9380053

บ้านยกสูงอำเภอดอนตูมโทร 098-2459860

หมวดหมู่สินค้า: rtd17 ยกบ้านดีดบ้าน

18 มีนาคม 2565

ผู้ชม 125 ผู้ชม


บริการช่างดีดบ้าน รับดีดบ้าน ยกบ้าน บ้านไม้ บ้านปูน เลื่อนบ้านตามหลักฮวงจุ้ย
แก้ไขบ้านทรุดเอียง บ้านไม้บ้านปูนอาคาร โดยทีมช่างมืออาชีพ ปัญหาบ้านต่ำ เสาคานชำรุด ผลงานช่างดีดบ้าน
ดีดบ้านไม้อำเภอดอนตูม
ดีดบ้านอำเภอดอนตูม
ดีดบ้านปูนอำเภอดอนตูม
รับยกบ้านอำเภอดอนตูม
ดีดบ้านราคาอำเภอดอนตูม
รับยกบ้านอำเภอดอนตูม
ราคาดีดบ้านอำเภอดอนตูม
การดีดบ้านอำเภอดอนตูม
รับสร้างบ้านอำเภอดอนตูม
ยกบ้านไม้อำเภอดอนตูม

                                  ติดต่อสอบถาม


การดีดบ้าน ยกบ้านอำเภอดอนตูมเลื่อนบ้าน เป็นงานช่างอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ในการปรับปรุงบ้าน ซ่อมบ้าน หรือแก้ปัญหาบ้านเช่น บ้านทรุด เปลี่ยนเสา เปลี่ยนคาน หรือแม้แต่การแก้ปัญหาน้ำท่วมบ้าน
ที่เกิดจากพื้นบ้านต่ำกว่าบริเวณรอบบ้าน ดีดบ้านอำเภอดอนตูมนั้นจะทำด้วยการยกบ้านทั้งหลังขึ้นโดยใช้รอกยก ด้วยจำนวนรอกที่ใช้ยกนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนเสาบ้าน โครงสร้างบ้าน และ น้ำหนักบ้าน
โดยทั่วไปและจะใช้รอกประจำเสาทุกต้น  การดีดบ้านอำเภอดอนตูมจะใช้แรงงานคนต่อการดีดบ้านหนึ่งหลังขึ้นอยู่กับขแคดของบ้านที่จะทำการดีด  แปรผันตรงกับจำนวนเสาบ้าน เพราะเมื่อบ้านมี
เสามากก็ใช้รอกมากตัว และแรงงานมากตามไปด้วยทำให้ค่ารับเหมาดีดบ้านก็มากขึ้น แต่ไม่เกินกว่าที่เจ้าของบ้านพอใจ  บริการรับงานทั่วไทย ดูหน้างานฟรีๆทั่วไทย  
ผลงานช่างดีดบ้าน


ดีดบ้านอำเภอดอนตูมยกบ้าน ผลงานช่างดีดบ้าน
ดีดบ้านปูน ยกบ้านปูน เคลื่อนย้ายที่ต้้ง หมุนหาทิศฮวงจุ้ย ราคากันเอง

รับดีดบ้านอำเภอดอนตูมรับยกบ้านต่ำทำให้สูง หมุนบ้านทั้งหลังให้ได้ทางทิศทางที่ท่านต้องการ
โดยรับงานทั้ง บ้านปูน บ้านไม้ บ้านชั้นเดียว ตึกอาคาร ศาลาวัด เมรุ ซุ้มประตูวัด อาคารโรงเรียน โดยทีมงานที่ชำแคญงาน ในสายงานที่มากกว่า 20 ปี บริการรับงานทั่วไทย ดูหน้างานฟรีๆทั่วไทย


7 ข้อควรระวังก่อนดีดบ้าน

ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจ้างผู้รับเหมา เจ้าของบ้านควรศึกษาวิธีการและข้อควรระวังในการดีดบ้านให้เข้าใจเสียก่อน เพื่อที่จะสามารถตรวจเช็คการทำงานของช่างผู้รับเหมาเพื่อให้บ้านเกิดความปลอดภัยมากที่สุด โดยข้อควรระวังก่อนดีดบ้านมีทั้งหมด 7 ข้อ ดังต่อไปนี้
 
