ข้อดีของการยกพื้นบ้าน
1. ทำให้บ้านดูสูงโปร่ง
2. การพัดของลมที่จะนำฝุ่นเข้าบ้านน้อยลง
3. สามารถซ่อนท่อระบบต่างๆ ไม่ให้เห็นด้วยตา
4. สามารถวางท่อกำจัดปลวกได้
5. ลดความชื้นจากดินได้
6. ช่วยไม่ให้บ้านโดนน้ำท่วมถึงได้
7. ช่วยป้องกันสัตว์เข้าบ้านได้
8. ช่วยให้รับลมธรรมชาติได้ดีขึ้น
ข้อเสียของการยกพื้น
1. มีค่าใช้จ่ายสูง
2. ไม่เหมาะกับคนสูงอายุ และผู้พิการ เพราะจะทำให้การขึ้น-ลง ไม่สะดวก
ดังนั้น เมื่อนำมาเทียบกับทั้งข้อดี และข้อเสียแล้ว การยกพื้นสูงคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก
เพราะให้ทั้งความสวยงาม และมีประโยชน์อย่างมากเพิ่มความแข็งแรงให้บ้านได้ด้วย
สำหรับใครที่กลัวจะใช้งานไม่สะดวก ก็มีวิธีแก้โดยการทำทางลาดขึ้นไป เพื่อใช้ในการเข็นรถเข็นเข้าบ้าน
จึงไม่แปลกใจ ที่สถาปนิกจะเลือกออกแบบให้มีการยกพื้นบ้านสูงขึ้นมา
7 ข้อควรระวังก่อนดีดบ้าน
ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจ้างผู้รับเหมา เจ้าของบ้านควรศึกษาวิธีการและข้อควรระวังในการดีดบ้านให้เข้าใจเสียก่อน เพื่อที่จะสามารถตรวจเช็คการทำงานของช่างผู้รับเหมาเพื่อให้บ้านเกิดความปลอดภัยมากที่สุด โดยข้อควรระวังก่อนดีดบ้านมีทั้งหมด 7 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาและตรวจสอบสภาพบ้านให้ดี
ขั้นตอนแรกและเรียกได้ว่าเป็นหัวใจหลักของการดีดบ้านคือการประเมินโครงสร้างของบ้าน ว่าสามารถยกระดับได้มากน้อยแค่ไหน มีจุดผุกร่อนส่วนไหนของบ้านบ้างหรือไม่
2. วางแผนงบประมาณและประเมินราคาดีดบ้าน
บางครั้งเจ้าของบ้านมักคิดว่าการซ่อมจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายพอ ๆ กับการรื้อสร้างใหม่ ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป สำหรับการดีดบ้านโดยส่วนใหญ่ เจ้าของบ้านจะต้องเตรียมเงินไว้อย่างน้อยราวๆ 1 แสนบาทเป็นอย่างต่ำเพราะความผันผวนของราคาจะขึ้นอยู่กับสภาพความยากง่ายของการดีดบ้านแต่ละหลังนั่นเอง
3. ควรขออนุญาตดำเนินการให้ถูกต้อง
ตามกฎหมายแล้วการดีดบ้านถือเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของอาคาร จึงเป็นเหตุผลที่เจ้าของบ้านควรขออนุญาตตามขั้นตอนการดัดแปลงอาคารในเขตที่อยู่อาศัยให้เรียบร้อย เพราะในระหว่างดำเนินการอาจจะสร้างการรบกวนหรือเกิดความเสียหายให้กับผู้อยู่ใกล้เคียงได้ ซึ่งผู้ที่ต้องรับผิดชอบคือวิศวกรและผู้คุมงานทั้งหมด
4. คำนึงถึงความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก
หลายครั้งที่การก่อสร้างหรือซ่อมแซมบ้าน อาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะเป็นอันตรายที่เกิดกับช่างก่อสร้างเอง หรือในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดก็อาจจะเป็นการถล่มลงมาทั้งหลัง ดังนั้นควรใช้บริษัทที่มีวิศวกรควบคุมงาน และมีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานในการดีดบ้านมากที่สุด
5. การดีดบ้านอาจทำให้โครงสร้างบ้านเปลี่ยนไป
การดีดบ้านเป็นการยกระดับบ้านให้สูงขึ้น ดังนั้นเจ้าของบ้านจะต้องเตรียมใจ และทำความเข้าใจไว้แล้วว่าโครงสร้างบ้านจะไม่เหมือนเดิม โดยอาจจะต้องมีการเพิ่มบันไดเข้าไป
6. วิศวกรต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
การเลือกวิศวกรมาวางแผนโครงสร้างและประเมินการซ่อมแซมเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะหากการวางแผนผิดพลาด บ้านทั้งหลังอาจจะเสียหาย และเจ้าของบ้านอาจจะต้องเสียเงินเพื่อการซ่อมแซมใหม่อีกครั้ง
7. ตั้งรับปัญหาที่เกิดขึ้นหลังการดีดบ้าน
เนื่องจากตัวบ้านจะถูกยกระดับให้สูงขึ้น จึงต้องมีการเพิ่มบันไดเข้าไปให้เหมาะสมต่อการใช้งานของผู้อยู่อาศัย ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับบ้านที่มีผู้สูงอายุ และในขณะที่ช่างทำการดีดบ้าน ต้องทำการตัดน้ำและไฟก่อน ดังนั้น หลังจากซ่อมแซมเสร็จแล้วจะต้องมีการเดินสายใหม่ทั้งหมดซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่ละเอียดอ่อน และต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดปัญหาได้ในภายหลัง
หลังจากได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นว่าการดีดบ้านคืออะไร หลักการทำงานเป็นอย่างไร และมีข้อควรระวังอะไรเป็นพิเศษบ้าง ผู้อ่านน่าจะเห็นภาพมากขึ้นว่าการดีดบ้านเป็นกระบวนการซ่อมแซมบ้านที่ค่อนข้างสร้างผลกระทบ อีกทั้งยังละเอียดอ่อนมาก เพราะต้องวางแผนโครงสร้างบ้านใหม่ทั้งหลัง ผู้รับเหมา ช่าง และวิศวกรต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความละเอียดรอบคอบเป็นอย่างมาก รวมถึงการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ต้องได้มาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน