9377092

แนะนำการสอบกรมพัฒนาพลังงานทดแทน

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 139 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมพัฒนาพลังงานทดแทน
แนะนำการสอบกรมพัฒนาพลังงานทดแทน หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมพัฒนาพลังงานทดแทน หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมพัฒนาพลังงานทดแทน , ข้อสอบกรมพัฒนาพลังงานทดแทน , งานราชการกรมพัฒนาพลังงานทดแทน


บทบาทหน้าที่ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทน










กรมพัฒนาพลังงานทดแทน
 
ประวัติความเป็นมา
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เดิมชื่อว่า "การพลังงานแห่งชาติ" จัดตั้งขึ้น โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการพลังงานแห่งชาติขึ้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 70 ตอนที่ 3 ลงวันที่ 6 มกราคม 2496 โดยมีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ" เป็นผู้วางนโยบายและพิจารณาโครงการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับพลังงาน และมีหน่วยราชการขึ้นหน่วยหนึ่ง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากรม มีชื่อว่า "การพลังงานแห่งชาติ" ตั้งแต่ วันที่ 7 มกราคม 2496 เป็นต้นมา และได้มีการปรับเปลี่ยนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
ปี 2427-2495 ก่อนกำเนิดการพลังงานแห่งชาติ
2427 เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เดินสายไฟฟ้า และติดดวงโคมไฟฟ้าที่กรมทหาร เป็นการทดลองใช้ไฟฟ้าครั้งแรกในเมืองไทย
2435 บริษัท รอยัลดัทซ์ปิโตรเลียม จำกัด บริษัทน้ำมันต่างชาติแห่งแรกเข้ามาจำหน่ายน้ำมันก๊าดในไทย ให้สำหรับจุดตะเกียงส่องสว่าง
2437 รถรางในพระนครที่เคยใช้ม้าลาก เปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้า ถือเป็นรถรางไฟฟ้าสายแรกๆ ของโลก
2440 เกิดโรงไฟฟ้าแห่งแรกโดยบริษัทเอกชน ตั้งในที่ดินของวัดราชบูรณะราชวรวิหารหรือวัดเลียบ เรียกกันทั่วไปว่า "โรงไฟฟ้าวัดเลียบ" จ่ายไฟฟ้าให้ถนนและสถานที่ราชการ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ใช้ไม้ฟืน ถ่านหิน น้ำมัน และแกลบเป็นเชื้อเพลิง
2457 "โรงไฟฟ้าสามเสน" เริ่มดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นกิจการภายใต้การควบคุมของกระทรวงมหาดไทย
2464 สำรวจพบน้ำมันที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มการสำรวจถ่านหินลิกไนต์เป็นเวลา 2 ปี พบที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง และคลองขนาน จังหวัดกระบี่
2470 เมืองราชบุรีเป็นเทศบาลเมืองต่างจังหวัดแห่งแรกที่มีไฟฟ้าใช้
2471 รัฐบาลประกาศใช้ พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน ระบุถึงกิจการสาธารณูปโภค 7 อย่างที่ต้องได้รับอนุญาตหรือสัมปทานจากรัฐก่อนมีโรงไฟฟ้าเป็นหนึ่งในเจ็ดอย่างนั้น
2472 จัดตั้ง "แผนกไฟฟ้า" อยู่ในกองบุราภิบาล กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดให้มีไฟฟ้าใช้ในเขตสุขาภิบาลของจังหวัดต่างๆ
2473 เริ่มมีสถานีจำหน่ายน้ำมันเบนซินสำหรับรถยนต์
2475 วันที่ 24 มิถุนายน คณะราษฏรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย
2476 จัดตั้ง "แผนกเชื้อเพลิง" สังกัดกรมพลาธิการทหารบก กระทรวงกลาโหม มีภารกิจจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันหล่อลื่น ให้แก่หน่วยงานราชการ
2477 แผนกไฟฟ้าได้รับการยกฐานะเป็น "กองไฟฟ้า" สังกัดกรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย และเริ่มมีบริษัทเอกชนขอรับสัมปทานจัดตั้งกิจการไฟฟ้าในจังหวัด และอำเภอต่างๆ จ่ายไฟเฉพาะในช่วงกลางคืน
2480 แผนกเชื้อเพลิงได้รับการยกฐานะเป็น "กรมเชื้อเพลิง" และเริ่มจำหน่ายน้ำมันให้แก่ประชาชนทั่วไป









