9614492

กั้นห้องกระจกบานเลื่อนแพรกษา โทร 065-8030205

หมวดหมู่สินค้า: rtd66 รวมช่าง

10 เมษายน 2565

ผู้ชม 78 ผู้ชม

 
 
ช่างกั้นห้องกระจกอลูมิเนียม - กั้นห้องคอนโด บ้าน ออฟฟิศ
รับติดตั้งประตูกระจกบานเลื่อน กระจกบานเปลือย กระจกประตูห้องน้ำ ประตูกระจกห้องน้ำ ประตูกระจกบานเปลือย ประตูบานเฟี้ยม ประตูกระจกเทมเปอร์ ฉากกั้นห้อง
กั้นห้องกระจกแพรกษา 
ฉากกั้นห้องอลูมิเนียมแพรกษา 
กั้นห้องกระจกบานเลื่อนแพรกษา 
กั้นห้องกระจกชั้นลอยแพรกษา 
ร้านติดตั้งอลูมิเนียมใกล้ฉันแพรกษา 
รับติดตั้งอลูมิเนียมแพรกษา 

  ติดต่อสอบถาม


 
รับออกแบบและบริการติดตั้ง ประตูหน้าต่างอลูมิเนียมบานเฟี้ยม บานเลื่อน(ซ้อนล้อล่าง-บน) บานสวิง บานกระทุ้ง กระจกบานเปลือย
ประตูบานเลื่อนแพรกษา 
รับติดตั้งกระจกบานกระทุ้งแพรกษา 
ประตูบานเฟี้ยมแพรกษา 
บานเฟี้ยมแพรกษา 
บานเฟี้ยมไม้แพรกษา 
บานเฟี้ยมอลูมิเนียมแพรกษา 
ประตูบานเฟี้ยมไม้แพรกษา 
ประตูบานเฟี้ยมราคาแพรกษา 


 
บริการกั้นห้องกระจกอะลูมิเนียม
รับติดตั้งประตูกระจกแพรกษา กั้นห้องกระจกอะลูมิเนียม ติดตั้งกระจกอลูมิเนียมทุกชนิด
รับติดตั้งกระจกอลูมิเนียมแพรกษา ประตู หน้าต่าง บานเลื่อน บานสวิง บานกะทุ้ง บานตาย บานเปิด บานพับ บานเปิดหน้าต่าง
ติดตั้งกระจกบานสวิงแพรกษา กระจกร้านค้า กระจกอาคารพานิชย์ กระจกคอนโด กระจกกั้นห้องติดแอร์
แพรกษา รับติดตั้งประตูอลูมิเนียม บานแขวน บานเฟี้ยม บานกระทุ้ง กั้นห้องกระจก งานกระจกอลูมิเนียมทุกชนิด

 
งานช่างภายในบ้าน 
สาระสำคัญ
            ปัจจุบันภายในครอบครัวมีเครื่องใช้และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ  ซึ่งการติดตั้งการดูแลรักษา  และการซ่อมแซม  จะต้องอาศัยความรู้  ทักษะ  ดังนั้นผู้ใช้จะต้องรู้จักส่วนประกอบและการใช้อย่างถูกวิธีจะช่วยให้  เครื่องใช้และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ  ได้อย่างคุ้มค่าและปลอดภัย
รายละเอียดสาระการเรียนรู้
1.        งานไฟฟ้า
งานไฟฟ้ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชาขนในปัจจุบันเป็นอย่างมากไม่ว่าจะ
เป็นการนำมาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ  ภายในบ้าน  หรือเกี่ยวกับอุตสาหกรรม  ดังนั้นการมีความรู้เกี่ยวกับหลักการ  วิธีการ  วัสดุอุปกรณ์และความปลอดภัย  จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
1.1         ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้า  เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็คตรอนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งภายใน
ตัวนำไฟฟ้า 
ชนิดของกระแสไฟฟ้า  แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ
1.      ไฟฟ้ากระแสตรง  ได้แก่  ถ่านไฟฉาย  แบตเตอรี
2.      ไฟฟ้ากระแสสลับ  ได้แก่  ไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือน
1.2         ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้า  หมายถึง  ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่านไปยังตัวนำและเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด (     )  แล้วไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิด  การต่อวงจรไฟฟ้าเราสามารถต่อได้หลายวิธี  ดังนี้
         1.  การต่อไฟฟ้าแบบอนุกรม  เป็นการนำเอาตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อกันโดยเอาปลายด้านหนึ่งต่อกับปลายอีกด้านหนึ่งต่อเรียงไปเรื่อยๆ  การต่อไฟฟ้าแบบอนุกรมส่วนใหญ่จะไม่นิยมใช้ในการต่อวงจรทั่วไป 
         2.  การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน  การนำเอาตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อคร่อมกันไปเรื่อยๆ  จนครบวงจร  การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนานเป็นการต่อวงจรที่ใช้ทั่วไปกับไฟฟ้าแสงสว่างและเครื่องใชไฟฟ้าภายในบ้าน
         3.  การต่อวงจรไฟฟ้าแบบผสม  โดยการนำแบบอนุกรมและขนานต่อรวมเข้าในวงจรเดียวกัน  การต่อวงจรไฟฟ้าแบบผสมนิยมใช้กับวงจรอิเล็กทรอนิกส์
 
1.3         วัสดุอุปกรณ์
วัสดุและอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเรือน  มีดังนี้
1.      สายไฟฟ้า  เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าจนครบวงจร  สายไฟฟ้าแบ่งออกได้  2  ชนิด  คือ  สายเปลือย  และสายหุ้มฉนวน
2.      เข็มขัดรัดสาย  ทำด้วยอลูมิเนียม  มีรูตรงกลาง  1 – 2  รู  แล้วแต่ขนาดของเข็มขัดรัดสาย
ซึ่งมีขนาดเบอร์ต่างๆ  ตั้งแต่เบอร์ 0 – 6  รูตรงกลางใช้สำหรับตอกตะปูยึดกับฝาผนัง
3.      ตุ้มหรือลูกถ้วย  ใช้สำหรับเดินสายภายนอกอาคาร  เพื่อยึดสายให้แน่น
4.      กล่องแยกสายไฟ  มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม  มีทั้งชนิดเป็นไม้  โลหะ  หรือพลาสติก 
ใช้สำหรับต่อแยกสายไฟเพื่อนำไฟไปยังจุดต่างๆ
5.      เทปพันสายไฟ  ทำด้วยวัสดุหลายอย่าง  เช่น  ยาง  พีวีซี  ใช้สำหรับพันสายไฟเมื่อต่อสาย 
เพื่อป้องกันไฟฟ้าไม่ให้รั่ว
6.      ฟิวส์  เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อไว้เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าไม่ให้ไหลเข้ามาเกินพิกัดของ
ขนาดสายไฟฟ้า  เพราะฟิวส์จะหลอมละลายตัดทางเดินของกระแสไฟฟ้า  ฟิวส์มีหลายชนิดและหลายขนาด  ได้แก่  ฟิวส์ก้ามปู  และปลั๊กฟิวส์
7.      คัตเอาต์  เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ตัดต่อกระแสไฟฟ้าในวงจร  ใช้ควบคู่กับฟิวส์เส้น
ลวด
8.      ปลั๊ก  เป็นอุปกรณ์ที่ต่อกระแสไฟฟ้าชั่วคราวไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า  แบ่งได้  2  ชนิด  คือ 
ชนิดเต้าเสียบหรือปลั๊กตัวผู้และชนิดเต้ารับหรือปลั๊กตัวเมีย
9.      สวิทซ์  เป็นอุปกรณ์ตัดต่อวงจรไฟฟ้า  ส่วนใหญ่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างภายใน
บ้านเรือน
10.  หลอดไฟฟ้าชนิดเปล่งแสงออกจากไส้  เรียกกันโดยทั่วไปว่า  หลอดดวงเทียน  เป็น
หลอดไฟฟ้าชนิดแรกที่มนุษย์สร้างขึ้นมา  มีส่วนประกอบที่สำคัญ  ดังนี้
1.   หลอดไฟฟ้า  มีลักษณะเป็นหลอดแก้ว  ทำหน้าที่หุ้มไส้หลอดและแก๊ซเฉื่อย
2.   แก๊ซเฉื่อย  เป็นแก๊ซที่บรรจุอยู่ภายในไส้หลอด  ที่นิยมใช้มี  2  ชนิด  คือ  แก๊ซ
ไนโตรเจนและแก๊ซอาร์กอน
3.   ไส้หลอด  ทำด้วยทังสเตนซึ่งเป็นโลหะที่ทนความร้อนสูง
4.   สายค้ำและสายยึดไส้หลอด  ทำหน้าที่ยึดไส้หลอดให้อยู่กับที่
5.   ตัวยึดสายค้ำไส้หลอด  ใช้แท่งแก้วเป็นตัวยึด  โดยหลอมแท่งแก้ทับสายค้ำไส้หลอดอีก
ชั้นหนึ่ง
6.   ขั้วหลอด  มี  2  ลักษณะ  คือ  แบบเกลียวและแบบเขี้ยว  ทำหน้าที่รับและจ่าย
กระแสไฟฟ้าให้กับไส้หลอด
 
