จะตรวจสอบยังไงว่า บ้านเราติดโซล่าเซลล์ แล้วคุ้มค่า แล้วควรติดขนาดเท่าใดที่เหมาะสม ปี2022
25 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้ชม 238 ผู้ชม
ติดตั้งโซล่าเซลล์โซลาร์เซลล์ทางเลือกสู้ภัยแล้ง สูบน้ำทุนต่ำเพื่อการเกษตร น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรพลังงานโซลาเซลล์โซล่าเซลล์ สูบน้ำเพื่อการเกษตร อาทิตย์
โซล่าเซลล์ราคา
ช่างซ๋อมโซล่าเซลล์
ขายส่งแผงโซล่าเซลล์
ระบบโซล่าเซลล์
ราคาโซล่าเซลล์
ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์
โซล่าเซลล์ซับเมิส
ระบบสูบน้ำบาดาลโซล่าเซลล์
ติดต่อสอบถาม
จะตรวจสอบยังไงว่า บ้านเราติดโซล่าเซลล์ แล้วคุ้มค่า แล้วควรติดขนาดเท่าใดที่เหมาะสม ?
ที่ผ่านมาทีมงานโซล่าฮับ ได้รับคำถามจากท่านลูกค้าจำนวนมากว่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆอย่างเช่น ที่บ้านใช้แอร์ 3 เครื่อง ใช้พัดลม 3 ตัว ตู้เย็น 2เครื่อง เครื่องซักผ้า1เครื่อง TV 3 เครื่อง.... และอื่นๆอีกมากมาย จะติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟได้ไหม ต้องติดขนาดเท่าใด เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และประหยัดค่าไฟได้เท่าไหร่ ? เป็นต้น จากคำถามข้างต้น ทางทีมงานโซล่าฮับขออธิบายแบบง่ายๆดังนี้
ปัจจุบันมีเทคโนโลยี ที่สามารถนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์ นำมาเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ ที่ส่งไฟมาที่บ้านเรา (อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายเรียกว่า กริดไทร์ อินเวอร์เตอร์ ) ดังนั้นเมื่อเราผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ได้ อุปกรณ์ กริดไทร์ อินเวอร์เตอร์ ก็จะทำการเลือกใช้ไฟที่มาจากโซล่าเซลล์ก่อน ถ้ายังไม่พอจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเรา จึงไปดึงไฟจากการไฟฟ้าฯมาใช้งาน ดังนั้นเราจึงเสียค่าไฟฟ้าเฉพาะในส่วนที่เราดึงไฟจากการไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งก็ทำให้เราประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ แต่ทั้งนี้เมื่อเราผลิตไฟได้แล้วต้องนำมาใช้งานเลย ( จริงๆก็เก็บได้แหละครับ แต่อุปกรณ์ที่เก็บได้คือแบตเตอรี่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ราคายังสูงอยู่ และอายุการใช้งานสั้น ) ดังนั้นเราจึงต้องเน้นว่าผู้ที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ ต้องใช้ไฟตอนกลางวันมากๆเท่านั้น จึงจะเหมาะสมและถึงจุดคุ้มทุนเร็ว
ทั้งนี้หากสนใจติดตั้งโซล่าเซลล์ ท่านจึงไม่ต้องไปสนใจว่าที่บ้านใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไร อย่างไร เท่าไหร่ ให้สนใจแค่ว่าที่บ้านท่านใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวัน เท่าไหร่ หรือกี่หน่วยก็เพียงพอแล้ว เพราะถ้าโซล่าเซลล์ผลิตไฟไม่พอใช้ ตัวกริดไทร์ อินเวอร์เตอร์ ก็จะไปดึงไฟจากการไฟฟ้ามาเองโดยอัตโนมัติครับ
ทีมงานโซล่าฮับ จึงขอแนะนำวิธีการตรวจสอบว่าเราควรติดโซล่าเซลล์ และควรติดขนาดเท่าใดที่เหมาะสม ดังนี้
1. อันดับแรกให้ดูที่บิลค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนว่าใช้ไฟฟ้า เดือนละกี่หน่วย (KW-h) เช่น ถ้าใช้เดือนละ 2,000 หน่วย ( เสียค่าไฟฟ้าประมาณเดือนละ 10,000 บาท ) ก็เฉลี่ยแล้วใช้ไฟวันละ 67 หน่วย ( 2,000 หาร 30
