9456041

ช่างจิตรกรรมฝาผนังอำเภอนครชัยศรี โทร 098-1682236

หมวดหมู่สินค้า: rtd48 หล่อพระ

02 เมษายน 2565

ผู้ชม 125 ผู้ชม

 

โรงหล่อพระ พระพุทธรูป ทุกขเขนด ทุกแบบ รับสั่งทำตามต้องการ รับหล่อพระตามแบบประสบการณ์กว่า 40ปี หล่อพระพุทธรูป บริการ หล่อพระประธาน หล่อพระตามแบบ
ช่างบูรณะองค์พระพุทธรูปอำเภอนครชัยศรี 
ช่างจิตรกรรมฝาผนังอำเภอนครชัยศรี 
ช่างสีบูรณะโบสถ์อำเภอนครชัยศรี 
น้ำตกหินเทียมอำเภอนครชัยศรี 
น้ำตกจำลองอำเภอนครชัยศรี 
ปั้นหุ่นรูปเหมือนอำเภอนครชัยศรี 
ไฟเบอร์กลาสอำเภอนครชัยศรี 
ช่างปั้นหุ่นขี้ผึ้งอำเภอนครชัยศรี 
ช่างหล่อโลหะอำเภอนครชัยศรี 
งานหล่อทองเหลืองอำเภอนครชัยศรี 
 
          ช่างโรงหล่อพระ ปั้นหินเทียม

- ช่างปิดทองอำเภอนครชัยศรี - ช่างปิดกระจก - ช่างลายปูนปั้น - ช่างจิตรกรรมฝาผนัง - ช่างดีดโบสถ์
- ช่างทำลายรดน้ำปิดสีทองคำเปลว. บริการแนะนำช่างฝีมืองานวัด
ยกโบสถ์อำเภอนครชัยศรี ดีดโบสถ์ ย้ายโบสถ์ หมุนโบสถ์ เสริมฐานรากโบสถ์ แก้ไขโบสท์ทรุดตัว ซ่อมโบสถ์ทรุด ยกอาคาร


 
รงหล่อพระอำเภอนครชัยศรี ไฟเบอร์กลาส  หล่อพระ  รับปั้นรูปเหมือนอำเภอนครชัยศรี งาน ประติมากรรม รูปหล่อไฟเบอร์พระ  หุ่นขี้ผึ้ง  ไฟเบอร์กลาสราคา  หุ่นไฟเบอร์กลาส  ช่างปั้นพระพุทธ รูปรับทำหุ่นขี้ผึ้ง สร้าง พระประธาน   รับหล่อพระ  รับปั้นหุ่น หุ่นขี้ผึ้ง พระเกจิ  รับปั้นพระพุทธรูป
 
 
พิธีหล่อพระ (แบบย่อ)aการปั้นหล่อพระพุทธรูป
 
การปั้นหล่อพระพุทธรูปแบบไทยประเพณี เป็นงานช่างแขนงหนึ่งในงานช่างสิบหมู่ของไทย จัดอยู่ในกลุ่มงานช่างหล่อซึ่งต้องเกี่ยวเนื่องกับงานปั้น เนื่องจากเมื่อจะทำรูปโลหะหล่อก็ต้องจัดการปั้นหุ่นรูปนั้นๆ ขึ้นเสียก่อน แล้วจึงเปลี่ยนสภาพรูปหุ่นนั้นเป็นรูปโลหะหล่อ กระบวนการแต่ละขั้นตอนจึงมีความสัมพันธ์กัน การปั้นหล่อพระพุทธรูปแบบประเพณีมีขั้นตอนโดยสังเขป ดังนี้
 