11.  หลอดฟลูออเรสเซนต์  หลอดชนิดนี้ออกแบบมาเพื่อใช้ในอาคารบ้านเรือน  ให้กำลังส่องสว่างมากกว่าหลอดชนิดที่เปล่งแสงออกจากไส้  และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานหลอดฟลูออเรสเซนต์มีส่วนประกอบดังนี้
1.  ตัวหลอด  ทำด้วยแก้วใส  ภายในเคลือบสารเรืองแสงฟอสเฟอร์  ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยน
รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นแสงสว่าง
                2.  ขั้วหลอด  ทำหน้าที่ต่อกระแสไฟฟ้าจากภายนอกเข้าภายในหลอด
                3.  ไส้หลอด  ทำหน้าที่กระจายอิเล็กตรอน
                4.  สารบรรจุภายในหลอด  ได้แก่  ก๊าซอาร์กอน  และไอปรอท
 
         การนำหลอดฟลูออเรสเซนต์มาใช้งาน  ต้องใช้ควบคู่กับสตาร์ตเตอร์และบัลลาสต์  สตาร์ตเตอร์  จะทำหน้าที่ต่อวงจรในช่วงแรก  จนอิเล็กตรอนกระจายทั่วหลอดแล้วจะหยุดทำงาน  ส่วนบัลลาสต์จะทำหน้าที่ปรับแรงดันไฟฟ้าให้พอดีกับไส้หลอด  ในการใช้บัลลาสต์นั้นจะต้องใช้ให้เหมาะกับหลอดด้วย  เช่น  หลอดขนาด  20  วัตต์  ต้องใช้กับบัลลาสต์ขนาด  20  วัตต์  เป็นต้น
 
