ทำโครงหลังคาบ้าน เทคนิคการสร้างบ้าน ปี2023
27 มีนาคม 2566
ผู้ชม 273 ผู้ชม
รับติดตั้งโครงหลังคาเหล็ก
รับเหมาทำโครงหลังคา
รับต่อเติมบ้านโครงสร้างเหล็ก
ต่อเติมบ้านต่อเติมครัว
ต่อเติมหน้าบ้าน
ต่อเติมหลังคาหน้าบ้าน
ทำโครงหลังคาบ้าน เทคนิคการสร้างบ้าน
มีหลายๆคนที่กำลังจะสร้างบ้านหรือต่อเติมบ้าน และอยากจะรู้วิธีหรือเทคนิคการทำโครงหลังคาบ้าน ว่าช่างหลังคาเขามีเทคนิคหรือวิธีทำอย่างไร? เริ่มจากขั้นตอนไหน? เป็นต้น ผมก็มีรูปมาให้ดู ในรูปนี้เป็นการทำโครงหลังคาด้วยเหล็กรูปพรรณขนาดต่างๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการทำบ้านชั้นเดียวหรือจะเป็นบ้านสองชั้น วิธีทำก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันซักเท่าไหร่ สาเหตุที่ไม่ต่างกันก็เพราะว่าโครงหลังคาบ้านก็จะทำหน้าที่รับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคาและรวมทั้งวัสดุที่ใช้ตกแต่งหลังคาบ้านเหมือนกัน แต่ที่จะมีความต่างกันก็คือขนาดของเหล็กรูปพรรณที่ใช้ในการทำโครงของหลังคาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ๆจะทำการมุงหลังคาว่ามีมากหรือน้อยแค่ไหน ถ้าหากว่ามีพื้นที่ๆจะทำการมุงหลังคามากตัววัสดุมุงฯที่จะนำมาใช้ในการมุงฯ (ซึ่งก็คือกระเบื้องมุงหลังคานั่นเอง) ก็จะมีจำนวนมากตามไปด้วยและน้ำหนักที่กดลงไปที่โครงหลังคาก็จะมีมาก ฉะนั้นขนาดของเหล็กก็จะต้องมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นหรือมีความหนามากขึ้น
ฉะนั้นจึงพอที่จะสรุปได้ว่า ขนาดของเหล็กที่นำมาใช้กับโครงหลังคาบ้าน ก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณพื้นที่ของหลังคา ยกตัวอย่างการสร้างบ้านชั้นเดียวที่มีปริมาณพื้นที่หลังคาบ้านมากกว่าการทำบ้านสองชั้นก็อาจจะต้องใช้เหล็กรูปพรรณที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือหนากว่าหลังคาบ้านสองชั้นก็ได้ บางคนอาจจะสงสัยว่า ทำบ้านชั้นเดียวแต่ทำไมต้องใช้เหล็กทำโครงหลังคาบ้านที่มีขนาดเท่ากับหรือใหญ่กว่าการทำบ้านสองชั้น ก็เป็นดังเหตุผลที่กล่าวมานั่นเอง
ลองมาดูตัวอย่าง วิธีทำโครงเหล็กหลังคาบ้าน
ขั้นตอนที่ 1 จะเป็นการเชื่อมติดตั้งอะเสเหล็ก ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการฝังเหล็กเพลทไว้ที่บริเวณหัวเสาโครงสร้างก่อน
จึงจะสามารถทำการเชื่อมอะเสเหล็กยึดได้ (ส่วนใหญ่จะทำการฝังหรือยึดเหล็กเพลทก่อนแล้วในขณะเทคอนกรีตเสาโครงสร้างบ้าน) อะเสเหล็กที่เห็นในรูปเป็นเหล็กรูปพรรณตัวซีมีขนาดหน้ากว้าง 150 ม.ม.มีความหนาที่ 2.3 ม.ม.ใช้สองเส้นเชื่อมประกบกัน
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อทำการติดตั้งอะเสเหล็กเรียบร้อยแล้วก็จะติดตั้งดั้งเหล็กเป็นลำดับถัดมา ตัวที่ตั้งตรงขึ้นไปจากอะเสนั่นเอง ดั้งที่เห็นอยู่ในรูปจะเป็นเหล็กรูปพรรณตัวซีมีขนาดหน้ากว้าง 100 ม.ม.มีความหนาที่ 2.3 ม.ม. ใช้สองเส้นเชื่อมประกบกัน
ส่วนขั้นตอนที่ 3 ก็เป็นขั้นตอนการติดตั้งอกไก่ ซึ่งก็คือเหล็กตัวที่วางพาดตามแนวยาวอยู่บนดั้งนั่นเอง (ในรูปจะใช้ขนาดและจำนวนเหล็กเหมือนกับอะเส)
