9489077

ขุดบ่อบาดาลพระนครศรีอยุธยา  โทร 090-9218474

หมวดหมู่สินค้า: rtd10 ช่างบาดาล

27 มีนาคม 2565

ผู้ชม 155 ผู้ชม


 
รับเจาะบาดาลพระนครศรีอยุธยา รับสำรวจหาแหล่งน้ำบาดาล ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล 
การขอรับใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล

เจาะบาดาลพระนครศรีอยุธยา
บ่อบาดาลพระนครศรีอยุธยา
การเจาะน้ําบาดาลพระนครศรีอยุธยา
ขุดบ่อบาดาลพระนครศรีอยุธยา
เจาะน้ำบาดาลพระนครศรีอยุธยา
น้ําบาดาลพระนครศรีอยุธยา
เครื่องเจาะน้ําบาดาลพระนครศรีอยุธยา
ขุดบ่อบาดาลราคาพระนครศรีอยุธยา
รับเจาะน้าบาดาลราคาถูกพระนครศรีอยุธยา
การขุดบ่อบาดาลพระนครศรีอยุธยา

                              ติดต่อช่างเจาะบาดาล                   


บริการรับเจาะบาดาลพระนครศรีอยุธยา
ราคาขึ้นอยู่กับ แต่ล่ะพื้นที่ ว่าเป็นหิน หรือทราย แล้วแต่ขนาด และจะใช้รถเจาะแบบไหน
บริการขุดเจาะบาดาลพระนครศรีอยุธยา ทำน้ำประปาใช้ภายในบ้าน  
พระนครศรีอยุธยา รับปรึกษางานระบบประปา ของโครงการบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม โรงแรม รีสอร์ท 
บริการขุดเจาะบาดาลพระนครศรีอยุธยา สำหรับทำการเกษตร นาข้าว พืชผัก ไร่ผลไม้ สวนยางพารา มันสัปหลัง อื่น
พระนครศรีอยุธยา ออกแบบพัฒนาจัดหาแหล่งน้ำให้คุณเพื่ออนาคต 
พระนครศรีอยุธยา รับปรึกษางานระบบประปา ของโครงการ ปศุสัตว์ ฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ และอื่นๆ 
รับสำรวจหาแหล่งน้ำบาดาลพระนครศรีอยุธยา ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ให้คำปรึกษาทุกพื้นที่
ให้คำแนะนำปัญหาจากน้ำบาดาล 
บริการทั้งงานเล็ก งานใหญ่ 


บริการยกบ้านพระนครศรีอยุธยา เลื่อนบ้าน หมุนบ้าน ย้ายบ้าน เปลี่ยนเสา แก้ไขปัญหาบ้าน-อาคาร-โรงงานทรุดเอียง ดีดบ้านปูนโดยใช้แม่แรงไฮโดรลิคไฟฟ้าเข้าทำงาน แก้ไขปัญหาบ้านต่ำ หนีน้ำท่วม ผลงานช่างดีดบ้าน
ยกบ้าน2ชั้นพระนครศรีอยุธยา
ราคาดีดบ้านพระนครศรีอยุธยา
อุปกรณ์ยกบ้านพระนครศรีอยุธยา
ดีดบ้านราคาพระนครศรีอยุธยา
ยกบ้านพระนครศรีอยุธยา
รับดีดบ้านปูนพระนครศรีอยุธยา
ดีดบ้านทรุดพระนครศรีอยุธยา
 


10 ขั้นตอน กว่าจะเป็น “น้ำบาดาล” 
 
1.วิเคราะห์ข้อมูล
 
     - การรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่แล้วในฐานข้อมูล พร้อมทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น เพื่อให้รู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่ สภาพภูมิประเทศ เส้นทางคมนาคม ชึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวาง แผนสำรวจ การจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และยานพาหนะ
 
     - ข้อมูลน้ำบาดาลที่มีอยู่ ทำให้ทราบว่าในพื้นที่นั้นมีบริเวณใดบ้างมีศักยภาพของแหล่งน้ำบาดาลที่ดี มีปัญหาอุปสรรคใดบ้าง เช่น เป็นหินแข็งที่ไม่ค่อยมีรอยแตก ความยาก-ง่ายในการเจาะหาชั้นน้ำ ปริมาณน้ำที่คาดจะนำมาใช้ได้ ความลึกของระดับน้ำ คุณภาพน้ำ
 
     - แผนที่ธรณีวิทยา ทำให้ทราบว่าพื้นที่เป็นหินชนิดใด มีโครงสร้างทางธรณีอย่างไร เพราะหินแต่ละชนิดมีความพรุนและความสามารถในการกักเก็บน้ำบาดาลได้มากน้อยต่างกัน รวมทั้งมีคุณสมบัติในการไหลผ่านของน้ำบาตาลต่างกัน
 
