 2 นิ้ว
6. ในการตักอาหารใส่ภาชนะอย่าตักเต็มเพราะจะลำบากเวลาแขกตัก จะหกได้
7. วางช้อนกลางหรือภาชะสำหรับตักให้ถูกต้อง อย่างไหนควรใช้ช้อน ใช้ส้อม ใช้ที่คีบ ช้อนกลาง ส้อมควรวางหงาย
8. ภาชนะที่ใส่ของน้ำเช่น แกง น้ำจิ้ม ต้องมีจานรองหรือถาดรอง
9.กระดาษเช็ดมือหรือผ้าเช็ดมือวางไว้ให้พร้อม ส่วนใหญ่จะมีมากกว่าจำนวนแขก ผ้าเช็ดมือที่ใช้ในการจัดเลี้ยงบุฟเฟ่ย์อาหารคาว ใช้ผ้าเช็ดมือผืนใหญ่ ถ้าพวกเครื่องดื่มใช้ผืนเล็ก (ขนาด 12 นิ้ว และขนาด 6นิ้ว)
10. ในการเสิร์ฟน้ำการจัดอาหารบุฟเฟ่ต์นั้นจะวางเหยือกน้ำใส่ถาด ถาดต้องปูด้วย Place mats
ให้แขกรินเอง
อีกวิธีหนึ่งอาจรินน้ำใส่แก้วยกไปเสิร์ฟให้แขกตามโต๊ะก็ได้ ถ้ามีคนเสิร์ฟพอ ในการเสิร์ฟของหวานและกาแฟ ในการจัดเลี้ยงบางแห่งนิยมเสิร์ฟหลังอาหาร โดยการจัดโต๊ะกาแฟและของหวานไว้โต๊ะเดียวกัน
และจัดอุปกรณ์ที่ใช้ให้พร้อม โดยทั่วไปถ้ามีการจัดโต๊ะแบบนี้ ต้องมีผ้าเช็ดมือผืนเล็กๆ จัดวางไว้บนโต๊ะให้เสร็จ โดยมากกาแฟจะให้แขกชงเอง โดยตั้งน้ำตาลกับครีมไว้ให้แขกใส่ได้ตามชอบใจ
การเสิร์ฟของหวานอีกวิธีหนึ่งสำหรับการจัดแบบนี้ คนจัดต้องรวดเร็ว ว่องไว และรู้งาน คือจัดหลังจากแขกอิ่มของคาวแล้ว โดยใช้โต๊ะอาหารคาวนั้นจัดของหวาน ในการจัดแบบนี้ ถ้าผ้าปูโต๊ะสกปรกต้องเปลี่ยนใหม่ ในการเปลี่ยนต้องทำอย่างว่องไวและรวดเร็ว แต่อย่าให้เศษอาหารที่ติดกับผ้าตกลงไปที่พื้น เปลี่ยนโดยวิธีม้วนจากชายผ้าเข้ามา ต้องเก็บของคาว และจัดโต๊ะเรียบร้อย แล้วรีบจัดของหวานมาตั้งพร้อมกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทาน
การจัดเลี้ยงเครื่องดื่มแบบบุฟเฟ่ต์ ในการเลี้ยงเครื่องดื่มนิยมใช้เลี้ยงในโอกาสต่างๆเช่น แสดงความยินดี พบปะสังสรรค์ การแนะ ต้อนรับ พวกเครื่องดื่มได้แก่ ชา กาแฟ น้ำหวาน และน้ำผลไม้ เครื่องดื่มพวกนี้ต้องมีขนมที่ใช้กินกับเครื่องดื่มด้วย โดยเลือกขนมและเครื่องดื่มให้เหมาะกับเวลาเช่น ถ้าอากาศร้อนคนไม่นิยมดื่มชา กาแฟ อาจใช้น้ำผลไม้แช่เย็นหรือน้ำหวาน เลี้ยงตอน 10.30 น. ถ้าอากาศเย็นควรเป็นเครื่องดื่มร้อน เช่น ชา กาแฟ โกโก้ ขนมที่ใช้ต้องกินแล้วไม่อิ่มนัก มีเพียง 2-3 ชิ้นพอ เช่นขนมปังกรอบ หรือคุกกี้ ของที่กินอิ่มเช่น แซนด์วิซ หรือขนมปังไส้ไก่ ไม่นิยมใช้ตอนนี้ นิยมใช้ตอนบ่าย 14.00หรือ 16.00 น. ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า ต่อไปจะเป็นอาหารมื้อกลางวัน ขนมที่ใช้ในการกินกับเครื่องดื่มต้องเลือกขนมที่สวย กินง่าย ไม่เลอะเทอะ จัดทำไว้ได้นานไม่เสียรูปทรงหรือรสชาติ
ข้อแนะนำในการจัดโต๊ะ 1. จานที่ใช้แบ่งอาหารให้ใช้จานที่มีขนาดใหญ่พอที่จะใส่อาหารได้และสามารวางแก้วเครื่องดื่ม หรือถ้วยกาแฟบนจานได้ โดยมากใช้จานขนาด 8-10 นิ้ว
2. จัดเครื่องมือเครื่องใช้ในการรับประทาน ตลอดจนช้อนกลางหรือภาชนะที่ใช้ตักให้พร้อม แก้วน้ำไม่ควรจะใช้แก้วที่มีก้านหรือมีเชิงหรือแก้วทรงสูง เพราะทำให้แขกถือลำบาก
3. ตามปกติจะไม่จัดจานรองถ้วยชา กาแฟให้ ยกเว้นในกรณีที่มีโต๊ะให้แขกนั่งทุกคนจึงจัดจานรองให้ ถ้าหากว่าเสิร์ฟพวกเครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้ หรือน้ำใส่น้ำแข็ง จะต้องมีที่รองแก้วหรือกระดาษนุ่ม เพื่อให้แขกวางกันน้ำแข็งละลายหยดทำให้ขนมที่กรอบนั้นนุ่มไป และเพื่อป้องกันไม่ให้แก้วลื่น
4. ถ้าใช้เค้กอันใหญ่เสิร์ฟ ต้องตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ให้เรียบร้อยก่อนที่จะวางบนโต๊ะ
5. พวกเครื่องดื่มไม่ควรใส่ให้เต็มกา เพราะเวลารินจะหก เวลาจัดอาหารลงถาด อย่าจัดให้ล้น จะหยิบลำบาก อาหารบางอย่างเช่น เค้กกล้วยหอม ไม่ควรวางซ้อนกัน เพราะหน้าขนมจะติดกัน การจัดอาหารลงถาดเดียวกัน ต้องเลือกอาหารชนิดที่เหมือนกัน เช่น กรอบ ก็กรอบเหมือนกัน ถ้าอาหารนั้นรูปทรงต่างกัน ก็ควรจัดวางไว้เป็นพวก อย่าวางเกยซ้อนทับกัน
6. ชา กาแฟ ถ้าไม่ได้ผสมเสร็จเรียบร้อย หรือให้แยกผสมเอง ต้องมีช้อนสำหรับคนให้ด้วย
7. กระดาษเช็ดมือใช้ขนาดเล็ก 6 นิ้ว ต้องมีจำนวนมากกว่า ครึ่งของแขก