7770578

สแตนเลส & อลูมิเนียม ต่างกันยังไง ปี2023

หมวดหมู่สินค้า: A55 สแตนเลสอัลลอย

27 มีนาคม 2566

ผู้ชม 183 ผู้ชม

สวัสดีคับหากท่านเป็นคนใน ที่ต้องการใช้บริการ ติดตั้งประตูอัลลอย รับออกแบบ ติดตั้ง ประตูสแตนเลส ประตูสแตนเลสผสมไม้ ประตูอัลลอยด์ รั้วสแตนเลส รั้วอัลลอยด์
รั้วสแตนเลสผสมไม้ อลูมิเนียมลายไม้ ประตูรีโมท เหล็กดัดอิตาลี่จากร้านที่มีความน่าเชื่อถือ ใน
 

       บริการออกแบบและติดตั้ง พร้อมจำหน่าย กันสาด ประตูสแตนเลส รั้วสแตนเลส โครงสแตนเลส ประตูสเตนเลสอลูมิเนียมลายไม้ วัสดุ สเตนเลสเกรด304 ผสมกับอลูมิเนียมลายไม้ เบา แข็งแรง ทนทาน ผลงานของเรา

อลูมิเนียมลายไม้
ลวดลายสแตนเลสราคา
ช่องรั้วสแตนเลสราคา
สแตนเลสเมตรละเท่าไหร่
ประตูรั้วสแตนเลสราคา
ลายประดับสแตนเลส
ประตูสแตนเลสสำเร็จรูป
ประตูสแตนเลสผสมไม้
 