2481 ตราพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง ให้รัฐบาลเป็นผู้กำหนดราคาขายน้ำมันจัดตั้ง "คณะกรรมการไฟฟ้ากำลังน้ำ" เพื่อพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำแทนเครื่องไอน้ำหรือดีเซลพื้นที่ซึ่งได้สำรวจเพื่อก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกคือที่บ้านแก่งเรียง กิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจบุรี กั้นแม่น้ำแควใหญ่ แต่โครงการหยุดชะงักเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
2483 กรมเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหม ก่อตั้งโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของประเทศที่ช่องนนทรี อำเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร โดยใช้น้ำมันดิบจากอำเภอฝาง
2484 เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา ทำให้บริษัทน้ำมันต่างชาติต้องเปิดตัว บ้านเมืองขาดแคลนน้ำมันและไฟฟ้ามีการทิ้งระเบิดทำลายโรงกลั่นน้ำมันของกรมเชื้อเพลิง รวมทั้งโรงไฟฟ้าทั้งในพระนครและต่างจังหวัดได้รับความเสียหาย
2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลถูกประเทศผู้ชนะสงครามบีบให้ยกเลิกพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิงและยุบกรมเชื้อเพลิง เปิดให้บริษัทน้ำมันต่างชาติเข้ามาทำการค้าขายน้ำมันโดยเสรี และผูกขาดการขายน้ำมันให้แก่รัฐบาล โดยรัฐบาลไม่สามารถค้าขายน้ำมันให้แก่หน่วยงานราชการและประชาชน ยกเว้นในกิจการทหาร
2492 รัฐบาลจัดตั้ง "แผนกเชื้อเพลิง" ขึ้นใหม่ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และสร้างคลังเก็บน้ำมันที่ท่าเรือริมคลองพระโขนง-คลองเตย
2493 รัฐบาลจัดตั้ง "การไฟฟ้ากรุงเทพ" ดำเนินกิจการไฟฟ้าในพื้นที่นครหลวง
2494 รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของกิจการไฟฟ้าที่มีเพิ่มมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อคณะกรรมการไฟฟ้ากำลังน้ำเป็น "คณะกรรมการพิจารณาสร้างไฟฟ้าทั่วราชอาณาจักร"
2495 ประธานธนาคารโลกเดินทางมาพิจารณาการขอกู้เงินของรัฐบาลไทย และให้ความเห็นต่อรัฐบาลว่าการแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานมีความสำคัญอันดับหนึ่ง และควรให้อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การเดียว จึงนำมาสู่การจัดตั้ง "การพลังงานแห่งชาติ" ในปีถัดมา









ปี 2496-2545 การเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน
2496 7 มกราคม 2496 เริ่มก่อตั้ง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ. 2497 ได้ย้ายสำนักงานไปอยู่ที่ศาลาลูกขุนในพระบรมมหาราชวัง
2502-2514 13 กรกฎาคม 2502 ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ บ้านพิบูลธรรม เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ยศเส จนถึงปัจจุบัน
23 พฤษภาคม 2506 ย้ายไปสังกัด กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ โดย พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2506
1 ตุลาคม 2514 ย้ายมาสังกัด สำนักนายกรัฐมนตร๊ตามเดิม และเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานพลังงานแห่งชาติ"
2522-2535 24 มีนาคม 2522 ย้ายไปสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน
13 กุมภาพันธ์ 2535เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน" สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ตามประกาศพระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 9 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535
4 เมษายน 2535 เปลี่ยนชื่อสังกัดเป็น "กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม"
2545 3 ตุลาคม 2545 เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน" สังกัดกระทรวงพลังงานตามประกาศพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545
 
