9374426

แนะนำการสอบกรมสรรพกร

หมวดหมู่สินค้า: 60 กรมสรรพากร

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 175 ผู้ชม

แนะนำการสอบกรมสรรพกร
แนะนำการสอบกรมสรรพกร หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
การเตรียมตัวสอบกรมสรรพกร หางานราชการ สอบบรรจุงานราชการ สมัครงานราชการ
สอบบรรจุกรมสรรพกร , ข้อสอบกรมสรรพกร , งานราชการกรมสรรพกร

บทบาทหน้าที่ของกรมสรรพกร





กรมสรรพกร
 
ประวัติการจัดตั้งและแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางแผนปฏิรูปการปกครองแล้ว ก็ได้ทรงวางระเบียบกิจการคลังใหม่โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นในปี พ.ศ. 2416 เพื่อเก็บรายได้ภาษีอากรของแผ่นดินมารวมไว้ ณ ที่แห่งเดียว ต่อมาจึงยกเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีเสนาบดีประจำต่างหากในปีพ.ศ. 2435 การภาษีอากรก็ได้ทรงปรับปรุงใหม่ โดยแต่งตั้งข้าหลวงคลังไปประจำทุกจังหวัดและทุกมณฑลเพื่อทำหน้าที่เก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรงแล้วรวบรวมรายได้ทั้งหมดส่งมารวมไว้ ณ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ราษฎรไม่ต้องเสียภาษีอากรมากน้อยลักลั่นกันเหมือนแต่ก่อน ทั้งนี้ย่อมเป็นการปรับปรุงระบบการคลังอย่างยิ่งใหญ่ ทำให้ผลประโยชน์รายได้ของแผ่นดิน เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ในด้านรายจ่ายก็ทรงวางพิกัดอัตราเงินเดือนให้แก่ข้าราชการตามตำแหน่งเป็นที่แน่นอนแทนเงินเบี้ยหวัดที่จ่ายแต่เดิม และยังพระราชทานเบี้ยบำนาญแก่ข้าราชการเพื่อเป็นเครื่องเลี้ยงชีพเมื่อรับราชการไม่ได้แล้ว อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2439 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก อันเป็นแบบฉบับที่จะต้องทำงบประมาณแผ่นดินสืบมาทุกปี
 
ครั้นปี พ.ศ. 2463 (ร.ศ.112) ประเทศไทยต้องประสบวิกฤตทางการเมืองอย่างหนัก ด้วยฝรั่งเศสยกกองทหารมารุกรานดินแดนฝั่งแม่น้ำโขง รัฐบาลจำเป็นต้องส่งทหารไปตั้งรับข้าศึกที่เมืองอุบลราชธานี ทำให้เมืองปราจีนบุรีมีความสำคัญ ทางด้านยุทธศาสตร์และทาง การเมืองขึ้น ฉะนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งเมืองปราจีนบุรีเป็นมณฑลขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และโปรดให้พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ศุกร์ ชูโต) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล ต่อมาในการประชุม สมุหเทศาภิบาลครั้งแรกในปี พ.ศ. 2438 พระยาฤทธิรงค์รณเฉท กราบทูลเสนาบดีกระทรวง มหาดไทยว่าอากรค่าน้ำในมณฑลปราจีนบุรี รัฐบาลได้รับเงินอากรเข้าพระคลัง น้อยกว่าเท่าที่ควรจะได้ เพราะนายอากรที่รับผูกขาดไม่มีเวลาที่จะเก็บได้ทั่วถึง ถ้าให้สมุหเทศาภิบาลจัดเก็บอากรค่าน้ำและ ให้รางวัลส่วนลดแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ให้เป็นพนักงานเก็บ กำปั่นเก็บเงิน จะได้เงินหลวงเพิ่มขึ้นอีกมากมาย เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจึงนำความไปกราบทูลกรมขุนศิริธัชสังกาศ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติซึ่งไม่ทรงเห็นชอบด้วย ดังปรากฎข้อความในหนังสือ สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น มีหนังสือทูลสมเด็จกรมพระยานริศราฯ ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2478 อธิบายเรื่องเปลี่ยนวิธีเก็บภาษีอากรดังนี้
 