                                             ติดต่อสอบถาม                                  



 
สแตนเลส & อลูมิเนียม
 
กรรมวิธีผลิตเหล็กกล้า (Steel Production)
 เหล้กกล้า (Steels) คือเหล็กที่มีส่วนผสมของเหล็ก คาร์บอน ไม่เกิน 2 % และธาตุ
อื่นๆ หรือสารเจือ โดยทั่วไปเหล็กบริสุทธิ์มีคุณสมบัติทางกลที่ไม่เหมาะสมสำหรับงานทางด้านวิศวกรรม ดังนั้น เหล็กกล้าจึงมีความแตกต่างจากเหล็กอ่อน เหล็กบริสุทธิ์และเหล็กหล่อ ตรงที่สามารถทนต่อแรงดึง แรงบิด การขึ้นรูปหรือแปรรุปง่าย ไม่เปราะหรือแตกหักง่ายและเชื่อมได้ เหล็กกล้ามีจุดหลอมเหลวสูงกว่าเหล็กดิบ เพราะมีปริมาณคาร์บอนต่ำ
     การผลิตเหล็กกล้า เป็นกระบวนการที่ต้องการทำให้เหล็กดิบสีขาวที่ได้จากการถลุง
ของเตาเป่าลม มาทำให้มีความบริสุทธิ์ขึ้น โดยพยายามลดสารมลทินต่างๆให้เหลือน้อยลงหรือหมดไปพร้อมกับปริมาณของธาตุคาร์บอนและธาตุอื่นๆ ถูกลดจำนวนลง ธาตุต่างๆที่ผสมอยู่ในเหล็กจะต้องมีปริมาณเหมาะสม เช่น ซิลิกอน คาร์บอน แมงกานีส ฟอสฟแรัส และกำมะถัน ละในบางครั้งก็จำเป็นจะต้องเติมธาตุอื่นๆ เข้าไปเพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่ต้องการ เช้าน นิกเกิล โครเมี่ยม โมลิบดินั่ม ทองแดง วาเนเดียมไทเทเนียม เป็นต้น
เหล็กกล้ามีส่วนประกอบสำคัญดังนี้
1.ธาตุเหล็ก เป็นส่วนของเปอร์เซนต์ โดยน้ำหนักที่มากที่สุด
2.ธาตุคาร์บอน มีคุณสมบัติทางกลที่เด่นอยู่ 2 ส่วนคือ
    2.1 การเพิ่มคุณสมบัติด้านความแข็ง (Hardness) ความต้านทานแรงดึง (Tensile
strength) การทนต่อการเสียดสี (Wear resistance) ความสามารถในการชุบแข็ง (Hardening)
    2.2 การลดคุณสมบัติด้านความเหนียว(Ductility) ความยืดตัว (Elongation) ความ
สามารถในการตัดเฉือน (Machinability) ความสามารถในการเชื่อม (Welding ability)
3.ธาตุเจือหรือสารเจือที่ติดมากับเหล็ก สารที่มีอยู่แล้วและเป็นที่ต้องการคือ แมงกานีส
ซิลิคอน และอลูมิเนียม ส่วนสารที่ไมต้องการคือ ฟอสฟอรัส กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน และไฮโดรเจน
4.สารเติมหรือธาตุประสม ที่ผสมลงไปเพื่อเพิ่มคุณสมบัติจำเพาะซึ่งจะต้องมีปริมาณที่
พอเหมาะ
 เหล็กกล้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เหล็กกล้าคาร์บอนและเหล็กกล้าประสม
1.เหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon steels) หมายถึง เหล็กกล้าที่มีส่วนผสมของธาตุคาร์บอนเป็นธาตุหลักที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางกลของเหล็ก และยังมีธาตุอื่นผสมอยู่อีก ซึ่งแบ่งเหล็กกล้าคาร์บอนออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
   1.1 เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนไม่เกิน 0.25% นอกจากคาร์บอนแล้วยังมีธาตุอื่นผสมอยู่ด้วย เช่น แมงกานีส ซิลิคอน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน แต่มีปริมาณน้อยเนื่องจากหลงเหลือมาจากกระบวนการผลิต เหล็กประเภทนี้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม และในชีวิตประจำวันไม่ต่ำกว่า 90% เนื่องจากขึ้นรูปง่าย เชื่อมง่าย และราคาไม่แพง โดยเฉพาะเหล็กแผ่นมีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น ตัวถังรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ กระป๋องบรรจุอาหาร สังกะสีมุงหลังคา เครื่องใช้ในครัวเรือน และในสำนักงาน
   1.2 เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.2-0.5% มี
ความแข็งแรงและความเค้นแรงดึงมากกว่าเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ แต่จะมีความเหนียวน้อยกว่า สามารถนำไปชุบแข็งได้ เหมาะกับงานทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล รางรถไฟ เฟือง ก้านสูบ ท่อเหล็ก ไขควง เป็นต้น
   1.3 เหล็กกล้าคาร์บอนสูง เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.5 - 1.5% มีความ
แข็งความแข็งแรงและความเค้นแรงดึงสูง เมื่อชุบแข็งแล้วจะเปราะ เหมาะสำหรับงานที่ทนต่อการสึกหรอ ใช้ในการทำเครื่องมือ สปริงแหนบ ลูกปืน เป็นต้น
2.เหล็กกล้าประสม (Alloy steels) หมายถึง เหล็กที่มีธาตุอื่นนอกจากคาร์บอน ผสมอยู่ในเหล็ก ธาตุบางชนิดที่ผสม อยู่อาจมีปริมาณมากกว่าคาร์บอน คิดเป็นเปอร์เซนต์ โดยน้ำหนักในเหล็กก็ได้ ธาตที่ผสมลงไปได้แก่ โมลิบดินั่ม แมงกานีส ซิลิคอน โครเมียม อลูมิเนียม นิกเกิล และวาเนเดียม เป็นต้น จุดประสงค์ที่ต้องเพิ่มธาตุต่างๆเข้าไปในเนื้อเหล็กก็เพื่อการทำให้คุณสมบัติของเหล็กเปลี่ยนไปนั่นเองที่สำคัญก็คือ
     1. เพิ่มความแข็ง
     2. เพิ่มความแข็งแรงที่อุณหภูมิปกติและอุณหภูมิสูง
     3. เพิ่มคุณสมบัติทางฟิสิกส์
     4. เพิ่มความต้านทานการสึกหรอ
     5. เพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน
     6. เพิ่มคุณสมบัติทางแม่เหล็ก
     7. เพิ่มความเหนียวแน่นทนต่อแรงกระแทก
เหล็กกล้าประสม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
     2.1 เหล็กกล้าประสมต่ำ ( Low Alloy Steels ) เป็นเหล็กกล้าที่มีธาตุ
ประสมรวมกันน้อยกว่า 8% ธาตุที่ผสมอยู่คือ โครเมี่ยม นิกเกิล โมลิบดินั่ม และแมงกานีส ปริมาณของธาตุที่ใช้ผสมแต่ละตัวจะไม่มากประมาณ 1 – 2% ผลจากการผสมทำให้เหล็กสามารถชุบแข็งได้ มีความแข็งแรงสูง เหมาะสำหรับใช้ในการทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เช่น เฟือง เพลาข้อเหวี่ยง จนบางครั้งมีชื่อว่าเหล็กกล้าเครื่องจักรกล (Machine Steels) เหล็กกล้ากลุ่มนี้จะต้องใช้งานในสภาพชุบแข็งและอบก่อนเสมอจึงจะมีค่าความแข็งแรงสูง
     2.2 เหล็กกล้าประสมสูง ( High alloy steels) เหล็กกล้าประเภทนี้จะถูก
ปรับปรุงคุณสมบัติ สำหรับการใช้งานเฉพาะอย่าง ซึ่งก็จะมีธาตุประสมรวมกันมากกว่า 8% เช่น เหล็กกล้าทนความร้อน เหล็กกล้าทนการเสียดสี และเหล็กกล้าทนการกัดกร่อนในที่นี้จะศึกษาเหล็กกล้าไร้สนิมและเหล็กกล้าทำเครื่องมือ
          2.2.1 เหล็กกล้าสแตนเลส (Stainless Steels)หรือเรียกว่าเหล็กกล้าไร้สนิม
ส่วนมากผลิตมาจากเตาไฟฟ้าเหล็กกล้ากลุ่มนี้ทนต่อการผุกร่อน หรือต้านการเป็นสนิมได้ดี ธาตุที่มีบทบาทมากได้แก่ โครเมี่ยม ที่ผสมเข้าไปในเนื้อเหล็ก ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นฟิลม์บางๆขึ้นที่ผิวของเหล็กฟิลม์นี้จะมีความแข็งแรงสูง โปร่งใส ยึดตัวกับผิวเหล็กได้ดี มีความหนาแน่นสูงและไม่มีรูพรุน นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการซ่อมตัวเอง(เกิดขึ้นใหม่เองได้ เพื่อทดแทนส่นของฟิลม์เก่าที่ถูกทำลายไปได้อย่างรวดเร็วการที่จะเกิดฟิลม์ในลักษณะดังกล่าวได้ จะต้องมีโครเมี่ยมผสมอยู่ไม่น้อยกว่า 10 %(ส่วนใหญ่มีอยู่ประมาณ 12% ) นอกจากโครเมี่ยมแล้ว เหล็กกล้าไร้สนิมยังมีธาตุอื่นผสมอยู่อีกเช่น โมลิบดินัม นิกเกิล และแมงกานีส เป็นต้น เหล็กกล้าไร้สนิม ถ้าโครงสร้างเปลี่ยนไปอันเนื่องจากอุณหภูมิบรรยากาศการใช้งาน หรือลักษณะของแรงที่มากระทำ ฟิลม์จะไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันสนิม อันเกิดจากบรรยากาศภายนอกได้ เหล็กกล้าไร้สนิมก็จะเป็นสนิมได้ทันที
เหล็กกล้าไร้สนิม มีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับส่วนผสมทางเคมี และโครงสร้างทางโลหะวิทยา โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
            ก.กลุ่มออสเตนนิติก (Austenitic) หรือเหล็กกล้าออสเตนนิติก มีส่วนผสมของคาร์บอน 0.15 % โครเมี่ยม 18% นับเป็นกลุ่มที่มีหลายเกรดมากที่สุด ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เหล็กกลุ่มนี้มีโครงสร้างหลักเป็นออสเตนไนท์ (มีนิเกิลและแมงกานีสเป็นส่วนผสมหลัก) ไม่เป็นสารแม่เหล็ก ไม่สามารถทำการชุบแข็ง เพื่อปรับปรุงคุณภาพของเหล็กกล้าด้วยความร้อนได้ นิยมใช้ทำ เครื่องครัว มีด แท็งค์น้ำ เป็นต้น เหล็กกล้าประเภทนี้มีการแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย เช่น ประเภทคาร์บอนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 0.08% ตามมาตรฐานอเมริกา (AISI) คือ เกรด 304 เกรด 316 เป็นต้น