     - แผนที่แหล่งน้ำบาดาล หรือแผนที่อุทกธรณีวิทยา ทำให้ทราบถึงศักยภาพของแหล่งน้ำฯอย่างคร่าวๆ ว่าเป็นอย่างไร ทั้งชนิดชั้นน้ำบาดาล เช่น เป็นชั้นกรวด ทราย หรือชั้นน้ำบาดาลในแข็งที่มีรอยแตก ความลึกของชั้นน้ำ ปริมาณน้ำที่คาดว่าจะสูบขึ้นมาใช้ได้
 
      - ภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม ใช้ประกอบรวมกับแผนที่ธรณีวิทยาและแผนที่อุทกธรณีวิทยา เพื่อใช้วิเคราะห์โครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับการเกิดแหล่งน้ำบาดาล เช่น รอยเลื่อนและระบบรอยแตกของหิน
 
2.สำรวจภาคสนาม
 
     - สำรวจเส้นทางคมนาคมและพื้นที่ที่จะพัฒนา ได้แก่ สภาพหมู่บ้าน ประชากร ฯลฯ
 
     - สำรวจด้านธรณีวิทยา เพื่อให้ทราบชนิดและลักษณะของหิน ทั้งนี้ เพราะหินต่างชนิดจะมีเนื้อหิน ความพรุนที่ต่างกัน ตลอดจนลักษณะของรอยแตก หรือรอยเลื่อน ฯลฯ
 
     - สำรวจด้านอุทกธรณีวิทยา (สภาพแหล่งน้ำบาดาล) ได้แก่ การสำรวจข้อมูลบ่อน้ำตื้น บ่อน้ำบาดาล รวมทั้งแอ่งน้ำธรรมชาติ เช่น หนอง บึง สระ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ฝาย เขื่อน เป็นต้น เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของน้ำผิวดินและน้ำบาดาลในบริเวณนั้น
 
     - สำรวจด้านธรณีฟิสิกส์ เช่น สำรวจวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า สำรวจด้วยคลื่นไหวสะเทือน การวัดค่าสนามแม่เหล็ก แต่วิธีที่นิยมใช้กันเพราะให้ผลแม่นยำสูงคือ การสำรวจวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า ซึ่งผลการสำรวจโดยวิธีนี้นำมาคำนวณเพื่อประเมินลักษณะของชั้นน้ำบาดาลว่าเป็นชั้นน้ำบาดาลในชั้นกรวดทราย หรือในหินชั้นรอยแตก หรือเป็นโพรงในชั้นหิน ตลอดจนสามารถคำนวณความลึก ความหนา ของชั้นน้ำบาดาลและคุณภาพน้ำได้ว่าเป็นน้ำจืด น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม
 
3.คัดเลือกสถานที่
 
    เมื่อผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายแล้วจะสามารถบอกถึงผลการสำรวจได้ คือ ชนิดของชั้นน้ำบาดาล เช่น เป็นชั้นกรวดทราย หรือเป็นหินแข็งที่มีรอยแตก ความลึกของชั้นน้ำบาดาล คุณภาพน้ำ กำหนดประเภทของเครื่องจักรเจาะบ่อที่เหมาะสมกับชั้นน้ำบาดาลได้ ดังนั้น จึงสรุปผลการสำรวจเพื่อกำหนดสถานที่จุดเจาะที่เหมาะสมได้ ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายที่จะใช้
 
4.เจาะบ่อน้ำบาดาล วิเคราะห์ชั้นดิน/หิน
 
     จากข้อมูลในขั้นตอนข้างต้นจะทำให้สามารถคัดเลือกเครื่องจักรเจาะบ่อ ที่เหมาะสมกับชนิดหิน และความลึกของชั้นน้ำบาดาล นอกจากนั้นแล้วต้องเลือกช่างเจาะที่มีความชำนาญสูง เพื่อให้ได้ผลการเจาะที่สมบูรณ์และไม่เกิดการผิดพลาด เช่น เกิดปัญหาก้านเจาะขาด หัวเจาะตกลงไปในบ่อ ฯลฯ ในระหว่างการเจาะจะต้องมีการเก็บตัวอย่างดินและหินที่ได้จากการเจาะเพื่อนำไปใช้ในการอ้างอิง และนำไปสู่การวิเคราะห์ชั้นน้ำบาดาลเพื่อให้ทราบว่าจะมีน้ำบาดาลหรือไม่
 
5.ออกแบบและก่อสร้างบ่อน้ำบาดาล
 
     จากผลการวิเคราะห์ชั้นน้ำบาดาลทำให้สามารถนำมาออกแบบบ่อน้ำบาดาล และก่อสร้างบ่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนป้องกันความผิดพลาดในการระบุชั้นน้ำบาดาลที่ต้องการนำมาใช้ เช่น ช่วงความลึกของท่อกรอง ท่อเซาะร่อง ต้องวางให้ตรงกับชั้นน้ำบาดาลที่คัดเลือกจากการวิเคราะห์ จากนั้นจึงใส่กรวดกรุข้างบ่อ ซึ่งเป็นกรวดที่มีขนาดเหมาะสมลงรอบๆท่อกรอง เพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพในการไหลของน้ำเข้าบ่อ และบริเวณเหนือชั้นกรวด ซึ่งเป็นท่อกรุบ่อนั้นต้องอุดข้างบ่อด้วยดินเหนียวสะอาดหรือฉีดด้วยซีเมนต์รอบๆข้างบ่อจนถึงบนผิวดิน ป้องกันน้ำเสียไหลซึมเข้าบ่อ
 
