คุณหวาน TheEvent แพคเกจรับจัดงานศพ สวดอภิธรรม ฌาปนกิจ รับจัดงานศพครบวงจร รับจัดงานศพ ดอกไม้หน้าศพ เช่าโลงเย็นงานศพ ให้บริการด้านพิธีกรรม
ให้คุณหวาน TheEvent ดูแลคุณซิค่ะ
รับจัดออแกไนซ์งานศพเชียงราย
รับจัดงานศพเชียงราย
เช่าโลงเย็นเชียงราย
บริการรถรับส่งศพเชียงราย
เช่าโลงเย็นเชียงราย
บริการรถรับส่งศพเชียงราย
แพคเกจรับจัดงานศพเชียงราย
รับจัดงานศพครบวงจรเชียงราย
ดอกไม้หน้าศพเชียงราย
ธุรกิจรับจัดงานศพเชียงราย
รับจัดงานศพครบวงจรเชียงราย
ดอกไม้หน้าศพเชียงราย
ธุรกิจรับจัดงานศพเชียงราย
รับจัดงานพิธีสงฆ์เชียงราย
ติดต่อสอบถาม
โลงเย็น หีบศพปรับอากาศ มีโลงเย็นราคาส่งพิเศษสำหรับถวายวัด
เราเป็นผู้ชำนาญงานในด้านการบริการหลังความตายที่ครบวงจรทั้ง หีบศพ โลงศพ งานบริการด้านการทำพิธี รวมไปถึงบริการรถรับ-ส่งศพทั่วประเทศไทย ด้วยใจพร้อมให้บริการอย่างเต็มที่
เช่าโลงเย็นเชียงราย
โลงศพเชียงราย
โลงศพไทยเชียงราย
โลงศพจีนเชียงราย
บริการพร้อมส่ง บริการพร้อมส่งโลงแอร์อุปกรณ์โลงเย็น จำหน่ายตู้แช่ศพโรงพยาบาลและรับซ่อมตู้แช่ศพ โลงเย็น บริการขนส่ง สอบถามเพิ่มเติม เรามีหีบศพ โลงศพ มากกว่า 50 แบบที่เหมาะสมกับทุกศาสนาและทุกพิธีการ ไม่ว่าจะเป็นหีบศพแบบธรรมดา หีบศพแบบฐานเทพพนม 1 ชั้น, 2 ชั้น และ 3 ชั้น ฯลฯ รวมทั้งเรายังมี หีบศพแบบพิเศษที่ผลิตด้วยวิธีที่พิถีพิถัน ประณีต และใส่ใจในวัสดุที่นำมาทำ เช่น หีบศพแบบผ้าตาดเรียบ – ย่น หีบศพปรับอากาศ หีบศพไม้สักแท้ หีบศพแกะลายปิดทอง หีบศพมุกข์ หีบศพกระจกไม้สักแท้ และหีบศพจำปา เป็นต้น
บริการจัดดอกไม้ หน้าศพ หน้าเมรุ สวยและมีระดับดอกไม้สด คัดสรรอย่างดี มีคุณภาพ ให้คุณหวาน TheEvent ดูแลคุณซิค่ะ
จัดดอกไม้งานศพเชียงราย จัดดอกไม้หน้าเมรุ ราคายุติธรรม ดอกไม้หน้าศพ และ ดอกไม้ประดับเมรุ
จัดดอกไม้หน้าเมรุเชียงราย งานฌาปนกิจ งานสวดอภิธรรม จัดดอกไม้หน้ารูป จัดดอกไม้หน้าหีบ
การแจ้งตาย
- ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะออกใบรับรองแพทย์ให้ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงเหตุการณ์ตาย แล้วนำใบรับรองแพทย์พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิตไปยังสำนัก ทะเบียนท้องถิ่น หรือที่ทำการเขต(อำเภอ) ในเขตที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอรับใบมรณบัตร แต่โรงพยาบาลบางแห่งจะออกใบมรณบัตรให้เอง
