9372693

แนะนำการสอบสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 130 ผู้ชม

แนะนำการสอบสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
แนะนำการสอบสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ , ข้อสอบสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ , งานราชการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

บทบาทหน้าที่ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ





ประวัติความเป็นมา สมช.
ความเป็นมาของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
          สภาความมั่นคงแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้มีการพิจารณางาน ในภารกิจทางด้านการทหารเพื่อการป้องกันประเทศ เป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบ มีประสิทธิภาพ และมีการประสานงานซึ่งกันและกัน จึงได้ทรงโปรดเกล้าให้มีสภาเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวขึ้นเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ แต่เดิมนั้นยังไม่มีชื่อเรียกเป็นการเฉพาะ แต่เรียกเป็นการทั่วไปว่า “สภาเกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาจักร” โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประธานฯ
          ได้มีการปรับปรุงและแก้ไของค์ประกอบของสภามาเป็นลำดับ กล่าวคือในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้มีการแก้ไขปรับปรุงทั้งในด้านองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ และเรียกชื่อใหม่ว่า “สภาป้องกันพระราชอาณาจักร” จนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๕ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการจัดระเบียบการป้องกันราชอาณาจักรขึ้นใหม่ สภาป้องกันพระราชอาณาจักรจึงถูกยกเลิกไป ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ได้มีการจัดตั้ง “สภาการสงคราม” ขึ้น โดย ออกเป็นพระราชบัญญัติชื่อว่าพระราชบัญญัติสภาการสงคราม ซึ่งนับเป็น พระราชบัญญัติฉบับแรกที่เกี่ยวกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพราะได้การ กำหนดให้สภาการสงครามมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินสงครามทั้งใน ทางทหาร ทางเศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดจนสวัสดิภาพของประชาชน สภาการสงครามมีอายุได้เพียง ๘ เดือน ก็ยกเลิกไป เนื่องจากได้มีการจัดตั้ง “สภาป้องกันราชอาณาจักร” ขึ้นแทน โดยออกเป็นพระราชบัญญัติชื่อว่า พระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักร เมื่อ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๗ หลังจากนั้นเมื่อ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้มีพระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักรออกมาใหม่ ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม และใช้อยู่จนกระทั่งได้มีการการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ คือ การยกเลิกพระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๔๙๙ และประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงจาก “สภาป้องกันราชอาณาจักร” เป็น “สภาความมั่นคงแห่งชาติ” มาจนกระทั่งทุกวันนี้
 
 
วิสัยทัศน์
“องค์กรนำด้านความมั่นคงแบบองค์รวม บนพื้นฐานการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ และบริหารจัดการความมั่นคงทุกมิติอย่างสมดุลและยั่ง
 
พันธกิจ
๑. กำหนดทิศทาง ให้คำปรึกษา และเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางและแผนด้านความมั่นคงแห่งชาติให้สอดคล้องกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต
๒. อำนวยการ ประสาน และติดตามประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางด้านความมั่นคงไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
๓. ประเมินสถานการณ์ด้านความมั่นคง และการเตรียมความพร้อมแห่งชาติและบริหารวิกฤติความมั่นคงในการรับมือภัยคุกคามด้านความมั่นคง
๔. พัฒนาองค์ความรู้ความมั่นคงและเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
๕. พัฒนาประสิทธิภาพและเสริมสร้างสมรรถนะองค์กรและบุคลากร เพื่อเป็นองค์กรหลักด้านความมั่นคง



 


ยุทธศาสตร์องค์กร
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : เสริมสร้างความเป็นผู้นำด้านความมั่นคงของประเทศ
เป้าประสงค์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้นำในเรื่องเกี่ยวกับการเสนอแนะนโยบายด้านความมั่นคงของประเทศ
ตัวชี้วัด
๑. จำนวนของนโยบาย ข้อเสนอแนะ แนวทาง และมาตรการ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคง
๒. ระดับความสำเร็จการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง และแผนด้านความมั่นคง
๓. ระดับความสำเร็จในการลำดับความสำคัญของประเด็นความมั่นคงหลัก
๔. ร้อยละความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
 
กลยุทธ์
๑. กำหนดทิศทาง เสริมสร้างศักยภาพในการเป็นที่ปรึกษาและเสนอแนะนโยบาย/ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
๒. กำหนดท่าทีที่เหมาะสมในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงกับต่างประเทศ
 
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการภัยด้านความมั่นคง
เป้าประสงค์ ประเทศมีความพร้อมในการบริหารจัดการภัยด้านความมั่นคง
ตัวชี้วัด
๑.  จำนวนรายงานการประเมินสถานการณ์ความมั่นคง
๒. จำนวนความตกลงตามกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงกับต่างประเทศ
๓. ระดับของความสำเร็จในการจัดทำฐานข้อมูลด้านความมั่นคง
 
กลยุทธ์
๑. เสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์เครือข่ายด้านความมั่นคง/ประชาคมข่าวกรองด้านความมั่นคงทั้งในและต่างประเทศ
๒. เสริมสร้างและพัฒนาระบบฐานข้อมูลความมั่นคง องค์ความรู้ด้านความมั่นคง และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ
๓. พัฒนาศักยภาพการประเมินสถานการณ์ด้านความมั่นคง และการแจ้งเตือนสถานการณ์และภัยคุกคามด้านความมั่นคง
๔. เสริมสร้างความเข้าใจระหว่างฝ่ายการเมือง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
 