6.พัฒนาบ่อน้ำบาดาล
 
     ในขณะที่เจาะบ่อนั้นมักจะมีน้ำโคลน คราบน้ำมัน ฯลฯ แทรกตัวเข้าไปในชั้นน้ำบาดาล ดังนั้น จึงต้องทำความสะอาดบ่อบริเวณที่เป็นชั้นน้ำบาดาล ซึ่งมีหลายวิธีแต่วิธีที่นิยมเพราะสะดวกในการทำงานคือใช้เครื่องอัดลมที่มีกำลังสูงเป่าล้างบ่อ เพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างการเจาะ เช่น น้ำโคลน เศษดิน เศษหิน ตลอดจนเม็ดดินเม็ดทรายละเอียดออกจากบ่อ เป็นต้น ทำให้กรวดกรุบ่อซึ่งอยู่รอบๆท่อกรอง หรือท่อเซาะกรองมีการเรียงตัวที่ดี และทำให้น้ำไหลเข้าบ่อได้สะดวกขึ้น
 
7.สูบทดสอบปริมาณน้ำบาดาล
 
      - การสูบน้ำออกจากบ่อน้ำบาดาลด้วยอัตราที่กำหนด พร้อมทั้งวัดระดับน้ำที่เปลี่ยน แปลง และจะใช้เวลาสูบต่อเนื่องกันไป ประมาณ 6-72 ชั่วโมง เพื่อประเมินคุณลักษณะของบ่อน้ำบาดาล ว่าสามารถสูบได้ในปริมาณเท่าใด มีระดับน้ำปกติและระดับน้ำลดเท่า ใด และยังสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปคำนวณหาคุณสมบัติทางชลศาสตร์ของบ่อ และชั้นน้ำบาดาล ในขั้นตอนนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการคัดเลือกชนิดและขนาดแรงม้าของเครื่องสูบน้ำ
 
      - การคำนวณระดับความลึกที่เหมาะสมในการติดตั้งท่อดูดน้ำ กำหนดอัตราการสูบที่เหมาะสมกับบ่อได้ ทำให้เป็นมาตรการที่ดีในการบริหารจัดการพัฒนาแหล่งน้ำในเชิงอนุรักษ์ และมีการกำหนดอัตราการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
 
8.วิเคราะห์คุณภาพน้ำ
 
     ตามปกติแล้วการจะนำน้ำบาดาลมาใช้อุปโภค บริโภค ต้องตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำก่อน ได้แก่ วิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ เคมี แบคทีเรีย ตลอดจนสารพิษ ว่าคุณภาพน้ำที่ได้นั้นเป็นอย่างไร หากมีคุณภาพไม่เหมาะสมก็ต้องติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำไปใช้ ซึ่งสารส่วนเกินที่พบบ่อย คือ สารสะลายเหล็ก แมงกานีส และฟลูออไรด์ เพราะถ้านำมาดื่มกินแล้วตรวจพบว่ามีสารบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ฟลูออโรด์ หรือสารหนู ก็จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยในภายหลังได้ ดังนั้น การส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ก่อนใช้จะทำให้เกิดความมั่นใจ ถือว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่า
 
9.ปรับปรุงคุณภาพน้ำและออกแบบระบบจ่ายน้ำ
 
     การปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาล คือ วิธีการทำให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น โดยลดหรือกำจัดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เช่น สารแขวนลอย ตะกอนต่างๆ เหล็ก ความกระด้าง ฟลูออไรด์ ความเค็ม ไนเทรต ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การต้ม กรอง เติมสารเคมี เติมอากาศ แลกเปลี่ยนไอออน และวิธีการออสโมซิสย้อนกลับ (RO) และหากต้องการทำเป็นระบบประปาบาดาล ต้องนำข้อมูลในขั้นตอนต่างๆข้างต้นมาคำนวณและออกแบบระบบที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงก่อสร้าง ได้แก่ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ก่อสร้างอาคารสถานีสูบน้ำ หอถังสูง ติดตั้งระบบกรองน้ำ ก่อสร้างระบบจ่ายน้ำ และระบบท่อจ่ายน้ำ
 
10.นำไปใช้ประโยชน์
 
     ในการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลขึ้นมาใช้โดยผ่านขั้นตอนต่างๆ ทางวิชาการน้ำบาดาลหลายขั้นตอนอย่างเป็นระบบ จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของบ่อน้ำบาดาล ทั้งปริมาณน้ำ คุณภาพน้ำ และวัตถุประสงค์ของการใช้ ได้แก่ การนำไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อเกษตรกรรม หรือเพื่ออุตสาหกรรม
 
Engine by shopup.com