ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเขตมีนบุรีโทร.0955266242
หมวดหมู่สินค้า: rtd19 ดูแลผู้สูงวัย
18 มีนาคม 2565
ผู้ชม 121 ผู้ชม
ดูแลผู้สูงอายุ&ผู้ป่วยพักฟื้น อบอุ่น ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเขตมีนบุรีสังคมในปัจจุบันทำให้หลายครอบครัวไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุในบ้าน จึงมีผู้พัฒแคเว็บไซต์ สำหรับค้นหาผู้ดูแลที่เชื่อใจได้ สถานดูแลผู้ป่วยตามบ้านเขตมีนบุรีผู้สูงอายุ โดยพยาบาลวิชาชีพ รับดูแลผู้สูงอายุ ติดเตียง ผู้ป่วยหลังผ่าตัดระยะพักฟื้น กายภาพบำบัด กิจกรรมพัฒแคสมอง
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
ศูนย์ส่งพนักงานดูแลผู้สูงอายุตามบ้านเขตมีนบุรี ดําเนินการโดยผู้บริหารมืออาชีพ ที่เป็นพยาบาลวิชาชีพ และมีประสบการณ์บริหารงานด้านการดูแล ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโดยตรง
บริการดูแลผู้สูงอายุเขตมีนบุรีผู้ป่วย ผู้ป่วยระยะพักฟื้นและเด็กเล็ก ดูแลผู้ป่วย ดูแลคนชรา ดูแลคนแก่ แม่บ้าน พี่เลี้ยงเด็ก ทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล
รับดูแลผู้สูงอายุเขตมีนบุรีเรามีความรู้ด้านพื้นฐาน และภาคปฏิบัติการ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจผู้สูงวัย และผู้ป่วย งานด้านดูแลผู้สูงอายุต้องมีความรู้ความใส่ใจและมีเมตตา เราดูแลเสมือนหนึ่งเป็นญาติมิตร
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเขตมีนบุรี
ดูแลผู้สูงอายุเขตมีนบุรี
สถานดูแลผู้สูงอายุเขตมีนบุรี
รับดูแลผู้สูงอายุเขตมีนบุรี
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ไหนดีเขตมีนบุรี
ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเขตมีนบุรี
หาคนดูแลผู้สูงอายุเขตมีนบุรี
บริการดูแลผู้สูงอายุเขตมีนบุรี
ศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยทั่วไป แบ่งตามองค์ความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 เรื่องใหญ่ ๆ ครับ ได้แก่
1. เวชกรรมไทย คล้าย ๆ กับการดูแลโดยใช้ประเมินแบบธาตุเจ้าเรือน
2. เภสัชกรรมไทย ว่าด้วยการใช้สมุนไพรในการดูแลรักษา แต่ส่วนใหญ่แล้วสมุนไพรที่ใช้ก็จะเป็นเรื่องของตำรับนะครับ
3. การทำหัตถการ ซึ่งก็จะมีหลาย ๆ อย่าง หนึ่งในนั้นที่พวกเราจะคุ้นเคยกันดีก็คือ การนวดแผนไทย ซึ่งการนวดแผนไทยก็จะมีได้ในหลายรูปแบบ เช่น การนวดแบบเชลยศักดิ์ การนวดแบบราชสำนัก อื่น ๆ ก็จะมี อย่างเช่น การอบสมุนไพร การประคบตัว นวดตัว เป็นต้น
สุดท้าย 4. ผดุงครรภ์ เรื่องของการดูแลหญิงก่อนคลอดหรือหลังคลอด อย่างที่เราอาจได้ยินกัน เช่น การทับหม้อเกลือ การอยู่ไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ ศาสตร์การแพทย์แผนไทยยังมีการดูแลในลักษณะที่เป็นการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น ธรรมานามัย ซึ่งประกอบด้วย กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย และการทำฤาษีดัดตน ซึ่งจะได้ประโยชน์มากในกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งเราทราบกันดีว่าเริ่มมีอายุมากขึ้น ปัญหาของเรื่องระบบกล้ามเนื้อและกระดูกจะมีการติดขัด การทำฤาษีดัดตนจะสามารถช่วยบรรเทาอาการนี้ได้ครับ
เป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาหลายเรื่อง ถ้าในเรื่องของร่างกายที่พบบ่อยจะเป็นเรื่องของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก หนึ่งในศาสตร์แพทย์แผนไทยที่เข้าไปช่วยได้ คือ การนวด เช่น มีอาการเจ็บปวดทางร่างกาย หรือถ้ายังไม่เจ็บปวดแต่มีอาการเมื่อยก็สามารถใช้ฤาษีดัดตนเพื่อเป็นการทำให้ร่างกายมีการยืดหยุ่นตลอดเวลา ถือว่าเป็นการใช้ศาสตร์แพทย์แผนไทยในการสร้างเสริมสุขภาพและเป็นการป้องกันการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุได้
