แนะนำการสอบกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมวดหมู่สินค้า: 85 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
27 มิถุนายน 2565
ผู้ชม 238 ผู้ชม
แนะนำการสอบกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
แนะนำการสอบกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ , ข้อสอบกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ , งานราชการกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
บทบาทหน้าที่ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ (อังกฤษ: international trade) หมายถึงการแลกเปลี่ยนทุน สินค้า และบริการ ข้ามชายแดนระหว่างประเทศ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของภาครัฐบาล หรือเอกชนก็ได้[1] ในหลายประเทศ การค้าแบบดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงส่วนแบ่งที่สำคัญของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ส่วนประเทศที่ไม่ได้จัดให้มีการค้าระหว่างประเทศนั้นจะสามารถเลือกใช้ได้เพียงสินค้าและบริการที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศของตนเองเท่านั้น
ลักษณะของการค้าระหว่างประเทศ
การค้าในประเทศอื่นๆ นั้นช่วยให้ผู้บริโภคในประเทศอื่นๆ มีโอกาสที่จะได้สัมผัสกับการตลาดและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้ โดยผลิตภัณฑ์ที่สามารถพบได้ในต่างประเทศมีแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เสื้อผ้า อะไหล่ต่างๆ น้ำมัน เครื่องประดับ สุรา หุ้น สกุลเงิน และน้ำ นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนบริการระหว่างประเทศ ได้แก่ การท่องเที่ยว การธนาคาร การให้คำปรึกษาและการขนส่ง โดยสินค้าที่นำไปขายในตลาดโลกนั้นเรียกว่า สินค้าส่งออก (export) และสินค้าที่นำมาจากตลาดโลก เรียกว่า สินค้านำเข้า (import)
ประวัติศาสตร์
การค้าระหว่างประเทศ
ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกันเรียกว่า “ประเทศคู่ค้า” สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า “สินค้าเข้า” imports และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไป เรียกว่า “สินค้าออก”exports ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า “ประเทศผู้นำเข้า” ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่างประเทศ เรียกว่า “ประเทศผู้ส่งออก” โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้ส่งสินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน ประเทศที่ผลิตสินค้าได้เกินความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ จะมีสินค้าเหลือก็สามารถส่งออกไปขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าภายในประเทศไม่ได้ หรือต้องใช้ต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ประเทศของตนเอง มีปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด
สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ
เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆ ในโลกทำการค้าขายกันเป็นเพราะว่า ไม่มีประเทศใดในโลกสามารถผลิตสินค้าและบริการ ทุกอย่างได้ครบและเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ ถึงแม้ว่าบางประเทศจะมีขีดความสามารถผลิตสินค้าได้ทุกอย่าง แต่อาจจะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าซึ่งไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน การที่แต่ละประเทศผลิตเฉพาะสินค้าที่ตนมีความถนัดหรือมีความได้เปรียบจึงเป็นสิ่งที่คุ้มค่า และเกิดประโยชน์แก่ทุกประเทศร่วมกัน ดังนั้นการค้าระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นถือว่าเป็นการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศตามความชำนาญของประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิอากาศในแต่ละประเทศซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรของโลกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รัฐบาลของแต่ละประเทศจะสนับสนุนหรือเลือกใช้ความได้เปรียบ หรือความถนัดในการผลิตสินค้าและบริการที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
1. ทรัพยากรธรรมชาติ
ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตมากน้อยต่างกัน ประเทศที่มีทรัพยากรอุดมด้วยแร่ธาตุ ต่างๆ อาทิ น้ำมัน แร่เหล็ก ทองแดง ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ ก็จะทำอุตสาหกรรมเกี่ยวกับแร่ธาตุที่ตนมีอยู่ดังนั้น ประเทศใดที่มี ทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆ เป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นๆ ที่ตนต้องการ
2. ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ความแตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศที่มีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ก็จะทำการเพาะปลูกตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่นประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนและมีฝนชุก สามารถปลูกข้าวเจ้าได้ดีก็จะผลิตข้าวเจ้าเป็นสินค้าออกประเทศที่มีทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์ก็จะทำการเลี้ยงสัตว์ส่งเนื้อสัตว์และขนสัตว์เป็นสินค้าออก
3. ความชำนาญในการผลิต
ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศจะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้า บางชนิด เช่น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกา ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ความแตกต่างของปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละประเทศเลือกผลิตสินค้าบาง อย่างที่มีต้นทุนต่ำ มีความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแต่ละประเภทที่ผู้บริโภค ในประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงกว่า
4. นโยบายการลงทุนของรัฐบาล
