แนะนำการสอบสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
หมวดหมู่สินค้า: 88 กรมบังคับคดี
27 มิถุนายน 2565
ผู้ชม 99 ผู้ชม
แนะนำการสอบสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
แนะนำการสอบสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค , ข้อสอบสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค , งานราชการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
บทบาทหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ประวัติหน่วยงาน
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้มีเจ้าหน้าที่ของสหพันธ์องค์การผู้บริโภคระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง จัดตั้งโดยสมาคมผู้บริโภคของประเทศต่างๆ รวมตัวกันโดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เข้ามาชักชวนองค์การเอกชนในประเทศไทยให้มีการจัดตั้งสมาคมผู้บริโภคขึ้นเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากองค์การเอกชนของประเทศไทยในขณะนั้นยังไม่พร้อมที่จะดำเนินงาน
อย่างไรก็ตาม สหพันธ์องค์การผู้บริโภคระหว่างประเทศก็มิได้ย่อท้อ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาชักชวนอีกหลายครั้ง จนถึงครั้งที่ ๓ องค์การเอกชนของประเทศไทยจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการศึกษาปัญหาของผู้บริโภค ชื่อ "คณะกรรมการศึกษาและส่งเสริมผู้บริโภค" ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ และได้มีวิวัฒนการเรื่อยมาในภาคเอกชน รวมทั้งได้ประสานงานกับภาครัฐบาล จนกระทั้งในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ รัฐบาลสมัยหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีรองนายกรัฐมนตรี พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นประธานกรรมการ ต่อมาได้สลายตัวไปพร้อมกับรัฐบาลในยุคนั้นตามวิถีทางการเมือง
รัฐบาลต่อมาซึ่งมี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เล็งเห็นความสำคัญ และความจำเป็นของการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นอีกครั้ง โดยมีรองนายกรัฐมนตรี นายสมภพ โหตระกิตย์ เป็นประธานกรรมการปฏิบัติงาน โดยอาศัยอำนาจของนายกรัฐมนตรี และศึกษาหามาตรการถาวรในการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งในหลักทางสาระบัญญัติ และการจัดองค์กรของรัฐเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้พิจารณายกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค โดยกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจการค้า และผู้ประกอบธุรกิจโฆษณา เพื่อให้ความเป็นธรรมตามสมควรแก่ผู้บริโภค ตลอดจนให้มีองค์กรของรัฐที่เหมาะสมเพื่อตรวจตรา ดูแลและประสานงานการปฏิบัติงานต่างๆ ในการให้ความคุ้มครองผู้โภค และรัฐบาลได้นำเสนอต่อรัฐสภาซึ่งมีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้ตราเป็นกฎหมายได้ รัฐบาลจึงได้นำร่างดังกล่าวขึ้นกราบบังคมทูล ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเห็นชอบให้ตรงเป็นพระราชบัญญัติได้ ตั้งแต่วันที่ทรงลงพระปรมาภิไธย คือวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๒๒ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๙๖ ตอนที่ ๗๒ วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๒๒ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๒๒ เป็นต้นไป
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้บัญญัติให้มีองค์กรของรัฐบาลเพื่อทำหน้าที่ด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคให้แก่ประชาชน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดอยู่ในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยได้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกาศในราชกิจจานุเบก ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๙๖ ตอนที่ ๑๐๕ วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๒ ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๒๒ จึงถือได้ว่าจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตั้งแต่วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๒๒ เป็นต้นมา นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการ ๓ คณะ ได้แก่ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล และคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ๒ คณะ ได้แก่ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา และคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ต่อมา ได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยเพิ่มคณะกรรมการเฉพาะเรื่องขึ้นมาอีก ๑ คณะ ได้แก่ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา และให้ยกฐานะสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๔๐ ก วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๒
และเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยประการลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๕ ก. วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๖
ค่านิยมองค์กร
"โปร่งใส ทันสมัย ใส่ใจผู้บริโภค"
วัฒนธรรมองค์กร
"สร้างความเป็นธรรม ก้าวทันสมัย นำความเข้มแข็งสู่ผู้บริโภค"
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
๑. นโยบายทิศทางการดำเนินงานของ สคบ.
