รับเหมาไฟฟ้าบ้านอำเภอปากพลี โทร 092-4857685
หมวดหมู่สินค้า: rtd3 ช่างไฟฟ้าประปา
14 มีนาคม 2565
ผู้ชม 90 ผู้ชม
ติดตั้งเสาไฟฟ้า ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ซ่อมหม้อเปลงไฟฟ้า เดินสายไฟฟ้า รับเดินสาย Fiber Optic รื้อถอนงานระบบไฟฟ้า ครบวงจร น่าเชื่อถือ
หม้อแปลงไฟฟ้าอำเภอปากพลี
มิเตอร์ไฟฟ้าอำเภอปากพลี
ซ่อมหม้อเปลงไฟฟ้าอำเภอปากพลี
หม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงอำเภอปากพลี
เดินนสายไฟฟ้าแรงสูงอำเภอปากพลี
รื้อถอนงานระบบไฟฟ้าอำเภอปากพลี
เดินสายไฟฟ้าอำเภอปากพลี
ช่างไฟอำเภอปากพลี
รับเหมาออกแบบ ติดตั้ง รื้อถอน ระบบไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร บ้านเรือน สำนักงาน รวมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าครบวงจร ปรึกษาปัญหาระบบไฟฟ้าฟรี
รับเหมาไฟฟ้าบ้านราคาอำเภอปากพลี
รายชื่อบริษัทรับเหมางานระบบไฟฟ้าอำเภอปากพลี
รับเหมาเดินสายไฟราคาอำเภอปากพลี
งานเดินสายไฟในบ้านอำเภอปากพลี
ช่างเดินสายไฟอำเภอปากพลี
ช่างเดินสายไฟใกล้ฉันอำเภอปากพลี
บริการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง รับปักเสา พาดสาย ออกแบบ
รับเหมา บริการติดตั้ง ขาย ให้เช่า หม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง ออกแบบ วางระบบ ปักเสาไฟฟ้า
อำเภอปากพลีราคาปักเสาไฟฟ้า 8 เมตร
รับปักเสาไฟฟ้าอำเภอปากพลี
อยากทราบราคาติดตั้งเสาไฟฟ้าอำเภอปากพลี
ผู้รับเหมาระบบไฟฟ้าแรงสูงอำเภอปากพลี
รับติดตั้งหัวเคเบิ้ลแรงสูงอำเภอปากพลี
ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า3เฟสหอพักอำเภอปากพลี
รับเหมาระบบไฟฟ้าโรงแรมอำเภอปากพลี
รับเหมาระบบไฟฟ้ารีสอร์ทอำเภอปากพลี
ทำไม? ท่อประปาในบ้านจึง “รั่ว แตก” และมีวิธีรับมืออย่างไร
เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอกับปัญหา ” ท่อน้ำในบ้าน/คอนโด รั่ว แตก “ เป็นอีกหนึ่งปัญหาบ้านยอดฮิตของผู้อยู่อาศัยเพราะนอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับตัวบ้านแล้ว ยังทำให้เราต้องจ่ายค่าน้ำที่ไหลทิ้ง รวมถึงค่าไฟจากปั๊มน้ำที่ทำงานอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย ..เรื่องท่อประปานี้ผู้ซื้อบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยไปสำรวจหรือทำความเข้าใจกับระบบสักเท่าไหร่ เพราะเมื่อซื้อบ้านก็จะมาพร้อมระบบประปาที่พร้อมใช้งานได้ทันที และด้วยเหตุผลที่ว่าถึงท่อประปาจะเสื่อมสภาพแต่มันก็ยังคงจ่ายน้ำได้ ทำให้เราละเลยไม่ค่อยสนใจ ‘ท่อ’ เหล่านี้ ตราบจนกระทั่งมันเริ่มส่งผลต่อน้ำประปาที่ไหลออกมาจากท่อ ทำให้น้ำประปามีลักษณะที่ต่างไปจากเดิมนั่นแหละ คนจึงจะเห็นค่าและหันมาดูแลให้อยู่ในสภาพดี วันนี้ทางทีมงานก็มีวิธีรับมือกับเหล่าปัญหาท่อน้ำ ” รั่ว แตก “ ในจุดต่างๆ มาฝากกัน เพื่อให้เพื่อนๆ ได้รู้ถึงสาเหตุ วิธีการป้องกัน และการแก้ไขปัญหากวนใจในการอยู่อาศัยค่ะ
หลายๆ คนอาจสงสัยว่า..เสียงปั๊มน้ำที่ดังในเวลาที่เราไม่ได้ใช้น้ำภายในบ้าน ไม่ได้กดชักโครก ล้างจาน อาบน้ำ หรือมั่นใจว่าปิดก๊อกน้ำสนิทหมดทุกจุดแล้ว แต่ปั้มน้ำดันทำงาน ตัวเลขในมาตรวัดน้ำเพิ่มอยู่ตลอดเวลา หรือปัญหาน้ำไหลช้าแต่ปั๊มน้ำอัตโนมัติทำงาน อาการเหล่านี้นี่แหละที่เป็นสัญญาณเตือนว่าบ้านเรามี “ท่อน้ำรั่วซึม” หรือมีจุดที่ “ท่อแตกเสียหาย” แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นแค่จุดเล็กๆ แต่ก็ทำให้ไหลต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้บ้านเรามีปริมาณการใช้น้ำที่มากกว่าปกติ
จากการสำรวจการใช้น้ำในอาคารบ้านเรือน พบว่าน้ำที่รั่วช้าๆ 30 หยด ต่อ 1 นาที คิดเป็นปริมาณน้ำที่เสียไปโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่ที่ 3 แกลอนต่อ 1 วัน หรือเท่ากับ คนอาบน้ำ 27 ครั้ง ถ้าเรานับค่าใช้จ่ายของน้ำในแต่ละเดือน เราจะต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปเยอะมาก หากเราช่วยกันสังเกต ดูแล และแก้ไขอยู่เสมอ นอกจากจะช่วยรักษาบ้านให้อยู่ในสภาพดีแล้ว ยังเป็นการช่วยเซฟเงินในกระเป๋าอีกด้วย สำหรับสาเหตุและวิธีป้องกันปัญหาท่อน้ำรั่ว แตก ต่างๆ จะเกิดจากอะไร และต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ
1. สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ “ท่อน้ำรั่วแตก” ได้
1.1 แรงดันภายในท่อประปา : สาเหตุที่ทำให้ท่อน้ำประปาแตกชำรุดอย่างแรกคือแรงกระแทกภายในท่อน้ำเอง ซึ่งแรงภายในท่อน้ำมักเกิดจากแรงดันน้ำกระแทกกลับหรือที่ภาษาช่างเรียกว่า Water Hammer สาเหตุเกิดจากความเร็วของน้ำในเส้นท่อที่ถูกหยุดอย่างฉับพลัน ซึ่งเกิดได้จากหลายเหตุการณ์ ได้แก่
เมื่อไฟฟ้าดับทำให้เครื่องสูบน้ำหยุดทันที จึงเกิดแรงกระแทกกลับของน้ำในเส้นท่อที่ไหลออกไม่ได้ทำให้ท่อแตก
การปล่อยให้ถังเก็บน้ำแห้งบ่อยๆ ทำให้อากาศเข้าไปค้างภายในท่อ เมื่อเปิดใช้น้ำตามปกติ น้ำจะวิ่งไปอัดดันท่อระเบิดได้ค่ะ
1.2 แรงกระแทกจากภายนอกท่อน้ำ : เนื่องจากงานท่อน้ำเป็นงานระบบที่เรามักจะซ่อนเอาไว้ในผนัง, ใต้ฝ้าเพดาน หรือตามทางเดิน ทำให้สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ท่อน้ำได้ ส่วนใหญ่เรามักจะเจอท่อน้ำแตกจากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่
