9489926

แนะนำการสอบกรมโรงงานอุตสาหกรรม

หมวดหมู่สินค้า: 32 กรมโรงงานอุตสาหกรรม

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 157 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมโรงงานอุตสาหกรรม
แนะนำการสอบกรมโรงงานอุตสาหกรรม หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมโรงงานอุตสาหกรรม หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมโรงงานอุตสาหกรรม , ข้อสอบกรมโรงงานอุตสาหกรรม , งานราชการกรมโรงงานอุตสาหกรรม

บทบาทหน้าที่ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม



ประวัติของ กรอ.
อุตสาหกรรมยุคแรก
ประเทศไทยเริ่มมีการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมมาแต่สมัยโบราณ แต่การอุตสาหกรรมในขณะนั้นเป็นประเภทสินค้าหัตถกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การทอผ้า การตีเหล็ก การจักสาน การแกะสลักไม้ การทำทองรูปพรรณ และการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เช่น โรงงานสุรา โรงงานน้ำตาลทรายแดง
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้นโดยมีชาวต่างประเทศเข้ามาสร้างโรงงาน เช่น โรงกษาปณ์ โรงสีข้าว โรงเลื่อย และหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการพัฒนาด้านการอุตสาหกรรม โดยเอกชนได้เริ่มลงทุนก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นอีกหลายประเภท เช่น โรงงานบุหรี่ โรงงานทำกระดาษ โรงงานทำน้ำอัดลม โรงงานทำสบู่ แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำลงทั่วโลกในปี พ.ศ. 2470 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยด้วย ทำให้ไม่มีการขยายตัวทางอุตสาหกรรมในประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว
 
การก่อตั้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลได้ยึดแนวการบริหารประเทศ โดยคำนึงถึงความสมบูรณ์ของราษฎรทางด้านเศรษฐกิจจึงได้จัดทำแผนการดำเนินการทางเศรษฐกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอุตสาหกรรม กิจการบางอย่างที่เป็นสาธารณูปโภค รัฐจะเข้าควบคุมดูแลตลอดจนการร่วมงานกับบริษัทเอกชนดำเนินการในรูปของบริษัทสาธารณะ ส่วนที่ไม่เป็นสาธารณูปโภคจะให้ประชาชนดำเนินการธุรกิจอุตสาหกรรมได้
พ.ศ. 2485 เพื่อเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรม รัฐบาลในสมัยนั้นจึงมีนโยบายที่จะจัดสร้างและดำเนินการอุตสาหกรรมและการพาณิชยกรรมภายในประเทศให้เป็นปึกแผ่น โดยแก้ไขพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยยุบกระทรวงการเศรษฐกิจและจัดตั้งกระทรวงใหม่ขึ้น 2 กระทรวงคือ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม
5 พฤษภาคม 2485 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้รับการสถาปนาเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุตสาหกรรม โดยมีหน้าที่ดูแลโรงงานต่างๆที่เป็นของรัฐ ควบคุมดูแลการดำเนินงานของโรงงานเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงมาตรฐานแห่งคุณภาพและปริมาณ ตลอดจนรักษาระดับราคาของผลิตภัณฑ์ที่โรงงานต่างๆผลิตจำหน่ายแก่ประชาชน พร้อมทั้งสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เห็นว่ามีความจำเป็นแก่ประเทศชาติในยามสงคราม

ตราสัญลักษณ์
ความเป็นไทย หน้าจั่ว ลายไทย ลายกนก โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ตราสัญลักษณ์ แสดงถึงความเรียบง่าย แสดงความเป็นไทยสมัยใหม่ ลักษณะคล้ายเปลวไฟเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมอันหมายถึงความรุ่งเรือง ความเจริญ การงาน ฯลฯ
ด้านนอกเป็นรูปเฟือง หมายถึง อุตสาหกรรม
ภายในเป็นรูปวงกลมเป็นรูปพระนารายณ์ หมายถึง การปกป้องดูแลความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และยังหมายถึงการสร้างเสริมและพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมของประเทศให้ก้าวหน้าสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
สีธงชาติ หมายถึง อุตสาหกรรมไทย ที่มีความมั่งคง ความก้าวหน้า การสงเสริมอุตสาหกรรมไทยให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น
 