- ถึงแก่กรรมที่บ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้แทนเจ้าของบ้าน จะต้องไปแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออกใบรับรองการตาย และนำไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น (แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน หรือ กำนัน) ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเขตที่บ้านเรือนนั้นตั้งอยู่ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือ
พบศพ เพื่อขอใบมรณบัตร
2. การนำศพไปวัด
เมื่อติดต่อวัดที่จะนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลเรียบร้อยแล้ว การนำศพไปวัดอาจติดต่อขอให้ทางวัดจัดรถไปรับศพ หรือแจ้งความ
ประสงค์กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ขอให้จัดรถส่งศพให้ และนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป มาชักศพที่จะเคลื่อนไปสู่วัดที่นำศพไปตั้ง
บำเพ็ญกุศล
3. การรดน้ำศพ
- เจ้าภาพควรเตรียมน้ำอบ น้ำหอม พร้อมขันใส่น้ำผสมน้ำอบน้ำหอม และขันเล็กสำหรับตักน้ำยื่นให้แขก และขันขนาดใหญ่มีพานรองรับน้ำที่รดมือศพด้วย หรือจะขอร้องให้ทางเจ้าหน้าที่ฌาปนสถานจัดเตรียมให้ก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
- ก่อนจะเริ่มพิธีรดน้ำศพนั้น นิยมให้เจ้าภาพ หรือเชิญผู้มีอาวุโสเป็นประธานในพิธีจุดเครื่องบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วจุดเครื่องทองน้อย (หรือธูปเทียน) ทางด้านศรีษะศพ แล้วจึงเริ่มพิธีรดน้ำศพต่อไป โดยเวลาที่นิยมในการรดน้ำศพโดยทั่วไปคือเวลา 16.00-17.00 น.
- นิยมให้ลูกหลาน ผู้ใกล้ชิด ทำการรดน้ำศพเสียก่อน ถึงเวลาเชิญแขกเพื่อมิให้คับคั่งเสียเวลารอคอยของแขกผู้มาแสดงความเคารพ
- เจ้าภาพควรจัดคนให้ทำหน้าหน้าที่คอยรับรองและเรียนเชิญแขกเข้ารดน้ำศพโดยนิยมให้ลูกหลาน หรือญาติฝ่ายเจ้าภาพทำหน้าที่
- เมื่อแขกรดน้ำศพหมดแล้ว จึงเชิญท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ในที่นั้น เป็นผู้แทนรดน้ำศพ ด้วยน้ำหลวงอาบน้ำศพ หรือเป็นผู้รดน้ำศพเป็นคนสุดท้าย
- เมื่อท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ที่นั้น ได้รดน้ำหลวงอาบศพหรือได้รดน้ำศพแล้วถือกันว่าเป็นอันเสร็จพิธีรดน้ำศพ ไม่นิยมให้ผู้ใดผู้หนึ่งรดน้ำศพอีกต่อไป
4. การจัดงานบำเพ็ญกุศล
การสวดพระอภิธรรม
- การสวดพระอภิธรรม ประจำคืน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "สวดหน้าศพ" นิยมเริ่มจัดทำตั้งแต่วันตั้งศพเป็นต้นไปทุกคืน
- โดยนิยมสวด 1 คืน , 3 คืน , 5 คืน , 7 คืน (ในบางรายหลังจากทำบุญ 7 วันแล้ว อาจจะสวดพระอภิธรรม สัปดาห์ละ 1 วัน จน
ครบ 100 วัน หรือจนถึงวันฌาปนกิจศพ)
- ตามประเพณีนิยมแต่โบราณ จะนิมนต์พระสวดอภิธรรม 4 รูป และสวด 4 จบ พระสงฆ์ จะลงสวดเวลาตามแต่ละท้องถิ่น (ปกติจะนิยมเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น.)