2. ต่อมาให้ไปจดเลขมิเตอร์ 2ครั้งใน1วัน คือในช่วงเช้าเวลาสัก 6.00 น. และ เย็น เวลา 18.00 น. แล้วนำค่าที่ได้มาลบกัน ก็จะได้ ค่าจำนวนหน่วย ที่ใช้ในเวลากลางวัน ทั้งนี้ขอแนะนำว่า ให้ลองสุ่มวัดค่าดังกล่าว สัก 3-5 วัน แล้วนำมาหาเป็นค่าเฉลี่ย ที่ใช้ไฟในแต่ละวัน
3. สมมุติว่าเราได้ทำการ จดมิเตอร์มา 4วัน ได้ค่าดังนี้ 55+40+50+45 = 190/4 เฉลี่ยแล้วใช้ไฟฟ้ากลางวันประมาณ 47.5 หน่วย โดยในประเทศไทยเฉลี่ยแล้วใน 1วัน มีแสงอาทิตย์ ที่ผลิตได้ประมาณ 5 ช.ม./วัน จากนั้นนำ 47.5 / 4 = 11.87 ซึ่งก็จะได้ขนาดที่เหมาะสมในการติดตั้งโซล่าเซลล์ ในกรณีนี้คือ ติดตั้งขนาดประมาณ 10 KW ( เนื่องจากเราต้องดูขนาดของแผงโซล่าเซลล์ และขนาดอินเวอร์เตอร์ ที่มีขาย ประกอบการพิจารณาด้วย ) ก็จะถึงจุดคุ้มทุนในระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดระยะเวลาจุดคุ้มทุนได้ที่นี่ แต่ถ้าหากเราติดตั้งโซล่าเซลล์ ขนาดที่มากกว่ากำลังงานที่ใช้ในเวลากลางวัน พลังงานไฟฟ้าที่เกินก็จะใหลคืนไปยังระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯโดยทีเราไม่ได้ประโยชน์ในส่วนนี้ สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับ ติดตั้งโซล่าเซลล์แล้วผลิตออกมา เราใช้ไม่หมดหรือไม่ได้ใช้ จะเป็นอันตรายหรือไม่ อย่างไร?
4. แต่หากกรณีที่ จดเลขมิเตอร์และทำการหาค่าเฉลี่ยใช้ไฟในเวลากลางวันแล้วต่ำกว่า 15 หน่วย/วัน อาจต้องใช้เวลาเกิน 10 ปีจึงจะคืนทุนค่าติดตั้ง แต่ก็สามารถจะติดตั้งโซล่าเซลล์ได้เนื่องจากอายุการใช้งานของระบบประมาณ 25 ปี ทั้งนี้ถ้าใช้ไฟวันละ 15 หน่วย ก็ติดตั้งขนาด 3 KW ใช้ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 8-9 ปี
อุปกรณ์โซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพและอายุการใช้งาน นานเท่าใด?
ขอกล่าวถึงอายุการใช้งานและการรับประกันของ การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนี้
1.แผงโซล่าเซลล์ หรือ แผง PV ย่อมาจาก PhotoVoltaic หรือ solar panel (ในวงการฯเค้าเรียกชื่อกันหลายอย่างครับ เลยขอเอ่ยไว้หน่อย เผื่อท่านไปได้ยินมาจะได้ไม่งง ว่ามันคือไรหว่า) ส่วนใหญ่แผง PV ประสิทธิภาพในปีแรกเมื่อติดตั้ง จะลดลงประมาณ 2.5 % เนื่องจากมีผลึกที่ประกอบเป็นโซล่าเซลล์ ทำปฏิกิริยากับสภาพอากาศ และสภาพแวดล้อม และหลังจากนั้น ปีที่ 2-25 ประสิทธิภาพจะลดลงปีละประมาณ 0.7 % ดด้านล่างนี้เป็นตารางแสดงรายละเอียด การลดลงของประสิทธิภาพแบบคร่าวๆ
ซึ่งหลังจาก 25 แล้วระบบก็ยังใช้งานได้ต่อไป เพียงแต่ประสิทธิภาพลดลงเท่านั้น
การรับประกันของแผงก็ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ บางยี่ห้อ 10 ปี บางยี่ห้อ 25 ปี
2.อินเวอร์เตอร์ การรับประกันส่วนใหญ่จะ รับประกันที่ 5 ปี และบางยี่ห้อมีอ็อปชั่นเสริมที่ซื้อประกันเพิ่มเป็น 10 ปี
3.การรับประกันการติดตั้ง ขึ้นอยู่กับผุูรับเหมาติดตั้ง มีตั้งแต่ 6 เดือน , 1 ปี หรือ 2 ปี หรือมากกว่านี้ ซึ่งบางรายก็อาจจะการให้บริการหลังการติดตั้งโดยเข้าทำความสะอาดแผง และเช็คระบบฯ 3 เดือนครั้ง หรือ 6 เดือนครั้ง เป็นต้น
เงินลงทุน และระยะเวลาการคืนทุนนานเท่าใด?
