คุณหวาน TheEvent แพคเกจรับจัดงานศพ สวดอภิธรรม ฌาปนกิจ รับจัดงานศพครบวงจร รับจัดงานศพ ดอกไม้หน้าศพ เช่าโลงเย็นงานศพ ให้บริการด้านพิธีกรรม
ให้คุณหวาน TheEvent ดูแลคุณซิค่ะ
รับจัดออแกไนซ์งานศพสมุทรสาคร
รับจัดงานศพสมุทรสาคร
เช่าโลงเย็นสมุทรสาคร
บริการรถรับส่งศพสมุทรสาคร
เช่าโลงเย็นสมุทรสาคร
บริการรถรับส่งศพสมุทรสาคร
แพคเกจรับจัดงานศพสมุทรสาคร
รับจัดงานศพครบวงจรสมุทรสาคร
ดอกไม้หน้าศพสมุทรสาคร
ธุรกิจรับจัดงานศพสมุทรสาคร
รับจัดงานศพครบวงจรสมุทรสาคร
ดอกไม้หน้าศพสมุทรสาคร
ธุรกิจรับจัดงานศพสมุทรสาคร
รับจัดงานพิธีสงฆ์สมุทรสาคร
ติดต่อสอบถาม
โลงเย็น หีบศพปรับอากาศ มีโลงเย็นราคาส่งพิเศษสำหรับถวายวัด
เราเป็นผู้ชำนาญงานในด้านการบริการหลังความตายที่ครบวงจรทั้ง หีบศพ โลงศพ งานบริการด้านการทำพิธี รวมไปถึงบริการรถรับ-ส่งศพทั่วประเทศไทย ด้วยใจพร้อมให้บริการอย่างเต็มที่
เช่าโลงเย็นสมุทรสาคร
โลงศพสมุทรสาคร
โลงศพไทยสมุทรสาคร
โลงศพจีนสมุทรสาคร
บริการพร้อมส่ง บริการพร้อมส่งโลงแอร์อุปกรณ์โลงเย็น จำหน่ายตู้แช่ศพโรงพยาบาลและรับซ่อมตู้แช่ศพ โลงเย็น บริการขนส่ง สอบถามเพิ่มเติม เรามีหีบศพ โลงศพ มากกว่า 50 แบบที่เหมาะสมกับทุกศาสนาและทุกพิธีการ ไม่ว่าจะเป็นหีบศพแบบธรรมดา หีบศพแบบฐานเทพพนม 1 ชั้น, 2 ชั้น และ 3 ชั้น ฯลฯ รวมทั้งเรายังมี หีบศพแบบพิเศษที่ผลิตด้วยวิธีที่พิถีพิถัน ประณีต และใส่ใจในวัสดุที่นำมาทำ เช่น หีบศพแบบผ้าตาดเรียบ – ย่น หีบศพปรับอากาศ หีบศพไม้สักแท้ หีบศพแกะลายปิดทอง หีบศพมุกข์ หีบศพกระจกไม้สักแท้ และหีบศพจำปา เป็นต้น
บริการจัดดอกไม้ หน้าศพ หน้าเมรุ สวยและมีระดับดอกไม้สด คัดสรรอย่างดี มีคุณภาพ ให้คุณหวาน TheEvent ดูแลคุณซิค่ะ
จัดดอกไม้งานศพสมุทรสาคร จัดดอกไม้หน้าเมรุ ราคายุติธรรม ดอกไม้หน้าศพ และ ดอกไม้ประดับเมรุ
จัดดอกไม้หน้าเมรุสมุทรสาคร งานฌาปนกิจ งานสวดอภิธรรม จัดดอกไม้หน้ารูป จัดดอกไม้หน้าหีบ
การจัดการศพตามวิถีอิสลาม
การจัดการศพขั้นต้นแยกออกเป็น ๒ วิธี คือ วิธีที่ ๑ สำหรับมุสลิมที่ตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บ หรือด้วยพิษบาดแผลที่กำลังรักษาอยู่