2.     งานประปา
ระบบประปาในอาคารบ้านเรือน  เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งมีผลต่อสุขภาพและอนามัยของผู้อาศัย 
ช่างประปาจึงต้องมีความเข้าใจในการอ่านแบบ  วิธีการต่อท่อ  มีความสามารถในการซ่อมแซม  และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
         2.1  วัสดุและอุปกรณ์งานช่าง
         งานประปามีวัสดุและอุปกรณ์มากมายหลายอย่าง  สำหรับงานช่างในบ้านมีวัสดุและอุปกรณ์  ดังนี้
                1.  ท่อประปา  เป็นอุปกรณ์สำหรับนำน้ำไปยังจุดต่างๆ  ตามที่ต้องการใช้แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ
                1.1  ท่อพลาสติก  หรือ  ท่อพีวีซี  เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่นิยมใช้กันมากในงานประปา  เพราะราคาถูก  ติดตั้งง่าย  มีน้ำหนักเบา  ผิวท่อมีความลื่นดี  การต่อท่อใช้ข้อต่อและน้ำยาประสานเป็นตัวเชื่อม  หรือแบบเกลียวก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน
                1.2  ท่อโลหะ  ทำด้วยเหล็กเคลือบดีบุกผสมสังกะสี  สามารถทนแรงกระแทกได้ดี  แข็งแรง  ทนทาน  ในการติดตั้งต้องใช้ข้อต่อชนิดเกลียวและเทปพันเกลียวช่วยป้องกันการรั่วบริเวณรอยต่อ
                2.  ข้อต่อ  เป็นส่วนประกอบในการต่อท่อ  มีขนาดต่างๆ  กัน  ใช้ในการเปลี่ยนทิศทางของน้ำประปา  หรือใช้อุดปลายท่อเมื่อทางเดินท่อสิ้นสุดลง  ข้อต่อมีทั้งชนิดที่ทำด้วยพลาสติกและโลหะ
                3.  น้ำยาประสาน  ใช้ในการต่อเชื่อมท่อกับข้อต่อต่างๆ  ของท่อพลาสติก
                4.  เทปพันเกลียว  ช่วยป้องกันการรั่วบริเวณรอยต่อ
 
2.2   การต่อท่อ
                   การต่อประกอบท่อ  เพื่อจ่ายน้ำ  หรือต่อเข้ากับสุขภัณฑ์  โดยวัสดุท่อชนิดต่างๆ  ตามความเหมาะสม  ต้องคำนึงถึงความคงทนถาวร  ประหยัด  อุปกรณ์และค่าใช้จ่าย
         หลักการต่อท่อ
1.      สำรวจทางเดินของท่อและเขียนบันทึกไว้อย่างละเอียด
2.       พยายามใช้ท่อให้สั้นที่สุด  และสะดวกในการใช้มากที่สุด
3.       หลีกเลี่ยงการใช้ข้องอและสามทางเนื่องจากจะทำให้แรงดันลกลง
4.       การขันเกลียวข้อต่อต่างๆ  ไม่ควรขันแน่นเกินควร
5.       การต่อท่อพีวีซี  ควรเช็ดทำความสะอาดและทิ้งไว้ให้แห้ง  ก่อนทาน้ำยาประสาน
6.       เลือกใช้ท่อให้เหมาะสมกับสภาพบริเวณ  เช่น  ที่เปียกชื้น  เดินฝังดิน  ควรใช้ท่อพีวีซี
7.       หากท่อเมนประปาอยู่ไกล  ควรใช้ท่อลดขนาด 
 
3.         งานไม้
งานไม้เป็นงานที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งภายในบ้าน  ใช้ซ่อมแซมและดัดแปลงอุปกรณ์ 
เครื่องใช้  หรือเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน  เป็นการประหยัดรายจ่ายภายในครอบครัว
 
