9483061

การเตรียมตัวสอบอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา

หมวดหมู่สินค้า: ข้อสอบ

27 มิถุนายน 2565

ผู้ชม 31 ผู้ชม

การเตรียมตัวสอบอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา

การเตรียมตัวสอบอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา








คำแนะนำในการสอบอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา

คำแนะนำในการเตรียมตัวสอบ
เมื่อเรากำหนดเป้าหมายแล้วว่าเราจะสอบเพื่อเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาและอัยการผู้ช่วย ก็ควรศึกษาข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับการสอบ ไม่ว่าจะเป็นระเบียบต่างๆที่เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกว่าการที่จะเข้าสอบได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง โดยท่านสามารถหาได้ในเว็บไซต์ของหน่วยงานนั้นๆ (www.ojc.coj.go.th และwww.cmiss.ago.go.th) ขั้นตอนต่อไปก็ตรวจสอบเกี่ยวกับการสอบว่าข้อสอบที่เราต้องการจะเอาชนะให้ได้นั้นเป็นอย่างไร สอบกี่วัน วันละกี่ข้อ วิชาอะไรบ้าง ให้เวลาสอบกี่ชั่วโมง สอบประมาณช่วงเดือนไหนแล้วคำนวณดูว่ามีเวลาเหลืออีกกี่วันแล้วนับถอยหลังจากวันที่วางแผนนี้ไปถึงวันสอบ เราจะทราบเวลาที่เหลือในการเตรียมตัวสอบสำหรับใช้ในการทำตารางอ่านหนังสือของเราได้ เมื่อเรารู้ข้อมูลข้างต้นแล้วก็เลือกหนังสือที่จะให้อ่านสำหรับเตรียมตัวสอบ โดยลิสต์ออกมาว่าวิชาใดออกข้อสอบกี่ข้อ อยู่ในข้อใดของข้อสอบ แล้วจะใช้หนังสือเล่มไหนในการเตรียมสอบ

การอ่านตัวบทควรให้ความสำคัญพอประมาณ
วิธีอ่านคือให้อ่านเหมือนอ่านหนังสือ อ่านทำความเข้าใจเป็นเรื่องๆ ไม่ได้ท่องแบบคำต่อคำ และในการอ่านรอบแรกจะอ่านคร่าวๆทุกมาตราเสียก่อนอย่างไวๆ โดยในมาตราสำคัญจะขีดเส้นและทำไฮไลไว้ โดยในการทำไฮไลนั้นควรจะใช้หลายสี เนื่องจากหากอ่านตัวบททั้งหลายแล้วจะเห็นได้ว่ากฎหมายแต่ละมาตราจะมีส่วนเหตุและส่วนผลอยู่ในมาตรานั้นๆเอง หากมาตราใดมีส่วนที่แบ่งย่อยๆได้ก็ควรจะเขียนเลข ๑,๒,๓...กำกับไว้เพื่อความสะดวกในการอ่านทำความเข้าใจในการอ่านครั้งต่อไป

เทคนิคอีกอย่างหนึ่ง
ก็คือเวลาอ่านตัวบทรอบหลังๆที่ไม่ต้องขีดเส้นหรือทำไฮไลแล้วนั้น ควรอ่านตัวบทออกเสียงเพื่อบันทึกลงในโทรศัพท์ไว้สำหรับตอนไม่ได้นั่งอ่านหนังสือ เช่น เวลาเดินไปข้างนอก ทานข้าว อาบน้ำ หรือออกกำลังกาย จะช่วยให้เราจำเป็นเสียงได้เลย
อีกประการหนึ่งในเวลาอ่านหนังสือควรจะปิดตัวบท ไม่เปิดตัวบทไปด้วยเนื่องจากเป็นการนึกตัวบทเองในขณะที่อ่านหนังสือ เมื่อหนังสือกล่าวถึงเนื้อหาในมาตราใดก็ให้พยายามนึกตัวบทมาตรานั้นๆให้ออก แต่ถ้านึกไม่ออกก็ต้องเปิดดูทันทีเพื่อให้จำได้อีกครั้ง

การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกานั้นสำคัญมากสำหรับการสอบในสนามผู้ช่วยผู้พิพากษา ส่วนสนามใหญ่อัยการผู้ช่วยสิ่งที่ควรอ่านเพิ่มเติมคือคำชี้ขาดความเห็นแย้งของอัยการสูงสุดและข้อหารือที่ได้จัดพิมพ์ไว้ในหนังสืออัยการนิเทศ
การฝึกทำข้อสอบเก่านับว่าเป็นขั้นตอนที่จำเป็นมากสำหรับการสอบในระดับนี้ เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เรารู้ขอบเขตของเนื้อหาที่ออกสอบ รู้จักการจับประเด็น รู้จักการเรียบเรียงคำตอบ การทำข้อสอบควรจะหัดทำบ่อยๆ โดยการนั่งเขียนข้อสอบจริงๆไม่ใช่อ่านข้อสอบเก่าเฉยๆ ต้องเขียนด้วย โดยฝึกเขียนก่อนนอนวันละ ๓ ข้อใช้เวลา ๑ ชั่วโมง เท่ากับข้อละ ๒๐ นาที ซึ่งจะทำให้เราสามารถเขียนข้อสอบได้ไว เนื่องจากเวลาสอบจริง ๑๐ ข้อ ๔ ชั่วโมงนั้นเฉลี่ยแล้วจะต้องทำข้อละ ๒๔ นาที จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องการเขียนไม่ทัน การตอบข้อสอบควรจะมีคำขึ้นต้นให้ดูสละสลวย “กรณีตามปัญหามีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า...” หากตอบแบบวางหลักก็ต่อด้วย “ตามประมวล...มาตรา...มีหลักกฎหมายว่า” แล้วก็วินิจฉัยไป หากตอบแบบฟันธงก็ “พิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่...เป็นการ...ทั้งนี้ตามประมวล...มาตรา...” และเมื่อวินิจฉัยเสร็จก็ฟันธง “ดังนั้น...” อะไรก็ว่าไป ในขั้นตอนการวินิจฉัยนั้นควรจะพยายามนึกคำในตัวบทเอามาใส่ให้มากที่สุด นึกถึงหลักกฎหมายในประเด็นที่คำถามชี้ให้ตอบเอามาตอบให้มากที่สุด
#?ข้อสอบ?/คำถามเป็นแบบไหน???
ส่วนใหญ่จะเป็นคำถามเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของอัยการ/อัยการสูงสุด และส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น อำนาจสอบสวน การฟ้องคดี, ตัวบท ป.วิ.อ. และอาจจะถามฎีกาเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำถามนั้นๆ แล้วแต่โต๊ะ

ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง
ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้ ฝึกทำข้อสอบเก่า โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ

ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ
และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว

นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม

การสอบสัมภาษณ์
อัยการผู้ช่วยจะไม่มีคะแนน มีแต่ผ่านกับไม่ผ่าน (ปกติจะผ่าน) แต่การตอบสัมภาษณ์ให้ราบรื่นก็เป็นเรื่องสำคัญ เช่น การแต่งกาย ผู้เข้าสอบควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย (ปกติก็ใส่เสื้อสีขาว กางเกงดำ/กระโปรงดำ) ควรเตรียมสูทสีดำไปด้วย ผู้ชายควรตัดผมให้เรียบร้อย ผู้หญิงไม่ควรแต่งหน้าจัดเกินไป ใส่เครื่องประดับแต่พองาม ขณะนั่งสัมภาษณ์ก็ให้นั่งตัวตรงไม่เกร็ง,ไม่ห่อไหล่, ไม่ไขว้ห้าง, ควรซักซ้อมคำตอบที่ต้องเจออยู่แล้ว

 









วิชาที่ใช้สอบ มีดังนี้คือ
วิชาที่สอบคัดเลือก คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวหรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และภาษาอังกฤษ
การสอบคัดเลือก มีการสอบข้อเขียน 3 วัน
๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จํานวน ๖ ข้อ และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จํานวน ๔ ข้อ จํานวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง ๑๐ นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
(๒) วันที่สอง วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จํานวน ๖ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จํานวน ๔ ข้อ จํานวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง ๑๐ นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
(๓) วันที่สาม วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จํานวน ๒ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จํานวน ๑ ข้อ กฎหมายปกครอง จํานวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จํานวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวหรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จํานวน ๑ ข้อ กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน จํานวน ๑ ข้อ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จํานวน ๑ ข้อ จํานวนข้อสอบรวม ๘ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๒๐ นาที คะแนนเต็ม ๘๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ จํานวน ๒ ข้อ เวลา ๑ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
วิชาภาษาอังกฤษออกข้อสอบ ๒ ข้อ ข้อที่หนึ่งเป็นคําถามที่ให้แปลข้อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และข้อที่สองเป็นคําถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

เกณฑ์ที่จะได้บรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด จึงมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าและต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของคะแนน ทั้งสองอย่างรวมกัน

รายละเอียดวิชาที่สอบ
สอบอัยการผู้ช่วย
1 ประมวลกฎหมายอาญา
2 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
4 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
5 กฎหมายปกครอง
6 คำถามและคำตอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
7 คำถามและคำตอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
8 คำถามและแนวคำตอบกฏหมายอาญา
9 ความรู้เรื่องการวินิจฉัยข้อกฎหมาย
10 ตัวอย่างแนวข้อสอบอัยการผู้ช่วย
11 สรุปย่อกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
12 สรุปย่อหลักกฎหมายอาญา

Engine by shopup.com