การปั้น เริ่มจากการขึ้นหุ่นและการปั้นดินแกนหรือดินหุ่นเพื่อเป็นหุ่นแกนทรายชั้นใน ขั้นตอนต่อไปคือ การทำรางรูป ตัววี ทั้งรางแกนและรางกิ่ง เพื่อเป็นทางให้โลหะหลอมละลายไหลเข้าแม่พิมพ์แทนที่ขี้ผึ้งที่ถูกขับไปจากแม่พิมพ์ จากนั้นเป็นงานทาดินมอม คือ การลงนํ้ายาชนิดหนึ่งประกอบด้วยผงขี้เถ้า ดินเหนียว และนํ้าพอสมควรผสมเข้าด้วยกันอย่างเข้มข้น เพื่อให้พื้นผิวหุ่นเรียบแน่น ตามด้วยงานทาเทือกคือการลงนํ้าเมือกชนิดหนึ่งสำหรับงานหล่อโลหะประกอบด้วยขี้ผึ้งแท้ นํ้ามันยาง เคี่ยวให้เข้ากันจนข้น เพื่อทำให้ผิวของหุ่นแกนทรายพร้อมสำหรับขั้นตอนการเข้าขี้ผึ้งหรือหุ้มขี้ผึ้งจากนั้น จึงเป็นการปั้นแต่งรายละเอียดของประติมากรรมต้นแบบให้สมบูรณ์
 
การทำแม่พิมพ์ เริ่มจากการทาดินนวล คือ ดินเหนียวตากแห้ง ป่นร่อนเป็นผงดินละเอียด ผสมนํ้าขี้วัว กวนให้เข้ากัน นำมาทาทับรูป ๓ ครั้ง แต่ละครั้งต้องผึ่งดินนวลให้แห้งเสียก่อน จากนั้นเป็นการตอกทอย ซึ่งเป็นเหล็กเส้นสั้นๆ ปลายแหลมตอกผ่านขี้ผึ้งไปติดหุ่นแกนทรายให้แน่น เพื่อยึดหุ่นแกนทรายกับแม่พิมพ์ชั้นที่ ๑ มิให้เคลื่อนเวลาสุมไฟไล่ขี้ผึ้ง จากนั้นติดสายชนวนขี้ผึ้ง เพื่อเป็นทางขับขี้ผึ้งจากแม่พิมพ์ ขั้นตอนต่อไปเป็นการทับดินอ่อน คือ ดินนวลผสมกับทรายละเอียดและนํ้า นวดให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว โดยพอกทับรูปขี้ผึ้งที่ตอกทอยและติดสายชนวนขี้ผึ้งเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นแม่พิมพ์ชั้นที่ ๑ จากนั้น พอกทับด้วยดินแก่ คือ ดินที่มีส่วนผสมเป็นดินเหนียวและทรายละเอียดเจือนํ้า ขยำจนเป็นเนื้อเดียวกัน โดยพอกให้มีความหนากว่าดินอ่อนเล็กน้อยเพื่อเป็นแม่พิมพ์ชั้นที่ ๒ ตามด้วยการเข้าลวด คือ การเอาลวดรัดขัดร้อยเป็นตารางสี่เหลี่ยม เพื่อมาล้อมรัดแม่พิมพ์ป้องกันความร้อนหรือความกดดันภายในที่อาจเบ่งให้แม่พิมพ์แตกจากนั้นเป็นการเข้าดินทับปลอก คือ การนำดินแก่พอกทับแม่พิมพ์ชั้นที่ ๒ ที่เข้าลวดรัดไว้ เพื่อเป็นแม่พิมพ์ชั้นที่ ๓ ผึ่งแม่พิมพ์ให้แห้ง ๔-๗ วัน ต่อมาทำปากจอบหรือช่องกลวง ซึ่งทำขึ้นสำหรับเททองลงไปในแม่พิมพ์ และทำรูผุดริมขอบแม่พิมพ์ซึ่งทำเป็นช่องกลวงสำหรับระบายอากาศ
 
การหล่อโลหะ หรือ การเททอง เริ่มจากการล้มหุ่น คือการเคลื่อนย้ายแม่พิมพ์ที่หุ้มหุ่นขี้ผึ้งไปยังบริเวณที่จะเททองและการขึ้นทน คือการยกแม่พิมพ์กลับเอาด้านล่างขึ้นมาตั้งบนแท่นที่จะเททอง ทำนั่งร้าน และติดรางถ่ายขี้ผึ้ง เพื่อเป็นรางรองรับขี้ผึ้งที่ถูกละลายออกมาจากแม่พิมพ์ ต่อจากนั้นคือการสุมแม่พิมพ์โดยสุมไฟให้แม่พิมพ์ร้อนจัดจนสำรอกขี้ผึ้งออกไปจากแม่พิมพ์ ตามด้วยการหลอมทองให้ละลาย และนำไปเทลงใส่แม่พิมพ์หลังจากที่ทองเย็นตัวลงแล้ว จึงทุบแม่พิมพ์ รื้อลวดที่รัดออกตกแต่งความเรียบร้อยหลังการหล่อ ตามด้วยการรมดำ หรือลงรักปิดทองเป็นลำดับสุดท้าย
 