"หลายปีมาแล้วเมื่อ เซอร์ เอดวาร์ด กุ๊ก ยังเป็นที่ปรึกษากระทรวงพระคลัง วันหนึ่งมาหาหม่อมฉันที่วังวรดิศ พูดขึ้นว่า แกตรวจดูจำนวนเงินแผ่นดินที่ได้รับประจำปีย้อนถอยหลังขึ้นไปถึงรัชกาลที่ 5 เกิดประหลาดใจด้วยเห็นเงินจำนวนรายได้ตั้งแต่ ค.ศ. 1896 ( พ.ศ. 2439 ) เพิ่มขึ้นปีละมากๆ ไปตรวจดูทางภาษีอากร ก็ไม่ปรากฏว่าในระหว่างนั้นรัฐบาลได้ตั้งภาษีอากรอย่างใดขึ้นใหม่ หรือเพิ่มพิกัดอัตราภาษีเก่าอย่างใดอีก คิดไม่เห็นว่าเงินแผ่นดินเพิ่มขึ้นมากมายด้วยเหตุใด ถามพวกข้าราชการกระทรวงพระคลังที่รับราชการอยู่ในเวลานี้ก็ไม่มีใครรู้ แกนึกว่าบางทีหม่อมฉันจะทราบเหตุเพราะตัวหม่อมฉันทำราชการในสมัยนั้นจึงมาถาม หม่อมฉันตอบว่า เหตุที่เงินแผ่นดินได้มากขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2439 นั้น หม่อมฉันทราบอยู่พอจะอธิบายได้ แต่นึกขวยใจอยู่หน่อยด้วยเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับตัวหม่อมฉันอยู่บ้าง ขออย่าให้แกเข้าใจว่าหม่อมฉันเล่าอวดดีสำหรับตัว เพราะที่จริงเป็นความคิดและช่วยกันทำหลายคน แล้วหม่อมฉันจึงเล่าเรื่องตามที่เป็นมาให้เซอร์ เอดวาร์ด กุ๊กฟังก็พอใจ แต่เรื่องที่หม่อมฉันเล่านั้นยังไม่เคยจดลงเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะเมื่อเซอร์ เอดวาร์ด กุ๊ก มาถามยอดจำนวนเงินด้วยวาจา หฉัม่อมฉันจำจำนวนเงินไม่ได้ พึ่งมาพบบัญชีจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นครั้งนั้นเมื่อเร็วๆนี้ หม่อมฉันจึงเห็นควรจะเขียนทูลบรรเลงในจดหมายประจำสัปดาห์ ได้เรื่องอันเป็นมูลเหตุมีดังกล่าวต่อไปนี้





เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระกรุณาโปรดฯให้หม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อ ร.ศ.111 ( พ.ศ. 2435 ) นั้นทรงพระราชดำริถึงลักษณะการปกครองหัวเมืองที่จะจัดต่อไปในภายหน้าเป็นยุติ 3 ข้อ คือ
 
ข้อ 1 จะรวบรวมการบังคับบัญชาหัวเมือง ซึ่งเคยแยกกันอยู่ 3 กระทรวงคือ มหาดไทย กลาโหม กรมท่า ให้มารวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว
ข้อ 2 จะรวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลตามสมควรแก่ภูมิลำเนา ให้สะดวกแก่การปกครองและมีสมุหเทศาภิบาลบังคับบัญชาการทุกมณฆล
ข้อ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ทรงพระราชดำริ จะค่อยจัดไปเป็นชั้นๆมิให้เกิดการยุ่งเหยิงในการเปลี่ยนแปลง
 