การฝังท่อน้ำประปาใต้ดินถูกกดทับจากแรงกระแทกของรถยนต์ที่วิ่งผ่านท่อด้านบน หรือ ดินที่ใช้กลบท่อน้ำยืดหดตัวก็สามารถไปดันให้ท่อน้ำแตกได้
โครงสร้างบ้านทรุดตัวในบริเวณที่เดินท่อน้ำ ก็อาจส่งผลให้ท่อน้ำหัก งอ จนเกิดการรั่วแตกได้
การติดตั้งขาแขวน (Pipe Hangers) ห่างเกินไปและไม่รัดท่อกับขาแขวนให้มั่นคง เมื่อเกิดแรงดันในท่อน้ำ ท่อน้ำก็จะขยับหรือส่ายตัว ทำให้ข้อต่อคลายตัวหรือกระแทกกับท่อทีละนิด จนเกิดการรั่วซึม
1.3 งานติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน : ความชำนาญของช่างเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ถ้าได้ช่างที่ไม่ได้มาตรฐานมักทำให้งานมีปัญหาหลังจากที่ใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง ที่พบมากคือ น้ำรั่วบริเวณข้อต่อต่างๆ เนื่องจากการต่อท่อไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ทดสอบแรงดันน้ำในเส้นท่อก่อน ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาในภายหลัง อีกทั้งขั้นตอนในการต่อท่อก็ต้องทำให้เรียบร้อย เลือกช่างที่ไว้ใจได้สักหน่อย แล้วอย่าไปเร่งงานช่างมากนัก เพื่อที่จะได้งานระบบประปาที่มีคุณภาพ ใช้ไปได้นานๆ ค่ะ
2. วิธีตรวจสอบท่อน้ำรั่วในบ้าน
เพื่อนๆ คงพอจะเข้าใจสาเหตุของปัญหาท่อน้ำรั่วหรือแตกกันแล้ว ต่อไปก็คอยหมั่นสังเกตและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่จะส่งผลกับท่อน้ำได้นะคะ แต่หากใครเริ่มมีความสงสัยว่าท่อน้ำในบ้านของตัวเองรั่วหรือเปล่า เราก็มีวิธีตรวจสอบมาฝากกันค่ะ
2.1 ขั้นแรก : ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าจุดที่น้ำประปารั่วเป็นท่อประปา ไม่ใช่จากพวกอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อกับท่อน้ำ เช่น พวกก๊อกน้ำ, โถสุขภัณฑ์ และข้อต่อของสายฝักบัวต่างๆ ซึ่งมักจะมีจุดที่เกิดปัญหา ดังนี้
ก๊อกน้ำ : ให้ตรวจสอบหาจุดรั่วซึมบริเวณก๊อกน้ำ เริ่มจากดูทุกก๊อกว่าปิดสนิทหรือไม่ มีน้ำซึมออกมาตามข้อต่อหรือเปล่า
โถสุขภัณฑ์ : หากโถสุขภัณฑ์มีน้ำไหลตลอดเวลา หลักๆ ควรตรวจสอบอุปกรณ์ลูกลอย ฟลัชวาล์ว และแหวนยางว่าเสียหรือเปล่า?
ลูกลอย ตรวจสอบว่ามีอยู่ในระดับปกติหรือไม่
หากลูกลอยอยู่สูงกว่าปกติ คืออยู่สูงกว่าระดับน้ำล้นในโถกักเก็บน้ำ แสดงว่าน็อตบางตัวหลวมหรือคลายตัว ให้แก้โดยปรับลูกลอยให้ต่ำลงและทำการขันน็อตให้แน่น