อีกด้านหนึ่งของศาสตร์การแพทย์แผนไทย คือ อาหารกับสุขภาพ ซึ่งในผู้สูงอายุพบว่ามีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารบางชนิดไม่ได้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับธาตุของผู้สุงอายุคนนั้นด้วย ซึ่งตามศาสตร์แพทย์แผนไทยจะมีธาตุแตกต่างกันไปแต่ละคน เพราะฉะนั้นอยากให้ผู้สูงอายุที่อยากจะเรียนรู้เรื่องรับประทานอาหารกับสุขภาพปรึกษาแพทย์แผนไทยก่อนได้
ในวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีสภาพร่างกายที่ถดถอยเนื่องจากอวัยวะภายในร่างกายลดประสิทธิภาพการทำงานไปตามอายุที่มากขึ้นและไม่สามารถซ่อมแซ่มกลับคืนสู่สภาพปกติได้ ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคต่างๆตามมาได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคข้อเสื่อม ภาวะกระดูกพรุน หรือมีอาการหลงลืม ความจำเสื่อม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และจิตใจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ การเปลี่ยนแปลงสถานะทางสังคม การเปลี่ยนแปลงสังคมสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุปรับสภาพจิตใจไม่ทัน มีภาวะเครียด ซึมเศร้า และรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า เป็นภาระของครอบครัวและสังคม การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับตัวผู้สูงอายุเองและสมาชิกในครอบครัว ซึ่งการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุนั้นต้องเป็นการดูแลครบทุกด้านทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ จิตวิญญาณ และสิ่งแวดล้อม โดยศาสตร์การแพทย์แผนไทยที่เป็นศาสตร์ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างครอบคลุมภายใต้หลักธรรมานามัยที่เป็นการนำหลักธรรมพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางดูแลสุขภาพให้ใกล้ชิดธรรมชาติประกอบด้วย หลักกายานามัย เป็นการดูแลสุขภาพทางกายของผู้สูงอายุประกอบด้วยการใช้สมุนไพรเป็นอาหารและยา และการบริหารร่างกายด้วยฤาษีดัดตนและการนวดตัวเอง หลักจิตตานามัย เป็นการดูแลสุขภาพจิตและอารมณ์โดยการฝึกปฏิบัติสมาธิโดยการสวดมนต์ การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม และการเตรียมตัวตายอย่างมีสติ สุดท้ายหลักชีวิตานามัยเป็นการดำเนินชีวิตทางสายกลาง ดังนั้นศาสตร์การแพทย์แผนไทยจึงดูแลสุขภาพของผู้สุขภาพได้อย่างครอบคลุม ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขแพทย์แผนไทยแนะนำ เมนูอาหารสมุนไพร ช่วยดูแลสุขภาพผู้สูงวัย ห่างไกลโรคก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แพทย์แผนไทยแนะนำ เมนูอาหารสมุนไพร ช่วยดูแลสุขภาพผู้สูงวัย ห่างไกลโรคก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำเมนูอาหารพืชผักสมุนไพร ซึ่งเหมาะกับผู้สูงวัย เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง และห่างไกลโรค รองรับประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Completed Aged Society)
นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุหรือมีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป สูงถึงร้อยละ 15.6 ของประชากรทั้งประเทศ และในปี พ.ศ. 2563 นี้ ประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Completed Aged Society) เนื่องจากมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ สำหรับปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัญหาการนอนไม่หลับ ปัญหาด้านการมองเห็น ปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย และปัญหาเกี่ยวกับความแข็งแรงของกระดูกและฟัน เป็นต้น