กรรมวิธีการปั้นหล่อพระพุทธรูปตามขนบประเพณีแบบโบราณของไทย สะท้อนถึงภูมิปัญญาในการเลือกใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นอย่างเหมาะสม รวมทั้งมีเทคนิคการหล่อที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถหล่อเนื้อโลหะได้บาง ด้านในพระพุทธรูปกลวง งานช่างปั้นหล่อพระพุทธรูป จึงถือว่าเป็นงานประติมากรรมพุทธศิลป์ที่ทรงคุณค่า และยังเป็นส่วนหนึ่งที่จรรโลงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ในสังคมไทยมาโดยตลอด
 
งานเททอง
งานเททอง มีขั้นตอนที่จะต้องจัดทำ หรือ เตรียมงานขึ้น ก่อนการเททองอยู่หลายขั้นตอนด้วยกัน คือ
 
- การล้มหุ่นคือ การเคลื่อนย้ายแม่พิมพ์ ที่ได้จัดทำหุ้มหุ่นขี้ผึ้งขึ้นไว้ นำไปยังบริเวณที่จะทำการเททอง
- การขึ้นทนคือ การยกแม่พิมพ์ที่ได้ย้ายมา ขึ้นตั้งบนแท่นที่ซึ่งจะทำการเททอง โดยยกแม่พิมพ์กลับเอาด้านล่าง ตั้งขึ้น
- การทำปากจอก “ปากจอก” คือ ช่องกลวงๆ ทำขึ้นไว้สำหรับเททอง หรือ โลหะหลอมเหลวลงไปในแม่พิมพ์อยู่ตรงริมแม่พิมพ์
- การทำรูผุด “รูผุด” คือ ช่องกลวงๆ สำหรับเป็นทางระบายอากาศ และ ความร้อนออกจากแม่พิมพ์ อยู่ริมขอบแม่พิมพ์ สลับกับปากจอก
- การปิดกระบาน “กระบาน” คือ ฝาปิดปากจอก และรูผุด ทำด้วยดินเหนียวผสมขี้เถ้าแกลบ ปั้นเป็นแผ่นกลมๆ คล้ายงบน้ำอ้อย ตากแห้ง นำมาปิดบนปากจอก และ รูผุดเพื่อกันความร้อนหนีออกจากแม่พิมพ์ขณะสุมไฟให้พิมพ์ร้อน
- การติดรางถ่ายขี้ผึ้ง “ร่างถ่ายขี้ผึ้ง” ทำด้วยแผ่นเหล็กบางๆ ตีให้โค้งคล้ายกาบกล้วย นำรางนี้วางรับปากกระบวน คือ ปลายสายชนวนที่อยู่ตอนล่าง ของแม่พิมพ์เพื่อถ่ายเทขี้ผึ้งในแม่พิมพ์ที่ละลายออกมา เมื่อแม่พิมพ์ได้รับการสุมไฟให้ร้อนขึ้นตามขนาด สุดปลายรางถ่ายขี้ผึ้งนี้ขุดพื้นดินให้เป็นหลุมลึกพอสมควร ใส่อ่างดินไว้ก้นหลุมสำหรับรับขี้ผึ้งที่ไหลออกมา ทางกระบวนผ่านรางลงมา
 
การสุมแม่พิมพ์
ก่อนการจะเททอง หรือ เทโลหะหลอมเหลวลงในแม่พิมพ์ จะต้องจัดการสุมไฟ ทำให้แม่พิมพ์ร้อนจัด เพื่อสำรอกขี้ผึ้ง ที่ได้ปั้นทำเป็นหุ่นอยู่ภายในแม่พิมพ์ หลอมเหลวละลายแล้วไหลออกมาจากแม่พิมพ์ทางช่องชนวน และกระบวนผ่านราง ถ่ายขี้ผึ้งให้หมดไปจากข้างในแม่พิมพ์ ซึ่งขั้นตอนนี้เรียกว่า “สูญขี้ผึ้ง” คือ ขับขี้ผึ้งให้หายออกไปจากข้าง ในแม่พิมพ์ จึงจะจัดการเททอง เข้าไปในช่องว่างในแม่พิมพ์ แทนที่ขี้ผึ้งที่ถูกขับให้สูญไปนั้น
 