1. ศึกษาและตรวจสอบสภาพบ้านให้ดี
ขั้นตอนแรกและเรียกได้ว่าเป็นหัวใจหลักของการดีดบ้านคือการประเมินโครงสร้างของบ้าน ว่าสามารถยกระดับได้มากน้อยแค่ไหน มีจุดผุกร่อนส่วนไหนของบ้านบ้างหรือไม่
 
2. วางแผนงบประมาณและประเมินราคาดีดบ้าน
บางครั้งเจ้าของบ้านมักคิดว่าการซ่อมจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายพอ ๆ กับการรื้อสร้างใหม่ ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป สำหรับการดีดบ้านโดยส่วนใหญ่ เจ้าของบ้านจะต้องเตรียมเงินไว้อย่างน้อยราวๆ 1 แสนบาทเป็นอย่างต่ำเพราะความผันผวนของราคาจะขึ้นอยู่กับสภาพความยากง่ายของการดีดบ้านแต่ละหลังนั่นเอง
 
3. ควรขออนุญาตดำเนินการให้ถูกต้อง
ตามกฎหมายแล้วการดีดบ้านถือเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของอาคาร จึงเป็นเหตุผลที่เจ้าของบ้านควรขออนุญาตตามขั้นตอนการดัดแปลงอาคารในเขตที่อยู่อาศัยให้เรียบร้อย เพราะในระหว่างดำเนินการอาจจะสร้างการรบกวนหรือเกิดความเสียหายให้กับผู้อยู่ใกล้เคียงได้ ซึ่งผู้ที่ต้องรับผิดชอบคือวิศวกรและผู้คุมงานทั้งหมด
 
4. คำนึงถึงความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก
หลายครั้งที่การก่อสร้างหรือซ่อมแซมบ้าน อาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะเป็นอันตรายที่เกิดกับช่างก่อสร้างเอง หรือในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดก็อาจจะเป็นการถล่มลงมาทั้งหลัง ดังนั้นควรใช้บริษัทที่มีวิศวกรควบคุมงาน และมีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานในการดีดบ้านมากที่สุด
 
5. การดีดบ้านอาจทำให้โครงสร้างบ้านเปลี่ยนไป
การดีดบ้านเป็นการยกระดับบ้านให้สูงขึ้น ดังนั้นเจ้าของบ้านจะต้องเตรียมใจ และทำความเข้าใจไว้แล้วว่าโครงสร้างบ้านจะไม่เหมือนเดิม โดยอาจจะต้องมีการเพิ่มบันไดเข้าไป
 
6. วิศวกรต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
การเลือกวิศวกรมาวางแผนโครงสร้างและประเมินการซ่อมแซมเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะหากการวางแผนผิดพลาด บ้านทั้งหลังอาจจะเสียหาย และเจ้าของบ้านอาจจะต้องเสียเงินเพื่อการซ่อมแซมใหม่อีกครั้ง
 
7. ตั้งรับปัญหาที่เกิดขึ้นหลังการดีดบ้าน
เนื่องจากตัวบ้านจะถูกยกระดับให้สูงขึ้น จึงต้องมีการเพิ่มบันไดเข้าไปให้เหมาะสมต่อการใช้งานของผู้อยู่อาศัย ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับบ้านที่มีผู้สูงอายุ และในขณะที่ช่างทำการดีดบ้าน ต้องทำการตัดน้ำและไฟก่อน ดังนั้น หลังจากซ่อมแซมเสร็จแล้วจะต้องมีการเดินสายใหม่ทั้งหมดซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่ละเอียดอ่อน และต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดปัญหาได้ในภายหลัง
 
หลังจากได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นว่าการดีดบ้านคืออะไร หลักการทำงานเป็นอย่างไร และมีข้อควรระวังอะไรเป็นพิเศษบ้าง ผู้อ่านน่าจะเห็นภาพมากขึ้นว่าการดีดบ้านเป็นกระบวนการซ่อมแซมบ้านที่ค่อนข้างสร้างผลกระทบ อีกทั้งยังละเอียดอ่อนมาก เพราะต้องวางแผนโครงสร้างบ้านใหม่ทั้งหลัง ผู้รับเหมา ช่าง และวิศวกรต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความละเอียดรอบคอบเป็นอย่างมาก รวมถึงการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ต้องได้มาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
 