- ให้นำศพมาอาบน้ำชำระสิ่งสกปรกที่ติดอยู่รีดท้อง เพื่อให้สิ่งปรกภายในเคลื่อนที่ออกมา แล้วรดน้ำให้สะอาดทั้งตัว
- นำศพมาวางบนผ้าขาวซึ่งปูไว้ ๓ ชั้น นำมือทั้งสองไว้ที่ระดับอกให้มือขวาทับบนมือซ้ายแล้วห่อด้วยขาว ๓ ชั้น
- นำศพไปบรรจุในหีบศพถ้าหากอยู่ในที่กันดาร ไม่ใช้หีบศพก็ได้แต่ให้ทำลูกหลุมเพื่อเตรียมฝัง
- ฝังในหลุมลึก คะเนพอไม่ให้มีกลิ่นขึ้น หรือสัตว์ป่าคุ้ยเขี่ยขึ้นมาได้ - เมื่อฝังในที่ใดแล้ว ห้ามขุดศพนั้นขึ้นมาไม่ว่าประการใด ๆ - การฝังให้วางศพนอนตะแคงข้างขวา หันหน้าศพไปทางทิศตะวันตก แล้วนำดินที่ขุดขึ้นมากลบไปจนหมด
- หากจำเป็นต้องนำศพกลัง ให้รักษาไว้ไม่ให้มีกลิ่นเหม็น ถ้าปล่อยให้มีกลิ่นเหม็นทางศาสนาถือว่าเป็นการบาป
วิธีที่ ๒ สำหรับทหารที่ตายในขณะปฏิบัติการ
ทหารที่ตายในขณะปฏิบัติการในสนามรบนั้น ไม่จำเป็นต้องเตรียมการเกี่ยวกับการอาบน้ำหรือห่อศพ ใด ๆ ทั้งสิ้นให้ใส่เสื้อผ้าในชุดเดิม แล้วฝังลงไปเลยวิธีฝังเหมือนกับวิธีที่ ๑ และถ้าตายพร้อมกันหลายศพก็ฝังลงในหลุมเดียวกันได้ ข้อแนะนำในการไปเยี่ยมเคารพศพผู้นับถือศาสนาอิสลาม เมื่อชาวมุสลิมถึงแก่กรรม เจ้าหน้าที่จะจัดการศพตามพิธีทางศาสนา เช่น
๑. กรณีศพอยู่ที่บ้าน
- นำศพมาอาบน้ำชำระสิ่งสกปรก รดน้ำให้สะอาดทั้งตัว
- นำศพมาวางบนผ้าข้าวซึ่งปูไว้ ๓ ชั้น หรือนำศพบรรจุในหีบศพ
- ผู้ไปเยี่ยมเคารพศพ ควรไปแสดงไว้อาลัยกับญาติที่มีชีวิตอยู่ เป็นการให้เกียรติแก่เจ้าภาพ
- ทำความเคารพศพ โดยกล่าวคำไว้อาลัยได้ (ไม่นิยมนำหวีดไปวาง) - มอบเงินซองช่วยเหลือ (ถ้ามี)
- เสร็จพิธี
๒. กรณีศพอยู่ที่มัสยิดหรือสุเหร่า
- ผู้ร่วมพิธีจะรอเคารพศพก่อนพิธีละหมาด
- ผู้ร่วมพิธีมุ่งไปแสดงความเสียใจกับญาติ (พิธีฝังจะเป็นพิธีของญาติ ๆ) - หากมีเงินซองช่วยมอบเจ้าภาพ ประเพณีงานศพ
- ให้นำศพมาอาบน้ำชำระสิ่งสกปรกที่ติดอยู่รีดท้อง เพื่อให้สิ่งปรกภายในเคลื่อนที่ออกมา แล้วรดน้ำให้สะอาดทั้งตัว
- นำศพมาวางบนผ้าขาวซึ่งปูไว้ ๓ ชั้น นำมือทั้งสองไว้ที่ระดับอกให้มือขวาทับบนมือซ้ายแล้วห่อด้วยขาว ๓ ชั้น
- นำศพไปบรรจุในหีบศพถ้าหากอยู่ในที่กันดาร ไม่ใช้หีบศพก็ได้แต่ให้ทำลูกหลุมเพื่อเตรียมฝัง