เมื่อสุมพิมพ์ไล่ขี้ผึ้งจนหมดแล้ว และ แม่พิมพ์สุกพอดี จึงเริ่มราไฟลงตามลำดับ ระหว่างที่ลดไฟลงนี้เรียกว่า “บ่มพิมพ์”
 
พอบ่มไปได้สักระยะหนึ่ง จึงจัดการรื้อเตาออก จัดการพรมน้ำ ดับความร้อนบริเวณพื้นดินใกล้เตา และนำม้านั่งร้านมาเทียบแม่พิมพ์ เตรียมไว้สำหรับช่างหล่อ จะยกเบ้าหลอมขึ้นไปเททองต่อไป
 
การหลอมทอง
การหลอมทอง คือ การแปรสภาพโลหะด้วยความร้อน ให้เป็นของเหลว เพื่อจะนำไปเทใส่ลงในแม่พิมพ์ การหลอม หรือ ภาษาช่างหล่อเรียกว่า “สุมทอง” นี้จะต้องทำไปพร้อมๆ กันกับการสุมแม่พิมพ์ จึงจะเททองได้พอดีกัน
 
การเททอง
การเททอง เป็นงานหล่อขั้นล่าสุด ช่างหล่อ จะนำดินผสมทรายไปปิดอุดปากกระบวนเสียก่อน และใช้น้ำดินที่ เรียกว่า “ฉลาบ” พรมที่แม่พิมพ์ให้ทั่ว เพื่อประสานผิวแม่พิมพ์ให้สนิท จัดการเปิดกระบวนออกจากปากจอก และรูผุด ให้หมด จึงนำเบ้าใส่น้ำทอง ขึ้นมาเทกรอกลงในช่องปากจอกตามลำดับกันไป จนกระทั่งน้ำทองนั้นเอ่อขึ้นมาล้นรูผุด จึงหยุดการเททอง ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่า ทองขังเต็มช่องว่างในแม่พิมพ์นั้นแล้ว ก็เป็นเสร็จสิ้นธุระในการเททอง
 
การทุบพิมพ์
ภายหลังการเททองเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ต้องปล่อยแม่พิมพ์ และทอง หรือโลหะในแม่พิมพ์นั้นเย็นลงไปเองตามลำดับ ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ ๒–๓ วัน จึงจัดการทุบแม่พิมพ์ รื้อแก้ลวดที่รัดแม่พิมพ์ออกให้หมด จนกระทั่งปรากฏ รูปประติมากรรมโลหะหล่อ ที่ได้เททองทำขึ้นนั้น
 
การตกแต่งความเรียบร้อย
เมื่อจัดการทุบทำลายแม่พิมพ์ออกหมด จนได้รูปประติมากรรมตามต้องการ แต่ยังเป็นรูปที่ไม่สู้เรียบร้อยดีจะ ต้องทำความสะอาดตกแต่งให้ดีงามต่อไป
 
อนึ่ง เนื่องด้วยคนไทยนิยม และ ยินดีกับรูปประติมากรรม โดยเฉพาะพระพุทธปฏิมากรที่มีผิวเกลี้ยงเรียบ อย่างที่ในหมู่ช่างหล่อ เรียกว่า “ผิวตึง” ดังนี้ งานประติมากรรม โลหะหล่อที่จัดเป็นศิลปแบบไทยประเพณี จึงต้องขัดแต่งทำให้ผิวเกลี้ยง และเรียบเสมอกันทั้งรูป หรือ ลงรักปิดทองให้สวยงาม
 
ความมุ่งหมาย
          การหล่อพระ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นอนุสาวรีย์สำหรับกราบไหว้สักการบูชา ยึดเหนี่ยวจิตใจและรำลึกถึงคุณความดี อีกทั้งเป็นการประกาศพุทธานุภาพให้ปรากฏแก่สาธุชนทั่วไป การประกอบพิธีจึงสมควร กระทำให้ถูกต้องเหมาะสมตามขั้นตอน เพื่อก่อให้เกิดศรัทธาประสาทะของพุทธศาสนิกชนอย่างมั่นคง
 
พิธีแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน
          – พิธีบูชาฤกษ์ บวงสรวงสังเวยเทวดา
 
