รู้จัก แผงโซลาร์เซลล์ ก่อนติดหลังคาบ้าน ควรเลือกแบบไหนดี
25 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้ชม 206 ผู้ชม
ติดตั้งโซล่าเซลล์โซลาร์เซลล์ทางเลือกสู้ภัยแล้ง สูบน้ำทุนต่ำเพื่อการเกษตร น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรพลังงานโซลาเซลล์โซล่าเซลล์ สูบน้ำเพื่อการเกษตร อาทิตย์
โซล่าเซลล์ราคา
ช่างซ๋อมโซล่าเซลล์
ขายส่งแผงโซล่าเซลล์
ระบบโซล่าเซลล์
ราคาโซล่าเซลล์
ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์
โซล่าเซลล์ซับเมิส
ระบบสูบน้ำบาดาลโซล่าเซลล์
ติดต่อสอบถาม
รู้จัก "แผงโซลาร์เซลล์" ก่อนติดหลังคาบ้าน ควรเลือกแบบไหนดี
แผงโซลาร์เซลล์ แหล่งพลังงานทางเลือกที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เพียงแค่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านหรือตัวอาคาร แต่แผงโซลาร์เซลล์ที่วางจำหน่ายผ่านตัวแทนต่างๆ ก็มีมากมายหลายแบบ จึงควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นไว้ ก่อนจะเลือกซื้อมาใช้งานจริง
แผงโซลาร์เซลล์ มีกี่ขนาด ควรเลือกใช้ประเภทไหนดี
แผงโซลาร์เซลล์ (Photovoltaics Module ) คือ แผ่นโซลาร์เซลล์ขนาดสี่เหลี่ยมที่นำมาวางรวมกัน จนกลายเป็น "แผงโซลาร์เซลล์" ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ โดยทำมาจากผลึกซิลิคอนที่มีคุณสมบัติหลักในการรับแสงอาทิตย์ และเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ถือเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และชั้นบรรยากาศของโลก จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้แผงโซลาร์เซลล์เริ่มเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
- แผงโซลาร์เซลล์ มีให้เลือกหลายแบบและหลายขนาด ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ สำหรับในประเทศไทย มีแผงโซลาร์เซลล์ 3 ประเภท ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้
แผงโซลาร์เซลล์ ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
ทำมาจากซิลิคอนทรงกระบอกบริสุทธิ์ ต้นทุนสูง เกรดคุณภาพที่สุด มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูง แม้จะอยู่ในภาวะที่มีแสงน้อยก็ตาม มีอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปีขึ้นไป แต่ราคาค่อนข้างสูง
- แผงโซลาร์เซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)
มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่ตัดมุม การผลิตไม่ซับซ้อนมากนัก ทำให้มีราคาถูกกว่า แต่ก็มีคุณสมบัติผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าแบบแรก จึงเหมาะติดตั้งในที่ที่มีอุณหภูมิสูง มีอายุการใช้งานประมาณ 20-25 ปี
- แผงโซลาร์เซลล์ ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)
ทำมาจากสารอะมอฟัส (Amorphous silicon) และสารชนิดอื่นๆ โดยนำมาฉาบเป็นแผ่นฟิล์ม มีคุณสมบัติผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุด จึงมีราคาถูก แต่ไม่เหมาะนำมาใช้ในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด อายุการใช้งานสั้นกว่าประเภทอื่นๆ
ไขข้อข้องใจ แผงโซลาร์เซลล์ มีกี่วัตต์ กี่โวลต์ ผลิตไฟฟ้าได้เท่าไหร่