- ฝังในหลุมลึก คะเนพอไม่ให้มีกลิ่นขึ้น หรือสัตว์ป่าคุ้ยเขี่ยขึ้นมาได้ - เมื่อฝังในที่ใดแล้ว ห้ามขุดศพนั้นขึ้นมาไม่ว่าประการใด ๆ - การฝังให้วางศพนอนตะแคงข้างขวา หันหน้าศพไปทางทิศตะวันตก แล้วนำดินที่ขุดขึ้นมากลบไปจนหมด
- หากจำเป็นต้องนำศพกลัง ให้รักษาไว้ไม่ให้มีกลิ่นเหม็น ถ้าปล่อยให้มีกลิ่นเหม็นทางศาสนาถือว่าเป็นการบาป
วิธีที่ ๒ สำหรับทหารที่ตายในขณะปฏิบัติการ
ทหารที่ตายในขณะปฏิบัติการในสนามรบนั้น ไม่จำเป็นต้องเตรียมการเกี่ยวกับการอาบน้ำหรือห่อศพ ใด ๆ ทั้งสิ้นให้ใส่เสื้อผ้าในชุดเดิม แล้วฝังลงไปเลยวิธีฝังเหมือนกับวิธีที่ ๑ และถ้าตายพร้อมกันหลายศพก็ฝังลงในหลุมเดียวกันได้ ข้อแนะนำในการไปเยี่ยมเคารพศพผู้นับถือศาสนาอิสลาม เมื่อชาวมุสลิมถึงแก่กรรม เจ้าหน้าที่จะจัดการศพตามพิธีทางศาสนา เช่น
๑. กรณีศพอยู่ที่บ้าน
- นำศพมาอาบน้ำชำระสิ่งสกปรก รดน้ำให้สะอาดทั้งตัว
- นำศพมาวางบนผ้าข้าวซึ่งปูไว้ ๓ ชั้น หรือนำศพบรรจุในหีบศพ
- ผู้ไปเยี่ยมเคารพศพ ควรไปแสดงไว้อาลัยกับญาติที่มีชีวิตอยู่ เป็นการให้เกียรติแก่เจ้าภาพ
- ทำความเคารพศพ โดยกล่าวคำไว้อาลัยได้ (ไม่นิยมนำหวีดไปวาง) - มอบเงินซองช่วยเหลือ (ถ้ามี)
- เสร็จพิธี
๒. กรณีศพอยู่ที่มัสยิดหรือสุเหร่า
- ผู้ร่วมพิธีจะรอเคารพศพก่อนพิธีละหมาด
- ผู้ร่วมพิธีมุ่งไปแสดงความเสียใจกับญาติ (พิธีฝังจะเป็นพิธีของญาติ ๆ) - หากมีเงินซองช่วยมอบเจ้าภาพ ประเพณีงานศพ
ประเพณีงานศพ เมืองตรังมีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน ประเพณีงานศพเมืองตรังจึงมีพิธีกรรมที่แตกต่างไปตามศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม แต่มีบางอย่างทีเหมือนกันอันแสดงถึงความเป็นตรัง
งานศพชาวไทยพุทธ
ชาวไทยพุทธท้องถิ่นมีกิจกรรมงานศพหลายขั้นตอน นับแต่วันตาย วันตั้งศพ วันฌาปนกิจศพ และวันหลังฌาปนกิจศพ เมื่อมีคนตายก็จะกระจายข่าวให้รู้กันทั่วไป บรรดาญาติมิตรผู้สนิทสนามรู้จักมักคุ้นกับญาติผู้ตาย ก็จะไปร่วมโดยจิตสำนึกว่า เพื่อนที่ดีจะเห็นกันเมื่อตาย