          ข. กลุ่มเฟอร์ริติก (Ferritic) กลุ่มนี้ไม่มีนิกเกิลเป็นส่วนผสมมีแต่เหล็ก และโครเมี่ยม มีราคาถูก ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี ไม่สามารถปรับปรุงคุณสมบัติด้วยความร้อนทางการชุบแข็งได้ (Hardening) เนื่องจากมีอัตราส่วนของคาร์บอนกับโครเมี่ยมต่ำ มีโครงสร้างหลักเป็นเฟอร์ไรท์ สามารถดูดแม่เหล็กได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทคาร์บอนต่ำมีโครเมี่ยมประมาณ 15 – 18% และมีคาร์บอนไม่เกิน 0.12% และประเภททนต่อความร้อน มีโครเมี่ยมประมาณ 25 – 30% และคาร์บอน 0.3 %
         ค. กลุ่มมาร์เตนซิติก (Martensitic) มีโครงสร้างเหล็กเป็นมาณเตนไซท์ มีเหล็ก โครเมียม และคาร์บอนเป็นส่วนผสม แต่คาร์บอนเป็นตัวที่ทำให้ความต้านทานการผุกร่อนลดลง จึงเป็นธาตะที่ไม่พึงประสงค์ แต่เหล็กกลุ่มนี้สามารถเพิ่มความแข็งโดยการชุบแข็งได้ จึงต้องมีคาร์บอนผสมอยู่ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทที่มีคาร์บอนไม่เกิน 0.15% โครเมี่ยมระหว่าง 12 – 14 % ประเภทที่มีคาร์บอนประมาณ 0.2 – 0.4% โครเมี่ยมระหว่าง 13 – 15% และประเภทที่มี คาร์บอนระหว่าง 0.6 – 1% โครเมี่ยมระหว่าง 14 – 16%
        2.2.2เหล็กกล้าเครื่องมือ (Tool steels)เป็นเหล็กที่มีส่วนผสมของธาตุ
โครเมี่ยม โมลิบดินั่ม นิกเกิล วาเนเดียม โคบอลด์และไทเทเนียม เกินกว่า 5% และมีคาร์บอนอยู่ระหว่าง 0.8 – 2.2% ธาตุประสมเหล่านี้สามารถเพิ่มคุณสมบัติพิเศษให้กับเหล็กกล้าเครื่องมือ โดยเฉพาะเหล็กกล้าความเร็วรอบสูง ที่รักษาคมมีดตัดโลหะได้ดี ถึงแม้ใช้งานที่อุณหภูมิสูง จนผิวของคมตัดร้อนมีสีแดง คุณสมบัตินี้เรียกว่า ความแข็งขณะร้อน (Hot hardness) เช่น ดอกกัด (Endmil) มีดกลึง มีดไส เครื่องมือทำเกลียวใน (Tap) และเครื่องมือทำเกลียวนอก (Die) การแบ่งชนิดของเหล็กกล้าเครื่องมือสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ ลักษณะการใช้งานเหล็กเครื่องมือ ปริมาณของธาตุประสม และลักษณะการชุบแข็ง
     จากการที่นำวัสดุต่าง ๆ ผสมเข้าไปในเหล็กกล้า ทำให้เกิดเหล็กกล้าประสมที่มีคุณสมบัติตามวัสดุที่มาผสม ซึ่งเหล็กกล้าชนิดนี้จะเรียกชื่อตามวัสดุที่มาประสม ได้แก่
เหล็กกล้านิเกิล (Nicket Steel)
    เหล็กกล้าผสมนิเกิล จะมีคุณสมบัติคือ มีความต้านทานการล้าตัว ทนต่อความกัดกร่อน มีความเหนียวเพิ่มขึ้น ทนต่อความกระแทกได้ดี เหมาะสมกับชิ้นงานที่ต้องการทนต่อการสึกหรอที่เกิดจากการเสียดสีได้ดี ถ้ามีส่วนผสมนิเกิล 1.5 – 3% จะตีรูปได้ง่าย แต่ถ้ามี 5% จะสามารถรับแรงกระแทกได้ดีมาก
    เหล็กกล้านิเกิล ที่มีนิเกิลผสมอยู่ 10 – 22% และมีโครเมียมผสมอยู่ด้วยจะทำให้เหล็กกล้านิเกิลทนต่อการกัดกร่อนได้ดีมาก
      - ผสมนิเกิล 25%-30% ใช้ทำเหล็กกล้าที่ต้านทานการกัดกร่อน
      - ผสมนิเกิล 30%-40% จะทำให้สัมประสิทธิ์ขยายตัวต่ำ ใช้ทำเครื่องมือวัดละเอียดจะต้องมีอัตราการขยายตัวน้อยที่สุด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
      - ผสมนิเกิล 30% และโคมเมียม 12% มีคุณสมบัติ คือ มีอัตราการยืดหดน้อยมาก
      - ผสมนิเกิล 50% มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กได้ดีมาก
เหล็กกล้าโครเมียม (Chromium Steel)
    โครเมียม เป็นโลหะชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาผสมลงในเหล็กกล้ากันอย่างกว้างขวาง จะรวมตัวกับคาร์บอน ได้โครเมียมคาร์ไบด์ (Chromium Carbides) มีความแข็งแรงมาก ทนต่อการสึกหรอ มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กได้ดี เมื่อชุบแข็งจะทำให้ความแข็งซึมลึก และเพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน เมื่อผสมโครเมียม 30%-60% จะทำให้เปราะและแตกง่าย
เมื่อผสมโครเมียมกับเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ จะทำให้มีคุณสมบัติเหนียว และทนต่อการกระแทกที่อุณหภูมิปกติ เหมาะที่จะนำไปทำเฟือง, ลูกสูบ, สปริง, สลักลูกปืน, ลูกรีด เป็นต้น
     เหล็กกล้าคาร์บอนสูงที่ผสมโครเมียมสูงประมาณ 12%-14% และคาร์บอน 1.5-1.25% ใช้ทำมีดหรือเครื่องมือผ่าตัด, ใบมีดเครื่องตัดเฉือน
เหล็กกล้าประสมโมลิบดินัม (Molydenum Steel)
  มีคุณสมบัติคล้ายกับเหล็กกล้าประสมโครเมียม
    - มีคุณสมบัติด้านความสามารถในการชุบแข็งได้ดีเมื่อผสมโมลิบดินัมลงไปไม่เกิน 1% แต่ถ้าประสมปริมาณมากกว่านี้ จะทำให้คุณสมบัติการชุบแข็งลดลง ทำให้สามารถทนความร้อนได้ดี
    - รักษาความแข็งได้จนกระทั่งอุณหภูฒิสูงถึง 600 องศาเซลเซียส
    - สามารถต้านทานการกัดกร่อนได้ดี
เหล็กกล้าประสมวานาเดียม (Vanadium Steel)
  เหล็กกล้าประสมวานาเดียมมีคุณสมบัติดังนี้
    - เพิ่มคุณสมบัติตามด้านความสามารถในการชุบแข็ง เมื่อผสมวานาเดียมไม่เกิน 0.04%
    - เมื่อผสมวานาเดียมลงไปมากกว่า 0.04% จะทำให้ลดคุณสมบัติทางด้านความสามารถในการชุบแข็งลง
    - วานาเดียมช่วยให้เหล็กกล้ามีเม็ดเกร็ดละเอียดดีมาก
    - สามารถรักษาความแข็งที่อุณหภูมิสูงได้
เหล็กกล้าประสมแมงกานีส (Manganese Steel)
  เหล็กกล้าประสมแมงกานีสมีคุณสมบัติคล้ายกับเหล็กกล้าประสมนิเกิล คือ
    - ทำให้เม็ดเกร็ดละเอียด
    - เพิ่มคุณสมบัติทางด้านความสามารถในการชุบแข็งให้กับเหล็ก
    - เพิ่มความแข็งแรงและความแข็งมากขึ้น แต่ความเหนียวจะลดลง
  ในทางปฏิบัติจริงๆ ไม่นิยมใช้แมงกานีสเป็นธาตุประสม จะทำให้เหล็กกล้าเปราะ ไม่ทนต่อแรงกระแทก
เหล็กกล้าประสมทังสเตน (Tungsten Steel)
    เพิ่มคุณสมบัติทางด้านความสามารถในการชุบแข็ง ในอุตสาหกรรมเหล็กเครื่องมือ จะผสมทังสเตนในเหล็กที่ต้องการความแข็งแรงสูง และสามารถทนต่อความร้อนสูงด้วย เช่น มีดกลึงโลหะ หรือเหล็กที่ใช้ทำแม่พิมพ์ร้อน เป็นต้น
เหล็กกล้าประสมติตาเนียม (Titanium Steel)
  มีคุณสมบัติดังนี้
    - เพิ่มความสามารถในการชุบแข็งมากขึ้น เมื่อผสมติตาเนียมในเหล็กด้วยปริมาณไม่เกิน 1%
    - ถ้าผสมลงไปในเหล็กเป็นจำนวนมากจะทำให้ลดความสามารถในการชุบแข็ง
    - ถ้านำติตาเนียมผสมกับไนโตรเจน จะได้ติตาเนียมไนไตรท์ ซึ่งมีความแข็งแรงสูง
เหล็กกล้าประสมซิลิกอน (Silicon Steel)
  จะมีคุณสมบัติดังนี้
    - ทำให้จุดคราก (Vield Point) ของเหลวสูงขึ้น
    - ไม่มีบทบาทเกี่ยวกับการชุบแข็ง
    - นำไปใช้งานเกี่ยวกับการเชื่อมไม่ดี เมื่อผสมซิลิกอนเข้าไปมาก เพราะซิลิกอนจะรวมตัวกับออกซิเจนได้ง่ายมาก
เหล็กกล้าประสมโคบอลต์ (Cobalt Steel)
  มีคุณสมบัติดังนี้
    - มีความแข็งแรงสูงขึ้น
    - ชุบแข็งไม่ค่อยได้
    - สามารถรักษาความแข็งไว้ได้แม้กระทั่งอุณหภูมิสูง
เหล็กกล้าประสมอลูมิเนียม (Aluminum Steel)
  มีคุณสมบัติดังนี้
    - มีความแข็งแรงสูงขึ้น
    เหล็กกล้าที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมทั่วไป จะไม่ผสมธาตุใดธาตุหนึ่งโดยเฉพาะ มักจะผสมธาตุอื่นลงไปด้วย ตั้งแต่สองธาตุขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อให้บทบาทของธาตุที่ผสมลงไปได้มีส่วนเพิ่มคุณภาพของเหล็กกล้าผสมให้อยู่ในเกณฑ์สูง และราคาไม่แพงจนเกินไป
กระบวนการผลิตเหล็กกล้าที่สำคัญในปัจจุบันมี 2 กระบวนการ คือ
    กระบวนการบีโอเอส (Basic Oxgen Making : BOS) ใช้ในการผลิตเหล็กกล้าที่มีปริมาณมากต้องอาศัยเหล็กดิบเป็นวัตถุดิบและกระบวนการหลอมด้วยเตาไฟฟ้า(Electric Arc Furnace : Eaf) ใช้สำหรับผลิตเหล็กกล้าในปริมาณน้อย วัตถุดิบอาจเป็นเศษเหล็ก เหล็กพรุน หรือทั้งสองอย่างผสมกัน
1.กระบวนการบีโอเอส (Basic Oxgen Making : BOS) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง
ว่า กระบวนการแอลดี (LD Process) มีหลักการคือ การพ่นก๊าซออกซิเจนลงไปในเหล็กที่กำลังหลอมเหลวด้วยความเร็วสูง ก๊าซออกซิเจนจะไปทำปฏิกริยากับสารมลทินในน้ำเหล็ก กลายเป็นสารประกอบออกไซด์ลอยขึ้นสู่ผิวหน้าของน้ำเหล็กทำให้สามารถขจัดสารมลทินออกจากเนื้อเหล็กได้ ดังรูป กระบวนการนี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยแหล่งความร้อนจากภายนอกแต่ได้จากการลุกไหม้ของสารมลทินกับออกซิเจนที่พ่นใส่น้ำเหล็ก การพ่นออกซิเจนจะใช่เวลาประมาณ 20 – 30 นาที จากนั้นจึงทำการถ่ายน้ำเหล็กลงในถังพัก เพื่อไล่ออกซิเจนที่หลงเหลืออยู่ในน้ำเหล็กให้หมดไป โดยการเติมธาตุ เช่น ซิลิกอน อะลูมิเนียม แล้วปรับปถรุงส่วนผสมทางเคมีโดยการเติมธาตุต่างๆ ลงไปตามความต้องการ ก่อนที่จะหล่อเหล็กให้เป็นแท่งเพื่อที่จะนำไปผ่านกระบวนการขึ้นรูปหรืแแปรรูปต่อไป
     ผลผลิตที่ได้จากเตาบีโอเอส ได้แก่ เหล็กกล้าผสม และเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ นอก
จากนี้ยังมีกรรมวิธีที่มีลักษณะคล้ายกันดังนี้
 
กรรมวิธีผลิตเหล็กดิบ
 
    แร่เหล็กที่ขุดได้จากพื้นโลกในครั้งแรกนั้น จะอยู่ในลักษณะเป็นของผสม ซึ่งมีสารอื่นๆผสมปะปนอยู่ เช่น ดิน หิน ทราย แร่เหล็กที่บริสุทธิ์จริงๆ นั้นเกือบจะไม่มีเลย อาจพบบ้างในลูกอุกาบาตหรือดาวตกก้อนโตๆ เมื่อนำแร่เหล็กมาถลุงจะได้เหล็กบริสุทธิ์ เหล็กบริสุทธิ์นี้นำมาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมได้น้อย เนื่องจากมีคุณสมบัติในการใช้งานค่อนข้างจำกัด ดังนั้น เหล็กที่จะนำไปใช้งานทางด้านอุตสาหกรรมโดยทั่วไปจะเป็นเหล็กประสม สารที่ผสมลงไปในเนื้อเหล็กมีทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ ทั้งนี้เพื่อต้องการปรับปรุงคุณภาพของเหล็กให้สามารถนำไปใช้งานได้ดียิ่งขึ้น เช่นทำให้สามารถทนต่อแรงดึงได้มากขึ้น ทำให้เหล็กมีความแข็งมากขึ้น
การถลุงเหล็กดิบ
    อุปกรณ์ที่สำคัญในการถลุงเหล็กดิบคือ เตาสูง (Blast Furnace) และนอกจากแร่เหล็กที่จะนำไปถลุงแล้ว ยังต้องมีวัตถุดิบอย่างอื่นอีกที่ต้องใส่ลงไปในเตาสูงด้วย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มคุณภาพเหล็กดิบที่ได้ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
วัตถุดิบที่ใช้ในการถลุงเหล็กดิบ
    1.สินแร่เหล็ก (Iron ore) เป็นวัตถุหลักในการผลิต ได้มาจากเหมืองแร่เหล็กต่างๆ หลังจากขุดแร่เหล็กได้แล้ว ก่อนที่จะป้อนเข้าเตาเผาจะต้องผ่านการเตรียมแร่ก่อน เพื่อให้เหลือสารเจือปนน้อยที่สุด
    2.ถ่านโค้ก (Coke) เป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการถลุงเหล็ก นอกจากนั้นยังเป็นสารที่ทำให้ปฏิกิริยาทางเคมีภายในเตา เป็นไปอย่างสมบูรณร์ขณะทำการถลุง ถ่านโค้ก เป็นสารสังเคราะห์ที่ได้จากการนำถ่านหิน ผ่านกรรมวิธีกลั่นทำลาย คือ นำเอาอ่านหินไปบรรจุในที่จำกัดมิให้อากาศเข้าได้ แล้วให้ความร้อนจนถ่านร้อนแดง สารไฮโดรคราบอนที่อยู่ในถ่านหินจะระเหยออกไปเป็นแก๊ส
    3.หินปูน (Limestone) หรือมีชื่อทางเคมีว่า แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) เป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการผลิตเหล็กดิบ ที่ต้องใส่หินปูนลงไปด้วยนั้น เพื่อทำหน้าที่เป็นฟลั๊ก แยกสารเจือปนในสินแร่เหล็กออก นอกจากนั้นยังทำให้สารเจือปนบางชนิดในสินแร่เหล็กซึ่งมีจุดหลอมละลายสูง มีอุณหภูมิต่ำลง สารเจือปนจะถูกหลอมละลายแยกตัวออกมาเป็นขี้ตะกรัน และลอยตัวอยู่เหนือผิวน้ำเหล็ก หน้าที่อีกอย่างหนึ่งของหินปูน ก็คือ เป็นตัวช่วยเร่ง ปฏิกริยาการลดออกซิเจนในเตาสูงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
    4.เศษเหล็ก (Scrap lron) สาเหตุที่ต้องใส่เศษเหล็ก ซึ่งผ่านการถลุงมาแล้วครั้งหนึ่งลงไปด้วย เนื่องจากต้องการประหยัดสินแร่ ทำให้ลดต้นทุนการผลิตลง แต่เศษเหล็กที่ใส่ลงไปนั้นจะต้องมีการคัดเลือกเหล็กที่มีสารเจือปนจำพวกสารที่มิใช่เหล็ก เช่น สังกะสี ดีบุก ฯลฯ ให้ปะปนอยู่น้อยที่สุด เพราะสารเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาต่อปฏิกริยาภายในเตา ก่อนที่จะป้อนเศษเหล็กเข้าเตาเผาจะต้องทำความสะอาด พยายามกำจัดสารเจือปนและสนิมให้มากที่สุด นอกจากนั้นยังต้องบดให้ได้ขนาดตามต้องการอีกด้วย เศษเหล็กที่มีส่วนผสมของนิเกล โครเมียม โมลิดินัม เป็นเศษเหล็กที่ต้องการมากกว่าเศษเหล็กกล้าคาร์บอน เนื่องจากสารเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้เหล็กดิบที่ผลิตออกมามีคุณภาพดียิ่งขึ้น แต่เศษเหล็กก็ไม่ใช่วัตถุดิบที่จำเป็นต้องใส่เสมอไป บางครั้งอาจจะใส่เฉพาะสินแร่แต่เพียงอย่างเดียว
    5.อากาศ (Air) เป็นวัตถุดิบที่สำคัญอีกอย่าง เนื่องจากในการเผาไหม้ภายในเตา ต้องการออกซิเจนเข้าไปช่วยในการเผาไหม้เป็นอย่างมาก แหล่งออกซิเจนที่หาง่ายสุดคืออากาศที่ใช้หายใจ อากาศจะถูกปั้มลมเป่าเข้าไปในเตาเผา แต่ลมที่พ่นเข้าไปนั้นจะต้องอุ่นให้ร้อนเสียก่อน เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้แก่เตาเป็นการประหยัดเชื้อเพลิง
    6.น้ำ (Water) ใช้สำหรับระบายความร้อนบริเวณเปลือกเตาซึ่งทำด้วยแผ่นเหล็ก น้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำสะอาด โดยทั่วไปอาจใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองแต่ไม่ควรใช้น้ำทะเล เพราะอาจกัดกร่อนชิ้นส่วนของเปลือกเตาชำรุดได้ง่าย
การเตรียมสินแร่เหล็ก
    สินแร่เหล็กที่ขุดได้จากพื้นดินนั้น ไม่สามารถใส่ลงไปในเตาได้ทันที ต้องผ่านการแยกสิ่งสกปรกที่ติดอยู่เสียก่อน สินแร่ที่มีอยู่บนพื้นโลกมีมากมายหลายชนิด แต่ที่มีความสำคัญต่อ วงการอุตสาหกรรม มี 5 ชนิด คือ
    1. แร่แม่เหล็ก (Magnetite) มีสูตรทางเคมี คือ Fe3O4 หรือเรียกว่า เฟอร์โรโซเฟอร์ริกออกไซด์ มีลักษณะ เป็นก้อนสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ถ้านำไปบดให้ละเอียดผิวเป็นมันวาว มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กธรรมชาติ มีเหล็กอยู่ในเนื้อแร่ 72.4% ออกซิเจน 26.6% มีแมกเนเซียมและแมงกานีสอยู่บ้างเล็กน้อย แหล่งที่พบมีที่ตอนเหนือของประเทศสวีเดน สหรัฐอเมริกาบริเวณตะวันตก นอกจากนั้นยังพบมากที่ นอร์เว โรมาเนีย รัสเซีย และแอฟริกาใต้
    2. เร็ดเฮมาไตท์ (Rad Hematite) มีสูตรทางเคมี คือ Fe2O3 หรือเรียกว่า เหล็กออกไซด์ มีลักษณะเป็นก้อนสีแดง เรื่องถึงน้ำตาลเข้ม ถ้านำไปบดให้เป็นผงจะมีสีแดง มีคุณสมบัติเป็นแผิวของก้อนสินแร่ไม่เป็นมันวาว เม็ดเกรนเกาะกันแน่น มีเหล็กอยู่ในเนื้อแร่ 70% ออกซิเจน 30% อาจมีติตาเนียมผสมอยู่บ้างเล็กน้อย แหล่งที่พบได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ บลาซิล ใน สหรัฐอเมริกาพบมากที่แถบทะเลสาบทั้งห้า โดยเฉพาะมากที่สุดที่ทะเลสาบสุพีเรีย
    3.Brown Hematite (บราวน์เฮมาไตท์) มีสูตรทางเคมี คือ Fe2O3+H2Oหรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าลิโมไนท์ (Limonite) ลักษณะเป็นก้อนสีน้ำตาลหรือเหลืองเข้ม ดินที่อยู่บริเวณที่มีแร่ชนิดนี้ส่วนมากจะมีสีเหลือง มีเหล็กอยู่ในเนื้อแร่ 52-66% แหล่งที่พบได้แก่ที่เยอรมัน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ
    4. ซีเดอร์ไรท์ (Siderite) มีสูตรเคมีว่า Fe2CO3 หรือมีชื่ออีกอย่าง คือ เหล็กคาร์บอเนต มีลักษณะเป็นก้อนสีน้ำตาลเข้ม มีเหล็กอยู่ในเนื้อแร่ 48% และมีสารคาร์บอเนตผสมอยู่ประมาณ 37.9% แหล่งที่พบได้แก่ อังกฤษ สก็อตแลนด์ สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ออสเตรีย
    5. เหล็กไพไรท์ (Iron Pyrite) มีสูตรเคมีว่า Fe2S3 เป็นแหล่งที่มีกำมะถันปนอยู่มาก ซึ่งกำมะถันนี้เป็นตัวทำให้เหล็กมีคุณสมบัติเปราะ ดังนั้น จึงไม่นิยมนำสินแร่เหล็กชนิดนี้ไปถลุงมากนัก ถึงแม้ว่าจะมีเนื้อเหล็กอยู่ในเนื้อแร่ถึง 45.6% ก็ตาม มีกำมะถันผสมอยู่ 53.4% นอกจากนั้นมีนิเกลและโบอลด์ผสมอยู่บ้างเล็กน้อย แหล่งที่พบได้แก่ สเปน สหรัฐอเมริกาแถบรัฐเวอร์จิเนียร์ แมสซาจูเสท โคโรลาโด และอาริโซน่า
     แร่เหล็กที่พบในประเทศไทยนั้นมีที่เขาอึมครึม จังหวัดกาญจนบุรี ,เชียงคราม จังหวัดเลย ,แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ,บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ,เถิน จังหวัดลำปาง ,หนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ,แกลง จังหวัดระยอง ,เกาะเหล็ก จังหวัดกระบี่
     ชนิดแร่ที่พบได้แก่ เฮมาไตท์และลิกไนท์เป็นส่วนมาก ส่วนชนิดอื่นก็มีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ส่วนแร่เหล็กที่มีเปอร์เซนต์ของเหล็กผสมอยู่น้อย จะนำไปใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ภายในประเทศ สำหรับหินลูกรังหรือศิลาแลง ซึ่งมีส่วนผสมของแร่เหล็กอยู่บ้าง จะนำไปทำถนนหรือจำพวกหินประดับ

ขั้นตอนการเตรียมสินแร่เหล็ก
    สินแร่ที่ขุดมาได้นั้น จะมีสิ่งสกปรกเช่น หิน ทราย ดิน กรวด ติดมาด้วย ดังนั้นก่อนที่จะนำไปเข้าเตาเผา จะต้องทำความสะอาดก่อนโดยการล้างหรือร่อน จากนั้นก้อนแร่ซึ่งมีส่วนผสมของสารอื่น จะต้องนำไปแยกร่อนก่อนโดยการบด ร่อน และล้าง ถ้าเป็นแร่ที่มีเปอร์เซนต์เหล็กน้อย จะต้องใช้วิธีบดให้เป็นผงละเอียด แล้วใช้แม่เหล็กดูดก็จะได้ส่วนที่เป็นแร่เหล็กออกมา จากนั้นนำไปอบไล่ความชื้น ไล่แก็สคาร์บอนไดออกไซด์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออก สินแร่ที่ได้นั้นจะมีลักษณะเป็นผงไม่สามารถบรรจุลงเตาสูง(Blast Furnacc) ได้ เนื่องจากเกิดการฟุ้งกระจายขณะเป่าลมเข้าไปในเตา ดังนั้น จึงต้องนำไปผ่านกรรมวิธีผงอัด(Sintering) โดยการผสมผงถ่านโค้กและผงหินปูนลงไปด้วย การอัดจะทำให้ผงอัดเป็นแผ่นกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 - 15 มม. ซึ่งพอเหมาะที่จะบรรจุลงในเตาได้
    การที่ต้องผสมผงถ่านโค้กลงไปด้วย เพื่อให้เป็นการประหยัดเชื้อเพลิง ส่วนหินปูนที่ผสมเพื่อให้เป็นฟลั๊ก (Flux) กำจัดสิ่งสกปรกในสินแร่ขณะหลอมละลาย สำหรับวัตถุดิบอื่นๆ ไม่ต้องมีการเตรียมที่ยุ่งมาก เพียงแต่ย่อยให้มีขนาดที่เหมาะสมพอที่จะบรรจุลงในเตาเผาได้เท่านั้น
 
คุณสมบัิตของอลูมิเนียม
ข้อดีบางประการของอลูมิเนียมคือ ดูดี, ง่ายต่อการผลิต, ต่อต้านการกัดกร่อนได้ดี, ความหนาแน่นต่ำ, อัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง และความเหนียวที่ต้านการแตกหักสูง
 
ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ อลูมิเนียมจึงเป็นหนึ่งในวัสดุที่มีผลต่อเศรษฐกิจ และการทำโครงสร้าง ที่ใช้ในการค้าขาย และอุปกรณ์ทางการทหาร
มื่อสัมผัสกับอากาศ จะทำให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆ เรียกว่า อลูมิเนียมออกไซด์ อยู่ที่ชั้นผิวของอลูมิเนียม ซึ่งชั้นผิวนี้จะสามารถป้องกันการกัดกร่อน และกรดต่างๆ ได้ แต่สามารถป้องกัน อัลคาลิส ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
 
อลูมิเนียมบริสุทธิ์ จะมีค่าแรงดึงไม่สูงนัก แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มธาตุบางชนิดเข้าไปเช่น แม็กนีเซียม, ซิลิคอน, ทองแดง และแมงกานีส สามารถเพิ่มคุณสมบัติความแข็งแรงให้กับอลูมิเนียมได้ และได้อัลลอยด์ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานนั้นๆ
 
อลูมิเนียมเป็นตัวนำความร้อนที่ดีเยี่ยม และนำความร้อนได้ดีกว่าเหล็กถึงสามเท่า ด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้อลูมิเนียมเป็นวัสดุที่มีความสำคัญกับทั้งงานที่ใช้ความเย็น และความร้อน เช่น ตัวแลกเปลี่ยนความร้อน (heat-exchangers) เมื่อพูดถึงอลูมิเนียมที่ไม่ผสมธาตุใดๆ แล้ว อลูมิเนียมประเภทนี้จะถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตอุปกรณ์การทำอาหาร และชุดเครื่องครัว
 
• อลูมิเนียม 5083 (รีดแข็ง , H112) อลูมิเนียมกลุ่มผสมแมกนีเซียม สามารถชุบอะโนไดช์สีได้ดีมาก
ให้ผิวสวยงามเมื่อตัดกลึง สามารถใช้งานที่อุณหภูมิติดลบได้ดี นิยมใช้ทำแม่พิมพ์เป่าพลาสติก แม่พิมพ์ขึ้นรูปยางและโฟม อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน ถังทนแรงดันสูง ตู้คอนเทนเนอร์ ชิ้นส่วนยานพาหนะและอาคาร อลูมิเนียม 5083
 
• อลูมิเนียม 6061 (บ่มแข็ง , T651) อลูมิเนียมกลุ่มผสมแมกนีเซียม และซิลิกอน ที่สามารถบ่มแข็งได้
จึงมีความแข็งสูงและทนต่อการกัดกร่อนได้ดีเยี่ยม สามารถขัดเงาได้ดีและชุบอะโนไดซ์สีได้ผิวสวยงาม นิยมใช้ทำแม่พิมพ์เป่าพลาสติกแม่พิมพ์ฉีดโฟมและยาง โครงสร้างยานพาหนะและอาคาร หมุดย้ำราวสะพาน
(จะมีกรรมวิธีในการทำที่ยุ่งยากกว่า ซับซ้อน สิ้นเปลืองแรงงาน และเวลา กว่าจะได้เป็นชิ้นงาน แต่ก็มีความคุ้มค่า
เพราะว่า เป็นอลูมิเนียมที่ไม่กระด้าง โดยสูญเสียความแข็งแรงไปไม่มาก)
 
• อลูมิเนียม 7022 (บ่มแข็ง , T651) อลูมิเนียมกลุ่มผสมสังกะสี ที่มีความแข็งแรงสูงมาก ตัดกลึงง่าย สามารถชุบอะโนไดซ์แข็งได้ดี นิยมใช้ทำแม่พิมพ์เป่าขวดพลาสติก แม่พิมพ์ฉีดพลาสติกจำนวนน้อย อุปกรณ์ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลแผ่นนำความร้อน อลูมิเนียม 7022
 
• อลูมิเนียม 7075 (บ่มแข็ง , T651) อลูมิเนียมกลุ่มผสมสังกะสี ที่มีความแข็งแรงสูงที่สุดในกลุ่ม ตัดกลึงง่าย สามารถชุบอะโนไดซ์แข็งได้ดีเยี่ยม นิยมใช้ทำแม่พิมพ์เป่าขวดพลาสติก แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก อุปกรณ์ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล โต๊ะเครื่องมือ แผ่นรองสแตมปิ้ง อลูมิเนียม 7075
 
• อลูมิเนียม 2024 (บ่มแข็ง , T451) อลูมิเนียมกลุ่มผสมทองแดงจึงมีความแข็งแรงสูง และทนต่อการล้าได้ดีนิยมใช้ทำแม่พิมพ์เป่าพลาสติกหรือแม่พิมพ์ขึ้นรูปพลาสติกในสูญญากาศ แม่พิมพ์รองเท้า
ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล โครงสร้างเครื่องบินอุปกรณ์จับยึดต่างๆ
 
• อลูมิเนียม 5052 (รีดแข็ง , H112) อลูมิเนียมกลุ่มผสมแมกนีเซียม สามารถชุบอะโนไดช์สีได้ดีมาก
ให้ผิวสวยงามเมื่อตัดกลึง สามารถใช้งานที่อุณหภูมิติดลบได้ดี นิยมใช้ทำอุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน แม่พิมพ์ตัวอย่างภาชนะหรือเครื่องใช้ในอุตสาหกรรมเคมีและอาหาร ท่อไฮดรอลิก หมุดย้ำชิ้นส่วนในยานพาหนะและอาคาร
 
คุณสมบัติของสแตนเลส
ค่าการนำความร้อน (Thermal conductivity)
สเตนเลสทุกชนิดจะมีค่าการนำความร้อนต่ำกว่าเหล็กกล้าคาร์บอนมาก สเตนเลสเกรดที่มีส่วนผสมโครเมียมอย่างเดียว (plain chromium steel) มีค่าการนำความร้อน +_1/3 และเกรดออสเทนนิติกมีค่าการนำความร้อน +_1/4 ของเหล็กกล้าคาร์บอน ทำให้มีผลต่อการใช้งานที่อุณหภูมิสูง เช่นมีผลต่อการควบคุมปริมาณความร้อนเข้าระหว่างการเชื่อม, ต้องให้ความร้อนเป็นระยะเวลานานขึ้น เมื่อต้องทำงานขึ้นรูปร้อน
 
สัมประสิทธิ์การขยายตัว(Expansion coefficient)
สเตนเลสเกรดที่มีส่วนผสมโครเมียมอย่างเดียวมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวคล้ายกับเหล็กกล้าคาร์บอน แต่เกรดออสเทนนิติกจะมีสัมประสิทธ์การขยายตัวสูงกว่าเหล็กกล้าคาร์บอน 1½ เท่า การที่สเตนเลสมีการขยายตัวสูงแต่มีค่าการนำความร้อนต่ำทำให้ต้องหามาตรการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียหายที่ตามมาเช่น ใช้ปริมาณความร้อนในการเชื่อมต่ำ, กระจายความร้อนออกโดยใช้แท่งทองแดงรองหลัง, การจับยึดป้องกันการบิดงอ ปัจจัยเหล่านี้ต้องพิจารณาการใช้งานร่วมกันของวัสดุ เช่นท่อแลกเปลี่ยนความร้อน (heat exchanger) ระหว่างเปลือกโครงสร้างเหล็กกล้าคาร์บอน และท่อออสเทนนิติคเป็นต้น
 
ฟิล์มป้องกันและการสร้างฟิล์ม (Passive film)
สเตนเลสจะมีฟิล์มบางๆ ต้านทานการกัดกร่อน จำเป็นต้องรักษาความสมบูรณ์ของฟิล์มป้องกัน ดังนี้
 
หลีกเลี่ยงความเสียหายหรือการสัมผัสรุนแรงทางกล
ซ่อมปรับปรุงพื้นที่ที่มีผลต่อการเสียหายเช่น บริเวณที่เกิดสะเก็ดหรือคราบออกไซด์เนื่องจากอุณหภูมิสูงใกล้ๆ แนวเชื่อม, บริเวณที่เกิดความเสียหายทางกลหรือมีการเจียระไน, มีการปนเปื้อนโดยวิธีการสร้างฟิล์มป้องกัน (passivation) อย่างเดียวหรือใช้ทั้งวิธีการแช่กรดเพื่อกำจัดคราบจากออกไซด์ (pickling) หรือ การแช่กรดหรือทาน้ำยาสร้างฟิล์มออกไซด์ (passivation) ที่ผิวเหล็กกล้าสเตนเลส
แน่ใจว่ามีออกซิเจนเพียงพอและสม่ำเสมอ ที่สร้างออกไซด์ที่ผิวของ เหล็กกล้าสเตนเลสได้
การเสียหายที่ผิวเนื่องจากการเสียดสีที่ผิวโลหะกับโลหะอย่างรุนแรง (Galling /pick up / seizing)
ผิวหน้าสเตนเลสมีแนวโน้มที่จะเกิดการเสียหายเนื่องจากการเสียดสีอย่างรุนแรง ต้องหลีกเลี่ยงและระมัดระมัดระวัง ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวโดยสำหรับผิวหน้าที่มีการเสียดสีกันตลอดเวลา ควรใช้ Load หรือแรงเสียดสีต่ำสุด และต้องแน่ใจว่าการเสียดสีไม่สร้างความร้อนเกิดขึ้น ควรรักษาผิวสัมผัสไม่ให้มีการบดกับผงฝุ่น เม็ด ทรายฯลฯ และใช้น้ำมันหล่อลื่นหรือเคลือบผิว
 
ประเภทของสแตนเลส
คนโดยทั่วไปจะไม่ทราบว่าสเตนเลสมีกี่ประเภท และมักจะมีการเข้าใจผิดว่าสเตนเลสแท้ต้องแม่เหล็กดูดไม่ติด แต่จริงๆแล้วการที่แม่เหล็กจะดูดติดหรือไม่ติดนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของสเตนเลส สเตนเลสแบ่งออกเป็นกลุ่มพื้นฐาน ได้ 5 กลุ่มคือ ออสเทนนิติค, เฟอริติค, ดูเพล็กซ์, มาร์เทนซิติค และ กลุ่มเพิ่มความแข็งโดยวิธีการตกผลึก
 
กลุ่มออสเทนนิติค (Austenitic) หรือสเตนเลสตระกูล 300 เป็นเกรดที่ใช้งานแพร่หลายมากที่สุดถึง 70%
มีคุณสมบัติที่แม่เหล็กดูดไม่ติด (non – magnetic) มีส่วนผสมของโครเมียม 16% คาร์บอนอย่างมากที่สุด 0.15% มีส่วนผสมของธาตุนิกเกิล 8% เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติในการทำการประกอบ(Fabrication)และเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน เกรดที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและนิยมเรียก 18/10 คือการที่มีส่วนผสมของโครเมียม 18% และนิกเกิล 10%
 
กลุ่มเฟอริติค (Ferritic) แม่เหล็กดูดติด(magnetic) มีธาตุคาร์บอนผสมปริมาณที่ต่ำ และมีโครเมียมเป็นธาตุผสมหลักที่สำคัญอาจอยู่ระหว่าง 10.5%-27% และมีนิกเกิ้ลเป็นส่วนผสมอยู่น้อยมากหรือไม่มีเลย
กลุ่มมาร์เทนซิติค (Martensitic) แม่เหล็กดูดติด(magnetic) มีส่วนผสมของโครเมียม 12-14% และมีธาตุคาร์บอนผสมอยู่ปานกลาง มีโมลิบดีนัมเป็นส่วนผสมอยู่ประมาณ 0.2-1% ไม่มีนิกเกิล
สเตนเลสตระกูลนี้สามารถปรับความแข็งได้โดยการให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว (Quenching)และอบคืนตัว (Tempering) สามารถลดความแข็งได้ คล้ายกับเหล็กกล้าคาร์บอน และพบการใช้งานที่สำคัญในการผลิตเครื่องตัด, อุตสาหกรรมเครื่องบินและงานวิศวกรรมทั่วไป
 
กลุ่มเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก (Precipitation hardening)เกรดที่เป็นที่รู้จักในตระกูลนี้ คือ 17-4H ซึ่งมีส่วนผสมของโครเมียม 17% และนิกเกิล 4% สามารถเพิ่มความแข็งแรงได้โดยกลไกเพิ่มความแข็งจากการตกผลึก (Precipitation hardening mechanism) โดยสามารถเพิ่มความแข็งแรงสูงมาก มีค่าความเค้นพิสูจน์ (Proof stress) อยู่ระหว่าง 1,000 ถึง 1,500 เมกาปาสคาล (MPa) ขึ้นอยู่กับชนิดและกรรมวิธีปรับปรุงคุณสมบัติด้วยความร้อน (Heat treatment)
กลุ่มดูเพล็กซ์ (Duplex) มีโครงสร้างผสมระหว่าง โครงสร้างเฟอริติค และออสเทนนิติค มีโครเมียมเป็นธาตุผสมอยู่ระหว่าง 19-28% และโมลิบดินัมสูงกว่า 5% และมีนิกเกิลน้อยกว่าตระกูลออสเทนนิติค พบว่ามีการใช้งานมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรยากาศแวดล้อมของคลอไรด์
 


ช่างประตูรั้วบ้านเชียงราย 
ช่างประตูรั้วบ้านเชียงใหม่ 
ช่างประตูรั้วบ้านน่าน 
ช่างประตูรั้วบ้านพะเยา 
ช่างประตูรั้วบ้านแพร่ 
ช่างประตูรั้วบ้านแม่ฮ่องสอน 
ช่างประตูรั้วบ้านลำปาง 
ช่างประตูรั้วบ้านลำพูน 
ช่างประตูรั้วบ้านอุตรดิตถ์
ช่างประตูรั้วบ้านกาฬสินธุ์ 
ช่างประตูรั้วบ้านขอนแก่น 
ช่างประตูรั้วบ้านชัยภูมิ 
ช่างประตูรั้วบ้านนครพนม 
ช่างประตูรั้วบ้านนครราชสีมา 
ช่างประตูรั้วบ้านบึงกาฬ 
ช่างประตูรั้วบ้านบุรีรัมย์ 
ช่างประตูรั้วบ้านมหาสารคาม 
ช่างประตูรั้วบ้านมุกดาหาร 
ช่างประตูรั้วบ้านยโสธร 
ช่างประตูรั้วบ้านร้อยเอ็ด 
ช่างประตูรั้วบ้านเลย 
ช่างประตูรั้วบ้านสกลนคร 
ช่างประตูรั้วบ้านสุรินทร์ 
ช่างประตูรั้วบ้านศรีสะเกษ 
ช่างประตูรั้วบ้านหนองคาย 
ช่างประตูรั้วบ้านหนองบัวลำภู 
ช่างประตูรั้วบ้านอุดรธานี 
ช่างประตูรั้วบ้านอุบลราชธานี 
ช่างประตูรั้วบ้านอำนาจเจริญ 
ช่างประตูรั้วบ้านกำแพงเพชร 
ช่างประตูรั้วบ้านชัยนาท 
ช่างประตูรั้วบ้านนครนายก 
ช่างประตูรั้วบ้านนครปฐม 
ช่างประตูรั้วบ้านนครสวรรค์ 
ช่างประตูรั้วบ้านนนทบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านปทุมธานี 
ช่างประตูรั้วบ้านพระนครศรีอยุธยา 
ช่างประตูรั้วบ้านพิจิตร 
ช่างประตูรั้วบ้านพิษณุโลก 
ช่างประตูรั้วบ้านเพชรบูรณ์ 
ช่างประตูรั้วบ้านลพบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านสมุทรปราการ 
ช่างประตูรั้วบ้านสมุทรสงคราม 
ช่างประตูรั้วบ้านสมุทรสาคร 
ช่างประตูรั้วบ้านสิงห์บุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านสุโขทัย 
ช่างประตูรั้วบ้านสุพรรณบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านสระบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านอ่างทอง 
ช่างประตูรั้วบ้านอุทัยธานี 
ช่างประตูรั้วบ้านจันทบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านฉะเชิงเทรา 
ช่างประตูรั้วบ้านชลบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านตราด 
ช่างประตูรั้วบ้านปราจีนบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านระยอง 
ช่างประตูรั้วบ้านสระแก้ว 
ช่างประตูรั้วบ้านกาญจนบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านตาก 
ช่างประตูรั้วบ้านประจวบคีรีขันธ์ 
ช่างประตูรั้วบ้านเพชรบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านราชบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านกระบี่ 
ช่างประตูรั้วบ้านชุมพร 
ช่างประตูรั้วบ้านตรัง 
ช่างประตูรั้วบ้านนครศรีธรรมราช 
ช่างประตูรั้วบ้านนราธิวาส 
ช่างประตูรั้วบ้านปัตตานี 
ช่างประตูรั้วบ้านพังงา 
ช่างประตูรั้วบ้านพัทลุง 
ช่างประตูรั้วบ้านภูเก็ต 
ช่างประตูรั้วบ้านระนอง 
ช่างประตูรั้วบ้านสตูล 
ช่างประตูรั้วบ้านสงขลา 
ช่างประตูรั้วบ้านสุราษฎร์ธานี 
ช่างประตูรั้วบ้านยะลา 
ช่างประตูรั้วบ้านกรุงเทพมหานคร
 