หากลูกลอยลดระดับลงต่ำผิดปกติ หรือลูกลอยจมน้ำ ให้ถอดลูกลอยออกมาดูว่าเกิดรอยรั่วหรือการแตกร้าวหรือไม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้น้ำซึมเข้าไปในลูกลอย ทำให้น้ำไหลออกทางรูน้ำล้นลงโถสุขภัณฑ์ตลอดเวลา ซึ่งควรแก้ไขโดยขันสกรูเอาลูกลอยออกแล้วเปลี่ยนอันใหม่แทน
หากระดับลูกลอยปกติ ให้ลองยกลูกลอยขึ้นสุด หากน้ำยังคงไหลอยู่ แสดงว่าลูกลอยเสีย ให้เปลี่ยนลูกลอยใหม่
ฟลัชวาล์ว ปัญหาการรั่วซึมของฟลัชวาล์ว อาจเนื่องจาก เศษสิ่งเเปลกปลอมติดค้าง อยู่ภายในชุดวาล์ว ให้ทำการถอดล้างทำความสะอาด
ลูกกบ ทำหน้าที่เปิดปิดรูปล่อยน้ำให้ไหลลงสุขภัณฑ์ วิธีสังเกตคือดูว่าอาจเพราะมีวัตถุบางอย่างติดค้างทำให้ปิดไม่สนิทจนน้ำไหลทิ้ง แก้โดยเอาวัตถุนั้นออกหรือเช็ดทำความสะอาด หากไม่มีวัตถุผิดสังเกตที่ว่า ให้ดูว่าโซ่หรือเชือกที่ดึงเพื่อเปิดปิดน้ำนั้นตึงเกินไปจนทำให้ลูกกบเปิดค้างไว้หรือไม่ แก้โดยปรับสายให้พอดี ไม่ให้ตึงหรือหย่อนเกินไป หากลูกกบชำรุดหรือฉีกขาดต้องทำการเปลี่ยนใหม่ทันที สำหรับลูกกบใหม่ลองนำมาวางปิดรูปล่อยน้ำก่อน ว่าสามารถปิดรูปล่อยน้ำได้สนิทดีหรือไม่ จึงค่อยยึดเข้ากับโซ่หรือเชือกดึง
ยางลูกกบ คือแผ่นยางปิดรูปล่อยน้ำ ทำหน้าที่ซีลหรืออุดร่องระหว่างลูกกบและช่องเปิดปิดน้ำให้แน่นแนบสนิทมากขึ้น ปัญหาของยางลูกกบมักเกิดจาก มีตะไคร่หรือคราบสกปรกเกาะอยู่ แนะนำให้ถอดออกมาทำความสะอาดและติดตั้งกลับเข้าไปใหม่ หรือยางเสื่อมสภาพหรือชำรุด ไม่ว่าจะเป็นลักษณะภายนอกที่ผิดปกติ บิดเบี้ยว บวม เปื่อย หรือขาด ทำให้ยางปิดไม่สนิทดี แนะนำให้เปลี่ยนแผ่นยางใหม่
ข้อต่อของสุขภัณฑ์ต่างๆ : ให้ตรวจหารอยรั่วซึมของข้อต่อในบริเวณต่างๆ โดยการทดสอบปิดวาล์วน้ำในแต่ละจุด ถ้าไม่พบรอยรั่วในวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่กล่าวมานี้ ก็เพิ่มความมั่นใจโดยการปิดก๊อกและวาล์วที่สุขภัณฑ์ทุกจุดแล้วตรวจเช็คที่มิเตอร์น้ำ หากพบว่ามิเตอร์น้ำยังหมุนอยู่ก็แน่ใจได้แล้วว่ามีท่อประปารั่วอย่างแน่นอน
2.2 ขั้นที่สอง : เมื่อแน่ใจแล้วว่าเกิดการรั่วที่ท่อน้ำก็ต้องเข้าสู่ขั้นตอนที่ยุ่งยากที่สุดในการซ่อมท่อรั่ว คือขั้นตอนหาตำแหน่งของท่อหรือข้อต่อที่น้ำนั้นรั่วซึมออกมา โดยหากทราบถึงตำแหน่งที่แน่นอน ช่างก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทุบหรือเจาะผนังเป็นบริเวณกว้าง สามารถเจาะเฉพาะในจุดที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น การหาจุดรั่วก็มีความยากอยู่ตรงที่ลักษณะการเดินท่อประปาที่ส่วนใหญ่จะเดินแบบฝังผนัง