ในปีแรก หม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเป็นแต่ศึกษาหาความรู้ราชการในกระทรวง กับออกไปตรวจตามหัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งภายหลังจัดเป็นมณฑลอยุธยา มณฑลนครสวรรค์ มณฑลพิษณุโลก กับทั้งเมืองสุพรรณบุรี (เวลานั้นเมืองนครชัยศรียังขึ้นอยู่กรมท่า) เพื่อหาความรู้มาคิดกะรายการที่จะจัดต่อไป ครั้นปีต่อมาถึง ร.ศ.112 ( พ.ศ. 2436 ) เผอิญเกิดเหตุวิวาทกับฝรั่งเศส จะต้องส่งทหารไปเมืองอุบลทางเมืองปราจีนบุรีเพื่อจะให้สะดวกแก่การส่งทหาร จึงโปรดให้จัดตั้งมณฑลปราจีนขึ้นก่อนและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ศุกร์ ชูโต) เป็นสมุหเทศาภิบาลคนแรก ต่อมาอีกปีหนึ่งจึงตั้งมณฑลอยุธยา มณฑลนครสวรรค์ มณฑลพิษณุโลกและตั้งมณฑลอื่นในปีต่อๆมา
 
ในสมัยนั้น การเก็บภาษีอากรทั้งที่กรุงเทพฯและตามหัวเมืองยังใช้วิธีกระทรวงพระคลังเรียกประมูลให้มีผู้รับผูกขาดไปเก็บภาษีอากรต่างๆ ทุกปี พระยาฤทธิรงค์ฯได้ไปจัดมณฑลปราจีนก่อนมณฑลอื่นอยู่ปีหนึ่ง รู้การในท้องที่ดีกว่าสมุหเทศาภิบาลคนอื่น เมื่อมีการประชุมสมุหเทศาภิบาลครั้งแรกในพ.ศ. 2438 พระยาฤทธิรงค์ฯมาบอกหม่อมฉันว่าอากรค่าน้ำในมณฑลปราจีนเงินหลวงที่ได้เข้าพระคลังยังน้อยกว่าที่ควรจะได้อยู่มาก เพราะนายอากรที่รับผูกขาดไป มีเวลาที่จะเก็บเฉพาะปีหนึ่ง ต้องรีบจัดเก็บให้ได้กำไรภายในเวลาที่ตนมีอำนาจ เพราะฉะนั้นใครจะเข้าว่าประมูลก็ต้องกะจำนวนเงินให้ได้ต่ำด้วยกลัวขาดทุน ยกตัวอย่างดังอากรค่าน้ำเมืองปราจีนบุรีมึผู้รับประมูลเสนอเพียงปีละ 2,400 บาทเท่านั้น แม้จำนวนเงินเพียงเท่านั้น ใครเป็นนายอากร ยังต้องไปใช้วิธีเก็บเลี่ยงพระราชบัญญัติ เช่น คิดอุบายว่ากล่าวให้ราษฎรยอมเสียค่าน้ำเหมาตามครัวเรือน เป็นต้น เพื่อจะให้ได้เงินโดยเร็ว แต่ที่จริงนั้นนายอากรเก็บค่าน้ำได้แต่ราษฎรที่อยู่ใกล้ๆ พวกที่อยู่ห่างไกลออกไปนายอากรก็ไม่สามารถจะเก็บไปถึง ยังมีคนที่ไม่ต้องไปเสียภาษีอากรค่าน้ำอยู่โดยมาก พระยาฤทธิรงค์ฯเห็นว่าถ้าให้เทศาภิบาลเก็บอากรค่าน้ำให้ส่วนลดแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่จัดตั้งขึ้นใหม่ใช้เป็นพนักงานเก็บ จะได้เงินหลวงเพิ่มขึ้นอีกมากหม่อมฉันเห็นชอบด้วยจึงนำความไปทูล กรมขุนศิริธัชสังกาศซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังอยู่เวลานั้น ท่านไม่ทรงเห็นชอบด้วยตรัสว่า นายอากรไม่ส่งเงินฉันเอาตัวขังได้ ถ้าเทศาฯไม่ส่งเงิน ฉันเอามาขังไม่ได้ เงินหลวงก็จะสูญ เมื่อท่านตรัสอย่างนั้นหม่อมฉันก็จนใจ ต่อมาเมื่อใกล้จะสิ้นปี วันหนึ่งกรมขุนศิริธัชฯเสด็จมาหาหม่อมฉันที่กระทรวงมหาดไทย ตรัสถามว่าที่พระยาฤทธิรงค์ฯจะรับเก็บอากรค่าน้ำเมืองปราจีนบุรี จะรับได้จริงๆหรือ หม่อมฉันทูลถามว่าเหตุใดจึงจะกลับโปรดให้พระยาฤทธิรงค์ฯเก็บอากรค่าน้ำ ตรัสบอกว่านายอากรเดิมร้องขาดทุน ขอลดเงินอากรค่าน้ำเมืองปราจีนบุรี ผู้อื่นก็ไม่มีใครเข้าประมูลดูเหมือนจะนัดแนะกันโกงกระทรวงพระคลัง จึงทรงพระดำริเปลี่ยนมาให้เทศาฯเก็บ หม่อมฉันทูลถามว่าจะต้องพระประสงค์ให้ส่งจำนวนเงินสักเท่าใด ตรัสตอบว่าเพียง