วิสัยทัศน์
ขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรม ให้ทันสมัย ก้าวไกล ยั่งยืน
 
พันธกิจ
1. บริหารจัดการ การกำกับดูแลธุรกิจอุตสาหกรรมรวมถึงวัตถุอันตรายด้านการผลิต สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยตามกรอบของกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ
2. ส่งเสริม สนับสนุนข้อมูลและองค์ความรู้ด้านเครื่องจักร การผลิต สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย วัตถุอันตรายพลังงานและความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม
3. พัฒนาสมรรถนะองค์การและบุคลากร
4. บริหารจัดการการกำกับดูแล และติดตามผล การถ่ายโอนภารกิจตามกฎหมายโรงงานให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น




 
วัฒนธรรม
ทำงานด้วยความมุ่งมั่น สัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง สอดคล้องความเปลี่ยนแปลง
 
ค่านิยม
อำนวยความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ใฝ่พัฒนา
 
โครงสร้าง กรอ.
-ศูนย์บริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล (ศบพ.)
-กลุ่มตรวจสอบภายใน (ตสน.)
-สำนักงานเลขานุการกรม (สล.)
-กองกฎหมาย (กม.)
-กองบริการงานอนุญาตโรงงาน 1 (กร. 1)
-กองบริการงานอนุญาตโรงงาน 2 (กร. 2)
-กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม (กกอ.)
-กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย (กวอ.)
-กองพัฒนาระบบมาตรฐานงานกำกับโรงงาน (กมร.)
-กองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (กอน.)
-กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (กย.)
-กองวิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงาน (กวภ.)
-กองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม (กทพ.)
-กองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน (กปภ.)
-กองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน (กทส.)
-ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศส.)
-สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง (สจก.)
 
รายชื่ออธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ลำดับที่ ผู้ดำรงตำแหน่ง ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พล.ต.ม.ล.อภิรุม ชุมสาย 2485 - 2487
2 พล.ต.พระยาสรกิจพิศาล         2487 - 2489
3 ม.จ. สิทธยากร  วรวรรณ         2489 - 2497
4 นายประวัติ สุขุม                 2497 - 2500
5 พล.ต.จำรูญ  วีณะคุปต์         2500 - 2501
6 นาวาตรีหยู่ ทองเวส         2501 - 2503
7 นายสอาด มีชูธน         2503 - 2510
8 นายอุดมศักดิ์  ภาสะวณิช 2510 - 2522
9 นายวีระ สุสังกรกาญจน์ 2522 - 2525
10 นายวิสิทธิ์ น้อยพันธุ์         2525 - 2527
11 นายพิศาล คงสำราญ         2527 - 2527
12 นายจำนงค์ พนัสจุฑาบูลย์ 2527 - 2528
13 นายพิศาล คงสำราญ         2528 - 2531
14 นายยิ่งยง ศรีทอง         2531 - 2534
15 นายปรีชา อรรถวิภัชน์         2534 - 2536
16 นายมนัส สุขสมาน         2536 - 2538
17 นายเทียร เมฆานนท์ชัย 2538 - 2543
18 นางสาวกัญญา  สินสกุล         2543 - 2544
19 นายวิระ มาวิจักขณ์         2544 - 2546
20 นายเรืองศักดิ์  งามสมภาค 2546 - 2547
21 นายอิสสระ โชติบุรการ         2547 - 2549
22 นายรัชดา สิงคาลวณิช         2549 - 2552
23 นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี         2552 - 2553
24 นายประพัฒน์   วนาพิทักษ์ 2553 - 2554
25 นายอาทิตย์ วุฒิคะโร         2554 - 2555
26 นายประพัฒน์ วนาพิทักษ์ 2555 - 2556
27 นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ 2556 - 2557
28 นายพสุ  โลหารชุน         2557 - 2559
29 นายมงคล พฤกษ์วัฒนา 2559 - 2561
30 นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ         2561 - 2562
31 นายประกอบ  วิวิธจินดา         2562 - ปัจจุบัน
 
ติดต่อ : อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0 2202 4105-6
โทรสาร : 0 2202 4053
e-mail : sahawat.s@diw.mail.go.th

ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com