บริษัทรับเหมาตอกเสาเข็ม ไมโครไพล์ เสาเข็มเจาะ เสาเข็มสปัน เน้นคุณภาพ รวดเร็วทันเวลา ราคาโรงงานกดเข็มไฮโดรลิคไมโครไพล์ แก้ปัญหาบ้านทรุดตัว เข้าพื้นที่แคบได้ ดูหน้างานฟรี ผลงานของเรา
เสาเข็มเจาะกระบี่
บริษัทรับตอกเสาเข็มไมโครไพล์กระบี่
บริษัทรับตอกเสาเข็มไมโครไพล์กระบี่
เสาเข็มตอกกระบี่
รับตอกเสาไมโครไพล์กระบี่
รับตอกเสาเข็มกระบี่
กระบี่ ตอกเสาเข็ม Micropile
ปั้นจั่นตอกเสาเข็มกระบี่
รับตอกเสาเข็มไมโครไพล์กระบี่
ราคาเข็มเจาะกระบี่
ลงเสาเข็มราคากระบี่
รับเจาะเสาเข็ม รับทำเสาเข็มเจาะกระบี่ รับตอกเสาเข็มไมโครไพล์ เสาเข็มสปัน
รับเจาะเสาเข็ม รับทำเสาเข็มเจาะกระบี่ รับตอกเสาเข็มไมโครไพล์ เสาเข็มสปัน
บริษัทรับตอกเสาเข็มไมโครไพล์กระบี่ บริษัทรับทำเสาเข็มเจาะ คุณภาพเสาเข็มถูกต้องตามมาตรฐานสากล มีผลงานรับทำเสาเข็มเจาะ รับตอกเสาเข็มไมโครไพล์
ไมโครไพล์กระบี่
เสาเข็มไมโครไพล์กระบี่
เสาเข็มสปันไมโครไพล์กระบี่
เข็มเจาะกระบี่
ราคาเข็มเจาะกระบี่
ราคาเสาเข็มเจาะกระบี่
ประเภทของเสาเข็ม
1. เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กปัจจุบันไม่นิยมมากนักเนื่องจากไม่ประหยัด จึงใช้เข็มคอนกรีตอัดแรงแทน เสาเข็มเสริมเหล็กนิยมหล่อในหน่วยงาน โดยออกแบบเหล็กเสริม
ตามยาวให้เพียงเพื่อรับโมเมนต์ดัดจากการเคลื่อนย้าย และการตอก ผลงานของเรา
เสาเข็มคืออะไร
เสาเข็มมีความสำคัญต่ออาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมากที่สุด เนื่องจากเป็นสิ่งที่ถ่ายน้ำหนักอาคารลงสู่พื้นดิน หากไม่มีเสาเข็มแล้ว สิ่งก่อสร้างมีแนวโน้มที่จะทรุดตัวสูงหากพื้นผิวดินไม่มีความสามารถรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างได้ เสาเข็มจะทำหน้าที่รับน้ำหนักของตัวอาคารทั้งหมดลงสู่ชั้นดินหรือทรายใต้ดิน ทั้งนี้ลักษณะการรับน้ำหนักของเสาเข็มแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ การรับน้ำหนักด้วยแรงเสียดทานระหว่างผิวเสาเข็มและดิน (Skin Friction) และการรับน้ำหนักที่ปลายเสาเข็มเมื่อปลายเสาเข็มยืนบนชั้นทราย (End Bearing)
ชนิดของเสาเข็ม
1.เสาเข็มตอกรวมถึงเสาเข็มเหล็ก เสาเข็มไม้ และเสาเข็มคอนกรีต ซึ่งในปัจจุบันเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงจะได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีราคาที่ย่อมเยาว์ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มก่อนที่จะติดตั้งได้ และสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยสูงสุดกว่า 200 ตันต่อต้น ทางด้านการติดตั้งมีกรรมวิธีที่หลากหลายตั้งแต่ใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม การเจาะดิน การปรับปรุงสภาพดินบริเวณปลายเสาเข็ม