เท่าที่นายอากรผูกขาดไปปีก่อน อย่าให้เงินหลวงลดลงก็พอพระหฤทัย หม่อมฉันจึงบอกไปยังพระยาฤทธิรงค์ฯตอบมาว่าจะรับเก็บและจะส่งเงินหลวงให้ได้เท่าที่นายอากรผูกขาด แนะมาให้หม่อมฉันทำความตกลงกับกระทรวงพระคลัง ข้อหนึ่งว่า ถ้าเทศาฯเก็บเงินอากรค่าน้ำได้มากกว่าจำนวนที่นายอากรรับผูกขาดขึ้นไปเท่าใด ขอให้กระทรวงพระคลังอนุญาต ให้กระทรวงมหาดไทยใช้เงินที่เพิ่มขึ้นบ้าง ปลูกสร้างสถานที่ว่าการและที่พักข้าราชการในมณฑลปราจีนซึ่งต้องการเงินอยู่ หม่อมฉันไปทูลกรมขุนศิริธัชฯ ก็ทรงยอมทำตามคำพระยาฤทธิรงค์ฯ แต่การที่มอบอำนาจให้เทศาฯเก็บอากรค่าน้ำครั้งนั้นอยู่ข้างแปลก ด้วยกรมขุนศิริธัชฯมีรับสั่งให้ออกท้องตรานกวายุภักษ์ กระทรวงการคลัง ตั้งให้พระยาฤทธิรงค์รเฉท เป็นขุนมัจฉาฯ (สร้อยว่ากระไรหม่อมฉันจำไม่ได้) ตำแหน่งนายอากรค่าน้ำเมืองปราจีนบุรี พระยาฤทธิรงค์ฯยังคุยอวดอยู่จนแก่ว่าตัวแกคนเดียวที่เป็นพระยากินพานทองแล้วได้เลื่อนเป็นขุนและว่ายังเก็บท้องตรากระทรวงพระคลังฉบับนั้นไว้เป็นที่ระลึก เพราะเหตุใดกรมขุนศิริธัชฯท่านจึงทรงทำเช่นนั้น มาคิดดูภายหลังจึงเห็นว่าท่านเตรียมเผื่อพระนาฤทธิรงค์ฯจะทำไม่ได้ดังรับปีหน้าจะได้ตั้งคนอื่นได้สะดวกไม่ต้องขอโอนหน้าที่จากกระทรวงมหาดไทย แต่พระยาฤทธิรงค์ฯเก็บเงินอากรค่าน้ำ เมืองปราจีนบุรี ได้มากกว่าจำนวนเงินที่นายอากรเคยเก็บรับผูกขาดหลายเท่า กระทรวงมหาดไทยก็เริ่มแลเห็นว่า การที่จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลอาจจะจัดการเก็บเงินภาษีอากรซึ่งเป็นวิธีรัฐบาลเก็บเอง ให้เงินผลประโยชน์แผ่นดินเพิ่มขึ้นได้อีกมาก แต่ยังไม่ทันไปพูดกับกระทรวงพระคลังกรมขุนศิริธัชฯเสด็จออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังเสียก่อนจึงยังมิได้จัดการแก้ไขอย่างไร
 