          – พิธีเจริญพระพุทธมนต์
 
          – พิธีเททอง
 
การเตรียมการ
          – จัดโต๊ะเครื่องสังเวยไว้นอกเต็นท์พิธีในที่อันเหมาะสม
 
          – จัดที่จุดธูปเทียนบูชาฤกษ์ไว้ที่โต๊ะเครื่องสังเวย
 
          – จัดโต๊ะหมู่บูชาพร้อมเครื่องสักการะ (เหมือนพิธีทำบุญทั่วไป)
 
          – จัดเตรียมอาสนะ บาตรน้ำมนต์ กำหญ้าคาสลัดน้ำมนต์ พานสายสิญจน์ ตาลปัตร กระโถน พร้อมเครื่องใช้พิธีสงฆ์
 
          – เครื่องไทยธรรม ภัตตาหารปิ่นโต หรือภัตตาหารถวายเพล
 
          – ราชวัติฉัตรธง
 
          – ต้นกล้วย ต้นอ้อย
 
          – สายสิญจน์โยงรอบมณฑลพิธี และโยงจากพระพุทธรูปเข้าหาพระสงฆ์
 
          – โลหะต่าง ๆ เช่น เงิน ทอง นาก สำหรับเทหล่อพระ ธูป เทียน ดอกไม้สด
 
          – เตา อุปกรณ์หล่อพระ (ช่างหล่อจัดเตรียม)
 
การปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ ๑ พิธีบูชาฤกษ์ สังเวยเทวดา
          – ประธานจุดธูปเทียนบูชาฤกษ์หน้าโต๊ะเครื่องสังเวย
 
          – ประธานและผู้ร่วมพิธี จุดธูปปักที่เครื่องสังเวย
 
          – พราหมณ์บูชาฤกษ์ และอ่านโองการ (บวงสรวงสังเวย)
 
ขั้นตอนที่ ๒ พิธีเจิรญพระพุทธมนต์
          – ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
 
          – สมาทานศีล
 
          – พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
 
          – ประธานจุดเทียนน้ำมนต์ (เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงบท “อเสวนา…….”)
 
          – พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ตามลำดับจนจบ
 
ขั้นตอนที่ ๓ พิธีเททองหล่อพระ
          – ประธานและผู้ร่วมพิธีออกจากเต็นท์พิธีสงฆ์ ไปมณฑลพิธีเททอง
 
          – ประธานจุดเครื่องบูชาที่โต๊ะบูชาสี่ทิศ อธิษฐานขออานุภาพบุญกุศล และอำนาจเทวดาบันดาลให้การหล่อพระสำเร็จเรียบร้อยงดงามสวัสดี
 
          – ประธานยืนบนแท่น หย่อนแผ่นทอง เงิน นาก และชิ้นทอง – เงิน ลงบนช้อนคันยาวที่ช่างหล่อยื่นให้ แล้วถือด้ายสายสิญจน์ที่โยงมาเทลงเบ้าหล่อพระ โดยมีผู้ร่วมพิธีถือด้ายสายสิญจน์ด้วย (ขณะที่เททองพระสงฆ์เจริญพระชัยมงคลคาถา)
 
          – พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่หุ่นพระ ช่าง ประธาน และผู้ร่วมพิธี
 
          – ประธานและผู้ร่วมพิธีกลับเข้าเต็นท์พิธีสงฆ์
 
          – ประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม และปิ่นโตภัตตาหาร (ถ้าไม่มีการถวายภัตตาหารเพล)
 
          – พระสงฆ์อนุโมทนา
 
          – ประธานกรวดน้ำ – รับพร
 
          – เสร็จพิธี
 
ปัญหาเรื่องของการใช่เครื่องปรับอากาศนั้นมีอยู่ทุกที่ทั่วไป เพราะว่าบางครั้งเมื่อเราได้ทำการติดตั้งแอร์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วมันอาจจะเกิดปัญหาให้ต้องย้ายแอร์ตามมาภายหลังก็ได้ ซึ่งในการย้ายแอร์นั้นเราสามารถที่จะทำได้เมื่อถึงเวลาที่ต้องการหรือว่าเมื่อถึงเวลาที่ฉุกเฉินและจำเป็นต้องย้ายแอร์จริงๆ
 