เราจึงไม่สามารถเห็นท่อได้ตรงๆ วิธีการคือให้ลองตรวจสอบร่องรอยน้ำซึม คราบน้ำตามพื้น ผนัง และฝ้าเพดาน รวมถึงตรวจดูตามข้อต่อของท่อ ซึ่งมักจะเป็นจุดที่รั่วได้ง่าย นอกจากนี้หากบ้านมีการต่อเติม เช่นต่อเติมครัว แล้วมีการเดินท่อประปาไปยังส่วนต่อเติม ให้ลองตรวจสอบท่อบริเวณรอยต่อของบ้าน เนื่องจากหากส่วนต่อเติมทรุดไม่เท่ากับบ้านก็อาจส่งผลให้ท่อบริเวณรอยต่อของบ้านเสียหายจนรั่วได้
2.3 ขั้นสุดท้าย คือไล่ดูท่อประปาตามการแยกสาขาของท่อ โดยปิดวาล์วเช็คทีละส่วน เช่น ปิดวาล์วที่จ่ายน้ำชั้นบนก่อน หากมิเตอร์น้ำยังหมุนอยู่ ให้ลองสลับปิดวาล์วที่จ่ายน้ำชั้นล่าง หากมิเตอร์หยุดหมุนแสดงว่าจุดที่รั่วอยู่ภายในชั้นล่างของบ้าน และหากชั้นล่างมีวาล์วแยกอีก เช่น ในบ้านกับนอกบ้าน ก็ให้ลองสลับปิดวาล์วทีละส่วน ก็จะช่วยจำกัดวงของจุดที่น้ำรั่วได้แคบขึ้น
สำหรับส่วนของท่อประปาที่อยู่ใต้ดิน และท่อประปาที่อยู่ในพื้นหรือผนัง จะเป็นส่วนที่ยากที่สุดในการหาจุดรั่ว ซึ่งอาจจะต้องเรียกช่างผู้ชำนาญการ หรือเจ้าหน้าที่จากการประปาที่มีเครื่องมือในการตรวจสอบให้มาช่วยตรวจหาจุดรั่ว โดยเมื่อพบจุดรั่วแล้วการซ่อมแซมอาจทำได้โดยตัดต่อท่อใหม่ หรือปะซ่อมแซมรูรั่ว ซึ่งหากจุดรั่วอยู่ในพื้นหรือผนังก็จำเป็นที่จะต้องทุบพื้นหรือผนังเพื่อซ่อมท่อ หรือหากไม่ต้องการทุบก็อาจจะทำการเดินท่อระบบใหม่แยกแล้วเชื่อมต่อเข้ากับท่อเก่าในส่วนที่ไม่รั่วก็ได้
3. สรุปจุดที่ท่อน้ำรั่วบ่อยๆ และวิธีการแก้ไข
ท่อน้ำเหนือฝ้าเพดานรั่วซึม ในเบื้องต้นสามารถสังเกตได้จากคราบเปื้อนเป็นวงๆ จากน้ำซึมบริเวณฝ้า จนฝ้าบวมน้ำ เมื่อฝ้าแบกรับน้ำหนักของน้ำไม่ไหวก็จะพังลงมา ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับฝ้าที่มีห้องน้ำอยู่ด้านบน
–> การแก้ไขในเบื้องต้น ให้ทำการเปิดฝ้าในส่วนที่เป็นคราบน้ำก่อนเพื่อทำการสังเกต สำรวจและเอาฝ้าในบริเวณที่เปียกชื้นออกให้หมด ซ่อมท่อ ตัดข้อต่อ ส่วนที่รั่วออกแล้วเปลี่ยนใหม่ ยึดขาแขวนเพิ่มเติมให้แน่นหนา จากนั้นอย่าเพิ่งปิดฝ้าให้ทดสอบปล่อยน้ำเข้าเส้นท่อสัก 2-3 วัน ดูจนแน่ใจว่าไม่มีน้ำหยดออกมา จึงซ่อมแซมฝ้าเพดานที่เปิดออกและทาสีให้เรียบร้อยดังเดิม
ท่อน้ำในผนังรั่วซึม ท่อน้ำในผนัง ได้แก่ ท่อที่จ่ายน้ำไปยังอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อ่างล้างหน้า ฝักบัว ชักโครก ก๊อกน้ำทั่วไป ฯลฯ การหาจุดรั่วซึมของท่อน้ำที่ฝังอยู่ในผนังสามารถสังเกตได้ง่ายจากจุดที่สีทาผนังมีการปูดบวมหรือลอกร่อน ชื้น หรือขึ้นราดำเป็นทางหรือเป็นเส้นตรงไปตามแนวท่อ แต่ผนังในห้องน้ำอาจดูยาก เพราะส่วนใหญ่จะปูกระเบื้องทับหน้าไว้ น้ำที่ไหลซึมก็มักซ่อนตัวอยู่หลังแผ่นกระเบื้องแล้วไหลรวมตัวกันสู่กระเบื้องแถวล่างๆ หรือพื้น ทำให้ประเมินได้ยากว่ารอยรั่วนั้นเริ่มจากตรงไหน เว้นแต่ต้องเลาะกระเบื้องออกเป็นพื้นที่กว้างจึงจะพบต้นเหตุของปัญหา
