9449933

ช่างรีโนเวทบ้านอ่างทอง  โทร 093-1418898

หมวดหมู่สินค้า: rtd33 รีโนเวทบ้าน

27 มีนาคม 2565

ผู้ชม 87 ผู้ชม


รีโนเวทบ้านเก่าให้เหมือนใหม่ - ช่างก่อสร้างรับผิดชอบงาน
รับแก้ไข ต่อเติมบ้านเก่า ให้สวยเหมือนใหม่ ตามหลักฮวงจุ้ย ตามงบประมาณลูกค้า
หาช่างรีโนเวทบ้านอ่างทอง
ช่างรีโนเวทบ้านอ่างทอง
ช่างรีโนเวทบ้านไม้อ่างทอง
ออกแบบต่อเติมบ้านอ่างทอง
บริษัทต่อเติมบ้านอ่างทอง
รับซ่อมบ้านเก่าอ่างทอง

     ติดต่อสอบถาม




บริการของเรา
1 บริการช่างรีโนเวทบ้านเก่าให้น่าอยู่ ไอเดียรีโนเวทบ้านอ่างทอง งบน้อย รีโนเวทบ้านเก่าให้น่าอยู่  
2 รับเหมาก่อสร้างอ่างทอง ตกแต่งภายใน ออกแบบ รีโนเวทบ้าน Built-In บ้าน     
รีโนเวทบ้านอ่างทอง ต่อเติม ปรับปรุงบ้าน ตกแต่งภายในบ้าน อพาร์ทเม้นท์ คอนโด Office
4 ตกแต่งภายในอ่างทอง บริการต่อเติมบ้าน หอพัก คอนโด ร้านอาหาร ออกแบบ รีโนเวทบ้าน  
5 อ่างทอง รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ เปลี่ยนโฉมทาวน์เฮาส์เน่าๆ บ้านเก่าให้เป็นบ้านลอฟท์ เรื่อง รีโนเวทบ้านเก่าๆ ให้กลายเป็นบ้านในฝัน รับรองจะต้องอิจฉา ผลงานการรีโนเวทบ้าน


 
บ้านหลังเก่าที่เราอยู่อาศัยมาหลายสิบปี ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ทั้งสภาพบ้านที่ทรุดโทรมลง ประกอบกับความต้องการพื้นที่ใช้สอยที่เปลี่ยนไป หรือแม้แต่บ้านมือสองในเมืองที่หลายคนเลือกอยู่อาศัยแทนการซื้อบ้านหลังใหม่ตามชานเมือง ซึ่งแน่นอนว่าต้องทำการรีโนเวทบ้านหลังเก่าที่ว่าให้ตรงกับความต้องการใหม่ของเรา ทั้งนี้เจ้าของบ้านสามารถอาศัยแนวทางการรีโนเวทบ้าน 6 ขั้นตอนต่อไปนี้ในการเตรียมตัวก่อนลงมือ  ผลงานการรีโนเวทบ้าน
 

รีโนเวทบ้านหรือสร้างใหม่ อะไรคุ้มกว่ากัน
 
เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องขยายตัวบ้านเพื่อรองรับสมาชิกใหม่ หรือปรับปรุงเพื่อนำมาใช้งานด้านต่างๆ ก็มีเหตุให้ต้องพิจารณาเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้ตัดสินใจได้ยากว่าระหว่างรีโนเวทบ้านหรือรื้อสร้างใหม่ อะไรจะคุ้มค่ากว่ากัน
 
มาแจกแจงความคุ้มค่า ดูกันให้ชัดเลยว่าก่อนตัดสินใจเลือกรีโนเวทบ้านหรือรื้อสร้างใหม่ จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอะไรบ้าง
1. วัตถุประสงค์ที่ต้องการนำมาใช้งาน
ขั้นตอนแรกก่อนที่จะเริ่มลงมือ คุณต้องทราบวัตถุประสงค์ที่จะปรับปรุงบ้านเพื่อนำมาใช้งานก่อน เช่น ขยายพื้นที่เพื่อรองรับคนในครอบครัวที่มากขึ้น เปลี่ยนให้มีห้องมากขึ้นเพื่อปล่อยเช่า ดัดแปลงด้านล่างเพื่อเปิดร้านอาหาร ฯลฯ จากนั้นจึงค่อยวางแผนว่า ระหว่างรื้อสร้างใหม่กับรีโนเวทบ้านแบบไหนจะตอบโจทย์กับความต้องการมากกว่ากัน
ยกตัวอย่างเช่น ต้องการปรับเปลี่ยนพื้นที่ชั้นล่างของบ้านเพื่อเปิดเป็นร้านอาหาร คุณอาจไม่ต้องถึงกับรื้อทิ้งสร้างใหม่ทั้งหลัง แต่เพียงรีโนเวทชั้นล่างของบ้านให้มีพื้นที่กว้างพอที่จะวางโต๊ะ และสร้างห้องครัวใหม่ เพื่อให้สามารถเปิดเป็นร้านอาหารได้
 