เมื่อมีผู้ตาย พิธีแรกคือ การเตรียมบรรจุโลง ด้วยการจัดศพผู้ตายให้นอนหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก จัดแต่งซองหมากพลู ดอกไม้ ธูปเทียนให้ผู้ตายถือไว้แล้วคลุมด้วยผ้า จัดเตรียมโลงศพ อาบน้ำศพ แต่งตัวศพ นิมนต์พระภิกษุทำพิธีมัดตราสัง และนำศพบรรจุโลง
ซึ่งมีความเชื่ออยู่ว่า จะไม่บรรลุโลงในวันพุธ ถ้าวันตายเป็นวันพุธก็จะรอเวลาไว้ จนผ่านเที่ยงคืนไปแล้ว จึงบรรจุศพลงโลง
การจัดงานศพในสมัยก่อน เจ้าภาพต้องเตรียมการอยู่หลายวัน เตรียมสถานที่ปลูกโรงพิธี โรงเลี้ยง โรงครัว จัดหาฟืน สิ่งของต่าง ๆ ที่จะใช้ในงานไปบอกกล่าวญาติมิตรที่อยู่ห่างไกล ดังนั้นจึงนำศพใส่โลงค้างไว้ก่อน เมื่อถึงวันที่เหมาะสมซึ่งมักจะเป็นหน้าแล้ง ก็จะนำมาบำเพ็ญกุศล อาจจัดพิธีที่บ้านหรือที่วัดตามสะดวก ปัจจุบันเมื่อบรรจุศพแล้ว ส่วนใหญ่จะจัดงานต่อเนื่องจนเผาเรียบร้อยในคราวเดียว
ชาวตรังนิยมตั้งศพบำเพ็ญกุศลหลายวัน โดยถือเอาวันฤกษ์ดีเป็นวันยกศพไปเผาหรือฝัง ซึ่งมักจะจัดงานศพให้เสร็จสิ้นในช่วงเดือน ไม่นิยมจัดงานศพฉีกขาข้ามเดือน (หมายถึง การตั้งบำเพ็ญกุศลที่มีวันอยู่ระหว่างข้างขึ้น กับข้างแรมหรือระหว่างเดือนต่อเดือน) หลังจากยกศพขึ้นแล้วก็จะจัดเตรียมงานจนถึงวันสำคัญในสามวันสุดท้าย คือ วันเข้าทับ วันเข้าการ และวันเผา
เมื่อเริ่มงานก็มีจัดการตกแต่งโลง ตอนกลางคืนมีสวดพระอภิธรรม กลางวัน ทำบุญถวายสังฆทาน เตรียมอาหารไว้จัดเลี้ยงผู้มาฟังสวดและนั่งเพื่อนศพ มีมหรสพตามฐานะเจ้าภาพ เช่น หนังตะลุง มโนราห์ กาหลอ กลอนลาน เป็นต้น ในวันเข้าทับอาจมีการจุดดอกไม้ไฟประเภท อ้ายตูม ตรวด เพื่อเป็นสัญญาณบอกข่าว
การเตรียมงานศพ ในปัจจุบันที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ชาวตรัง คือ การพิมพ์ใบประกาศงานศพขนาดใหญ่ ปิดประกาศให้เพื่อนฝูงญาติมิตรทราบเพื่อจะได้มาร่วมงาน
การเลี้ยงอาหารแก่ผู้มาร่วมงาน ในวันแรก ๆ ตอนกลางคืนจะมีถั่วลิสงคั่วกับน้ำชา หรือน้ำเย็น บางทีก็จะมีขนมแห่ง หรือขนมสด ตลอดจนอาหารประเภทขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว ตามฐานะเจ้าภาพ หรือตามที่ญาติมิตรจัดมาช่วย ในวันเข้าทับ จะมีการล้มหมู ล้มวัว ไว้สำหรับงานเลี้ยงใหญ่ ในวันเข้าการ ในวันเข้าทับนี้พ่อครัวจะนำเอาเครื่องในมาแกงก่อน เรียกว่า แกงสมรม