- ต้องจัดให้มีเครื่องไทยธรรมพร้อมผ้าสบงเพื่อถวายพระสวดอภิธรรม และบังสุกุลให้ผู้เสียชีวิต (ปัจจุบัน ทางฌาปนสถานหรือทางวัด จะมีบริการจัดหาให้)
- ปัจจัยถวายพระ 4 รูป ตามแต่จะศรัทธา
- ตามประเพณีนิยมมักมีอาหารว่างเลี้ยงแขกที่มาฟังสวดทุกคืน
- ถ้าผู้ตายเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ หรือเป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งหลาย นิยมเปิดโอกาสให้มีการจองเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ท่านผู้ล่วงลับไป แล้ว เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านผู้มีพระคุณ หรือ มีอุปการคุณแก่ตน ตามประเพณีนิยมของสังคม
6. การฌาปนกิจศพ
- การฌาปนกิจศพ ได้แก่ การปลงศพ หรือ เผาศพ เจ้าภาพจะต้องกำหนดวันที่จะทำการฌาปนกิจศพที่แน่นอน แล้วทำความตกลงกับเจ้าหน้าที่ของวัดหรือฌาปนสถานก่อนทั้งนี้เพื่อเป็นการ เลือกจองวันและเวลาที่ต้องการ
- กรณีบรรจุเก็บศพไว้ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจ จะต้องนำศพมาตั้งสวดพระอภิธรรมอีกวาระหนึ่ง โดยสวดก่อน 1 คืนแล้ววันรุ่งขึ้นจะทำพิธีฌาปนกิจ
- หรืออาจจะไม่ตั้งสวดพระอภิธรรมอีก เพียงแต่ยกศพขึ้นตั้ง ในตอนเช้าเลี้ยงพระเพลและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นเทศน์พระธรรมเทศนาในบ่าย แล้วทำการฌาปนกิจศพในตอนเย็น การกระทำเช่นนี้มักเรียกกันว่า "ตั้งเช้า เผาเย็น"
- ถ้าหากศพนั้นเป็นบุพการี สามี ภรรยา ก็ควรตั้งสวดพระอภิธรรมอีกคืนหนึ่งก่อน เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงผู้ตายอีกทั้งเป็นการบำเพ็ญกุศลเพิ่มเติมให้อีก
ตัวอย่างลำดับพิธีการฌาปนกิจศพ
09.00 น. - เชิญศพขึ้นตั้งบนศาลาบำเพ็ญกุศล
10.15 น. - นิมนต์พระสงฆ์ประจำที่อาสน์สงฆ์
10.20 น. - เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
10.25 น. - อาราธนาพระปริตร (กรณีจัดพิธีสวดพระพุทธมนต์ตอนเช้า)
10.30 น. - พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์
11.00 น. - ถวายภัตตาหารเพลและเครื่องไทยธรรม
12.00 น. - เลี้ยงอาหารกลางวันแก่ญาติมิตรและแขกที่มาในงาน
14.00 น. - นิมนต์พระเทศน์ขึ้นบนอาสน์สงฆ์
14.05 น. - เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนกัณฑ์เทศน์และหน้าที่ตั้งศพ
14.10 น. - อาราธนาศีล อาราธนาธรรม พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา จบแล้วถวายกัณฑ์เทศน์
15.00 น. - นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป ขึ้นอาสน์สงฆ์พร้อมกัน เพื่อสวดมาติกาบังสุกุล
15.30 น. - เคลื่อนศพเวียนเมรู 3 รอบ (พระสงฆ์นำศพ 1 รูป)
15.45 น. - เชิญศพขึ้นสู่เมรุ แจก ของชำร่วยงานศพ
16.00 น. - อ่านคำและยืนไว้อาลัย (ถ้ามี)
- เจ้าภาพเชิญแขกผู้ใหญ่ทอดผ้าบังสุกุล (ลำดับจากผู้อาวุโสน้อยไปมาก)
- ประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลหน้าหีบศพ
- เจ้าภาพเชิญแขกขึ้นประชุมเพลิง