2. ตรวจสอบโครงสร้างของบ้านในปัจจุบัน
อีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณสามารถตัดสินใจได้วาจะเลือกสร้างใหม่หรือรีโนเวทบ้าน นั่นก็คือ การตรวจสอบโครงสร้างของบ้านในปัจจุบัน หากบริเวณโดยรอบบ้านมีรอยแยกแตกร้าว เริ่มผุพัง หรือคิดว่าตัวบ้านของคุณมีอายุมากเกินที่จะรีโนเวทแล้ว เราจะแนะนำให้คุณเลือกที่จะสร้างใหม่เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย
อย่างไรก็ตาม เพื่อความแน่ใจว่าบ้านของคุณยังมีโครงสร้างแข็งแรงดีอยู่หรือไม่ แนะนำให้ติดต่อวิศวกรที่ชำนาญการมาเป็นผู้ประเมินโครงสร้างให้จะได้ผลลัพท์ที่ถูกต้องที่สุด 
 
3. สำรวจที่ดินและพื้นที่ว่าง
หากสำรวจดูแล้วบริเวณโดยรอบบ้านของคุณยังมีที่ดินและพื้นที่ว่างเหลือพอสำหรับการรีโนเวทบ้านเพิ่มเติม คุณก็สามารถตัดสินใจลงมือได้ไม่ยาก แต่ถ้าหากคุณไม่มีพื้นที่เหลือแล้ว การทุบตัวอาคารออกบางส่วนเพื่อต่อเติมเพิ่ม ก็อาจคุ้มค่ากว่าการรื้อสร้างใหม่
แต่ถ้าการต่อเติมของคุณเป็นรูปแบบแนวตั้งเพื่อเพิ่มจำนวนชั้น และโครงสร้างอาคารของคุณไม่สามารถรับน้ำหนักเพิ่มได้แล้ว การทุบแล้วสร้างใหม่นับว่าเป็นตัวเลือกที่สร้างความปลอดภัยให้คุณได้มากกว่าการรีโนเวทบ้าน แต่ก็อาจแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นกว่าเดิม
 
4. คำนวณงบประมาณที่มี
หัวใจสำคัญของการแปลงโฉมบ้านของคุณนั่นก็คือ งบประมาณ ซึ่งคุณควรคำนวณงบประมาณที่มีให้พร้อมก่อน แล้วจึงตรวจสอบดูว่าเงินก้อนที่คุณมีนั้นเพียงพอต่อความต้องการในด้านไหนมากกว่ากัน 
 
โดยค่าใช้จ่ายที่ต้องคำนึงก่อนเริ่มดำเนินการในส่วนงามต่างๆ มีดังนี้
 
สำหรับรีโนเวทบ้าน
- งานสถาปัตยกรรม และวัสดุตกแต่ง
- งานระบบสาธารณูปโภค ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า (บางส่วน)
- งานโครงสร้าง (บางส่วน)
- งานตกแต่งภายใน (บางส่วน)
 
สำหรับรื้อสร้างใหม่
- งานรื้อถอน
- งานสถาปัตยกรรม และวัสดุตกแต่ง
- งานระบบสาธารณูปโภค ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า (ทั้งหมด)
- งานโครงสร้าง (ทั้งหมด)
- งานตกแต่งภายใน (ทั้งหมด)
- ค่าเช่าที่อยู่อาศัย (กรณีที่คุณไม่มีที่อยู่สำรอง)
 
จะสังเกตได้ว่าสำหรับการรื้อถอนสร้างใหม่จะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าการรีโนเวทบ้าน ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงแค่บางส่วน ดังนั้น คุณจึงต้องประมาณการค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการปรับปรุงบ้านในครั้งนี้ให้ดี 
 
Engine by shopup.com