แขกที่มาจะได้รับเลี้ยงข้าวมื้อเย็นด้วย พอถึงวันเข้าการ ซึ่งคนจะมากันเป็นจำนวนมาก การเลี้ยงข้าวมื้อเย็น ถือเป็นเรื่องสำคัญ ต้องมีอาหารอย่างน้อย 3 อย่าง แกงหลักมักจะเป็นแกงเนื้อวัวน้ำขลุกขลิกใส่เครื่องเทศ เรียกว่า เครื่องร้อย แกงจืด และผัด หรือเกายุก (คล้ายหมูพะโล้ ปรุงรสเพิ่มเติมด้วยเต้าหู้ยี้ ใส่เผือก เต้าหู้ทอด และเห็ดหอม) เรื่องอาหารนี้เจ้าภาพถือเป็นเรื่องสำคัญต้องดูแลมิให้ขาดตกบกพร่อง
เจ้าภาพจะทักทายกับทุกคนที่มาร่วมในงานมีโฆษกประกาศต้อนรับเชื้อเชิญแขกเข้าสู่โรงเลี้ยงเพื่อรับประทานอาหาร เสร็จแล้วญาติมิตรและแขกก็จะร่วมทำบุญ เรียกว่าให้งาน มีเจ้าภาพคอยรับเงินจดชื่อ – นามสกุล บ้านที่อยู่ จำนวนเงิน และตอบแทนด้วยบัตรขอบคุณ บอกกำหนดการฌาปนกิจผูกด้ายสีแดง ไว้เป็นการเชิญชวนให้มาในวันเผาอีกครั้งหนึ่ง ปัจจุบันบางงานเปลี่ยนจากบัตรขอบคุณเป็นของชำร่วยประเภท ยาหม่อง ยาดม ปากกา ฯลฯ
เมื่อถึงวันยกศพไปเผาหรือฝัง บรรดาญาติมิตรเพื่อนฝูง ที่รู้จักมักคุ้นก็จะมาร่วมพิธีสวดมาติกาบังสุกุล มีการเลี้ยงอาหารเที่ยงอีกครั้งหนึ่ง อาจเป็นอาหารชนิดเดียวกับวันเข้าการหรือ เมื่อถึงกำหนดเวลาก็ยกศพจากที่ตั้งหามไปสู่เมรูหรือป่าช้า เพื่อเผาหรือฝังตามประเพณี สมัยก่อนผู้ไปส่งศพจะถือฟืนไปคนละดุ้น ด้วยเพื่อใช้เผาศพ ปัจจุบันธรรมเนียมนี้ยังมีอยู่บ้างในชนบท ถ้าเป็นศพที่เผาก็จะเก็บอัฐิในวันรุ่งขึ้น เจ้าภาพจะนิมนต์พระแปรธาตุเพื่อเก็บอัฐินำไปบังสุกุล นำเก็บไว้ในที่เหมาะสม หรือบัวซึ่งทำเป็นรูปเจดีย์เล็ก ๆ สูงประมาณ 1 เมตร เรียกว่า เข้าบัว
การไว้ทุกข์ บรรดาลูกหลานและญาติจะไว้ทุกข์ด้วยการแต่งดำ ถ้าเป็นญาติห่าง ๆ ก็ไม่ค่อยเคร่งครัดนัก อาจแต่งดำขาว ระยะเวลาไว้ทุกข์อาจเป็น 1 ปี 100 วัน 50 วัน หรือปลดทุกข์ทันทีหลังจากบรรจุอัฐิแล้ว ในวันปลดทุกข์จะมีการทำบุญถวายสังฆทานอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตายอีกครั้งหนึ่ง
พิธีฝังศพชาวไทยมุสลิม
ในจังหวัดตรัง พิธีชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่ปฏิบัติแบบเรียบง่าย ตามศาสนบัญญัติ เมื่อมุสลิมตายลง เพื่อนบ้านจะไปให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย อาจมีการบอกกันด้วยวาจาหรือตีกลองของมัสยิดเป็นการบอกข่าวว่ามีคนตายในหมู่บ้าน