โดยทั่วไปแผงโซลาร์เซลล์ มักใช้แรงดันไฟ 12 โวลต์ และ 24 โวลต์ ซึ่งที่นิยมซื้อกันจะเป็นแผ่น 12V 300W และ 250W (แรงดันไฟ 12 โวลต์ 300 วัตต์ และ 250 วัตต์) แต่แผงโซลาร์เซลล์จะมีประสิทธิภาพสูงสุดกี่วัตต์นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องประเภท ขนาด และจำนวนแผงเซลล์ ซึ่งมีผลทำให้กระแสไฟวิ่งไม่เท่ากัน ซึ่งหากการติดตั้งมีระบบการผลิตและควบคุมที่ดี ก็อาจสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดประมาณ 4,500 หน่วยต่อปีเลยทีเดียว
แผงโซลาร์เซลล์ ติดหลังคาบ้าน เทรนด์รักษ์โลกยอดฮิต
หลายคนเริ่มสนใจอยากจะนำพลังงานแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ภายในบ้านเรือน ซึ่งควรจะศึกษารายละเอียดของแผงโซลาร์เซลล์ให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ เนื่องจากหากจะติดตั้งบนหลังคาบ้าน จะต้องดำเนินเรื่องขออนุญาตจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบโครงสร้างของบ้าน และตำแหน่งที่เหมาะสมจะติดตั้ง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ข้อควรรู้ก่อน ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ บนหลังคาบ้าน
- ต้องแจ้งทาง สำนักงานเขต, กรมกำกับพลังงาน, การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่ออนุญาตใช้แผงโซลาร์เซลล์
- ตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดแผงโซลาร์เซลล์ ควรอยู่ในบริเวณที่เปิดโล่ง ไม่มีร่มเงาของต้นไม้บดบังแผงเซลล์
- ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝุ่นหนาแน่น เพราะอาจส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานแผงโซลาร์เซลล์
- การติดตั้งควรให้ลาดเอียงประมาณ 10-15 องศา เพื่อให้สามารถรับแสงอาทิตย์ได้เต็มที่มากที่สุด
- กรณีที่ติดต่อให้บริษัทเอกชนต่างๆ ดำเนินเรื่องและติดตั้งให้ ควรใช้บริการจากองค์กรที่น่าเชื่อถือและมีใบรับรองถูกต้อง
รู้หรือไม่! ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ สามารถขายกระแสไฟคืนให้ภาครัฐได้
การนำแผงโซลาร์เซลล์มาใช้ร่วมกับอาคารบ้านเรือน นอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดการใช้ไฟฟ้าแล้ว หากกระแสไฟฟ้าเหลือ ยังสามารถขายคืนให้แก่ภาครัฐได้ โดยในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระบบหลัก ได้แก่
1. ระบบออฟกริด (Off Grid) : เหมาะกับบ้านเรือนที่อยู่ห่างไกล ไม่สะดวกในการใช้กระแสไฟฟ้า เนื่องจากไม่มีเสาไฟฟ้าผ่านหน้าบ้าน จึงจำเป็นต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์ ในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยตรง
2. ระบบออนกริด (On Grid) : เหมาะกับบ้านเรือนที่มีไฟฟ้าเข้าถึงอยู่แล้ว และต้องการผลิตกระแสไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ร่วมด้วย ทำให้เลือกใช้ไฟฟ้าจากแหล่งไหนก็ได้ ซึ่งหากกระแสไฟเหลือ ก็สามารถแบ่งขายให้แก่หน่วยงานการไฟฟ้าของภาครัฐได้
3. ระบบไฮบริด (Hybrid Grid) : มีความคล้ายคลึงกับระบบออนกริด แต่มีราคาที่สูงกว่า เนื่องจากสามารถเก็บกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ไว้ใช้สำรอง ตอนกลางคืนหรือในเวลาที่ไฟฟ้าดับได้ แต่ระบบนี้ไม่สามารถขายกระแสไฟคืนให้แก่ภาครัฐได้
แผงโซลาร์เซลล์ ถือเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกและพลังงานสะอาด ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ซึ่งคนยุคใหม่ให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ทั้งนี้ก็ควรศึกษาข้อมูลให้เข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้เลือกใช้แผงโซลาร์เซลล์ประเภทที่เหมาะสม ให้คุ้มค่ามากที่สุด