9457122

รับซื้อไม้เบญจพรรณอำเภอสัตหีบ โทร : 099-2371848

หมวดหมู่สินค้า: rtd92 ซื้อสวนยางพารา

28 เมษายน 2565

ผู้ชม 96 ผู้ชม

 

 



ศูนย์รับซื้อไม้ ยูคาลิปตัส สวนยางพารา รับซื้อไม้สักทอง ซื้อไม้ยางพาราเหมาสวน โดยมีทีมงานลงพื้นที่แปลงไม้ และตีราคาตามมาตรฐานของบริษัท
ชื้อไม้สวนยางอำเภอสัตหีบ 
ชื้อไม้ยูคาลิปตัสอำเภอสัตหีบ 
รับซื้อไม้เบญจพรรณอำเภอสัตหีบ 
รับซื้อไม้ยางพาราอำเภอสัตหีบ 
รับซื้อไม้ต้นกระดาษอำเภอสัตหีบ 
รับซื้อไม้สักทองอำเภอสัตหีบ 

                   ติดต่อสอบถาม                            





บริษัทรับซื้อไม้ยางพาราจากสวน โดยมีทีมงานลงพื้นที่แปลงไม้ และตีราคาตามมาตรฐานของบริษัท รับเหมารับซื้อไม้ยางพารา ขายไม้ยางพาราแปรรูป ซื้อไม้ยางพาราเหมาสวน
ราคารับซื้อไม้ยางพาราวันนี้อำเภอสัตหีบ 
รับซื้อไม้ยางพาราใกล้ฉันอำเภอสัตหีบ 
รับซื้อไม้ยางพาราอำเภอสัตหีบ 
โรงงานรับซื้อไม้ยางพาราอำเภอสัตหีบ 
รับซื้อไม้สวนยางอำเภอสัตหีบ 

 
รับซื้อไม้ต้นกระดาษ ไม้ยูคา ไม่จำกัดอายุ - ตกลงซื้อขายจ่ายเงิน บริษัทดูแลให้ยาวจนถึงตัดฟัน มีบริการประเมินแปลงไม้ออนไลน์ รู้ราคาไม้ก่อนขาย ง่าย รวดเร็ว
อำเภอสัตหีบราคาไม้ยูคาตันละ
ร้านรับซื้อไม้ยูคาใกล้ฉันอำเภอสัตหีบ 
แหล่งรับซื้อไม้ยูคาอำเภอสัตหีบ 
ขายไม้ยูคาลิปตัสใกล้ฉันอำเภอสัตหีบ 
รับซื้อไม้ยูคาอำเภอสัตหีบ 
ราคายูคาลิปตัสอำเภอสัตหีบ 
โรงงานรับซื้อไม้ยูคาอำเภอสัตหีบ 


โครงการ การจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรใน  8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนอย่างมีส่วนร่วม
 
ความเป็นมา
การเผาทำลายเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพอากาศ  โดยกรมควบคุมมลพิษได้ระบุว่าค่าการปลดปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM10 จากการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมีค่า 7 กิโลกรัมทุก 1,000 กิโลกรัมของเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่ถูกเผาไหม้ โดยผลกระทบทางด้านสุขภาพจากปัญหาหมอกควันพิษ แม้ว่าเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเหล่านี้จะสามารถนำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีมูลค่าได้  แต่ปัญหาการต้องพลิกกลับกองไม่เป็นการจูงใจแก่เกษตรกรเพราะสิ้นเปลืองแรงงาน ใช้เวลานาน 3-6 เดือน และยังได้ปุ๋ยอินทรีย์ปริมาณน้อยครั้งละประมาณ 1 ตันเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่เพาะปลูกโดยเฉลี่ยของเกษตรกร (ครัวเรือนละ 5-30 ไร่) ในขณะที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงดินในปริมาณสูงถึง 0.3 – 3 ตันต่อไร่
 
    คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการวิจัยทำให้ได้มีองค์ความรู้ใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ต้องพลิกกลับกองและให้ได้ปริมาณครั้งละมาก ๆ เพียงพอต่อการใช้ของเกษตรกร โดยพบว่าการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี วิศวกรรมแม่โจ้ 1 มีการไหลเข้าไปในกองปุ๋ยของอากาศตามธรรมชาติ (PASSIVE AERATION) จากปรากฎการณ์พาความร้อนแบบปล่องไฟ (CHIMNEY CONVECTION) จะทำให้สามารถทดแทนการพลิกกลับกองปุ๋ยได้ และมีข้อดีคือไม่ต้องใช้ไฟฟ้า สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ในบริเวณแปลงเพาะปลูก เกษตรกรจะสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบกองแถวยาวได้ถึงครั้งละ 10-100 ตัน โดยไม่ต้องพลิกกลับกอง ได้ปุ๋ยอินทรีย์ภายใน 2 เดือน มีคุณภาพตามที่มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2551 ใช้วัตถุดิบเพียงสองชนิดคือเศษใบไม้และมูลสัตว์ในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 โดยปริมาตร (ถ้าเป็นฟางข้าวหรือเศษข้าวโพดให้ใช้ 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร) จากความสำเร็จด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้ก่อตั้งฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อนำเศษใบไม้ในมหาวิทยาลัยมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่องทั้งปี เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าชมและศึกษา โดยพบว่า ฟางข้าวและเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายที่สุด 
 
    เพื่อให้มีการนำนวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีวิศวกรรมแม่โจ้  1 ถ่ายโอนเทคโนโลยีสู่การปฏิบัติ เพื่อให้การเกษตรกรรมของประเทศมีแนวทางใหม่ในการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีปริมาณมากมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีที่จูงใจเกษตรกรมากกว่าแบบเดิมนั่นคือไม่ต้องพลิกกลับกอง เพื่อให้ลดการเผาที่สร้างปัญหาหมอกควัน กองทุนสิ่งแวดล้อมจึงให้มีการดำเนินโครงการ “การจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนอย่างมีส่วนร่วม” ที่มีการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในลักษณะของเครือข่ายฐานเรียนรู้ มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน โรงเรียน และ อปท. อันจะทำให้การดำเนินงานของฐานเรียนรู้มีความยั่งยืนแม้ว่าโครงการจะเสร็จสิ้นลง ส่งผลให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศมีแนวทางเลือกใหม่ที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
 
เกษตรฯรวมพลังหยุดการเผา จากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
 
เกษตรฯรวมพลังหยุดการเผาสร้างมูลค่า จากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
              เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 พุทธศักราช 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำ “โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสสำคัญดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ลดการเผาวัสดุเหลือใช้ และส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตและพลังงานชีวมวล
 
            สำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่าจากสถานการณ์ที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาวิกฤตหมอกควันปกคลุม และเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การเผาในพื้นที่การเกษตร ซึ่งการเผาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง กล่าวคือ การเผาในพื้นที่การเกษตรเป็นการทำลายโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นด้วย ดังนั้น จึงได้สนับสนุนการนำเศษวัสดุการเกษตรมาทำประโยชน์ เพิ่มมูลค่า ทดแทนการเผา
 
        “รูปแบบการดำเนินงานได้ใช้กลไกของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตร (ศพก.) ที่มีอยู่ 882 แห่ง ร่วมกับศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ซึ่งมีผู้นำเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรที่มีเครือข่ายครอบคลุมทุกอำเภอทั่วประเทศ มาดำเนินการถ่ายทอดความรู้แก่ เกษตรกร จำนวนไม่น้อยกว่า 26,460 ราย โดยมีกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ก่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน อีกทั้งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวัสดุการเกษตรเหลือใช้ในไร่นา เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน”
              อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเผยต่อว่าประเทศไทยมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมากถึง 43 ล้านตันต่อปี แต่มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นส่วนน้อย และได้ถูกปล่อยทิ้งไว้ในพื้นที่เพาะปลูกหรือถูกเผาทิ้ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษหมอกควัน กรมส่งเสริมการเกษตรตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557  จนถึงปัจจุบัน 
 
               โดยในปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำ “โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติถวายในหลวง รัชกาลที่ 10 ในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้ ซึ่งโครงการได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2562 ถึงพฤษภาคม 2563 โดยรณรงค์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ผ่านกิจกรรมการอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตรและการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายเป็นพลังงานชีวมวลให้แก่ผู้รับซื้อผ่านการเชื่อมโยงตลาด โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และศูนย์เครือข่ายทั่วประเทศ เป็นผู้ขับเคลื่อนดำเนินงาน เพื่อสร้างทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดมูลค่าใน 8 กิจกรรมด้วยกัน
              สำหรับทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้การเกษตรให้เกิดมูลค่า ประกอบด้วย ทางเลือกที่ 1 การไถกลบตอซังฟางข้าว ใบอ้อย หรือเศษซากพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของดิน คืนชีวิตให้ดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้รับผลผลิตสูง มีรายได้เพิ่มขึ้น ทางเลือกที่ 2 นำเศษตอซังฟางข้าว หรือเศษวัสดุการเกษตรอื่น ๆ ที่เหลือทิ้งในแปลงเพาะปลูก มาทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม 
               ทางเลือกที่ 3 นำเศษวัสดุการเกษตรมาใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น นำมาอัดก้อน หรือนำมาทำอาหารหมักเพื่อใช้เลี้ยงโค ทางเลือกที่ 4 นำมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทน โดยนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งหรืออัดก้อน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการอุตสาหกรรม หรือนำมาใช้ทำอาหารในครัวเรือน ทางเลือกที่ 5 นำมาเพาะเห็ด นำมาผลิตกระดาษ หรือของประดับ ทางเลือกที่ 6 นำเศษใบไม้ เศษฟาง เศษหญ้าแห้งมาคลุมบริเวณโคนต้นพืช เก็บรักษาความชื้น “อุ้มน้ำ อุ้มปุ๋ย” ทางเลือกที่ 7 นำเปลือกซังข้าวโพดหรือฟางมาทำวัสดุเพาะปลูกทดแทนการเผา ซึ่งจะช่วยลดการเผา และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และทางเลือกสุดท้าย จำหน่ายวัสดุเหลือใช้การเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้กากปาล์ม กากมัน ซัง ข้าวโพด เศษไม้ ขยะ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานชีวมวล(Biomass)
 
               สำราญย้ำด้วยว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงานชีวมวล ระหว่าง ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กับ บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) นำร่องดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่แจ่ม, สารภี, ดอยหล่อ, เชียงดาว และดอยเต่า โดยพิจารณาศักยภาพความพร้อมของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และเครือข่ายว่ามีความพร้อมและความต้องการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ไม่สามารถย่อยสลายหรือนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ได้และมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาเป็นปัจจัยการผลิตพลังงานชีวมวล
               และพื้นที่ต่อไปที่คาดว่าจะมีความพร้อมและความต้องการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อผลิตเป็นพลังงานชีวมวลของ ศพก. อีกหนึ่งแห่ง คือ อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ ในส่วนของภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการจะดำเนินกิจกรรมร่วมกับเกษตรกรในการสร้างคุณค่าและมูลค่าของเศษวัสดุทางการเกษตร ให้ความรู้ความเข้าใจกับชุมชนถึงประโยชน์จากเถ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน และเกษตรกรในการนำไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
     
            พร้อมทั้งการนำเถ้าชีวมวลไปพัฒนาเป็นปุ๋ยอินทรีย์และการปรับปรุงดิน ตลอดจนกำหนดพื้นที่ในการรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตรมาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มที่เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร นับเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินการร่วมกันเพื่อสร้างมูลค่าจากวัสดุการเกษตรของเกษตรกร ลดการเผาวัสดุการเกษตร เสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร สร้างสมดุลระบบนิเวศแก่ชุมชนต่อไป
                อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรยังเชื่อมั่นว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นโครงการดี ๆ อีกหนึ่งโครงการที่มีส่วนช่วยผลักดันให้คนไทยหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพด้านการเกษตร ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน เป็นการทำความดีด้วยหัวใจ ลดพิษภัยสิ่งแวดล้อม ถวายในหลวง รัชกาลที่ 10 และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวัสดุการเกษตรเหลือใช้ในไร่นา เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้นต่อไป
 
 
Engine by shopup.com