ปัจจุบัน (เม.ย.59) ราคาของอุปกรณ์โซล่าเซลล์ลดลงมาพอสมควร จนถึงจุดที่เมื่อลงทุนติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า แล้วระยะเวลาการคืนทุนอยู่ที่ประมาณ 5-9 ปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ประเภท และขนาดที่จะติดตั้ง กล่าวคือถ้ายิ่งติดตั้งขนาดกำลังวัตต์ ที่มากขึ้น ก็ทำให้ต้นทุนติดตั้งต่อวัตต์ ต่ำลง โดยประมาณการแล้ว การติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับบ้านพักอาศัย
ที่ติดตั้งไม่เกิน 10 KW รวมทั้งค่าอุปกรณ์และค่าแรงติดตั้งแล้วอยู่ที่ 50-90 บาท/W ดังนั้นถ้าติดตั้ง 10 KW ค่าใช้จ่ายประมาณ 500,000 – 900,000 บาท ซึ่งราคาก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกใช้อุปกรณ์คุณภาพระดับใด สามารถดูรายละเอียดตามประมาณการติดตั้งโซล่าเซลล์ ออนกริด บนหลังคา เชื่อมกับระบบจำหน่ายฯ สำหรับผลิตไฟฟ้าใช้เอง (Solar RoofTop OnGrid)
บางท่านอาจสงสัยว่าทำไมราคาค่าติดตั้งจึงมีความแตกต่างกันมากระหว่าง 50-90 บาท/W ขออธิบายดังนี้คือในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ นั้นไม่ได้มีแค่แผงโซล่าเซลล์อย่างเดียวที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ต้องมีอุปกรณ์ประกอบอย่างอื่นอีกที่เป็นส่วนสำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้า และก็มีคำถามอีกมากมายสำหรับอุปกรณ์ประกอบที่จะนำมาใช้งานว่าจะใช้อุปกรณ์เกรดไหนดี อาทิ เช่น
1.แผงโซล่าเซลล์ (Photovoltaics : PV ) >> ใช้เกรดไหน , คุณภาพและผลงานที่ผ่านมา , อยู่ tierไหน, ได้ มอก.หรือไม่ , ผลิตจากประเทศไหน , ได้กำลังวัตต์เต็มตามสเป็คหรือไม่ ...?
2.กริดไทร์อินเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter) >> ใช้เกรดไหน , คุณภาพและผลงานที่ผ่านมา , ผ่านการรับรองจาก กฟน. กฟภ.หรือยัง , ผลิตจากประเทศไหน , ทนร้อนทนฝนได้ไหม , มีระบบมอนิเตอร์ไหม ...?
3.สายไฟฟ้า >> ใช้สาย PV cable ,XLPE cable,THW ถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ , ขนาดสายถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่
4.ท่อร้อยสาย หรือ WireWay หรือ Ladder หรือ >> ในอาคารใช้ท่อร้อยสายประเภทไหนเป็นPVC หรือเหล็ก , นอกอาคารใช้ท่อร้อยสายประเภทไหนเป็นPVC หรือเหล็ก , ใช้ wireway หรือ Ladder , ชุบกัลวาไนซ์ หรือไม่
5.Combiner Box (DC Box)
6.AC Breaker
7.ระบบ Earth Protection
8.ระบบ Ground
9.อุปกรณ์จับยึดแผง Solar Panels และ หัวคอนเน็คเตอร์ MC4
10.บันไดปีนขึ้นหลังคาสำหรับล้างแผง*
11.ราวกันตก หรือ Life Line*
12.ปั๊มน้ำสำหรับล้างแผง*
13.ระบบมอนิเตอร์ระบบ*
14.Fireman Safety Switch (FSW)*
ซึ่งจากรายการอุปกรณ์แต่ละรายการข้างต้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้รับเหมาหรือช่างติดตั้งหรือผู้ใช้งานแต่ละรายจะเลือกใช้ เพราะอุปกรณ์แต่ละอย่างก็มีมากมายหลากหลายประเภท และหลากหลายคุณภาพที่จะเลือกใช้ ขึ้นอยู่กับราคาหรืองบประมาณ และสำหรับอุปกรณ์ในรายการที่ 10 – 15 อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้เป็นอ็อปชั่นเสริม เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานและบำรุงรักษาระบบฯ
ทั้งนี้หากท่านคิดจะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ก็ขอให้คำนึงถึงสิ่งที่สำคัญอันดับแรกคือเรื่องความปลอดภัย จะคำนึงถึงว่าให้ราคาต่ำอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ท่านคงต้องพินิจพิจารณาในรายละเอียดของอุปกรณ์ส่วนประกอบต่างๆ ว่ามีความคุ้มค่าและปลอดภัยหรือไม่อย่างไร เพราะเมื่อเราติดตั้งแล้วอุปกรณ์ฯ ต้องอยู่กับบ้านเราเป็นอย่างน้อย 20 ปี ทางทีมงานโซล่าฮับจึงขอแนะนำให้อ่านบทความเรื่องความปลอดภัย ที่ได้กล่าวไว้ในบทความก่อนหน้านี้ และในโอกาสต่อไปก็จะแนะนำวิธีการเลือกใช้อุปกรณ์แต่ละอย่าง ให้เหมาะสมและปลอดภัยอย่างละเอียด