พิธีศพของมุสลิมจะใช้วิธีการฝัง โดยปกติแล้วจะต้องฝังภายใน 24 ชั่วโมง เพราะถือว่าถ้าไว้นานจะทำให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่ต้องเสียใจเพิ่มมากขึ้น นอกจากมีปัญหาเกี่ยวข้องกับกฎหมายบ้านเมือง เพื่อนบ้านจะช่วยเหลือกันอย่างรวดเร็ว ช่วยขุดหลุมที่สุสาน (กุโบว์) ทำโลง ศพด้วยไม้กระดานแบบง่าย ๆ เพราะอิสลามถือว่าการตายเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ไปยังอีกโลกหนึ่ง ผู้ไปช่วยงานหรือเยี่ยมครอบครัวของผู้ตายแต่งกายธรรมดาไม่มีการแต่งดำไว้ทุกข์ หลายท้องที่นิยมนำสิ่งของ หรือเงินมอบให้แก่ครอบครัวผู้ตาย เป็นการร่วมทำบุญ
การปฏิบัติต่อศพ (มัยยิต) ก่อนนำไปฝัง จะมีการอาบน้ำทำความสะอาดศพ แล้วห่อด้วยผ้าขาว ต่อจากนั้นก็เป็นพิธีละหมาดให้แก่ผู้ตายซึ่ง เรียกว่า ละหมาดญะนาซะห์ ซึ่งอาจจะทำที่บ้านของผู้ตาย หรือนำศพไปทำพิธีละหมาดให้ที่มัสยิดก็ได้ เมื่อมีการเคลื่อนศพ ผู้ที่นั่งอยู่หรือทำงานอยู่ในทางศพผ่าน จะยืนขึ้นเป็นการเคารพศพและตามไปส่งศพถึง กุโบร์
การฝังศพ มีการขุดหลุมลึกพอสมควร ฝังศพในท่านอนตะแคงขวา หันหน้าไปทางทิศลัต (อยู่ทางทิศตะวันตก) หลังฝังศพเรียบร้อยแล้วใช้ก้อนหินหรือหลักไม้สั้น ๆ 2 ท่อน เรียก ตาหนา ปักด้านศีรษะและปลายเท้าเป็นเครื่องหมายไว้บนหลุมศพ ถ้าเป็นผู้ชายจะทำตาหนามีลักษณะกลม ผู้หญิงจะมีลักษณะแบน ต่อจากนั้นผู้นำศาสนาก็จะอ่านดุอา (คำขอพร) ขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าให้แก่ผู้ตาย
หลังจากฝังศพแล้วมีประเพณีที่อยู่ข้างหลังมักปฏิบัติ คือ การเยี่ยมสุสานเพื่อให้ระลึกถึงความตาย ไม่ตั้งอยู่ในความประมาทมีการจัดทำบุญ เรียกว่า นุหรี ที่บ้านหรือสุเหร่าเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตาย ซึ่งจะทำกันในวันตาย และช่วงระยะ 3 วัน 7 วัน 40 วัน หรือ 100 วัน และตามความเหมาะสม บางแห่งที่จัดให้มีการทำบุญ 40 วัน เจ้าภาพจะจัดพิมพ์ประกาศหรือบอกล่าวแก่ญาติมิตรให้ทราบและมาร่วม มีการเลี้ยงอาหารโดยเชิญผู้นำศาสนามาร่วมขอพรจากพระผู้เป็นเจ้า
