9368697

แนะนำการสอบกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

หมวดหมู่สินค้า: 42 สำนักงานศาลยุติธรรม

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 137 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
แนะนำการสอบกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน , ข้อสอบกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน , งานราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน


บทบาทหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน





กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

 
ประวัติกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
จากอดีตถึงปัจจุบัน รัฐบาลได้ให้ความสำคัญของงานด้านแรงงานเสมอมา เริ่มตั้งแต่การมี พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับด้านแรงงานว่าด้วยเรื่องการบริการจัดหางานของรัฐและ เอกชนในปี พ.ศ. 2475 ในสมัยที่ยังเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย รัฐบาลสมัย ต่อๆ มาได้พยายามปรับปรุง เปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาต่างๆ ที่เกี่ยวกับ ด้านแรงงาน ให้ทันยุคทันเหตุการณ์ อยู่เสมอมา กล่าวคือ มีการโอนแผนกจัดหางาน ไปสังกัด กรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ ด้วยเหตุผลว่า เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้าน เศรษฐกิจ
ปี พ.ศ. 2484 เป็นยุคที่รัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องการสงเคราะห์ ประชาชนให้มี อาชีพ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี จึงโอนงานมาสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย และในช่วงปี พ. ศ. 2496 - 2505 มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหน่วยงานเพื่อดำเนินการด้านแรงงานเรื่อยมา และเริ่มให้ความสำคัญด้านการฝึกอาชีพ โดยระยะแรกเป็นแผนกอาชีวศึกษา จนกระทั่งเป็น ศูนย์ฝึกอาชีพ สังกัดกองแรงงาน และสังกัดส่วนแรงงานในที่สุด แต่ยังคงอยู่กับกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
ปี พ.ศ. 2508 มีการยกฐานะส่วนแรงงานขึ้นเป็นกรมแรงงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย ภารกิจหลักทางด้านการจัดหางาน การคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ รวมทั้งการฝึกอาชีพ ในช่วง พ.ศ. 2511 มีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติขึ้นโดยให้ปฏิบัติควบคู่ไปกับ กองพัฒนาอาชีพ จนกระทั่ง พ.ศ. 2516 ได้มีพระราชกฤษฎีกาฯ เปลี่ยนกองพัฒนาอาชีพเป็นสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (ตัดคำว่า"แห่งชาติ" ออก) ระหว่าง พ.ศ. 2517-2534 ได้มีการขยายการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานขึ้นในภูมิภาคอีก 8 แห่งคือ ที่จังหวัดราชบุรี ชลบุรี ลำปาง ขอนแก่น สงขลา นครสวรรค์ อุบลราชธานี และสุราษฎร์ธานี และยังได้มี การจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดขึ้นด้วยอีก 2 แห่ง คือ ที่จังหวัดปัตตานี และชัยภูมิ เพื่อขยายบริการการฝึกอาชีพให้เข้าถึงประชาชนในระดับพื้นที่มากขึ้น









ปี พ.ศ. 2535 คณะรัฐมนตรีมีมติยุบส่วนราชการ กรมแรงงาน พร้อมกับมีการจัดตั้งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขึ้น สังกัดกระทรวงมหาดไทย และในปี พ. ศ. 2536 รัฐบาลได้จัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้น โดยโอนกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงมหาดไทยไปสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และในเวลาเดียวกันได้มีการจัดตั้งกรมการจัดหางานขึ้น จึงได้โอนงานในสังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่เกี่ยวกับการจัดหางานทั้งในและต่างประเทศ งานควบคุมคนงานที่เป็นต่างด้าวไปสังกัดกรมการจัดหางาน
พ. ศ. 2545 รัฐบาลได้มีการปฏิรูประบบบริหารราชการใหม่ โดยปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ทั้งหมดตามบทบาท ภารกิจ ซึ่งทำให้มีกระทรวงเพิ่มขึ้น กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ถูกแยกออกเป็น 2 กระทรวง คือ กระทรวงแรงงาน และ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานสังกัดกระทรวงแรงงาน และรับผิดชอบภารกิจเฉพาะด้านพัฒนาฝีมือแรงงานของประเทศ เช่นเดิม
พ. ศ. 2559 ได้มีปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงานใหม่ตาม ประกาศราชกิจจานุเบกษากฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2559 โดยมีการจัดตั้ง
 
หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง
-สำนักงานเลขานุการกรม
-กองบริหารการคลัง
-กองบริหารทรัพยากรบุคคล
-กองแผนงานและสารสนเทศ
-กองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ
-กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
-สำนักงานพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก
-สำนักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน
-หน่วยงานที่ไม่สังกัดกอง ได้แก่ กลุ่มกฎหมาย กลุ่มตรวจสอบภายใน และกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
-หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค ประกอบด้วย
  สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 - 25 ได้แก่ สมุทรปราการ สุพรรณบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำปาง สุราษฎร์ธานี สงขลา กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ระยอง อุดรธานี เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ตามลำดับ












วิสัยทัศน์
พัฒนาศักยภาพคนทำงานทุกระดับให้มีผลิตภาพแรงงานสูง สอดคล้องกับความต้องการตลาดแรงงาน และก้าวทันเทคโนโลยี 4.0
 
พันธกิจ
1 พัฒนาและยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
2 พัฒนาระบบการพัฒนาฝีมือแรงงานรองรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง
3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน
4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
 
ค่านิยมร่วม
มุ่งมั่นทำงานเป็นทีมเชิงรุก โปร่งใส ใฝ่รู้ มีจิตบริการ สานสร้างเครือข่าย
 
สมรรถนะหลักขององค์กร
เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนทำงาน
 
เป้าหมาย/ตัวชี้วัด
1 ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ต่อปี
2 คนทำงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 5.0 มีผลิตภาพเพิ่มขึ้น
3 ผลิตภาพแรงงานในสถานประกอบกิจการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ต่อปี












ประเด็นยุทธศาสตร์ 5 ประเด็น
1 การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐานสากล
2 การฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อรองรับความท้าทายในยุคไทยแลนด์ 4.0
3 การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการและแรงงานนอกระบบ
4 การส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน
5 การบริหารจัดการองค์การและระบบฐานข้อมูลให้ทันสมัยยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพสูงอย่างต่อเนื่อง
 
โครงสร้างผู้บริหาร
นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดี
นายชาคริตย์ เดชา รองอธิบดี
นางสาวจิราภรณ์ ปุญญฤทธิ์ รองอธิบดี
นางดรุณี นิธิทวีกุล รองอธิบดี
 
ข้อมูลติดต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ถ.มิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพฯ 10400
อีเมล : webmaster@dsd.go.th โทรศัพท์ : 0-2248-3393 โทรสาร : 0-2245-1707




ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com