เหตุผลของแต่ละคนที่ต้องการจะทำการย้ายแอร์นั้นแตกต่างกัน อย่างเช่น
 
เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วพบว่ามันมีประสิทธิภาพการทำงานที่ไม่ดีเท่าที่ควรจึงต้องการที่จะย้ายแอร์ตำแหน่งใหม่เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น และให้การทำงานของแอร์สะดวกและดียิ่งขึ้น
     
      เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม บางบ้านอยู่ในพื้นที่ต่ำที่ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์น้ำท่วมได้เลย ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือต้องทำการรื้อถอนออก หรือถอดและย้ายแอร์ออกไปที่อื่นก่อน เมื่อโดนน้ำท่วมแล้วอาจจะไม่สามารถกลับมาใช้งานได้และอาจจะเป็นอันตรายต่อคนในบ้านด้วย
ต้องย้ายบ้าน ทำการติดตั้งแอร์เสร็จสิ้น เวลาผ่านไปเพียงไม่กี่ปี ต้องย้ายบ้านไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามทุกคนก็อยากที่จะขนของของตัวเองออกไปให้หมด บางบ้านที่เพิ่งซื้อแอร์มาใหม่ก็ต้องอยากจะย้ายแอร์ไปที่บ้านใหม่ด้วย ซึ่งมันสามารถทำได้
การย้ายแอร์สามารถทำได้อย่างปลอดภัยถ้าเรารู้วิธีการที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุด อุปกรณ์บางอย่างนั้นต้องอาศัยความชำนาญในการรื้อถอนและการเคลื่อนย้าย สำหรับท่านที่พอรู้เรื่องราวเกี่ยวกับแอร์ก็สามารถทำได้เลยทันที แต่ถ้ายังไม่มั่นใจเพื่อความปลอดภัยและถ้าไม่อยากให้แอร์พังไปเสียก่อน ควรจะติดต่อช่างที่เคยติดตั้งหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำหรือว่าเคลื่อนย้ายให้เลยก็คงจะไม่เสียเวลาหรือค่าใช้จ่ายมากนักแลกกับความปลอดภัยและความสบายใจในการย้ายแอร์ด้วย
 
ทำอย่างไรเมื่อจำเป็นต้องย้ายแอร์
     เมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องย้ายบ้าน หรือย้ายที่ทำงาน บางท่านอาจจะต้องหนักใจกับการขนย้ายสิ่งของโดยเฉพาะครอบครัวใหญ่ เพราะข้าวของแต่ละคนไม่ใช่น้อยๆ ถ้าเป็นสิ่งของที่เคลื่อนย้ายง่ายๆก็ไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นสิ่งของหนักๆ หรือสิ่งของประเภทต้องถอดออกอย่างแอร์นี่ก็น่าหนักใจพอดูครับ เพราะอาจเกิดการชำรุดเสียหายได้
 
วันนี้เลยขออนุญาติเขียนวิธีย้ายแอร์ที่ถูกต้องครับ
1. ถ้าหากไม่มีความรู้ห้ามถอดแอร์เองเด็กขาด เพราะอาจเกิดไฟชอต หรือระบบแอร์เสียหายได้
2. ให้เรียกช่างแอร์มาทำการถอดให้ โดยให้ล็อคน้ำยาไว้ในระบบ และใช้เทปพันสายไฟพันปิดรูในระบบแอร์ที่ถูกตัดออก เพื่อกันน้ำหรือสิ่งแปลกปลอมเข้า (ก่อนถอดต้องตรวจสอบสภาพแอร์ก่อนเพื่อเป็นการยืนยันว่าแอร์ไม่มีปัญหา เพราะถ้าติดตั้งไปแล้วแอร์มีปัญหาช่างแอร์จะได้เป็นคนรับผิดชอบครับ)
 
แนะนำว่าช่างคนที่มาถอดกับช่างที่มาติดตั้งแอร์ที่ย้ายไปควรเป็นทีมงานเดียวกัน แต่ถ้าหากระยะทางไกลกันมากก้อาจจะต้องเรียกมาคนละทีมครับ โดยให้ช่างใกล้บ้านมาถอดแอร์ให้ในวันที่ย้ายบ้าน จากนั้นก็ค่อยหาทีมช่างแอร์ติดตั้งให้ทีหลัง
 
Engine by shopup.com