อธิบดีกรมสรรพากรคนแรก บรรดาข้าราชการ
พอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสด็จมาเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังทราบเรื่องพระยาฤทธิรงค์ฯเก็บอากรค่าน้ำ ก็ทรงเลื่อมใสในการเปลี่ยนแปลงนั้น แล้วอนุญาตให้เทศาฯเริ่มจัดการเก็บภาษีอากรและต่อมากรมหมื่นมหิศรฯให้กรมสรรพากรเป็นพนักงานเก็บภาษีอากร และพาฝรั่งผู้ชำนาญเข้ามาจัดระเบียบ ได้มิสเตอร์เกรแฮมมาเป็นเจ้ากรมสรรพากรใน โอนไปขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาลได้มิสเตอร์ไยล์ (ซึ่งภายหลังได้เป็นพระยาอินทรมนตรีศรีจันทรกุมาร) เป็นเจ้ากรมสรรพากรนอก โอนไปขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทย ตั้งหน้าจัดวิธีเก็บอากรด้วยเลิกผูกขาดเปลี่ยนเป็นรัฐบาลเก็บเองเป็นอย่างๆมา และการที่จัดนั้นค่อยจัดขยายออกไปเป็นมณฑลๆ จำนวนเงินจึงได้เพิ่มขึ้นเป็นรายปี"
ที่มา :: หนังสือที่ระลึกในการเปิดอาคารกรมสรรพากร 2 กันยายน 2540
 
  ประวัติการจัดเก็บภาษีอากร
  ตามหลักฐานในประวัติศาสตร์ที่อ้างอิงได้เกี่ยวกับประวัติการจัดเก็บภาษีอากรของชาติไทย คือศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชซึ่งอยู่ในยุคสมัยกรุงสุโขทัย แต่ความเป็นมาก่อนยุคสุโขทยได้เคยมีการวิเคราะห์โดยพิจารณาถึงลักษณะประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย ซึ่งคาดว่าการจัดเก็บภาษีอากรน่าจะป็นวิวัฒนาการมาจากผลของการก่อสร้างราชอาณาจักรในยุคแรกๆของชนชาติไทย ที่ต้องมีการรบพุ่งเป็นสงครามกับเพื่อนบ้านใกล้เคียง เมื่อมีการรบชนะก็จะมีการกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สิน หลังจากนั้นก็จะให้ประเทศผู้แพ้ที่อยู่ภายใต้การปกครองจัดส่งเครื่องบรรณาการมามอบให้ ซึ่งลักษณะการได้มาซึ่งรายได้และทรัพย์สินข้างต้นเป็นการนำรายได้จากนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งอาจถือว่าเป็นรูปแบบการจัดเก็บภาษีประเภทหนึ่ง และในขณะเดียวกันการที่จะให้ราชอาณาจักรมีการปกครองที่เข้มแข็ง มีการพัฒนาในด้านความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รัฐจำเป็นที่จะต้องมีการเกณฑ์แรงงานภายในประเทศ เพื่อเข้ามาทำนุบำรุงประเทศ ทั้งในด้านการก่อสร้างถาวรวัตถุ การขุดคลอง ถนนหนทางต่างๆทั้งนี้โดยการเกณฑ์แรงงาน อาจถือเป็นรูปแบบการเก็บภาษี ที่ไม่เป็นตัวเงินประเภทหนึ่งเช่นกัน จนกระทั่งต่อมาเมื่อมีการพัฒนาจนมีการนำระบบเงินตรามาใช้ในการแลกเปลี่ยนในราชอาณาจักร ถ้าผู้ที่ถูกเกณฑ์เป็นแรงงานต้อง
 
การประกอบอาชีพเป็นอิสระก็อาจนำเงินตราที่หามาได้มาใช้ให้กับรัฐหรือเจ้าขุนมูลนายเพื่อขอความเป็นอิสระในการประกอบอาชีพ อันเป็นก้าวหนึ่งของการเริ่มเป็นระบบการจัดเก็บภาษีอากรในระยะต่อมา
 