3.1  วัสดุและอุปกรณ์งานไม้
                1.  ไม้  ไม้ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด  แต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน  ดังนั้นในการนำไม้มาใช้งานควรจะพิจารณาชนิดของไม้ที่จะใช้งาน  ชนิดของไม้แบ่งออกได้ดังนี้
                1.1  ไม้เนื้อแกร่ง  ได้แก่  ไม้ที่มีลักษณะสีเข้มจนถึงสีดำ  เนื้อไม้แข็งมาก  ใช้เครื่องมือตกแต่งได้ยาก  เป็นไม้ที่มีน้ำหนักมาก  ใช้งานได้ดี  คงทน  เนื้อไม้เป็นมันในตัว  ขัดมันได้แวววาว  เช่น  ไม้ชิงชัน  ไม้ประดู่  เป็นต้น
                1.2  ไม้เนื้อแข็ง  ได้แก่  ไม้ที่มีลักษณะสีค่อนไปทางสีแดง  เนื้อไม้แข็งปานกลาง  ใช้เครื่องมือตกแต่งได้ไม่ยากนัก  มีน้ำหนักพอประมาณ  ใช้งานได้ดี  เช่น  ไม้ตะเคียน  ไม้แดง  ไม้มะม่วง  เป็นต้น
                1.3  ไม้เนื้ออ่อน  ได้แก่  ไม้ที่มีลักษณะสีอ่อนซีด  เนื้อไม้อ่อนใช้เครื่องมือตกแต่งได้ง่าย  เป็นไม้ที่มีน้ำหนักเบา  ใช้กับงานที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก  เช่น  ไม้ยางพารา  ไม้ฉำฉา  เป็นต้น
                2.  ตะปู  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ยึดไม้ให้ติดกัน  สามารถรับแรงต่างๆ  ได้เป็นอย่างดี  มีหลายชนิด  หลายขนาด  ทั้งชนิดหัวแบนราบ  หัวนูน  ตัวอ้วน  ผอม  ยาว  สั้น  แล้วแต่ความหนาของไม้และความต้องการที่จะใช้  ขนาดของตะปู  มีความยาวตั้งแต่  ¼ - 6  นิ้ว
                3.  ตะปูเกลียว  เป็นตะปูอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กับงานไม้  โดยไม่ต้องใช้ค้อนตอก  ลักษณะของหัวมีหลายแบบ  คือ  หัวกลม  หัวราบ  หัวเหลี่ยม  หัวรูปไข่  มีขนาดต่างๆ  กัน  การใช้ตะปูเกลีนวควรใช้ให้เหมาะสมกับงาน  คือ
                3.1  หัวกลม  ใช้สำหรับส่วนที่ต้องการโชว์หัวตะปูให้เห็น
                3.2  หัวราบ  ใช้สำหรับงานที่ต้องการความเรียบของผิวงาน 
                3.3  หัวเหลี่ยม   ใช้สำหรับส่วนที่ต้องการโชว์หัวตะปูให้เห็นเช่นเดียวกับหัวกลม
                3.4  หัวรูปไข่  เหมาะกับงานจับยึดเชิงผนังหรืองานที่ต้องการความสวยงาม
                3.5  หัวแฉก  ใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์
 
4.   การต่อและการเข้าไม้
                การต่อไม้  คือ  การทำให้ไม้ยาวขึ้น  โดยการนำไม้วางไปในทางทิศเดียวกัน  แล้วเชื่อมเข้าด้วยกัน  วิธีง่ายๆ  คือ  เอาไม้วางซ้อนกันแล้วตอกด้วยตะปู  การนำไม้มาวางทับซ้อนกันให้หนาขึ้น  เรียกว่า  การเสริมไม้  และการนำไม้มาเรียงกันให้กว้างขึ้น  เรียกว่า  การเพลาะไม้ การเข้าไม้  คือ  การเอาไม้มาชนกันทำให้เกิดมุมขึ้น  จะเป็นมุมฉากหรือไม่ก็ตาม
                วิธีการต่อไม้  มีการต่อ  3  วิธี  คือ
1. การต่อมีเดือยหรือมีแกน  การต่อแบบนี้มีความแข็งแรงพอใช้  แกนหรือเดือยจะช่วยยึด
ไม้ให้เชื่อมกันมั่นคง
2. การต่อแบบบาก  การต่อแบบนี้มี  2  วิธี  คือ  บากครึ่งต่อครึ่งเป็นแนวตรง  ถ้าบากซ้อน
กันมากจะทำให้แข็งแรงยึดเหนี่ยวกันได้มากยิ่งขึ้น  ปกติจะบากประมาณ  1 – 2  เท่าของหน้ากว้าง และอีกวิธีหนึ่ง  คือ  การต่อบากแบบรูปหางเหยี่ยว  แล้วตรึงด้วยตะปูเกลียวหรือสลัก
3. การต่อดาม การต่อแบบนี้ตั้งซ้อนกันเฉยๆ  แต่มีไม้หรือเหล็กดามทั้ง  2  ข้าง  แล้วใช้
ตะปูหรือตะปูเกลียวตรึงป้องกันไม่ให้พลาดออกจากกัน  เป็นวิธีต่อที่แข็งแรงที่สุดแต่มองดูไม่สวยงาม
 
Engine by shopup.com