9475732

ช่างทำหน้าผาน้ำตกอำเภอบางน้ำเปรี้ยว  โทร 063-9563559

หมวดหมู่สินค้า: rtd73 น้ำตก/งานปั้น

01 พฤษภาคม 2567

ผู้ชม 83 ผู้ชม

 
รับทำน้ำตกหินเทียม  ปั้นหินเทียม ประติมากรรมเหมือนหิน. ปั้นหินเทียม ช่างทำหน้าผาน้ำตก น้ำล้น จัดสวนหิน กำแพงหินเทียม
ช่างทำหน้าผาน้ำตกอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
ปั้นหินเทียมอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
รับทำน้ำตกหินเทียมอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
ช่างรับทำม่านน้ำตกอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
น้ำตกจำลองอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
รับทำหน้าผาหินภูเขาอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
รีโนเวทบ่อปลาอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
รับสร้างบ่อปลาคราฟอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 

                 
 ติดต่อช่าง Meedee Garden



ชมผลงานจริงที่ 4Naka cafe @มหาสารคาม



ชมผลงานจริงที่ 4Naka cafe @มหาสารคาม



 ติดต่อช่างดูแลสวน


 
รับจัดสวน ออกแบบ ปูสนามหญ้า จัดสวนหิน ปรึกษาปัญหาสวน-ต้นไม้
ครบวงจรมีช่างชำนานงานทุกช่างทักมาครับ ยินดีให้บริการครับ. รับจัดสวน ออกแบบ ปูสนามหญ้า จัดสวนหิน
ปูพื้นสวนหินอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
รับจัดสวนหินราคาถูกอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
จัดสวนหินหน้าบ้านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
จัดสวนหินอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
ปูหินหลังบ้านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
จัดสวนหินกรวดอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 


 
หญ้าเทียมราคาถูก ปูหญ้าเทียม ขายหญ้าเทียมคุณภาพดีมีโกดังใหญ่เลือกสินค้าได้ที่หน้าร้าน รับติดตั้งและจัดส่งทั่วประเทศ
ปูหญ้าเทียมราคาอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
ไอเดียปูหญ้าเทียมอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
รับปูหญ้าเทียมอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
ปูหญ้าเทียมหน้าบ้านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
ปูหญ้าเทียมบนพื้นปูนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 


ปูนซีเมนต์ปั้นสำเร็จรูป - เหมาะสำหรับงานปั้น ตกแต่ง ปั้นลวดลาย
 
ปูนซีเมนต์ปั้นสำเร็จรูป -  ปูนปั้นสำเร็จรูป ทีพีไอ
ปูนปั้นสำเร็จรูปทีพีไอคือ ปูนปั้นสำเร็จรูปสมัยใหม่ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับงานตกแต่ง และ เหมาะสำหรับงานปั้น  ปั้นลวดลาย ฯลฯ สามารถผสมน้ำแล้วใช้ได้เลย สะดวก รวดเร็ว แข็งแรง ทนทาน เพราะผ่านการทดสอบโดยช่างปั้นมืออาชีพ ว่ามีคุณสมบัติที่สามารถทำงานปั้นได้ดีตามความต้องการ เหมาะสำหรับงานปั้นของยุคสมัยใหม่
 
ปูนปั้นสำเร็จรูปทีพีไอเป็น ปูนปั้นสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านขั้นตอนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและ ดีต่อโลก เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบในการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้ในปัจจุบัน โดยการลดการทำลายมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Co2)จากการผลิต  โดยเน้นแผนการผลิตที่ไม่ให้ก่อผลต่อสภาวะแวดล้อมและ ขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐาน รวมทั้งยังมีการรีไซเคิลวัสดุเหลือใช้เพื่อช่วยในการประหยัดทรัพยากรณ์ธรรมชาติเพื่อให้ใช้ทรัพยากรณ์ธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมถึงโครงการปลูกป่าทดแทนธรรมชาติเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี   สร้างบรรยากาศที่ดีต่อประชาชน
 
ดังนั้นผลิตภัณฑ์ปูนปั้นสำเร็จรูปทีพีไอจึงเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ที่ได้มาตรฐานที่ดีจึงได้รับฉลากคาร์บอนเป็นรายเดียวในประเทศไทย เป็นรายแรก
 
ประเภทการใช้งาน
 -ใช้ปั้่นรูปทรงต่างๆ
-ใช้ปั้นลวดลายสำหรับตกแต่งบริเวณต่างๆ เพื่อความสวยงาม
-ปั้นง่าย สะดวก แข็งแรงทนทานได้ตุณภาพ
-ใช้งานได้ง่าย เพียงผสมน้ำแล้วปั้นตามต้องการ
 
วิธีผสมปูนแบบโบราณ
วิธีผสมปูนแบบโบราณนี้ ข้าพเจ้าขนานศรีเลา เกษพรหม ได้รวบรวมจากแหล่งข้อมูล 3 แหล่ง คือ
จากคำบอกเล่าของ พ่อหนานคำ สมสุข และ พ่อหนานจัน พรชัย อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีสองเมือง ตำบลไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 ท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว ในอดีตท่านทั้ง 2 เป็นพระภิกษุที่ชำนาญในด้านการก่อสร้างถาวรวัตถุในวัด การก่อสร้างหลายอย่างที่บางครั้งทางวัดได้จ้างช่างมาจากจังหวัดลำพูน ท่านทั้ง 2 ก็ได้ช่วยช่างเหล่านั้นทำการก่อสร้างด้วย ดังนั้นช่างจากลำพูนจึงได้ถ่ายทอดวิชาการช่าง ตลอดถึงกรรมวิธีของส่วนผสมวัสดุ โดยเฉพาะการผสมปูนตามสูตรโบราณให้
จากบทความของพระครูวิจิตรการโกศล เขียนเรื่อง "ปูนโขลก" ในนิตยสารศิลปากร (25.5) กรุงเทพฯ 2524 หน้า 20-28
จากการบันทึกของช่างอย่างไม่เป็นระบบ ในสมุดพับหนังสาของล้านนา
หวังว่าท่านที่มีความสนใจจะได้นำไปศึกษาและเปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ ต่อไป
 
มาตราส่วนในการผสมปูนก่อและฉาบ
 
 
อุปกรณ์และส่วนผสม
ปูนขาวที่เผาแล้วออกจากเตาใหม่ๆ 9 ส่วน
ทรายร่อนละเอียด 5 ส่วน (กรณีใช้ก่ออิฐ ถ้าใช้ฉาบ ลดลงเหลือ 3-4 ส่วน)
น้ำต้มหนังควาย
น้ำต้มเปลือกไม้ไก๋ (?)
น้ำอ้อยที่เคี่ยวแล้ว (ได้ที่เรียกกันว่า "น้ำอ้อยแกว้ง" ยิ่งดี)
วิธีหมักและการผสม
นำผงปูนขาวที่ได้จากเผาผาปูน ใส่ในถังที่จะหมัก หรือใส่ในหลุมที่เตรียมไว้ ขนาดของหลุมขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่ใช้ จากนั้นใส่น้ำต้มเปลือกไก๋ น้ำต้มหนังควายลงไป แล้วคนให้เข้ากัน โดยกะว่าให้เหลวพอสมควรหรือให้น้ำท่วมปูน ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จึงใส่น้ำอ้อยแล้วคนให้ทั่ว จากนั้นต้องกวนทุก 7 วัน ระยะเวลาในการแช่หมัก อย่างน้อยต้อง 1 เดือนขึ้นไปจึงจะใช้ได้ดี ยิ่งใช้เวลาในการหมักนานก็ยิ่งดี
 