การดีดบ้านหรือยกบ้านนั้นเป็นการตัดยกโครงสร้างบ้านทั้งหลังให้สูงขึ้น แล้วเสริมเสากับตัวบ้านใหม่ลงบนฐานรากเดิมหรือฐานรากใหม่ที่มีการเสริมความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งปกติจะต้องดำเนินการโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ในช่วงหลังนี้ความต้องการในการดีดหรือยกบ้านมีมากขึ้น ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการดีดหรือยกบ้านสำหรับบริษัทที่มีมาตรฐานในการทำงาน มักจะคิ
ดค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นการทำงานที่ต้องอาศัยประสบการณ์สูงและมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก ทำให้มีช่างที่เคยรับจ้างดีดหรือยกบ้านตามต่างจังหวัด ซึ่งมักจะเป็นบ้านไม้มารับจ้างยกบ้านตามประสบการณ์เดิมที่เคยทำกันมา แต่การดีดบ้านที่เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กต่างจากการดีดบ้านไม้ค่อนข้างมาก เพราะน้ำหนักบ้านมีมากกว่าหลายเท่า และโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าโครงสร้างไม้ ดังนั้น จึงมีข่าวการทรุดตัวของบ้านขณะทำการยกจนมีผู้เสียชีวิตมาแล้วหลายครั้ง ดังนั้น จึงอยากให้ข้อคิดในกรณีที่อยากจะดีดบ้าน ดังนี้
 
1. วิศวกรโครงสร้างที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถดีดอาคารได้แทบทุกชนิด ทั้งโครงสร้างไม้, คอนกรีตเสริมเหล็ก หรือแม้แต่โครงสร้างเหล็ก แต่อาคารที่เหมาะในการยก คืออาคารเป็นหลังเดี่ยว เช่น บ้านเดี่ยว ไม่เหมาะสำหรับตึกแถวหรือทาวน์เฮ้าส์ เพราะการดีดจะต้องทำทั้งหลัง ไม่สามารถทำเฉพาะส่วนได้ ส่วนตึกแถวหรือทาวน์เฮ้าส์ หากต้องการทำ ต้องทำพร้อมกันทั้งแถว
 
2. การดีดหรือยกอาคาร ตามกฎหมายแล้วถือเป็นการดัดแปลงอาคาร จำเป็นต้องมีการยื่นขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งตามกฎหมายต้องมีวิศวกรออกแบบและควบคุมงาน เพื่อรับผิดชอบการทำงานดังกล่าว
 
3. ระดับน้ำท่วมในปี 2554 ไม่ใช่ระดับน้ำท่วมที่สูงที่สุดเท่าที่จะมีได้ เนื่องจากน้ำท่วมดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการน้ำระดับประเทศ ดังนั้น หากเกิดความผิดพลาดขึ้นอีก ไม่สามารถตอบได้ว่าน้ำจะท่วมในบริเวณเดิมอีกหรือไม่ หรือจะท่วมแค่ไหน อาจจะมากกว่าที่เคยท่วมก็ได้ เพราะหลังเหตุการณ์น้ำท่วมแล้ว ส่วนราชการในแต่ละพื้นที่ก็ต้องจัดทำแผน เพื่อป้องกันพื้นที่ของตนเอง ดังนั้น ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่า หากยกบ้านหนีน้ำแล้ว ระดับที่ยกนั้นจะเพียงพอ
 
4. การดีดบ้านขึ้น จะทำให้ต้องมีการเพิ่มบันได หรือทางลาดเพื่อขึ้นบ้าน ดังนั้น การใช้สอยของตัวบ้านจะผิดจากลักษณะในปัจจุบัน ซึ่งอาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในการเข้าถึงตัวบ้าน เนื่องจากต้องเดินขึ้นบันไดที่ตามความสูงมากขึ้น
 
5. ค่าใช้จ่ายในการดีดบ้านค่อนข้างสูง เคยมีผู้ประเมินไว้ว่าประมาณครึ่งหนึ่งของราคาค่าก่อสร้างบ้านใหม่ขนาดเท่ากับบ้านที่จะดีด ดังนั้น ท่านเจ้าของบ้านควรพิจารณาว่า การดีดบ้านเพื่อให้สูงขึ้น แล้วได้บ้านเดิมสภาพเดิม เทียบกับการก่อสร้างบ้านใหม่เลย เพื่อให้ได้สภาพบ้านที่สมบูรณ์กว่า อย่างไหนคุ้มกว่ากัน
 
6. การดีดบ้านจำเป็นจะต้องใช้วิศวกรโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แม้แต่วิศวกรบางท่านที่มีประสบการณ์ในการก่อสร้างทั่วไปก็ยังยากที่จะสามารถทำงานแบบนี้ได้ ดังนั้น หากต้องการจ้างผู้มาดำเนินการดีดบ้าน ขอให้ตรวจสอบประสบการณ์และบุคลากรให้ดีว่าสามารถทำได้จริง แนะนำว่าควรขอข้อมูลของบ้านที่บริษัทเคยยก แล้วลองโทรไปคุยว่าการบริการเป็นอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณา
 
 5 ข้อควรระวังก่อนตัดสินใจ จะได้ไม่เสียใจภายหลัง
ดีดบ้าน หรือ ยกบ้าน เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากหลังจากเหตุการณ์ปี 54 น้ำท่วมใหญ่หลายจังหวัด และยังคงเป็นฝันร้ายที่บางคนจำได้ไม่ลืม เพราะเกิดผลกระทบทำให้เสียทรัพย์สินจากน้ำท่วมเข้าบ้าน ประกอบกับสภาพภูมิประเทศของกรุงเทพฯและพื้นที่ชานเมืองโดยรอบเป็นที่ลุ่มต่ำแล้วยังถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำ ส่งผลให้เมื่อถึงฤดูมรสุมฝนตกหนัก บ้านที่อยู่ใกล้ริมน้ำมักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเฉียบพลัน บางครั้งยังไม่ทันได้เก็บข้าวของน้ำก็เข้าถึงตัวบ้านแล้ว จากเหตุนี้เจ้าของบ้านหลายหลังจึงพยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีการ “ดีดบ้าน” หรือ “ยกบ้าน” ขึ้นนั่นเองเพราะเชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาวและเป็นทางออกที่คิดว่าดีที่สุด แต่ก่อนที่คุณจะไปว่าจ้างผู้รับเหมามาดีดบ้าน ควรที่จะศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อการดีดบ้านอย่างถ่องแท้และละเอียดรอบคอบเสียก่อน มิเช่นนั้นอาจจะมาเสียใจในภายหลัง
 
1.ก่อนวางแผนจะดีดบ้าน ต้องรู้สภาพความพร้อมของบ้านให้ดี
เจ้าของบ้านบางคนคิดว่าถ้าต้องการดีดบ้านก็สามารถทำได้ง่ายๆ แค่จ้างช่างมายกแล้วก็เสริมเสาก็จบเรื่องแล้ว ในความเป็นจริงควรจะต้องพิจารณาถึงโครงสร้างบ้านเป็นอันดับแรกรวมทั้งต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้บ้านได้รับความเสียหาย หรือก่อให้เกิดอันตรายขึ้นในช่วงขณะที่ดีดบ้าน ซึ่งเรามักจะได้ยินข่าวบ่อยๆ ฉะนั้นถ้าทำการตรวจสอบแล้วพบว่ามีร่องรอยของการผุกร่อนในจุดใหญ่ๆ หรือมีปลวกกินหลายแห่ง แนะนำว่าไม่ควรที่จะดีดบ้านเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลเสียหายอย่างมหาศาลบ้านพังถล่มลงมาในขณะที่กำลังดีดบ้านได้ ทางที่ดีคือรื้อบ้านแล้วสร้างบ้านใหม่ด้วยการยกพื้นสูงขึ้นจะคุ้มกว่า ส่วนถ้าพบว่าเสาเข็มมีการทรุดอยู่ จำเป็นต้องลงเสาใหม่ก่อนทำการดีดบ้านด้วย
 