ไปจนถึงการกดเสาเข็มซึ่งสามารถลดมลภาวะเสียงและแรงสั่นสะเทือนได้สมบูรณ์แบบ ความเหมาะสมของวิธีที่ใช้ในการติดตั้งเสาเข็มขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ความจำเป็น และกฎหมายที่บังคับในพื้นที่นั้นๆ ภายหลังการติดตั้งวิศวกรนิยมเลือกใช้การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม หรือการทำสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเพื่อยืนยันว่าเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้ตามการคำนวน ส่วนข้อจำกัดของเสาเข็มอาจจะพบได้ในพื้นที่ที่ค่อนข้างแคบ เนื่องจากจะต้องมีการขนย้ายเสาเข็มจากโรงงานเข้าสู่หน้างาน
2.เสาเข็มเจาะแบบแห้งเป็นเสาเข็มเจาะแบบใช้ขาตั้ง 3 ขา และใช้ลูกตุ้มกระแทกลงไปในดิน และใส่ปลอกเหล็กในหลุมเจาะเพื่อป้องกันไม่ให้ดินเข้ามาในหลุม ก่อนจะใส่เหล็กและเทคอนกรีต เหมาะกับหน้างานที่ค่อนข้างแคบ ซึ่งเสาเข็มเจาะแบบแห้งเหมาะแก่เสาเข็มที่รับน้ำหนักไม่มาก และมักจะมีข้อกังวลเกี่ยวกับคุณภาพคอนกรีตหากการเทคอนกรีตไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
3.เสาเข็มเจาะแบบเปียกเป็นเสาเข็มที่มีเครื่องจักรเจาะหลุมลงไปในดิน และมีการเติมสารเบนโทไนท์เพื่อป้องกันน้ำผสมกับดินหรือทรายในหลุมเจาะและการพังทลายของหลุม ก่อนจะมีการใส่เหล็กและเทคอนกรีต เสาเข็มเจาะระบบเปียกมีขนาดตั้งแต่ 0.35 เมตรถึง 2.00 เมตร และสามารถน้ำหนักได้ตั้งแต่ 150 – 2,000 ตัน จึงเหมาะกับงานอาคารใหญ่ เสาเข็มชนิดนี้จะมีราคาแพงกว่าเสาเข็มชนิดอื่นเนื่องจากต้องหล่อเสาเข็มหน้างาน และมีขนาดหน้าตัดที่ใหญ่กว่าหากเปรียบเทียบการรับน้ำหนักที่เท่ากันกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
4.เสาเข็มแต่ละชนิดก็จะมีความเหมาะสมที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ความคุ้มค่า สภาพหน้างาน สภาพชั้นดิน ขนาดของสิ่งก่อสร้าง ไปจนถึงการออกแบบจากผู้ออกแบบ อย่างไรก็ตามเสาเข็มทุกชนิดที่กล่าวมาสามารถรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างได้ภายใต้การทำงานและการติดตั้งที่มีการดูแลโดยวิศวกรที่มีประสบการณ์ด้านเสาเข็มอย่างใกล้ชิด ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากเสาเข็มแม้จะส่วนงานก่อสร้างที่มองไม่เห็นเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่กลับเป็นรากฐานของสิ่งก่อสร้างทั้งหมด ดังนั้นเสาเข็มที่ได้คุณภาพ แข็งแรง ตามการออกแบบเชิงวิศวกรรมย่อมหมายถึงรากฐานของสิ่งก่อสร้างที่มั่นคง
เสาเข็มลึกเท่าไหร่ดี
ในการต่อเติมบ้านแต่ละครั้ง ปัญหาที่คาใจเจ้าของบ้านหลายท่านคือ “เสาเข็ม” ต้องใช้กี่ต้น กี่กลุ่ม ลึกแค่ไหนถึงจะพอ คำแนะนำจากช่างหรือผู้รับเหมาจะเชื่อถือได้หรือไม่ และจะมั่นใจได้อย่างไร?