๒. นโยบายการส่งเสริมค่านิยม (Values)
๓. เจตนารมณ์และคำมั่นในการปฏิบัติหน้าที่
วิสัยทัศน์ (Vision)
"ยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความเป็นธรรม และยั่งยืน"
พันธกิจ (Mission)
๑. พัฒนากฎหมาย มาตรการ ตลอดจนระเบียบข้อบังคับต่างๆ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
๒. พัฒนาระบบและกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อป้องกัน ควบคุม/กำกับดูแลสินค้าและบริการให้มีความปลอดภัย รวมถึงการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. พัฒนานวัตกรรมและเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
๔. เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อสร้างความตระหนักรู้และสามารถปกป้องสิทธิของตนได้
๕. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๖. ส่งเสริมความร่วมมือทุกภาคส่วนให้มีการบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภคในทุกระดับอย่างเป็นรูปธรรม
ยุทธศาสตร์ (Strategy)
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนากลไก มาตรการ หรือแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัด ๑ ร้อยละของสินค้าหรือบริการหรือสถานประกอบการที่ได้รับการตรวจสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ตัวชี้วัด ๒ จำนวนของกฎหมายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่ประกาศใช้
กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนากระบวนการ หรือแนวทางการตรวจสอบ กำกับดูแลสินค้าและบริการให้ถูกต้องและปลอดภัย
ตัวชี้วัด ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของสินค้าหรือบริการหรือสถานประกอบการที่ได้รับการตรวจสอบ
กลยุทธ์ที่ ๒ พัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคให้ทันสมัยต่อสภาพปัญหา เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิผู้บริโภคระดับสากล
ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการพัฒนากฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค
กลยุทธ์ที่ ๓ พัฒนามาตรการ หรือแนวทางการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้บริโภค
ตัวชี้วัด จำนวนมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับการพัฒนา
กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนากลไกการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยที่ทีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด ร้อยละของเรื่องแจ้งเตือนภัยที่ได้รับการดำเนินการ
กลยุทธ์ที่ ๕ การขับเคลื่อนนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเชิงบูรณาการ
ตัวชี้วัด จำนวนนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีการบูรณาการ
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาข้อมูลสารสนเทศ การสื่อสาร และนวัตกรรมเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัด ๑ ร้อยละความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายจากการใช้งานระบบฐานข้อมูลการติดตาม
ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน
ตัวชี้วัด ๒ ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่เผยแพร่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ตัวชี้วัด ๓ ร้อยละการรับรู้ข้อมูลด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของประชาชน
ตัวชี้วัด ๔ ร้อยละความรู้ความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค
กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัด ๑ ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัด ๒ ระดับความสำเร็จของการเชื่อมโยงฐานข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภคกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์ที่ ๒ พัฒนานวัตกรรมสารสนเทศเพื่อยกระดับการให้บริการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัด จำนวนนวัตกรรมเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
กลยุทธ์ที่ ๓ พัฒนาฐานข้อมูลเชิงบูรณาการเพื่อการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการเชื่อมโยงข้อมูลการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสินค้า
และบริการ
กลยุทธ์ที่ ๔ การเสริมสร้างองค์ความรู้แก่ผู้บริโภคให้ตระหนักในสิทธิ หน้าที่ และมีการบริโภคที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด ๑ จำนวนขององค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่เผยแพร่ต่อผู้บริโภค
ตัวชี้วัด ๒ จำนวนคู่มือที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับการปรับปรุง
ตัวชี้วัด ๓ จำนวนกิจกรรมส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ ๕ การสื่อสารเผยแพร่ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคผ่านช่องทางและวิธีการที่หลากหลาย
ตัวชี้วัด จำนวนข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเผยแพร่สู่สาธารณะ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายและส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
ตัวชี้วัด ๑ จำนวนองค์กรการคุ้มครองผู้บริโภคคุณภาพ
ตัวชี้วัด ๒ ร้อยละขององค์กรผู้บริโภคที่ได้รับการพัฒนา
กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
ตัวชี้วัด ๑ ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการจนได้ข้อยุติในส่วนภูมิภาค
ตัวชี้วัด ๒ ร้อยละขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีกิจกรรมการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ
การคุ้มครองผู้บริโภค
กลยุทธ์ที่ ๒ พัฒนาระบบรับรองคุณภาพองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบรับรองคุณภาพขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภค
กลยุทธ์ที่ ๓ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัด ๑ จำนวนที่เพิ่มขึ้นของเครือข่ายและองค์กรของผู้บริโภค
ตัวชี้วัด ๒ จำนวนผู้นำด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่ผ่านการอบรม
ตัวชี้วัด ๓ จำนวนจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ได้รับการพัฒนา
กลยุทธ์ที่ ๔ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัด จำนวนผู้ประกอบธุรกิจที่ทำกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับ สคบ.
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรและเพิ่มศักยภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด ๑ ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามพันธกิจ
ตัวชี้วัด ๒ ร้อยละความพึงพอใจของบุคคลากรต่อการบริหารจัดการองค์กร
กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด ร้อยละความสำเร็จของแผนการพัฒนาบุคลากร
กลยุทธ์ที่ ๒ พัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามกระบวนงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
กลยุทธ์ที่ ๓ พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรที่ทันสมัย (Smart Office)
ตัวชี้วัด ๑ ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีและ
นวัตกรรมในการทำงาน
ตัวชี้วัด ๒ ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สคบ. (ชั้น ๑)
ตัวชี้วัด ๓ ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการตามตัวชี้วัดประเมินส่วนราชการ ตามมาตรการ
ปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
กลยุทธ์ที่ ๔ การบริหารยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัด ๑ ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัด ๒ ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ ๑
กลยุทธ์ที่ ๕ การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ตัวชี้วัด ร้อยละความสำเร็จของโครงการภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปี
อำนาจหน้าที่สิทธิของผู้บริโภค
องค์กรของรัฐตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
- คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
- การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาค
- การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนท้องถิ่น
การคุ้มครองผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
- การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านโฆษณา
- การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก
- การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา
- การดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตราย
- การดำเนินคดีแทนผู้บริโภค
- สมาคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
- การเปรียบเทียบความผิด
- การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการขายตรงและตลาดแบบตรง
การคุ้มครองผู้บริโภครูปแบบพิเศษ
- ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ผู้บริโภค
- ศูนย์ปฏิบัติการพิเศษสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
- ศูนย์เฝ้าระวังการคุ้มครองผู้บริโภค
- ส่วนประสานและส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด
ผู้บริหาร
นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
นายสุวิทย์ วิจิตรโสภา รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ร้องทุกข์ออนไลน์ : https://complaint.ocpb.go.th
ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<