2.ก่อนดีดบ้าน วางแผนเรื่องงบประมาณเสียก่อน
หลายบ้านที่ต้องประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมบ้านบ่อยๆเรียกได้ว่าฝนตกทีไหร่น้ำรอการระบายไหลเข้าบ้านเสียทุกที จะขายบ้านหนีก็ไม่ได้ ทางออกที่ดีที่สุดก็คือซ่อมแซมต่อเติมบ้านให้สูงขึ้นแต่อาจยังตัดสินใจไม่ได้เกิดความลังเลว่าจะรื้อบ้านแล้วสร้างใหม่ดีหรือจะดีดบ้านให้สูงขึ้นอะไรจะเหมาะสมมากกว่า ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าเรื่องของค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณคือตัวแปรสำคัญ โดยส่วนใหญ่แล้วการจ้างเหมาราคาดีดบ้านที่เจ้าของบ้านจะต้องเตรียมเงินไว้ราวๆหลักแสน(ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพและความยากง่ายของการดีดบ้านแต่ละกรณีราคาก็จะไม่เท่ากัน)ซึ่งราคานี้จะบวกรวมกับค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง ยังมีค่ารายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องต่อเติมเพิ่มขึ้นหลังจากดีดบ้าน เช่น การสร้างบันได้ขึ้นบ้านหรือเทพื้นให้สูงขึ้นตาม เป็นต้น แต่ถึงแม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบกับการรื้อแล้วสร้างใหม่ย่อมถูกกว่าอย่างแน่นอน บางครั้งการรื้อสร้างใหม่อาจจะต้องเตรียบงบถึงหลักล้าน ดังนั้นหากใครมีงบประมาณจำกัด วิธีการดีดบ้านก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อยเลยทีเดียว
 
3.ก่อนดีดบ้าน อย่าลืมขออนุญาตให้ถูกต้อง
การดีดบ้านตามกฎหมายจะถือว่าเป็นเรื่องของการดัดแปลงบ้านหรืออาคาร เพราะฉะนั้นก่อนเริ่มทำการใดๆจึงมีความจำเป็นที่ต้องขออนุญาตกับทางเขตที่อยู่อาศัยเสียก่อน เพื่อเป็นการป้องกันหากเกิดปัญหาที่ไม่คาดฝันขึ้น สามารถหาผู้ที่จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายที่ระบุไว้ ซึ่งก็คือวิศวกรออกแบบและผู้ควบคุมงานนั่นเอง
 
4.ก่อนดีดบ้าน จะดีดอย่างไรให้ปลอดภัย
หลายครั้งที่มักจะมีข่าวไม่ดีเกี่ยวกับการดีดบ้าน เช่น การเกิดอุบัติเหตุบ้านตกลงมาทับคนงานเสียชีวิต หรือดีดบ้านแล้วบ้านพังถล่มลงมาสร้างความเสียหายต่อบ้านทั้งหลังอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วยการใช้ระบบหรือวิธีการเก่าๆหรือคิดวิธีเอง อย่างแม่แรง รอก หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานมาใช้ในการดีดบ้าน ดังนั้นการดีดบ้านไม่ควรจ้างบริษัทที่ไม่มีวิศวกรควบคุม เพราะวิศวกรจะมีวิธีการเพิ่มความปลอดภัยโดยสร้างฐานรองรับอุปกรณ์ดีดบ้านอย่างเช่นระบบแม่แรงไฮโดรลิค ซึ่งก่อนที่จะนำมาใช้ต้องตรวจสอบทุกครั้งว่ามีสภาพพร้อมที่จะนำมาใช้งาน อีกทั้งข้อดีของแม่แรงไฮโดรลิคคือ สามารถที่จะยกทุกจุดในบ้านได้พร้อมกัน แล้วยังเช็คระดับความสูง ฐานราก ความลาดเอียงได้อีกด้วย จึงมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ไม่ได้มีแค่มาตรฐานของอุปกรณ์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมไปถึงการคิดคำนวณ วางแผน ความสูงของบ้านเป็นสิ่งสำคัญ
 
5.เตรียมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากดีดบ้าน
หลังจากดีดบ้านขึ้นแล้วตัวบ้านก็จะสูง สิ่งที่ต้องเตรียมเพิ่มเติมมาก็คือระบบงานบันไดซึ่งต้องออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุ รวมทั้งเรื่องของระบบไฟฟ้า และน้ำ เท่ากับว่าต้องวางระบบใหม่เกือบทั้งหมด เพราะในช่วงที่คนงานเริ่มทำการดีดบ้านช่างจะต้องตัดระบบน้ำ ไฟ ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อทำการดีดบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องเดินสายใหม่จึงต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษเพราะหากเดินระบบได้ไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดปัญหาอย่างไฟช็อตหรือน้ำไหลรั่วซึมได้
 
Engine by shopup.com