นพ.ปราโมทย์ กล่าวต่อไปว่า กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ขานรับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ในการให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อส่งเสริมและป้องกันโรคในผู้สูงอายุ โดยให้นำผักพื้นบ้าน สมุนไพรใกล้ตัวมาปรุงเป็นอาหาร เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อย่างเช่น
- ปัญหาการนอนไม่หลับ ให้ใช้พืชผักสมุนไพรที่มีรสขม หรือมีฤทธิ์เย็นมาปรุงเป็นอาหาร โดยเฉพาะอาหารมื้อเย็น เช่น ขี้เหล็ก สะเดา มะระขี้นก มะระจีน ผักเชียงดา ใบบัวบก เนื่องจากสมุนไพรรสขม จะช่วยระบายความร้อนภายในร่างกาย ช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล และช่วยนอนหลับได้สนิท
- ปัญหาด้านการมองเห็น ให้ใช้พืชผักสมุนไพรที่หลากสีมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักบุ้ง ตำลึง ฟักทอง มะละกอสุก มะเขือเทศ ยอดฟักข้าว เนื่องจากพืชผักสมุนไพรที่หลากสี มีสารต้านอนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงดวงตา ชะลอความเสื่อมของดวงตาได้
- ปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ให้เน้นการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรรสเผ็ดร้อน เช่น ขิง กระชาย ตะไคร้ พริกไทย กะเพรา โหระพา ขมิ้น ข่า เนื่องจากสมุนไพรรสเผ็ดร้อน มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งช่วยในการขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อย กระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด
- ปัญหาเกี่ยวกับความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ให้เน้นการรับประทานพืชผักหรือสมุนไพรที่มีแร่ธาตุแคลเซียมสูง เช่น ปลาเล็กปลาน้อย ใบชะพลู งาดำ ใบยอ ยอดแคบ้าน ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง การรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุแคลเซียมสูงควบคู่ไปกับการรับวิตามินดีจากธรรมชาติ โดยการออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อรับแสงแดดในตอนเช้าหรือตอนเย็น เนื่องจากวิตามินดีจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมไปใช้ในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
สำหรับประชาชนท่านใด ต้องการสอบถามข้อมูลการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย สามารถติดต่อได้ที่ สถานบริการสาธารณสุขของรัฐที่เปิดให้บริการคลินิกการแพทย์แผนไทยทั่วประเทศ หรือ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ช่องทางต่าง ๆ ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งการนวดในคนอายุเกิน 60 ปีนั้น จะได้รับประโยชน์มากกว่าคนกลุ่มอายุอื่น เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมักจะมีอาการปวดที่พบบ่อย เช่น การปวดข้อต่อ การปวดที่มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อย เมื่อยล้า มักจะบอกตำแหน่งปวดไม่ค่อยชัดเจน การปวดเมื่อยที่มีสาเหตุจากเส้นเอ็น การปวดเมื่อยที่มีสาเหตุจากเส้นประสาทถูกกดทับ การปวดเมื่อยจากเส้นเลือดขอดบริเวณขา และมีปัญหาที่กล้ามเนื้อมากกว่ากลุ่มคนอายุอื่น จึงควรได้รับการนวดเพื่อผ่อนคลายร่างกาย