ขั้นตอนที่ 4 ก็จะเป็นการติดตั้งเหล็กจันทัน ในที่นี้จะเป็นเหล็กที่มีขนาดหน้ากว้าง 125 ม.ม.มีความหนา 2.3 ม.ม.ตัวเหล็กจันทันนี้จะใช้ตัวเดียวโดยไม่เชื่อมประกบกัน ระยะที่ติดตั้งทันจะห่างกัน 1 เมตร
การทำโครงสร้างหลังคาบ้าน ในรูปนี้จะเป็นการทำหลังคาบ้านทรงจั่วธรรมดาซึ่งจะไม่มีตะเฆ่สันและตะเฆ่ราง ก็เพียงเอามาให้ดูเป็นตัวอย่างครับ จะได้รู้ถึงขั้นตอนในการทำแต่ละขั้นตอนสำหรับคนที่สนใจ
ข้อดี
1. ระยะเวลาก่อสร้างบ้านรวดเร็ว ทำให้ค่าแรงลดลง
2. เหล็กมีความยืดหยุ่นตัวสูง ทำให้บ้านสามารถรองรับแผ่นดินไหวได้
3. โครงสร้างบ้านแบบเหล็กน้ำหนักเบากว่าคอนกรีต ช่วยลดการใช้เสาเข็ม
4. มีความแข็งแรง ทนทาน และใช้งานง่าย
5. สามารถออกแบบบ้านในรูปทรงแปลกใหม่ได้ เช่น หลังคายื่นยาวออกมา หลังคาเอียง เป็นต้น
6. ช่วยลดขั้นตอนในการก่อสร้าง
ข้อเสีย
1. หากไม่ใช้ช่างฝีมือที่มีคุณภาพ งานเชื่อมเหล็กอาจไม่สวยงาม
2. เหล็กมีราคาสูง ทำให้ต้นทุนค่าวัสดุสร้างบ้านราคาแพงกว่าบ้านทั่วไป
3. ต้องมีวิศวกรผู้ชำนาญเป็นผู้คำนวณ และควบคุมงานก่อสร้าง
4. มีค่าบำรุงรักษา ค่าสีป้องกันสนิม แต่ถ้าใช้เหล็กกัลวาไนซ์ จะลดค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาและค่าสีป้องกันสนิม
บ้านโครงสร้างเหล็ก หนึ่งในเทรนด์การสร้างบ้านสมัยใหม่ คำว่าเทรนด์ในที่นี้ ไม่ได้เป็นเพียงกระแสนิยมชั่วคราว แต่เป็นภาพรวมของความต้องการที่เกิดจากปัญหาต่าง ๆ ของวงการก่อสร้าง โดยเฉพาะปัญหาขาดแคลนแรงงาน ปัญหาค่าแรง รวมทั้งกระบวนการก่อสร้างที่ต้องแข่งขันกับเวลา ต้องการความรวดเร็วที่มากยิ่งขึ้น ในอนาคตอันใกล้นี้เราจะได้เห็นบ้านโครงสร้างเหล็กเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่จะเพิ่มสูงจนกระทั่งมาทดแทนบ้านปูน (โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก) หรือไม่นั้น จำเป็นต้องดูสถานการณ์อื่น ๆ รอบด้านกันต่อไป โดยปกติเหล็กที่นิยมนำมาใช้ทำโครงสร้างอาคารมีหลายชนิด การนำมาใช้จะขึ้นอยู่กับลักษณะงาน สำหรับบ้านเรือนทั่วไปใช้เหล็กรูปพรรณ H Beam ทั้งทำเสาและคาน คุณสมบัติของเหล็ก H Beam มีความยืดหยุ่น แข็งแรง รับน้ำหนักได้มาก
ใครเหมาะกับบ้านโครงสร้างเหล็ก
1. ผู้ที่ชื่นชอบงานออกแบบลักษณะโครงสร้างเหล็ก ซึ่งจะให้ความแตกต่างของงานดีไซน์อย่างชัดเจน เหมาะกับผู้ที่ชอบงานสัจจะวัสดุ เปลือยโครงสร้าง ให้ความรู้สึกในสไตล์ Loft, Tropical, Industrial แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายถึงว่าสไตล์อื่น ๆ ใช้งานเหล็กไม่ได้นะครับ ใช้ได้เช่นกัน โดยทำการออกแบบให้มีวัสดุอื่น ๆ มาปิดผิวอีกชั้นแต่ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
2. ผู้ที่มีงบประมาณในการก่อสร้างค่อนข้างสูง เนื่องด้วยปัจจุบันภาพรวมของบ้านโครงสร้างเหล็กยังมีราคาที่สูงกว่าบ้านปูน ราคาเหล็กที่เคยสูงมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันยังมีตัวเลขที่สูงมากขึ้น โดยเฉลี่ยแล้ว บ้านโครงสร้างเหล็กจะมีต้นทุนสูงกว่าบ้านคอนกรีตเสริมเหล็กประมาณ 1.5 เท่า
(ค่าก่อสร้างบ้านโครงสร้างเหล็กปัจจุบัน ประมาณ 15,000 – 30,000 บาท/ตร.ม.)
3. ผู้ที่ต้องการความรวดเร็วในงานก่อสร้าง เพราะโครงสร้างเหล็กมีระบบ ขั้นตอนการทำงานที่สะดวก เสมือนเป็นการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของบ้านเข้าด้วยกัน แตกต่างจากงานปูน ที่ต้องใช้ระยะเวลานานกว่า
4. เหมาะกับกรณีพื้นที่ก่อสร้างมีความยากในการเข้าถึง บ้านโครงสร้างเหล็กใช้วัสดุน้อยชิ้น สามารถขนส่งนำไปก่อสร้างในพื้นที่เฉพาะได้สะดวกกว่า อาทิ พื้นที่บนภูเขาสูง, พื้นที่มีน้ำขัง หรือพื้นที่เฉพาะทางอื่น ๆ
5. เหมาะกับผู้ที่ต้องการบ้านดีไซน์แปลกใหม่ บางกรณีบ้านปูน หรือโครงสร้างอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้ อาทิ งานที่ต้องการคานยื่นยาว รูปทรงไม่ตั้งฉาก งานที่ต้องการลดเสา หากเป็นบ้านปูนจะมีข้อจำกัดในการออกแบบที่มากกว่า การนำโครงสร้างเหล็กมาประยุกต์ร่วมจะช่วยให้งานดีไซน์ดูแปลกใหม่ยิ่งขึ้น
6. เหมาะกับอาคารเชิงพาณิชย์ ด้วยระยะเวลาก่อสร้างที่เร็วกว่าบ้านคอนกรีตเสริมเหล็กมาก บ้านโครงสร้างเหล็กจึงสามารถช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจหมายถึงกำไรที่จะคืนทุนไวยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ เลือกใช้โครงสร้างเหล็กในการทำอาคาร หากร่นระยะเวลาก่อสร้างไปได้ 3 เดือน แม้ค่าก่อสร้างจะสูงกว่า แต่ 3 เดือนนี้ทางร้านจะได้กำไรจากการค้าขายมาทดแทน ก่อเกิดความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
ข้อดีบ้านโครงสร้างเหล็ก
- ระยะเวลาก่อสร้างรวดเร็ว
- เมื่อระยะเวลาก่อสร้างลดลง ค่าแรงจึงลดลง
- ปริมาณการทำงานลดลง พึ่งพาจำนวนแรงงานน้อยลง
- เหล็กมีความยืดหยุ่นตัวสูง ช่วยให้บ้านรองรับแผ่นดินไหว
- โครงสร้างเหล็กน้ำหนักเบากว่าคอนกรีต ช่วยลดการใช้เสาเข็ม
- มีความแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้มาก
- งานต่อเติมทำได้สะดวก
- เพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน (ลดขนาดเสา และคาน)
- ออกแบบรูปทรงแปลกใหม่ เช่น ลักษณะคานยื่นยาว รูปทรงเอียง
- ขั้นตอนการก่อสร้างลดลง ปัจจัยความผิดพลาดลดลง
- หน้างานแห้ง ดูสะอาด เป็นระเบียบ ลดฝุ่นฟุ้งกระจาย
- สามารถสร้างในพื้นที่เฉพาะ ที่มีข้อจำกัดสูงได้
ข้อเสียบ้านโครงสร้างเหล็ก
- ปัญหาหลักของงานเหล็กคืองานเชื่อม จำเป็นต้องใช้ช่างฝีมือคุณภาพสูงในการเชื่อมต่องานเหล็ก
- วัสดุเหล็กมีราคาสูง ทำให้ต้นทุนวัสดุมีราคาแพงกว่าบ้านทั่วไปประมาณ 30% (เฉพาะค่าวัสดุ)
- หาบริษัทรับสร้างยากกว่า ปัจจุบันผู้รับสร้างบ้านส่วนใหญ่ยังคุ้นชินกับการสร้างบ้านปูนแบบทั่วไป
- ต้องมีวิศวกรผู้ชำนาญการควบคุมแบบโครงสร้าง หากเป็นบ้านปูน หรือบ้านไม้หลังเล็ก ๆ ทั่วไป ช่างรับเหมาท้องถิ่นพอจะออกแบบตามประสบการณ์ได้ แต่หากงานเหล็กยังเป็นเรื่องใหม่ แนะนำให้มีวิศวกรออกแบบและควบคุม
- มีค่าบำรุงรักษาระยะยาว ค่าสี ป้องกันสนิม
- ข้อดีของโครงสร้างเหล็กคือยืดหยุ่นต่อแรงสั่นสะเทือน ช่วยป้องกันแผ่นดินไหว แต่ความยืดหยุ่นนี้เองอาจทำให้การอยู่อาศัยในบางขณะ สัมผัสได้ถึงแรงสั่นสะเทือนของตัวบ้าน อาทิ มีรถบรรทุกขับผ่าน, การวิ่งบนอาคาร แตกต่างจากงานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ให้ความแน่นหนา สงบนิ่ง
ไขข้อข้องใจ
เมื่อนึกถึงงานเหล็กเรามักนึกถึงปัญหาของสนิม ซึ่งเป็นอีกปัญหาหลักที่จะมาพร้อมกับเหล็ก แต่ไม่ต้องเป็นกังวลใจไปนะครับ งานโครงสร้างเหล็กสามารถก่อสร้างได้ทุกที่ แม้กระทั่งใต้ทะเล แท่นขุดเจาะน้ำมัน เรือประมง สะพาน ต่างใช้โครงสร้างเหล็ก สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือสภาพของเหล็กที่จะนำมาสร้าง ต้องเป็นเหล็กที่สะอาด ไม่เป็นสนิม หากมีสนิมผิวติดเล็กน้อยให้ทำความสะอาดโดยใช้แปลงหรือกระดาษทรายขัดก่อนทาสีกันสนิม ซึ่งสีกันสนิมนี่เอง เป็นส่วนสำคัญที่จะคอยป้องกันให้เหล็กปลอดภัยจากสนิม แต่หากเป็นสนิมผุ ควรให้ผู้รับสร้างเปลี่ยนเหล็กใหม่จะดีกว่า
สรุปภาพรวมของบ้านโครงสร้างเหล็ก หากเทียบราคาแล้วโดยเฉลี่ยยังคงสูงกว่าบ้านปูนทั่วไป แต่จะได้ข้อดีอื่น ๆ ทดแทน เช่น รูปแบบโครงสร้างน้ำหนักเบา รูปทรงบ้านที่หลากหลาย ความสะดวกในการก่อสร้าง ความรวดเร็วซึ่งจะคุ้มค่ามากสำหรับอาคารเชิงพาณิชย์ และข้อดีอื่น ๆ ตามที่แจ้งไว้ข้างตน หากเทียบราคาและข้อดีที่ได้รับก็นับว่าคุ้มค่ากันไม่น้อยเลยครับ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการความรวดเร็วในการก่อสร้าง เพราะเวลาสำหรับใครหลายคน อาจเป็นสิ่งที่มีมูลค่าสูงไม่อาจหาสิ่งใดทดแทนได้
บ้านคอนกรีตเสริมเหล็ก + บ้านโครงสร้างเหล็ก = ความลงตัว
ด้วยข้อดีและข้อเสียต่าง ๆ ปัจจุบันการนำโครงสร้างเหล็กมาใช้ร่วมกับบ้านพักอาศัย จึงนิยมประยุกต์ใช้แบบผสมผสานมากกว่าการใช้ทั้งหลัง เช่น อาคารหลักใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่หากมีจุดไหนที่ต้องการความพิเศษที่คอนกรีตเสริมเหล็กไม่สามารถทำได้ ให้นำโครงสร้างเหล็กมาใช้งานแทน นอกจากจะช่วยให้เจ้าของบ้านประหยัดขึ้นแล้ว ยังเกิดความลงตัวและก่อเกิดงานดีไซน์ที่น่าสนใจไม่น้อยเลย