การลงทุนเพื่อการผลิตสินค้าและบริการประเภทใดประเภทหนึ่งจะมากหรือน้อยอาจขึ้นอยู่กับการตัดสินใจขอรัฐบาล นโยบายของรัฐบาลมีส่วนช่วยสนับสนุนในการผลิตสินค้าและบริการประเภทต่างๆ ทำให้สินค้าและบริการที่รัฐบาลช่วยสนับสนุนมีการวิจัยและพัฒนาขึ้นเป็นการสร้างศักยภาพในการผลิตสินค้าและบริการ เกิดความได้เปรียบสามารถแข่งขันและขยายตลาดสินค้าได้ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับนโยบายอื่นๆที่เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนระหว่างประเทศอีกด้วย จากเหตุผลดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนของแต่ละประเทศมีการกินดีอยู่ดีรัฐบาลแต่ละประเทศจึงมีการเจรจาทำสัญญา ซื้อขายสินค้ากันระหว่างประเทศหรือสนับสนุนให้เอกชนในประเทศของตน ผลิตสินค้าเพื่อแลกเปลี่ยนกับประเทศอื่นๆ จึงทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
-ช่วยให้ธุรกิจที่อยู่ในประเทศที่เป็นสมาชิกสามารถเข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น
-ได้รับประโยชน์ทางด้านการจัดสรรทรัพยากรและแรงงานจากประเทศอื่นๆ
-สามารถสร้างการค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น
-ช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยของการผลิต
-ช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และ การเมืองของประเทศสมาชิกในกลุ่ม
-ทำให้ประเทศเล็กที่รวมกลุ่มกัน มีอำนาจในการเจรจาต่อรองเพิ่มขึ้นในเวทีตลาดโลก
โทษของการค้าระหว่างประเทศ
-ทำให้ธุรกิจถูกแย่งตลาด เพราะธุรกิจในตลาดท้องถิ่นถูกประเทศคู่แข่งเข้ามาแย่งตลาด
-ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องแรงงาน เพราะประเทศผู้ผลิตมักจะย้ายรากฐานการผลิตเพื่อต้องการหาแรงงานที่ราคาถูกกว่า
-ทำให้สูญเสียตลาด เพราะผลจากอัตราภาษีศุลกากร มีผลต่อราคาสินค้า ประเทศคู่ค้ามักจะเสาะหา ตลาดสินค้าที่มีราคาถูกกว่า
-ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถสร้างความได้เปรียบจากการรวมกลุ่มการค้า , ประเทศคู่ค้า
สามารถอาศัยความได้เปรียบจากการรวมกลุ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงอัตราภาษีศุลกากร
ผลดีของการทำการค้าระหว่างประเทศ
สินค้าในประเทศที่มีจำนวนมากพอกับการจำหน่ายในประเทศ เราก็จะทำการส่งออกไปจำหน่ายนอกประเทศ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติ ในขณะเดียวกัน เราก็รับสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อให้ผู้บริโภคชาวไทยได้ใช้สินค้าที่หลากหลายและมีความทันสมัย ที่ประเทศไทยผลิตเองไม่ได้ หรือผลิตยังไม่มีคุณภาพเทียบเท่าต่างชาตินั่นเอง ทั้งนี้เป็นการสร้างสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้น และทำธุรกิจอื่น ๆ ร่วมกันได้อีก ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ยื่นมือมาดูแลไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบหรือฉ้อโกงกันได้ จึงทำให้การทำการค้าระหว่างประเทศนั้น ส่งผลดีต่อประเทศชาตินั่นเอง
ผลเสียกระทบต่อการค้าขายกับต่างชาติ
กรณีนี้จะเกิดขึ้นกับค่านิยมของคนไทยที่เห่อแบรนด์ดังต่างประเทศหรือทำตาม ๆ กันจนเป็นสังคมนิยม ทั้ง ๆ ที่สินค้าบางตัวในประเทศไทยก็สามารถผลิตได้มีคุณภาพเทียบเท่าต่างชาติ แต่คนไทยก็ยังไม่นิยมใช้ เนื่องจากมันราคาถูก และไม่เท่ห์ แบรนด์ไม่ดัง ไม่ตามเทรนด์ จึงส่งผลกระทบให้สินค้าดังกล่าวนั้นไม่มียอดขายที่ดีเท่าที่ควร ทำให้ขาดสมดุลทางการค้า เงินไหลออกประเทศมากกว่าที่จะรับเข้ามา ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหานี้ก็คือการปรับรสนิยมและพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยคำนึงถึงประโยชน์ ความคุ้มค่าในคุณภาพและราคาเป็นสำคัญ
และทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเห็นว่า การทำการค้าระหว่างประเทศนั้นส่งทั้งผลดีและมีผลกระทบบ้างต่อสินค้าคนไทย ที่คนไทยเองไม่มั่นใจจะใช้มัน ดังนั้นในฐานะเราคนไทย ควรช่วยกันปรับพฤติกรรม ช่วยอุดหนุนสินค้าคนไทยที่มีคุณภาพไม่ด้อยไปกว่าต่างชาติ และเลือกใช้สินค้าต่างประเทศเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เท่านี้ก็จะทำให้ประเทศของเราไม่เสียดุลการค้า และมีเงินสะพัดหมุนเวียนในประเทศเป็นไปอย่างคล่องตัว
วิสัยทัศน์
ความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศของไทยเป็น 1 ใน 5 ของเอเชียภายในปี 2570
พันธกิจ
1) พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ
2) ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการไทย
3) ขยายช่องทางตลาดแก่สินค้าและบริการไทย
4) ยกระดับคุณภาพการให้บริการสู่ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง
ภารกิจ ตามกฎหมายจัดตั้งหน่วยงาน
ภารกิจหลักตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
พ.ศ. 2553 1 ให้กรมส่งเสริมการส่งออกมีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการส่งออก ขยายตลาด สินค้าและธุรกิจบริการของไทย พัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและธุรกิจบริการส่งออก ให้บริการข้อมูลการค้าและเพิ่มศักยภาพ การแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก เพื่อเพิ่มมูลค่าและปริมาณการส่งออกของประเทศไทย
ค่านิยมองค์กร
DITP DRIVE
D = Dedicated มุ่งมั่น ขยัน อดทน
R = Responsive ผลลัพธ์ฉับไว
I = Integrity ธำรงไว้ซึ่งคุณธรรม
V = Value Creation สร้างสรรค์สิ่งใหม่
E = Excellent เพื่อการค้าไทยเป็นเลิศ
ผู้บริหารระดับสูง
นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดี
นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ รองอธิบดี
นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ รองอธิบดี
ที่อยู่
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (บางกระสอ)
563 ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 0-2507-7999
โทรสาร : 0-2547-5657
สายตรงการค้าระหว่างประเทศ : 1169
ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<