ช่วยเสริมสร้างสุขภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ความรู้สึกสนองตอบต่อสิ่งแวดล้อมดี และอารมณ์จิตใจที่สดชื่นเบิกบานนั่นเองค่ะการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุไม่มีมากเหมือนคนวัยเยาว์กว่า จึงทำให้การหมุนเวียนของโลหิตลดลง การส่งอาหารไปเลี้ยงเซลล์และการขจัดพิษออกจากเซลล์ก็ช้าลงไปด้วย การนวดจึงเป็นการหล่อเลี้ยงและขจัดพิษให้กับเซลล์ต่างๆ และยังกระตุ้นระบบน้ำเหลือง ช่วยสร้างความอ่อนนุ่มให้เนื้อเยื่อ ส่งผลให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายได้อีกด้วย
วิธีการนวดสำหรับผู้สูงอายุ จะไม่ต่างจากการนวดในผู้เยาว์กว่าเท่าไรนัก แต่จะใช้การกด บีบ ลูบไล้ ทุบ เคาะ แบบเบาๆ ไม่ลงน้ำหนักมาก และการนวดที่เหมาะสมคือการนวดไทย หรือนวดแผนไทย ที่เป็นที่รู้จักและเป็นการนวดผ่อนคลายที่นิยมกันในทุกเพศทุกวัยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั่นเองค่ะ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การนวดแผนไทยแม้ว่าจะเป็นการนวดผ่อนคลาย คลายความเมื่อยล้าได้ แต่ก็มีข้อจำกัดสำหรับผู้ที่เข้ารับการนวดอยู่เหมือนกันค่ะ ผู้ที่มีโรคประจำตัวต่อไปนี้ควรงด หรือระมัดระวังให้มากในการนวดมากกว่าผู้อื่น ได้แก่
โรคความดันโลหิต
โรคหัวใจ
โรคกระดูกพรุน
โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โดยเฉพาะไขสันหลัง
โรคข้อต่อหลวม
โรคหลอดเลือด หรือน้ำเหลืองอุดตัน
โรคเบาหวาน
เพราะการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตจากการนวด หรือการยืดดัดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นนั้น อาจทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บได้ แต่ไม่ใช่ว่าผู้เป็นโรคเหล่านี้ไม่สามารถนวดแผนไทยได้นะคะ ก่อนนวดควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวว่าสามารถนวดแผนไทย แบบกดจุด ยืดเส้นได้หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการฟกช้ำ ระบบหมุนเวียนเลือดแปรปรวนหรือกระดูกหักได้ค่ะแต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การนวดแผนไทยแม้ว่าจะเป็นการนวดผ่อนคลาย คลายความเมื่อยล้าได้ แต่ก็มีข้อจำกัดสำหรับผู้ที่เข้ารับการนวดอยู่เหมือนกันค่ะ ผู้ที่มีโรคประจำตัวต่อไปนี้ควรงด หรือระมัดระวังให้มากในการนวดมากกว่าผู้อื่น ได้แก่
โรคความดันโลหิต
โรคหัวใจ
โรคกระดูกพรุน
โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โดยเฉพาะไขสันหลัง
โรคข้อต่อหลวม
โรคหลอดเลือด หรือน้ำเหลืองอุดตัน
โรคเบาหวาน
เพราะการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตจากการนวด หรือการยืดดัดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นนั้น อาจทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บได้ แต่ไม่ใช่ว่าผู้เป็นโรคเหล่านี้ไม่สามารถนวดแผนไทยได้นะคะ ก่อนนวดควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวว่าสามารถนวดแผนไทย แบบกดจุด ยืดเส้นได้หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการฟกช้ำ ระบบหมุนเวียนเลือดแปรปรวนหรือกระดูกหักได้ค่ะ9.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
9.1.1 ความหมายของการนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
– การนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ หมายถึง การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ความเมื่อยล้า ความเครียด โดยวิธีการกด คลึง บีบ จับ ดัด ดึง หรือโดยวิธีการอื่นใดตามศาสตร์และศิลป์ของการนวดไทย
9.1.2 ความสำคัญของการนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