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : พัฒนาการขับเคลื่อนงานด้านความมั่นคงไปสู่การปฏิบัติ
เป้าประสงค์
๑. ประเทศมีการบูรณาการแผนงาน กฎหมาย และการบริหารจัดการในการขับเคลื่อนงานด้านความมั่นคงที่มีประสิทธิภาพ
๒. จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัย มีการพัฒนาอย่างทั่วถึง และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
 
ตัวชี้วัด
๑. ระดับความสำเร็จการบูรณาการแผนงาน กฎหมาย และการบริหารจัดการในการขับเคลื่อนงานด้านความมั่นคง
๒. ร้อยละโครงการสำคัญภายใต้แผนปฏิบัติการรองรับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติแล้วเสร็จ
๓. ระดับความสำเร็จการบูรณาการแผนงาน กฎหมาย และการบริหารจัดการในการขับเคลื่อนงานเพื่อแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
๔. จำนวนเหตุการณ์ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง
 
กลยุทธ์
๑. บูรณาการและขับเคลื่อนนโยบาย/ยุทธศาสตร์และแผนด้านความมั่นคงไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
๒. ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านความมั่นคงให้สอดคล้องกับภารกิจและการปฏิบัติงานของ        สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓. ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะองค์กรและขีดความสามารถของบุคลากรในองค์กรเพื่อสนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคง
เป้าประสงค์ องค์กรที่มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักบริหารจัดการที่ดี และสร้างบุคลากรสู่การเป็นนักความมั่นคงมืออาชีพ
ตัวชี้วัด
๑. ระดับความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามหลักการบริหารจัดการที่ดี รวมถึงบุคลากรมีสมรรถนะและขีดความสามารถในการเป็นมืออาชีพด้านความมั่นคง
๒. มีการวางแผนการบริหารจัดการที่เหมาะสมและเป็นไปตามหลักการบริหารจัดการที่ดี อาทิ แผนพัฒนาองค์กร แผนบริหารจัดการ แผนบุคลากร แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรม แผนงบประมาณ   แผนบริหารความเสี่ยง แผนควบคุมภายใน หรือแผนอื่นๆ
 
กลยุทธ์
๑. อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ความมั่นคง
๒. ส่งเสริมการพัฒนาระบบทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรตามหลักการบริหารจัดการที่ดี รวมถึง พัฒนาระบบบริหารงานและเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กร
๓. พัฒนาการมีส่วนร่วมตามแผนงานการพัฒนาองค์กรตามหลักการบริหารจัดการที่ดี
๔. กำหนดแนวทางพัฒนาบุคลากร  เพื่อก้าวไปสู่มืออาชีพด้านความมั่นคง



 


ภารกิจ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
              กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๖๓ กำหนดให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีภารกิจเกี่ยวกับกิจการความมั่นคงของประเทศ การเสนอแนะ การจัดทำนโยบาย และแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายและยุทธศาสตร์หรือแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่อง แผนงานหรือแนวทางปฏิบัติ  ด้านความมั่นคงของชาติและแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ เสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ การติดตาม ประเมิน และวิเคราะห์สถานการณ์ภาพรวมในเชิงยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง การแจ้งเตือนภัยคุกคาม รวมทั้ง อำนวยการ และประสานงานให้เป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการประเมินผล ตลอดจนการพัฒนาและการจัดทำฐานข้อมูลและองค์ความรู้ด้านความมั่นคงที่มีคุณภาพ เพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของชาติ โดยให้มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้
              (๑)   ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
              (๒)   จัดทำร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ตามเป้าหมายและแนวทางที่สภาความมั่นคงแห่งชาติกำหนดเพื่อเสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ
              (๓)   เสนอแนะและให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติในมิติด้านความมั่นคง หรือการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และการอื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ หรือการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรี
              (๔)   ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และให้ความเห็น ตลอดจนอำนวยการและประสานการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
              (๕)   ติดตาม ประเมิน วิเคราะห์ และแจ้งเตือนสถานการณ์ด้านความมั่นคง การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ สภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในเชิงยุทธศาสตร์ พิสูจน์ทราบและคาดการณ์ภัยคุกคาม และการประเมินกำลังอำนาจของชาติ
              (๖)   ประสานงานหรือร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศในกิจการด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ ด้านความมั่นคงในเชิงยุทธศาสตร์ ด้านการประเมินสภาวะแวดล้อม และด้านวิชาการที่เกี่ยวกับความมั่นคง
              (๗)   ศึกษา วิจัย รวบรวม พัฒนา ส่งเสริม และเผยแพร่ข้อมูลหรือองค์ความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ
              (๘)   ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
 
คณะผู้บริหาร
พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
นางศิริวรรณ สุคนธมาน รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
นายฉัตรชัย บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
นายรัชกรณ์ นภาพรพิพัฒน์ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
นายสิทธินันท์ มานิตกุล ที่ปรึกษาด้านการประสานกิจการความมั่นคง
นายวรณัฐ คงเมือง รักษาการในตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและ

ยุทธศาสตร์ความมั่นคง
นายสรพงค์ ศรียานงค์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
นายเทอดไท ศรีอุประ ผู้อำนวยการ สำนักงานเลขาธิการ
นางสาวอัญชลี ดวงแก้ว ผู้อำนวยการกองความมั่นคง กิจการชายแดนและประเทศรอบบ้าน
นางสาวลือจิต ถิ่นพังงา ผู้อำนวยการกองความมั่นคงเกี่ยวกับภัยคุกคามข้ามชาติ
 
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เลขที่ ๑ ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก
เขตดุสิต กรุงเทพ ๑๐๓๐๐

ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com