1.สูตรผสมปูนสำหรับก่ออิฐ
 
ปูนที่หมักกับส่วนผสมไว้แล้ว 9 ส่วน
ทรายหยาบล้างน้ำ 5 ส่วน
2. สูตรผสมปูนสำหรับฉาบ
 
ปูนขาว 7 ตวง
ทราย 7 ตวง
น้ำอ้อย 1 ตวง
น้ำมันยาง 1 ตวง
น้ำต้มเปลือกไม้ไก๋ ตามสมควร
น้ำต้มไม้ประดู่ ตามสมควร
นำวัสดุทั้งหมดผสมให้เข้ากันแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง เมื่อต้องการใช้ให้นำปูนผสมที่ตากแห้ง 4 ตวง ผงปูนขาว 2 ตวง นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ร่อนด้วยผ้าขาวบาง แล้วจึงนำไปผสมกับส่วนผสมต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง ได้แก่
ผงปูน 3 ตวง
น้ำมันยาง ครึ่งตวง
น้ำอ้อย ครึ่งตวง
น้ำต้มหนังควาย 3 ตวง
น้ำต้มเปลือกไก๋ ตามสมควร
ผสมทุกอย่างลงไปแล้วคนให้เข้ากัน ถ้าต้องการให้เนื้อปูนมีสีดำให้ใส่ผงมินหม้อ (เขม่าก้นหม้อ) ถ้าต้องการจะให้มีสีแดงให้ใส่ดินแดง ถ้าต้องการให้เป็นสีเหลืองให้ใส่หรดาล ถ้าให้เป็นสีเขียวให้ใส่ขี้สนิมทองเหลืองหรือทองแดง ถ้าต้องการให้เป็นสีมุ่ย (เทา) ให้ใส่น้ำคราม จากนั้นจึงนำไปโบกฉาบตามความต้องการ ปูนจะเกาะตัวกันไม่กะเทาะออกโดยง่าย ถึงแม้อิฐข้างในจะผุไป ปูนนี้ก็จะยังเกาะกันอยู่  
 
มาตราส่วนผสมปูนปั้น
 
สูตรที่ 1
ปูนขาวที่หมักกับส่วนผสมต่างๆ ที่ใช้สำหรับการก่อฉาบ นำไปตากแห้งแล้วตำด้วยครก ตักออกร่อนให้ละเอียด 4 ส่วน
ทรายร่อนละเอียด 1 ส่วน
กระดาษสาแช่น้ำให้เปื่อย
น้ำอ้อย
เอาทรายร่อนและกระดาษสาที่แช่น้ำให้เปื่อยแล้วใส่ครกตำ ถ้าใช้ปริมาณมากใช้ครกตำข้าว (ครกมอง) ตำทรายและกระดาษสาให้เข้ากัน แล้วใส่ปูนขาวร่อนตามส่วน ตำให้เข้ากันแล้วจึงใส่น้ำอ้อยพอสมควร ตำไปเรื่อยๆ จนเหนียวนิ่มให้ปั้นได้ เก็บใส่กระป๋องสำหรับใช้ปั้นลวดลายต่างๆ ตามต้องการ
 
สูตรที่ 2
ปูนขาวร่อนและแห้งสนิท9 ตวง (9 ส่วน)
น้ำมันละหุ่งหรือน้ำมันทั่งอิ๊ว 100% 1 ตวง ถ้าต้องการให้แข็งเร็วก็เพิ่มได้อีกนิดหน่อย
ผงอิฐบดละเอียด ร่อนดีแล้ว 5 ตวง
ทรายละเอียดครึ่งตวง
ใส่ปูนขาวร่อนตามส่วนที่ต้องการลงในครก ใส่อิฐป่นและทรายละเอียดตามลงไป คนให้เข้ากัน แล้วตำไปเรื่อยๆ พอเข้ากันดีแล้วเติมน้ำมันละหุ่งหรือทั่งอิ๊วลงไปทีละนิด ทีละนิด อย่าได้เติมทีเดียว คือเติมไปตำไป เมื่อตำจนเข้ากันดีแล้วหยิบขึ้นบีบดู ถ้ามีรอยแตกยังใช้ไม่ได้ ต้องตำต่อไปอีก จนกระทั่งบีบดูแล้วไม่มีรอยแตกและนิ่มเหมือนกับดินน้ำมัน จึงจะใช้ได้ดี
 