– ประโยชน์ของการนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ
o ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตสะดวกขึ้น
o ช่วยทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพดีขึ้น
o สามารถขจัดของเสียในกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นดีขึ้น
o ทำให้รู้สึกผ่อนคลายสบายกาย สบายใจ ลดความเครียด
o ทำให้รู้สึกสดชื่น แจ่มใส กระฉับกระเฉงขึ้น
9.2 การนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพบุคคลในแต่ละวัย
9.2.1 การนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพทารกและเด็กเล็ก
– การนวดเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลทารก ซึ่งนอกจากจะขจัดความไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวแล้ว ยังช่วยให้เกิดความอบอุ่นทางด้านจิตใจอีกด้วย
– ความต้องการพื้นฐานของทารก คือ ความต้องการความอบอุ่นและต้องการอาหาร ทารกไม่สามารถจะถ่ายทอดความต้องการเป็นภาษาพูดได้ จึงได้แต่ร้องไห้เมื่อมีความต้องการ ควรต้องสังเกตดูสาเหตุที่ทารกร้อง
– วิธีการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพทารกและเด็กเล็ก
o วิธีการนวดที่เหมาะสม ได้แก่ การลูบไล้ บีบ เคล้น คลึง กดนวด เวลาที่เหมาะในการนวด คือ หลังจากการดื่มนมสักครึ่งชั่วโมง
o ขั้นตอนการนวด เนื่องจากผิวของทารกยังบอบบางและอ่อนนุ่ม ฉะนั้นก่อนนวดควรใช้น้ำมันหรือครีมทาผิว ทาลูบไล้ให้ทั่ว ยกเว้นใบหน้า แล้วจึงเริ่มต้นการนวด โดยเริ่มต้นตั้งแต่ใบหน้า หน้าอก แขน มือ ท้องและขาตามลำดับ
o ประโยชน์ของการนวด คือ ช่วยบรรเทาความไม่สบายทางร่างกาย ช่วยให้ทารกมีกล้ามเนื้อแข็งแรงและเคลื่อนไหวได้ดี กระตุ้นพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ สร้างสายสัมพันธ์ที่อบอุ่นแน่นแฟ้นระหว่าง พ่อ แม่ ลูก
o ข้อควรระวัง คือ อย่าลงน้ำหนักนวดที่หนักหรือบีบแรงเกินไป ขณะที่นวดในท่านอนคว่ำต้องคอยประคองหรือจับทารกไว้ ไม่ควรใช้น้ำมันหรือครีมทาหน้าทารก ก่อนนวดควรล้างมือให้สะอาด ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังไม่ควรนวดเด็ก อย่าอาบน้ำเด็กทันทีหลังจากนวดเสร็จใหม่ ๆ
9.2.2 การนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กโตและผู้ใหญ่
– อาการที่พบบ่อยในเด็กโตและผู้ใหญ่ คือ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรืออาการอ่อนล้าหลังจากทำงาน ออกกำลังกายหรือการเล่น และอาการปวดศีรษะ เนื่องจากความเครียดจากการทำงานหรือการเรียนหนังสือ
– วิธีการนวดสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ มีหลายวิธี ได้แก่ การกด บีบ คลึง ถู กลิ้ง ตบ ทุบหรือสับ หมุน บิด ยืดดัด ลั่นข้อต่อ
– ประโยชน์ของการนวด คือ ทำให้เกิดการยืดคลายหรือลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้หลอดเลือดขยายตัวและการไหลเวียนดีขึ้น กระตุ้นระบบประสาทและความรู้สึกตอบสนอง ทำให้ข้อต่อกระดูกชุ่มชื้นและพังผืดรอบข้อต่ออ่อนคลาย ทำให้อวัยวะอื่น ๆ ทำงานดีขึ้น ผ่อนคลายความเครียดและรู้สึกอบอุ่น
– ข้อควรระวังในการนวด ควรใช้น้ำหนักนวดให้เหมาะสมในแต่ละเพศ วัย และตามแต่โครงสร้างร่างกายโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ไม่ทำการนวดจนเกิดอันตรายต่อผู้ถูกนวด
9.2.3 การนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
– การนวดผู้สูงอายุ เป็นการช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ความรู้สึกสนองตอบต่อสิ่งแวดล้อมดี อารมณ์จิตใจสดชื่นเบิกบาน
