9377256

แนะนำการสอบกรมราชทัณฑ์

หมวดหมู่สินค้า: 82 กรมราชทัณฑ์

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 208 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมราชทัณฑ์
แนะนำการสอบกรมราชทัณฑ์ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมราชทัณฑ์ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมราชทัณฑ์ , ข้อสอบกรมราชทัณฑ์ , งานราชการกรมราชทัณฑ์


บทบาทหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์




กรมราชทัณฑ์

 
ประวัติความเป็นมาในการก่อตั้งหน่วยงาน
แต่เดิมมา การเรือนจำทั้งหลายในประเทศไทยได้แยกย้ายกันสังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ มากมายหลายแห่ง เช่น คุก และตะรางในมณฑลกรุงเทพฯ ขึ้นอยู่ในสังกัดกระทรวงนครบาล ตะรางต่างๆ ในพระนคร สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรมที่บังคับบัญชากิจการนั้น เช่น กรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมท่า กรมเมือง กรมวัง กรมนา กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระธรรมการ กรมพระสุรัศวดี กรมแพ่ง กรมกองตระเวรซ้าย กรมกองตระเวรขวา กรมท่าซ้าย กรมพระคลังสาม กรมพระนครบาล การเรือนจำหัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทย หัวเมืองฝ่ายใต้ ขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหม เป็นต้น
 
ตั้งกรมราชทัณฑ์ครั้งแรก สังกัดกระทรวงนครบาล
เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๘ ได้มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๖) ให้รวมการคุกกองมหันตโทษ และลหุโทษ กับเรือนจำทั้งหลายที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะเรือนจำ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) นั้น ขึ้นเป็นกรมหนึ่ง เรียกว่า “กรมราชทัณฑ์” มีอธิบดีผู้หนึ่งบังคับการกรมนั้น ขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๕๘ แต่งตั้งมหาอำมาตย์ตรีพระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์) เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรก และคนสุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เมื่อพ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์แล้วได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นมหาอำมาตย์เอก






กรมราชทัณฑ์ ย้ายไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม ครั้งแรก
ต่อมาวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๖๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า กรมราชทัณฑ์เป็นกรมที่มีหน้าที่เกี่ยวพันกับศาลยุติธรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนกรมราชทัณฑ์จากกระทรวงนครบาล ไปขึ้นกับกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่นั้นมา
 
ยุบเลิกกรมราชทัณฑ์ เป็นแผนกราชทัณฑ์สังกัดกระทรวงยุติธรรม
เมื่อวันที่๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๗) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบเลิกกรมราชทัณฑ์ ให้กองมหันตโทษและกองลหุโทษกับเรือนจำทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เป็นแผนกราชทัณฑ์ สังกัดสำนักปลัด ปลัดบัญชาการ กระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นต้นไป เหตุที่ยุบกรมราชทัณฑ์ ในพระราชปรารภว่า เนื่องจากกรมราชทัณฑ์จัดวางระเบียบและข้อบังคับไว้เรียบร้อยแล้ว จึงยุบเลิกกรมราชทัณฑ์ เพื่อประหยัดรายจ่าย ทั้งนี้เป็นเพราะสมัยนั้นเศรษฐกิจของประเทศกำลังตกต่ำ การเงินปั่นป่วนมาก งบประมาณรายได้ รายจ่ายไม่ได้ดุลยภาพกัน จึงจำเป็นต้องตัดรายจ่ายเท่าที่รัฐบาลในสมัยนั้น เห็นความสำคัญน้อยลงเสีย
 
ย้ายแผนกราชทัณฑ์ไปสังกัดกรมพลัมภัง กระทรวงมหาดไทย
ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นสมควรจะยกการเรือนจำไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อสะดวกในการบังคับบัญชาและควบคุม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนการเรือนจำจากกระทรวงยุติธรรมไปขึ้นกระทรวงมหาดไทย ส่วนเจ้าหน้าที่ฝ่ายตุลาการยังมีอำนาจไปตรวจเรือนจำได้ตามระเบียบ ราชการราชทัณฑ์ส่วนกลางในสมัยนั้น คงมีฐานะเป็นเพียงแผนกหนึ่ง เรียกว่า แผนกราชทัณฑ์ สังกัดกรมพลัมภัง(กรมมหาดไทย) ซึ่งเป็นกรมหนึ่ง ในกระทรวงมหาดไทย





ตั้งกรมราชทัณฑ์ ครั้งที่ ๒ สังกัดกระทรวงมหาดไทย
เมื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นการปกครองแผ่นดิน ในระบอบประชาธิปไตยในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ แล้ว รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการราชทัณฑ์ว่า  เป็นภารกิจของชาติบ้านเมืองอันสำคัญที่ควรจะได้มีการปรับปรุงในวาระเริ่มแรกอย่างหนึ่ง ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงมหาดไทย พุทธศักราช ๒๔๗๖ ยกฐานะแผนกราชทัณฑ์จากกรมพลัมภัง ขึ้นเป็นกรมราชทัณฑ์ในกระทรวงมหาดไทยตามเดิมอีกวาระหนึ่ง และให้นายพันเอกพระยาฤทธิ์อาคเนย์ (สละเอมะศิริ) เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ สังกัดกระทรวงมหาดไทย คนแรกในระบอบประชาธิปไตย
 
กรมราชทัณฑ์ ย้ายไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๒
ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐบาลในสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายในการปฏิรูประบบราชการได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพระราชกฤษฎีกา เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๙๙ ก. เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๕ เป็นต้นไป มีผลทำให้กรมราชทัณฑ์ต้องย้ายสังกัดจากกระทรวงมหาดไทย ไปสังกัดกระทรวงยุติธรรมตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมราชทัณฑ์กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๙ ตอนที่ ๑๐๓ ก.เล่มที่ ๒ ลงวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๕ – ๒๖๓
 
ตราสัญลักษณ์
พระยมเป็นเทพเจ้าแห่งยมโลกผู้ควบคุมผู้กระทำผิด
ทำหน้าที่ราชทัณฑ์ เป็นผู้มีอำนาจลงโทษมนุษย์เมื่อตายไปแล้ว พระหัตถ์ขวาถือขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือกงจักรประทับบนหลังราชสีห์ ตราพระยมทรงสิงห์ เริ่มใช้มาแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา กำหนดให้เป็นตราพระยายมราช และในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการสร้างตราพระยมทรงสิงห์ด้วยทองคำใช้เป็นตราประจำตำแหน่งกรมพระนครบาล พระราชทานแก่เจ้าพระยายมราช ต่อมาใช้เป็นตราประจำตำแหน่งกรมพระนครบาล ซึ่งกรมราชทัณฑ์ (กรมนักโทษ) เป็นหน่วยงานในสังกัด และเมื่อพ.ศ. 2542 กรมราชทัณฑ์ได้แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรีประกาศใช้ตราพระยมทรงสิงห์ เป็นเครื่องหมายของกรมราชทัณฑ์ เป็นต้นมา
 
วิสัยทัศน์ของกรมราชทัณฑ์
“องค์กรสมรรถนะสูงด้านการควบคุมและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง แบบมืออาชีพบูรณาการ มาตรฐาน และนวัตกรรม”
 





พันธกิจกรมราชทัณฑ์ มีดังนี้
“ควบคุมและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง”
 
ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์
หน้าหลัก/ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์
         กรมราชทัณฑ์  มีภารกิจเกี่ยวกับการควบคุมและแก้ไขพฤตินิสัยผู้ต้องขัง   และบุคคลที่อยู่ในความควบคุมหรือดูแลตามหน้าที่และอํานาจของกรม  โดยมุ่งพัฒนาเป็นองค์กร พัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เพื่อแก้ไขหรือฟื้นฟูผู้ต้องขังและบุคคลที่อยู่ในความควบคุมหรือดูแลตามหน้าที่ และอํานาจของกรม  ให้กลับตนเป็นพลเมืองดี  มีสุขภาพกายและจิตที่ดี  ไม่หวนกลับมากระทําผิดซ้ำ  ได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือในการประกอบอาชีพที่สุจริต  และสามารถดํารงชีวิตในสังคมภายนอก ได้อย่างปกติโดยสังคมให้การยอมรับ  โดยให้มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑)ปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดให้เป็นไปตามคําพิพากษาหรือคําสั่งตามกฎหมาย  โดยดําเนินการ ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) กําหนดแนวทางปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง  และบุคคลที่อยู่ในความควบคุมหรือดูแล  ตามหน้าที่ และอํานาจของกรม  ให้สอดคล้องกับกฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับ  นโยบายของกระทรวง  หลักอาชญาวิทยา  และหลักทัณฑวิทยา  ตลอดจนข้อกําหนดมาตรฐานขั้นต่ำสําหรับปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง  และข้อเสนอแนะ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องขององค์การสหประชาชาติ
(๓)ดําเนินการเกี่ยวกับการสวัสดิการและการสงเคราะห์แก่ผู้ต้องขัง  และบุคคลที่อยู่ในความควบคุม หรือดูแลตามหน้าที่และอํานาจของกรม
(๔)พัฒนาระบบ  รูปแบบ  มาตรการ  หลักเกณฑ์  มาตรฐาน  วิธีการปฏิบัติ  และการปฏิบัติ ต่อผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ในระหว่างที่ถูกควบคุมตัว เพื่อรอการตรวจพิสูจน์ในสถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์  ตามกฎหมายเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
(๕)ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นหน้าที่และอํานาจของกรมหรือตามที่ รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
 








ผู้บริหารกรมราชทัณฑ์
นายอายุตม์     สินธพพันธ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์
นายธวัชชัย   ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายบริหาร
นายวีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายปฏิบัติการ
นายสิทธิ    สุธีวงศ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ฝ่ายพัฒนา
นายกฤช    กระแสร์ทิพย์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์
 
กรมราชทัณฑ์ (Department of Corrections)
222 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
เบอร์โทรศัพท์ : 02-967-2222 เบอร์ FAX : 02-967-3303




ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com