ก่อนตัดสินใจเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุด เราควรทำความรู้จักและเข้าใจหน้าที่ของเสาเข็มกันเสียก่อน
เสาเข็มเป็นชิ้นส่วนล่างสุดของโครงสร้างบ้าน (โดยทั่วไปมักเรียกรวมกับฐานรากว่าเป็นฐานรากแบบมีเสาเข็ม) ซึ่งจะฝังตัวอยู่ในดินเพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบ้านทั้งหลัง จึงนับว่ามีความสำคัญต่อโครงสร้างบ้านเป็นอย่างยิ่ง
โดยปกติแล้วหากบ้านวางอยู่บนดินเฉยๆ น้ำหนักของบ้านจะกดผิวดินให้ทรุดลงไปเรื่อยๆ หากมีเสาเข็มก็จะช่วยทำให้เกิดแรงต้านน้ำหนักของบ้านเพื่อชะลอการทรุดตัว โดยแรงต้านดังกล่าวนี้มาจากชั้นดิน 2 ส่วนคือ
1.แรงเสียดทานของดินชั้นบน ลองจินตนาการถึงการนำไม้ปักลงในดิน หากปักลึกลงไประดับหนึ่งจะเริ่มเกิดความฝืด กดลงได้ยากขึ้น นั่นเป็นเพราะไม้ถูกต้านด้วยแรงเสียดทานของดิน หลักการทำงานของเสาเข็ม ก็เช่นเดียวกันคือ จะพึ่งแรงเสียดทานของดินชั้นบนเป็นตัวพยุงรับน้ำหนักบ้านไม่ให้ทรุดหรือเอียง
- 'เข็มเหล็ก' นวัตกรรมเสาเข็ม พลิกอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย
- สยอง!ช่างรับเหมาต่อเติมบ้านถูกมีดหินเจียรตัดคอดับ
2.แรงดันจากชั้นดินแข็ง กรณีเสาเข็มยาวลึกไปจนถึงชั้นดินแข็ง นั่นหมายถึงว่าเสาเข็มจะวางอยู่บนชั้นดินแข็ง ซึ่งเป็นตัวรับน้ำหนักของบ้านโดยตรง โอกาสทรุดตัวจะมีน้อยมากและช้ามาก
หลักการสร้างบ้านโดยทั่วไป ควรลงเสาเข็มของบ้านให้ยาวลึกถึงชั้นดินแข็งจะได้แรงต้านทั้งสองส่วนช่วยพยุงให้บ้านมีความมั่นคงแข็งแรง สำหรับบ้านที่มีเสาเข็มยาวไม่ถึงชั้นดินแข็ง ย่อมหมายถึงว่าน้ำหนักของบ้านทั้งหลังมีเพียงแรงเสียดทานของดินชั้นบนรองรับเท่านั้น การทรุดตัวจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นที่ดินที่เพิ่งถมมาไม่เกิน 1-2 ปี หรือที่ดิน ซึ่งเคยเป็นบ่อหรือบึงมาก่อน แรงเสียด ทานจะยิ่งน้อย อัตราการทรุดตัวก็จะยิ่งเร็วตาม]
ส่วนเสาเข็มจะต้องลงลึกเท่าใดจึงจะถึงชั้นดินแข็งนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ หากชั้นดินแข็งอยู่ตื้นก็ไม่ต้องลงเสาเข็มลึกมาก หรือหากเป็นกรณีที่ดินชั้นบนแข็งมากอยู่แล้วจนตอกหรือเจาะเสาเข็มไม่ลง (เช่น พื้นที่บางส่วนบริเวณภาคเหนือ หรือบนภูเขาบางแห่ง) ก็อาจใช้แค่ฐานรากแบบไม่ต้องมีเสาเข็มเลยก็ได้
อย่างที่ได้กล่าวไปว่าการสร้างบ้านควรจะลงเสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็ง แต่เจ้าของบ้านหลายคนมี ข้อสงสัยว่า หากเป็นบ้านจัดสรรซึ่งมักจะต้องมีการต่อเติม โดยเฉพาะครัวและโรงจอดรถนั้น ส่วนต่อเติม ที่ว่านี้จะต้องลงเสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งด้วยหรือไม่ โดยทฤษฎีการลงเสาเข็มให้ถึงชั้นดินแข็งย่อมดีกว่าแน่นอน แต่ในทางปฏิบัติมักจะมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ เพราะการลงเสาเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็งอาจต้องใช้พื้นที่เยอะและเครื่องมือขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายสูงจนต้องหันมาทบทวนกันอีกทีว่าคุ้มค่าหรือไม่
ในความเป็นจริงเจ้าของบ้านมักเลือกใช้เสาเข็มสั้นในส่วนต่อเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเสาเข็มขนาดความยาวไม่เกิน 3 เมตร ในขณะที่ชั้นดินแข็งในกรุงเทพฯ โดยทั่วไปอยู่ลึกประมาณ 17-23 เมตร ดังนั้นเจ้าของบ้านจึงต้อง “เตรียมพร้อม” และ “ยอมรับ” การทรุดตัวอย่างรวดเร็วของส่วนต่อเติมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
อย่างไรก็ตาม การใช้เสาเข็มกับส่วนต่อเติมไม่ว่า จะเป็นเสาเข็มสั้น หรือเสาเข็มยาวที่ลงลึกถึงชั้นดินแข็งนั้น มีเทคนิคและข้อควรคำนึงหลายประการ ซึ่งต้องพิจารณาตามแต่ละกรณี โดยจะขอนำมากล่าวถึงต่อไปในฉบับวันอังคารสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ธ.ค.