– อาการปวดที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ คือ การปวดข้อต่อ การปวดที่มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อย เมื่อยล้า มักจะบอกตำแหน่งปวดไม่ค่อยชัดเจน การปวดเมื่อยที่มีสาเหตุจากเส้นเอ็น การปวดเมื่อยที่มีสาเหตุจากเส้นประสาทถูกกดทับ การปวดเมื่อยจากเส้นเลือดขอดบริเวณขา
– วิธีการนวดสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ การกด บีบ ลูบไล้ ทุบ เคาะ เบา ๆ
– ประโยชน์ของการนวด คือ ทำให้เลือดไหลเวียนดีและช่วยกระตุ้นประสาท ลดความหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อยล้า ทำให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น ผิวหนังแข็งแรงและอ่อนนุ่ม มีน้ำมีนวล ลดความเครียดให้ผ่อนคลายสบายใจ ช่วยไม่ให้มีอาการซึมเศร้าหรืออาการเปล่าเปลี่ยว
– ข้อควรระวัง ผู้สูงอายุที่มีโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ถ้าอยู่ในภาวะอันตรายไม่ควรนวด ผู้สูงอายุที่มีอาการข้ออักเสบบวมแดงไม่ควรนวด ผู้สูงอายุที่มีโรคติดต่อหรือโรคผิวหนังร้ายแรง ไม่ควรทำการนวด ผู้สูงอายุที่กระดูกพรุนหรือกระดูกบางควรนวดเบา ๆ ก่อนนวดควรเช็คถามอาการที่มานวด หลีกเลี่ยงท่านวดเป็นการนวดลึกและหนัก ควรนวดหลังรับประทานอาหารสัก 2-3 ชั่วโมง
9.3 การนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงมีครรภ์และผู้ป่วย
9.3.1 การนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงมีครรภ์
– การนวดให้หญิงมีครรภ์ เป็นการช่วยส่งเสริมสุขภาพทางร่างกายและจิตใจของมารดา ช่วยบรรเทาความรู้สึกไม่สบายใจระหว่างการตั้งครรภ์
– อาการผิดปกติที่พบบ่อยในหญิงมีครรภ์ คือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด ปวดศีรษะ ท้องผูก จุกเสียดแน่น อาการเท้าบวม ปวดเอว ปวดหลัง อารมณ์ตึงเครียดจากการที่ต้องระมัดระวังตลอดเวลา
– วิธีการนวดสำหรับหญิงมีครรภ์ ได้แก่ การบีบ กด คลึง ลูบไล้
– ประโยชน์ของการนวด คือ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น บรรเทาอาการปวดเมื่อย มีความมั่นใจในขณะคลอด
– ข้อควรระวัง การจัดท่าทางในการนวดก่อนคลอด ต้องให้นวดในท่าตะแคงหรือนั่ง น้ำหนักการกดนวด พิจารณาดูให้เหมาะสม การกดนวดต้องมีจังหวะช้า ๆ ระมัดระวัง การนวดหลังคลอด ระมัดระวังการเคลื่อนไหวของมารดา
9.3.2 การนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมผู้ป่วย
– การนวดสำหรับผู้ป่วย ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ดีขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังกายกำลังใจที่จะต่อสู้หรือยู่ร่วมกับโรคต่าง ๆ ได้
– อาการผิดปกติที่พบบ่อยในผู้ป่วย คือ ปวดที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนล้า ไม่มีกำลัง มีความเครียดและมีความวิตกกังวลกับโรคที่เป็นอยู่
– วิธีการนวดสำหรับผู้ป่วย ได้แก่ การบีบ คลึง
– ประโยชน์ของการนวด คือ ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นและช่วยกระตุ้นระบบประสาท ลดความหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อยอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ ทำให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น ลดความเครียด
– ข้อควรระวัง ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ในภาวะอันตรายห้ามนวด ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกหรืออุบัติเหตุทำให้กระดูกแตกหัก ควรนวดสัมผัสเบา ๆ ผู้ป่วยที่มีบาดแผลหรืออักเสบของอวัยวะ ไม่ควรนวด ผู้ป่วยที่มีโรคติดต่อหรือโรคผิวหนังร้ายแรง ไม่ควรนวด