ผู้บริหาร
นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
นางสาวนวลจันทร์ เตชะเสริมสุขกูล รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
นายโกมล บัวเกตุ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
นายเรืองเดช ปั่นด้วง รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
นายนันทนิษฏ์ วงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการกองพัฒนาพลังงานทดแทน
นางสาวราตรี ไขศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการกรม
นายสาร์รัฐ ประกอบชาติ ผู้อำนวยการกองกำกับและอนุรักษ์พลังงาน
นายสุรีย์ จรูญศักดิ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์
นายโสภณ มณีโชติ ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน
นายสมชาติ ตั้งลิขสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
นายอดิศักดิ์ ชูสุข ผู้อำนวยการกองวิจัย ค้นคว้าพลังงาน
นางสาวอภิรดี ธรรมมโนมัย ผู้อำนวยการกองถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยี
นายนราพันธ์ ยามาลี ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายวัชรินทร์ บุญฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน
นางสุทิศา สงวนตระกูล ผู้อำนวยการกองพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ
นางสาวรุ่งระวี ยิ่งยวด ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทน
นายกิตติพร โป้ซิ้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทน
นายวิรัตน์ ทรงงาม ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์พลังงาน
 
วิสัยทัศน์
"เป็นผู้นำด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในภูมิภาคเอเชียภายในปี พ.ศ. 2579"
To become a leader in alternative energy development and energy efficiency in Asia by 2036.
 
พันธกิจ
สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานของประเทศเพื่อให้เกิดการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
To create sustainability of alternative energy and energy efficiency of the country, in order to boost efficiency and environmentally friendly of energy production and consumption.










หน้าที่ความรับผิดชอบ
ภาระหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน รับผิดชอบในการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
กำกับการอนุรักษ์พลังงาน จัดหาแหล่งพลังงาน พัฒนาทางเลือกการใช้พลังงานแบบผสมผสานและเผยแพร่เทคโนโลยีด้านพลังงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอ ด้วยต้นทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ภาระหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 รับผิดชอบกำกับ ดูแล ส่งเสริม และช่วยเหลือให้โรงงานควบคุม และอาคารควบคุมได้ปฏิบัติตามกฏหมาย เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด พรบ. การพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2535 (ว่าด้วยพลังงานควบคุม) พรบ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรม)
 
ยุทธศาสตร์ พพ.
ยุทธศาสตร์ที่ 1: เพิ่มสัดส่วนการผลิตและการใชัพลังงานทดแทน 
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
- มีสัดส่วนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น
กลุยุทธ์ 1) ส่งเสริมให้มีการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น
                      2) สร้างกลไกการกำกับ สนับสนุน ให้ประเทศมีการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ตัวชี้วัด - สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ในปี พ.ศ.2579
 
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : เพิ่มประสิทธิภาพการใชัพลังงาน 
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
- มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
กลุยุทธ์
                      1) ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 
                      2) สร้างกลไกการกำกับ สนับสนุน ให้ประเทศมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 
ตัวชี้วัด
                    - ลดความเข้มข้นการใช้พลังงาน (Energy Intensity : EI) ลดลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579 
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์กรและพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
                    - เพื่อให้การบริหารจัดการและการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กลุยุทธ์
                    1) บูรณาการการทำงานภายในอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 
                    2) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเพื่อสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 
                    - พัฒนาระบบเทคโนโลยสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์กร
                    - พัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 
 
ค่านิยม
"WIN" คือ การบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
W (Work excellence)      เป็นเลิศเรื่องงาน
I  (Integration)                บูรณาการร่วมใจ
N  (No corruption)            โปร่งใสซื่อสัตย์ 
 
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน
เลขที่ 17 ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
ติดต่อสอบถาม : Tel. 0-2223-0021-9 0-2223-2593-9 0-2222-4102-9
Fax. 0-2225-3785
Email : contact@dede.go.th



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com