–> การแก้ไขในเบื้องต้นหลังจากที่ได้พบรอยซึมน้ำบนผนังแล้วก็ต้องสกัดผิวผนังด้วยค้อนหรือใช้สว่านไฟฟ้าแบบเจาะกระแทก ค่อยๆเจาะ ค่อยๆทำ อย่าให้รุนแรงจนกระทบกระเทือนไปถึงโครงสร้างอาคารเดียวปัญหาจะลุกลามใหญ่โต ถ้าต้องใช้เครื่องตัดไฟเบอร์ช่วยกรีดผนังก็ต้องทำใจว่า ฝุ่นผงปูนจะฟุ้งกระจายไปทั่วทั้งห้อง แต่การทำงานก็จะรวดเร็วกว่าการสกัดและไม่สร้างความสะเทือนแก่ตัวอาคาร เมื่อเปิดผิวปูนออกจนพบจุดรั่วซึมแล้ว ให้ต่อท่อพีวีซีนั้นเสียใหม่ เมื่อซ่อมเสร็จเรียบร้อยก็ทดลองปล่อยน้ำเข้าเส้นท่อสัก 2-3 วันเพื่อให้แน่ใจว่าจุดที่ซ่อมแซมนั้นไม่มีน้ำรั่วซึมออกมาอีก จากนั้นจึงใช้ปูนฉาบประเภทที่ใช้สำหรับงานซ่อมแซมอุดฉาบปิดให้เรียบร้อย ทิ้งให้ผิวปูนแห้งสนิทแล้วจึงซ่อมสีต่อไป
การรั่วซึมแบบหาจุดไม่เจอ ถ้าทำตามวิธีในข้อที่ 2 ทั้งหมดแล้วยังหาจุดรั่วไม่พบ ให้ลองตรวจสอบอีก 2 ตำแหน่งคือ ตำแหน่งท่อจากมิเตอร์ไปยังถังเก็บน้ำ และ ตำแหน่งท่อจากถังเก็บน้ำไปยังตัวบ้าน ซึ่งในบางครั้งท่อเหล่านี้อาจฝังอยู่ใต้ดิน ให้ทดสอบด้วยการปิดวาล์วของท่อน้ำก่อนเข้าถังเก็บน้ำ หากมิเตอร์ยังคงหมุนอยู่ก็แสดงว่าจุดที่รั่วซึมจะต้องอยู่ในท่อจากมิเตอร์ไปยังถังเก็บน้ำ หากไม่หมุนก็อาจเป็นไปได้ที่จุดรั่วซึมอาจจะอยู่ในท่อจากถังเก็บน้ำไปยังตัวบ้าน หากยังหาไม่พบผู้รับเหมาควรแจ้งให้เจ้าของบ้านติดต่อเจ้าหน้าที่ประปา ให้มาทำการตรวจสอบหาตำแหน่งท่อที่รั่วซึม โดยเจ้าหน้าที่ประปาจะมีเครื่องมือสำหรับตรวจสอบท่อน้ำรั่วซึมโดยเฉพาะทำให้สามารถทราบจุดที่เกิดน้ำรั่วซึมได้ จากนั้นจึงค่อยลงมือทำการซ่อมแซมต่อไปค่ะ
การป้องกันแก้ไขท่อน้ำรั่วซึมในจุดต่างๆ ก็ได้อธิบายไปหมดแล้ว ก็หวังว่าจะช่วยหาวิธีแก้ไขให้กับเพื่อนๆ ได้พอสมควร แล้วจะมีวิธีอย่างไรอีกบ้างในการรับมือกับปัญหานี้ ?.. “การทำประกันภัยบ้าน” ถือเป็นอีกทางออกหนึ่งที่จะทำให้เราไม่ต้องเสียเงินก้อนโตไปกับการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น หากวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ท่อน้ำที่ซ่อนอยู่บนฝ้ารั่ว จนฝ้าบวมและหล่นลงมาในห้องพักอาศัย ซึ่งอาจทำความเสียหายให้กับเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ภายในบ้านได้ ถ้าทำประกันภัยบ้านไว้ล่วงหน้า เราก็จะมีผู้รับผิดชอบกับความเสียหายในทรัพย์สินส่วนนี้ให้..หากใครยังไม่เข้าใจถึงเรื่องของ “ประกันภัยบ้าน” ว่าทำหน้าที่อะไร บทความนี้จะยก Case Study ที่เกิดขึ้นจริงมาเล่าให้ฟังกันค่ะ