ช่างประตูรั้วบ้านคลองสาน 
ช่างประตูรั้วบ้านคลองสามวา 
ช่างประตูรั้วบ้านคลองเตย
ช่างประตูรั้วบ้านคันนายาว 
ช่างประตูรั้วบ้านจอมทอง 
ช่างประตูรั้วบ้านดอนเมือง
ช่างประตูรั้วบ้านดินแดง 
ช่างประตูรั้วบ้านดุสิต 
ช่างประตูรั้วบ้านตลิ่งชัน 
ช่างประตูรั้วบ้านทวีวัฒนา
ช่างประตูรั้วบ้านทุ่งครุ 
ช่างประตูรั้วบ้านธนบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านบางกอกน้อย
ช่างประตูรั้วบ้านบางกอกใหญ่ 
ช่างประตูรั้วบ้านบางกะปิ 
ช่างประตูรั้วบ้านบางคอแหลม
ช่างประตูรั้วบ้านบางซื่อ 
ช่างประตูรั้วบ้านบางนา 
ช่างประตูรั้วบ้านบางพลัด 
ช่างประตูรั้วบ้านบางรัก
ช่างประตูรั้วบ้านบางเขน 
ช่างประตูรั้วบ้านบางแค 
ช่างประตูรั้วบ้านบึงกุ่ม 
ช่างประตูรั้วบ้านปทุมวัน
ช่างประตูรั้วบ้านประเวศ 
ช่างประตูรั้วบ้านป้อมปราบศัตรูพ่าย 
ช่างประตูรั้วบ้านพญาไท
ช่างประตูรั้วบ้านพระนคร 
ช่างประตูรั้วบ้านพระโขนง 
ช่างประตูรั้วบ้านภาษีเจริญ 
ช่างประตูรั้วบ้านมีนบุรี
ช่างประตูรั้วบ้านยานนาวา 
ช่างประตูรั้วบ้านราชเทวี 
ช่างประตูรั้วบ้านราษฎร์บูรณะ
ช่างประตูรั้วบ้านลาดกระบัง 
ช่างประตูรั้วบ้านลาดพร้าว 
ช่างประตูรั้วบ้านวังทองหลาง
ช่างประตูรั้วบ้านวัฒนา 
ช่างประตูรั้วบ้านสวนหลวง 
ช่างประตูรั้วบ้านสะพานสูง
ช่างประตูรั้วบ้านสัมพันธวงศ์ 
ช่างประตูรั้วบ้านสาทร 
ช่างประตูรั้วบ้านสายไหม
ช่างประตูรั้วบ้านหนองจอก 
ช่างประตูรั้วบ้านหนองแขม 
ช่างประตูรั้วบ้านหลักสี่ 
ช่างประตูรั้วบ้านห้วยขวาง
ช่างประตูรั้วบ้านเมืองนครปฐม 
ช่างประตูรั้วบ้านกำแพงแสน 
ช่างประตูรั้วบ้านดอนตูม
ช่างประตูรั้วบ้านนครชัยศรี 
ช่างประตูรั้วบ้านบางเลน 
ช่างประตูรั้วบ้านพุทธมณฑล 
ช่างประตูรั้วบ้านสามพราน
ช่างประตูรั้วบ้านเมืองนนทบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านบางกรวย 
ช่างประตูรั้วบ้านบางบัวทอง
ช่างประตูรั้วบ้านบางใหญ่ 
ช่างประตูรั้วบ้านปากเกร็ด 
ช่างประตูรั้วบ้านไทรน้อย
ช่างประตูรั้วบ้านเมืองปทุมธานี 
ช่างประตูรั้วบ้านคลองหลวง 
ช่างประตูรั้วบ้านธัญบุรี
ช่างประตูรั้วบ้านลาดหลุมแก้ว 
ช่างประตูรั้วบ้านลำลูกกา 
ช่างประตูรั้วบ้านสามโคก 
ช่างประตูรั้วบ้านหนองเสือ
ช่างประตูรั้วบ้านเมืองสมุทรปราการ 
ช่างประตูรั้วบ้านบางพลี 
ช่างประตูรั้วบ้านบางเสาธง
ช่างประตูรั้วบ้านพระประแดง
 ช่างประตูรั้วบ้านพระสมุทรเจดีย์
ช่างประตูรั้วบ้านเมืองระยอง
ช่างประตูรั้วบ้านนิคมพัฒนา 
ช่างประตูรั้วบ้านเขาชะเมา
ช่างประตูรั้วบ้านบ้านฉาง 
ช่างประตูรั้วบ้านปลวกแดง 
ช่างประตูรั้วบ้านวังจันทร์ 
ช่างประตูรั้วบ้านแกลง
ช่างประตูรั้วบ้านเมืองชลบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านเกาะจันทร์ 
ช่างประตูรั้วบ้านบางละมุง
ช่างประตูรั้วบ้านบ่อทอง  
ช่างประตูรั้วบ้านบ้านบึง 
ช่างประตูรั้วบ้านพนัสนิคม
ช่างประตูรั้วบ้านพานทอง
ช่างประตูรั้วบ้านศรีราชา 
ช่างประตูรั้วบ้านสัตหีบ 
ช่างประตูรั้วบ้านหนองใหญ่ 
ช่างประตูรั้วบ้านเกาะสีชัง
ช่างประตูรั้วบ้านเมืองสมุทรสาคร 
ช่างประตูรั้วบ้านกระทุ่มแบน 
ช่างประตูรั้วบ้านบ้านแพ้ว 
ช่างประตูรั้วบ้านมหาชัย
ช่างประตูรั้วบ้านเมืองสมุทร
ช่างประตูรั้วบ้านอัมพวา 
ช่างประตูรั้วบ้านบางคนที
ช่างประตูรั้วบ้านเมืองราชบุรี 
ช่างประตูรั้วบ้านบ้านคา 
ช่างประตูรั้วบ้านจอมบึง
ช่างประตูรั้วบ้านดำเนินสะดวก 
ช่างประตูรั้วบ้านบางแพ 
ช่างประตูรั้วบ้านบ้านโป่ง
ช่างประตูรั้วบ้านปากท่อ
ช่างประตูรั้วบ้านวัดเพลง 
ช่างประตูรั้วบ้านสวนผึ้ง 
ช่างประตูรั้วบ้านโพธาราม
ช่างประตูรั้วบ้านเมืองฉะเชิงเทรา 
ช่างประตูรั้วบ้านคลองเขื่อน 
ช่างประตูรั้วบ้านท่าตะเกียบ 
ช่างประตูรั้วบ้านบางคล้า
ช่างประตูรั้วบ้านบางน้ำเปรี้ยว 
ช่างประตูรั้วบ้านบางปะกง 
ช่างประตูรั้วบ้านบ้านโพธิ์
ช่างประตูรั้วบ้านพนมสารคาม
ช่างประตูรั้วบ้านราชสาส์น 
ช่างประตูรั้วบ้านสนามชัยเขต 
ช่างประตูรั้วบ้านแปลงยาว
ช่างประตูรั้วบ้านเมืองนครนายก 
ช่างประตูรั้วบ้านปากพลี 
ช่างประตูรั้วบ้านบ้านนา 
ช่างประตูรั้วบ้านองครักษ์
 
Engine by shopup.com