9460569

รับขุดสระอำเภอนิคมพัฒนา โทร 064-5687901

หมวดหมู่สินค้า: rtd43 ขุดสระถมที่

20 มีนาคม 2565

ผู้ชม 102 ผู้ชม

  
ถมที่ดิน เคลียร์ริ่งพื้นที่; รับเหมาขุดลอกสระ ขุดลอกคลอง บึง ทำบ่อเลี้ยงปลา; รับงานรื้อถอน ทุบตึก อาคาร โครงสร้างขนาดใหญ่ โรงงาน บ้านที่พักอาศัย ฯลฯ
ขุดสระโคกหนองนาอำเภอนิคมพัฒนา
แบคโฮขุดบ่อน้ำอำเภอนิคมพัฒนา
แบคโฮขุดสระเก็บน้ำอำเภอนิคมพัฒนา
ถมดินสร้างบ้านอำเภอนิคมพัฒนา
ขุดบ่อถมที่อำเภอนิคมพัฒนา
รับถมที่อำเภอนิคมพัฒนา
รับถมที่ถมลูกรัง
รับถมที่ดินดาน
รับถมที่หินคลุก
รับการเคลื่อนย้ายดินอำเภอนิคมพัฒนา
 
                                  ติดต่อสอบถาม     


เรามุ่งมั่นจะสร้างพื้นที่เก็บน้ำ แหล่งผลิตอาหารอย่างยั่งยืนโดยให้บริการราคาถูกช่วยกัน รับงานขุดออกแบบ 
โมเดลโคกหนองนา รับขุดบ่อถมที่ ขนย้ายเครื่องจักร ราคาถูก
รับขุดโคกหนองนาอำเภอนิคมพัฒนา
ราคาขุดโคกหนองนาอำเภอนิคมพัฒนา
ราคาขุดโคกหนองนา1ไร่อำเภอนิคมพัฒนา
งบประมาณโคกหนองนาอำเภอนิคมพัฒนา
โคกหนองนา2ไร่ราคาอำเภอนิคมพัฒนา
ราคาขุดสระโคกหนองนาอำเภอนิคมพัฒนา



อำเภอนิคมพัฒนาแบคโฮขุดสระเก็บน้ำ สร้างฝันในจินตนาการสำหรับผืนนาของคุณ 
ในราคาที่จับต้องได้  เราพร้อมให้คำปรึกษาและคำนวนราคา ยังไม่พร้อมจ้างไม่เป็นไรครับ เพราะเรารู้ดีว่า คุณต้องใช้ข้อมูลทั้งหมดเพื่อปรึกษาครอบครัวในการตัดสินใจ
อำเภอนิคมพัฒนาขุดสระน้ำแบบธรรมดารูปทรงสี่เหลี่ยม ราคาถูกที่สุดในอำเภอนิคมพัฒนา
อำเภอนิคมพัฒนาขุดสระขั้นบันไดมีตะพัก หรือ สระฟรีฟอร์มรูปทรงอิสระ ราคาสูงกว่าเล็กน้อย


 
การขุดดินและถมดิน ทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย
 
การขุดดินและถมดินเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่เราคิด ที่ดินซึ่งติดกับบ้านที่เราอาศัยอยู่อาจมีคนเอาดินมาถมปรับระดับเพื่อก่อสร้างหรือขึ้นโครงการจัดสรร หรืออาจขุดดินเพื่อทำชั้นใต้ดินของอาคารหรือเพื่อเอาหน้าดินไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น หรือแม้แต่ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายที่อยากจะขุดดินหรือถมดินในที่ดินของตนเอง ต้องรู้ถึงกฎระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขุดดินและถมดิน โดยกฎหมายหลักคือ พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543
 
พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 บังคับใช้ในท้องที่เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น บริเวณที่มีพระราชกฤษฎีกาให้บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และเขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ซึ่งในปัจจุบันเขตผังเมืองรวมมีการประกาศใช้ทุกจังหวัด ทำให้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดินใช้บังคับในทุกพื้นที่ นอกจากนั้นบางพื้นที่อาจมีกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือกฎหมายอื่นๆ กำหนดบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินบริเวณดังกล่าวไว้ ซึ่งการจะดำเนินการขุดดินหรือถมดินในพื้นที่บริเวณใดควรต้องศึกษาข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้นด้วย
 