พิธีศพของไทยมุสลิม ในจังหวัดตรังส่วนใหญ่ปฏิบัติเรียบง่ายตามหลักการของศาสนาดังที่กล่าวแล้ว สำหรับนอกที่เหนือไป เช่น วันตายเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารแก่ผู้มาเยี่ยมการทำบุญให้แก่ผู้ตายเมื่อครบ 3 วัน 7 วัน หรือ 40 วัน การก่อสร้างหลุมศพให้สวยงาม หรือการนำอาหารหวานคาวไปทำบุญที่กุโบร์ ถือเป็นประเพณีที่สืบทอดผสมผสาน ซึ่งบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม
พิธีฝังศพชาวไทยเชื้อสายจีน
ชาวไทยเชื้อสายจีนในท้องถิ่นเมืองตรัง เมื่อตายลงก็จะนำศพใส่โลกไม้หนาขนาดใหญ่ มีรูปทรงเฉพาะตัว เรียกว่า โลงหัวหมู มีความเชื่อเกี่ยวกับการจัดซื้อโลงศพว่าจะเพิ่มราคาสูงกว่าที่ผู้ขายบอก ด้วยเชื่อว่าจะทำให้ญาติมิตรที่อยู่มีความเป็นอยู่เจริญรุ่งเรืองขึ้น ญาติมิตรมีการไว้ทุกข์แก่ผู้ตาย และมีพิธีเซ่นไหว้คำนับศพตามประเพณีที่สืบทอดกันมา แต่ดินแดนดั้งเดิม
การจัดงานศพก่อนพิธีฝัง มีการตั้งศพสวดบำเพ็ญกุศลและจัดเลี้ยงแขก เช่นเดียวกับงานศพชาวไทยพุทธ สำหรับเรื่องอาหารอาจแตกต่างไปบ้างในวันเข้าการ คือ มักจะจัดอาหารประเภทจานเดียว เช่น ก๋วยเตี๋ยว หมี่ ขนมจีน ที่เป็นข้าวก็มี แต่ไม่ใช่แกงเนื้อวัว ส่วนขนมแห้ง ขนมสด ค่อนข้างมากเป็นพิเศษ
การแต่งกายไว้ทุกข์ ปกติแต่งดำ และมีเครื่องหมายบอกฐานะความสัมพันธ์กับผู้ตาย ลูกชาย ลูกสาว ลูกเขย ลูกสะใภ้ ญาติแต่ละฝ่ายแต่ละชั้น จะมีเครื่องหมายเฉพาะ
ในวันฝังศพก็จะนำศพไปยังสุสานก่อนยกศพจะมีการเซ่นไหว้หมูย่าง ซึ่งลูกหลานและญาติมิตรนำมาเซ่นไหว้คนละตัวหรือกลุ่มละตัว หลังจากนั้นก็ใช้เป็นอาหารเลี้ยงแขกควบคู่กับหมี่หรือข้าว
การเคลื่อนศพไปสุสาน นิยมจัดขบวนแห่ใหญ่โต มีรถของญาติมิตรเข้าขบวนยาวเหยียดไปตามถนน รถรับจ้างก็จะมาเข้าขบวนด้วย ถือเป็นการส่งศพ เจ้าภาพจะตอบแทนด้วยผ้าขนหนูหรือผ้าขาวม้าผูกให้รถทุกคันบางงานก็ให้ซองเงิน เรียกว่า อั่งเปา
เสร็จพิธีฝังแล้วลูกหลานจะนำกระถางธูปกลับบ้าน จัดทำป้ายชื่อผู้ตายวางรวมไว้บนหิ้งบูชาบรรพบรุษของตระกูล และดูแลเซ่นไหว้อยู่มิได้ขาด ส่วนที่หลุมฝังศพหรือ ฮวงซุ้ย ก็จะมีการทำบุญเช็งเม็งเป็นประจำทุกปี