เริ่ม Case Study แรกกันเลยนะคะ เป็นกรณีของห้องพักในคอนโดที่ระบบท่อน้ำบนฝ้าเกิดรั่ว ทำให้ฝ้าบวมและหล่นลงมาในห้องนอน เมื่อเพดานทะลุลงมาก็โดนเฟอร์นิเจอร์จนได้รับความเสียหาย ส่วนพื้นก็ได้รับความชื้นจนเกิดอาการบวมและราขึ้น สำหรับห้องนี้ทำประกันภัยบ้านไว้จึงแจ้งไปทางบริษัทผู้รับประกันภัย ก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบสาเหตุ เมื่อทราบสาเหตุ (ภัย) เกิดจากท่อน้ำที่รั่วแตก ไม่ได้เกิดจากท่อเสื่อมสภาพ ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขความคุ้มครองของประกันภัยบ้าน ทางเจ้าหน้าที่จึงทำการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อชดเชยความเสียหายให้ต่อไป
ซึ่งเหตุการณ์น้ำที่เข้ามาในบ้านหลังนี้ ทางบริษัทผู้รับประกันภัยก็จะรับเคลมในส่วนของพื้นไม้ที่บวมน้ำ พวกเฟอร์นิเจอร์ที่โดนน้ำ เช่น ฟูกที่นอน เป็นต้น โดยทางผู้รับประกันภัยจะรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทน สำหรับความเสียหายดังกล่าวให้ แต่จะไม่ครอบคลุมถึงตัวต้นเหตุของเรื่องอย่างการซ่อมท่อน้ำที่แตกรั่วนะคะ โดยในส่วนของท่อน้ำที่แตกรั่วนั้น ทางเจ้าของบ้านจะต้องไปซ่อมเองค่ะ
Case Study ที่ 2 กรณีนี้มีสาเหตุมาจากท่อน้ำที่รั่วมาจากบนฝ้าอีกเช่นกัน แต่ห้องนี้เกิดในห้องน้ำ พอทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้รับประกันมาตรวจสอบบริเวณที่ฝ้าบวมน้ำ ก็เจาะฝ้าขึ้นไปตรวจสอบดู พบท่อน้ำรั่วอยู่ จึงมาตรวจดูทรัพย์สินที่เสียหายต่อไป
ตำแหน่งของท่อที่รั่วอยู่ตรงมุมห้อง ทำให้ความชื้นกระจาย 2 ฝั่งผนัง ยิ่งบริเวณขอบวงกบประตูที่เป็นไม้ก็ได้รับความเสียหายจากความชื้นได้ง่าย จะสังเกตเห็นสีผนังที่บวมน้ำจนหลุดร่อนเลยทีเดียว สำหรับห้องนี้ทางบริษัทผู้รับประกันจะรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับผนังที่ได้รับความเสียหาย สีผนังและวงกบที่หลุดร่อน นะคะ
Case Study ที่ 3 เกิดขึ้นกับคอนโดอีกแห่งหนึ่งที่มีน้ำรั่วจากช่องชาร์ป แล้วความชื้นก็ซึมผ่านผนังและพื้นตึกเข้ามาในอาคาร จึงเห็นพื้นไม้ที่บวมและเชื้อราที่เริ่มขึ้นตามผนัง ทางบริษัทผู้รับประกันภัยก็ได้เข้ามารับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในห้องอีกเช่นกัน