การขุดดินและถมดินที่เข้าข่ายต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543
การขุดดินและถมดินลักษณะดังต้องไปนี้จะต้องมีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด และผู้แจ้งจะสามารถดำเนินการขุดดินหรือถมดินได้ต่อเมื่อได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้วเท่านั้น
 
1. การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตารางเมตร (ประมาณ 6 ไร่ 1 งาน) หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ซึ่งเอกสารแจ้งจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับ แผนผังบริเวณที่จะขุดดิน แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง วิธีการขุดและระยะเวลาในการขุดดิน รายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการและด้านความปลอดภัยของผู้ดำเนินการและบุคคลภายนอก การป้องกันการพังทลาย ชื่อผู้ควบคุมงานและสำนักงานของผู้แจ้ง รวมถึงเอกสารอื่นๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด และเมื่อแจ้งแล้วหากได้มีการดำเนินการแจ้งโดยถูกต้องครบถ้วนเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกใบรับแจ้งให้ภายใน 7 วัน
 
ซึ่งแม้ว่าผู้แจ้งจะได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้วก่อนการขุดดิน ก็ไม่เป็นเหตุที่จะคุ้มครองผู้แจ้งจากการขุดดินที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อความเสียหายนั้น
 
แต่อย่างไรก็ตาม การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร ซึ่งไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อจะขุดดินใกล้กับแนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่า 2 เท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรจะทำด้วย
 
2. การถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง ที่มีพื้นที่เกิน 2,000 ตารางเมตร (ประมาณ 1 ไร่ 1 งาน) หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด นอกจากจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
 
และการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง ที่มีพื้นที่ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่น้อยกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด แม้ว่ากฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ผู้ดำเนินการต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่นเช่นกัน
 
นอกจากพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543แล้ว ยังมีกฎหมายที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินอีกฉบับคือ กฎกระทรวงกำหนดมาตราการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ.2548 ซึ่งกำหนดรายละเอียดของการดำเนินการขุดดินและถมดินเพื่อกำหนดมาตราฐานด้านความปลอดภัยและการควบคุมงาน โดยขอยกข้อกำหนดในกฎกระทรวงบางส่วนที่น่าสนใจมาเป็นตัวอย่างดังนี้ (สามารถศึกษาข้อกำหนดเพิ่มเติมได้จากกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว)
 
การขุดดินที่ต้องแจ้งแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องมีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตารางเมตร ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่ น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือ สิ่งปลูกสร้าง โดยการรับรองของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่ 2 เมตร นับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง ต้องมีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่ 2 เมตร นับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง ต้องมีผู้ควบคุมงานซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
 
การถมดินส่วนฐานของเนินดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าความสูงของเนินดินที่จะถมดิน เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือ สิ่งปลูกสร้าง โดยการรับรองจากผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
 
ในระหว่างการขุดดินหรือถมดิน และภายหลังการขุดดินหรือถมดินแล้วเสร็จ ผู้ขุดดินหรือถมดิน เจ้าของที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดิน แล้วแต่กรณี ต้องตรวจสอบเสถียรภาพของบ่อดินหรือเนินดิน และดำเนินการให้มีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากฎหมายเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินมีการกำหนดเรื่องการดำเนินการและมาตราฐานด้านความปลอดภัยไว้อย่างชัดเจน หากผู้ที่อยู่อาศัยติดกับที่ดินที่มีการขุดดินหรือถมดิน และได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดินซึ่งไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน สามารถขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ และตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 ยังบัญญัติว่า ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิด เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งหมายความว่าผู้เสียหายสามารถดำเนินคดีในทางอาญากับผู้กระทำความผิดได้เองด้วย
 
ตัวอย่างโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 เช่น
 
มาตรา 35 วรรคแรก การขุดดินหรือถมดินโดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 36 การขุดดินหรือถมดินที่ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 6 เช่น กฎกระทรวงกำหนดมาตราการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ.2548 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกิน 1,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตาม
 
มาตรา 43 ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัทหรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิด ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนไม่ได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
Engine by shopup.com