  จากลักษณะของการหารายได้และการเกณฑ์แรงงานมาใช้ในการพัฒนาประเทศ จนเริ่มก้าวเข้ามาสู่ระบบการเสียภาษีอากรให้กับรัฐข้างต้นเป็นเพียงการวิเคราะห์ถึงวิวัฒนาการของระบบภาษีของชาติไทย โดยอิงกับรูปแบบการปกครองเท่านั้น แต่ตามบทความนี้จะเน้นเฉพาะประวัติการจัดเก็บภาษีอากรในส่วนที่มีหลักฐานอ้างอิงได้ โดยเป็นหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมาว่า ประเทศไทยได้มีวิวัฒนาการในการจัดเก็บภาษี เป็นอย่างใดมาจนถึงปัจจุบัน
 
ภารกิจและยุทธศาสตร์
แผนยุทธศาสตร์กรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2565
แผนปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2563 (Digital RD 2020)
ยุทธศาสตร์กรมสรรพากร
คำรับรองปฏิบัติราชการ
คำรับรองการปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
คำรับรองการปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
คำรับรองการปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
คำรับรองการปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
แผนปฏิบัติราชการ
แผนปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
รายงาผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการกรมสรรพากร รอบ 12 เดือน ประจำปีงบประมาณ 2563icon ใหม่
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการกรมสรรพากร รอบ 6 เดือน ประจำปีงบประมาณ 2563
แผนปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการกรมสรรพากร รอบ 6 เดือน ประจำปีงบประมาณ 2562
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการกรมสรรพากร รอบ 12 เดือน ประจำปีงบประมาณ 2562
แผนปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558
  แผนปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557
แผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องสำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (Business Continuity Plan : BCP) กรมสรรพากร
กรณีเหตุการณ์อุทกภัย อัคคีภัย แผ่นดินไหว ชุมนุมประท้วง/จราจล
กรณีเกิดสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง
กรณีเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
 
วิสัยทัศน์
“องค์กรชั้นน าที่จัดเก็บภาษีอย่างโปร่งใสเป็นธรรมด้วยนวัตกรรมและบุคลากรคุณภาพเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการคลัง”










พันธกิจ
-จัดเก็บภาษี ตรงเป้า
- นโยบายและจัดเก็บภาษี ตรงกลุ่ม
- บริการ ตรงใจ
 
กลยุทธ์
D 2 Digital Transformation การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับปรุง/ปรับใช้กับกระบวนงานที่รับผิดชอบ Data Analytics การจัดการและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในงานที่รับผิดชอบ
R Revenue Collection  กลยุทธ์ในการจัดเก็บ/ส่งเสริมการจัดเก็บให้เป็นไปตามเป้าหมาย
I Innovation การสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรในการสร้างนวัตกรรม
V Value การขับเคลื่อนสรรพากรคุณธรรม  Honesty A Accountability S Service Mind 
E Efficiency การเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร (Smart People) และการเพิ่มประสิทธิภาพงาน (Smart Office)
 
หน้าที่ของหน่วยงาน
กรมสรรพากรมีภารกิจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี การเสนอแนะ และการใช้นโยบายทางภาษีอากร เพื่อให้ได้ภาษีตามเป้าหมายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นกลไกลในการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเกิดความสมัครใจในการเสียภาษี โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
     1. จัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
     2. เสนอแนะนโยบายการจัดเก็บภาษีอากรต่อกระทรวงการคลัง
     3. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
        -หน้าที่ของหน่วยงานตามกฎกระทรวง การแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร พ.ศ. 2560
-อัตรากำลัง
-งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
 
ผู้บริหารระดับสูง
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
นายปิ่นสาย สุรัสวดี ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกรรมทางการเงินการธนาคาร)
นางสาวขนิษฐา สหเมธาพัฒน์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน)
นายเกรียงศักดิ์ ประสงค์สุกาญจน์ ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ
นางสาววีณา ลิ่มสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมสรรพากร รักษาการในตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี
นางสาววีณา ลิ่มสวัสดิ์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี
นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์ รองอธิบดีกรมสรรพากร
นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากร
นายพงษ์ศักดิ์ เมธาพิพัฒน์ รองอธิบดีกรมสรรพากร
นางสาวสลักจิต พงษ์ศิริจันทร์ รองอธิบดีกรมสรรพากร










ที่ตั้งกรมสรรพากร
90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
RD Intelligence Center 1161



ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

 

 

 

Engine by shopup.com