สูตรที่ 3 (ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก)
ทรายร่อนละเอียด 4 ตวง (ถ้าต้องการเหนียวมากยิ่งขึ้นใช้ทราย 2 ตวง)
ปูนขาวร่อนละเอียด 4 ตวง
น้ำอ้อย 1 ตวง
น้ำมันยาง 1 ตวง
น้ำมันละหุ่ง 3 ตวง
กล้วยตีบคำ ตามสมควร
นำส่วนผสมดังกล่าวนี้คนให้เข้ากัน แล้วใส่ในครกกระเดื่องตำให้เหนียว จึงนำไปปั้นลวดลายได้ตามความต้องการ
 
สูตรที่ 4
ปูนขาวร่อนละเอียด 3 ตวง
ทรายละเอียดร่อน 3 ตวง
น้ำอ้อย 2 ตวง
น้ำต้มเปลือกไม้ไก๋ 5 ตวง
น้ำต้มหนังควาย 7 ตวง
น้ำได้จากการแช่ลูกสมอ 3 ตวง
น้ำต้มผลมะตูม 3 ตวง
นำส่วนผสมทั้งหมดผสมเข้าด้วยกัน แล้วนำไปตำกับครกกระเดื่อง ถ้าปูนข้นไปให้เติมน้ำต้มหนังควายลงไปอีกจนพอดี ตำให้เหนียวนุ่ม แล้วจึงนำไปปั้นลวดลายได้ตามความต้องการ  
 
วิธีปั้นและวิธีเก็บปูนที่เหลือ
 
สูตรที่ 1
ก่อนปั้นให้ละลายปูนด้วยน้ำให้เหลวพอสมควร ทาลงบนพื้นที่จะปั้นดอกหรือลวดลายเพื่อให้ปูนที่ปั้นติดแน่น จากนั้นจึงทำการปั้นลวดลาย หากปูนเหลือและต้องการเก็บไว้ปั้นในวันต่อไป ให้เก็บใส่หม้อหรือกระป๋องแล้วเทน้ำใส่จนท่วมปูนเพื่อกันปูนแห้ง จากนั้นจึงปิดฝา เมื่อจะใช้ในวันต่อไป ก็เทน้ำออกให้เหลือแต่ปูนที่ใช้ปั้นได้ ถ้าหากปูนแห้ง ให้ใส่ครกตำใหม่อีกครั้งหนึ่ง
 
สูตรที่ 2
พื้นที่หรือผนังที่จะติดดอกหรือลวดลายต้องสะอาด ให้ใช้สำลีชุบน้ำมันละหุ่งหรือทั่งอิ๊วเช็ดถูให้ทั่ว จนกระทั่งไม่มีฝุ่นและแห้งสนิทไม่เปียกชื้น ใช้ปูนปั้นละลายด้วยน้ำมันละหุ่งหรือทั่งอิ๊วให้เหลวพอสมควร ทาลงบนพื้นที่จะทำการติดดอก อย่าทาให้มากเกินไป จากนั้นจึงทำการปั้นดอกลวดลายต่างๆ ส่วนปูนที่เหลือจากงานที่ค้างไว้ หากต้องการที่จะเก็บไว้ปั้นในวันต่อไป ควรเก็บไว้ในกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิด ก่อนที่จะปิดฝาให้เอาผ้าชุบน้ำมันละหุ่งหรือทั่งอิ๊วให้เปียกชุ่ม คลุมปูนในกระป๋องอีกชั้นหนึ่งแล้วจึงปิดฝาให้แน่น เก็บไว้ในร่ม อย่าให้ถูกแดดหรือความร้อน
 
Engine by shopup.com