9479284

ตำแหน่งนายช่างโยธา กรมชลประทาน

หมวดหมู่สินค้า: ข้อสอบ

11 มีนาคม 2565

ผู้ชม 32 ผู้ชม

นายช่างโยธา กรมชลประทาน
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมชลประทาน
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมชลประทาน
3 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน 2557
4 แนวข้อสอบระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ-พ.ศ.-2547
5 แนวข้อสอบความรู้อุทกวิทยา
6 แนวข้อสอบการควบคุม การบริหารงานก่อสร้าง
7 การเตรียมงานก่อสร้าง
8 การสำรวจเพื่อการก่อสร้าง (Construction Survey)
9 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสำรวจ
10 การออกแบบโครงสร้าง (structural design)
11 ความรู้เกี่ยวกับงานโยธา
12 แนวข้อสอบนายช่างโยธา ชุดที่ 1
13 แนวข้อสอบนายช่างโยธา ชุดที่ 2
MP3 - กรมชลประทาน

แนวข้อสอบ

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 <<


 

 
 
 กรมชลประทานกรมชลประทาน
ประวัติกรมชลประทาน งานชลประทาน เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดลอกคลองและขุดคลองขึ้นใหม่ในบริเวณ ทุ่งราบภาคกลางจำนวนมาก ดำเนินการโดยเอกชน คือบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม Siam Canals, Lands and Irrigation Company) ได้รับพระบรมราชานุญาต เมื่อ พ.ศ. 2431 เริ่มขุดคลองเมื่อพ.ศ. 2433 มีระยะเวลาดำเนินการ ตามสัมปทาน 25 ปี โครงการประกอบด้วยการ ก่อสร้างระบบคลอง ในบริเวณพื้นที่ราบฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เขตจังหวัดปทุมธานี ที่เรียกว่า ทุ่งรังสิต โดยขุดคลองสายใหญ่ เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงไปยังแม่น้ำนครนายก พร้อมกับการสร้างประตูระบายน้ำ สำหรับ ควบคุมการเก็บกักน้ำเพื่อการเพาะปลูก และสร้างประตู เรือสัญจรเพื่อการคมนาคมขนส่งทางน้ำตลอดทั้งปี
หลังจากที่บริษัทดังกล่าวได้ดำเนินการ มาประมาณ 10 ปี เจ้าพระยาเทเวศวงศ์วิวัฒน์ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้ไปตรวจราชการที่ทุ่งรังสิต เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2442 พบว่า ทุ่งรังสิต จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือด้านการชลประทานเป็นการด่วน จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จ้างนายช่างชลประทานชาวต่างประเทศ มาศึกษาพิจารณา และแก้ไขเรื่องการจัดหาน้ำในบริเวณทุ่งรังสิตให้ดีขึ้น พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดหาวิศวกรผู้ชำนาญงานด้านการชลประทาน
yahomanในพ.ศ. 2445 ได้ว่าจ้าง นายเย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเด วิศวกรชลประทานชาวฮอลันดา มาดำเนินงานชลประทานในประเทศไทย และทรงแต่งตั้งให้ นายเย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเด เข้ารับราชการ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2445 พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง "กรมคลอง" และทรงแต่งตั้ง นาย เย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเด เป็นเจ้ากรมคลองคนแรก เพื่อทำหน้าที่ดูแลทำนุบำรุงคลองต่างๆ ไม่ให้ตื้นเขิน
นาย เย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเด ได้ทำรายงานเสนอเห็นควรให้สร้างเขื่อนทดน้ำปิดกั้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง"กรมทดน้ำ"ขึ้นแทนกรมคลอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2457 และทรงแต่งตั้ง นายอาร์ ซี อาร์ วิล สัน เป็นเจ้ากรมทดน้ำ รวมทั้งจัดสร้างโครงการชลประทาน ป่าสักใต้ โครงการสร้างเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ คือ เขื่อนพระราม 6 ขึ้นที่ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ 680,000ไร่ ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทย
เขื่อนพระรามหก ก่อสร้างด้วยหลักวิชาการ ที่ถูกต้องและทันสมัยตามหลักเทคโนโลยีการพัฒนาแหล่งน้ำสมัยใหม่อย่างแท้จริง และนับจากนั้นเป็นต้นมา ได้เริ่มก่อสร้างโครงการชลประทานกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการจัดการหาน้ำเพื่อการเกษตร และเพื่อการอุปโภค บริโภค งานก่อสร้างโครงการชลประทานได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อรองรับการขยายตัวทางการผลิต และความต้องการบริโภคภายในประเทศ
  จนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริว่า หน้าที่ของกรมทดน้ำ มิได้ปฏิบัติงานอยู่เฉพาะแต่การทดน้ำเพียงอย่างเดียว งานที่กรมทดน้ำปฏิบัติอยู่จริงในขณะนั้นมีทั้งการขุดคลอง การทดน้ำ รวมทั้งการส่ง น้ำตามคลองต่าง ๆ อีกทั้งการสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือการเพาะปลูก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก กรมทดน้ำ เป็น กรมชลประทาน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2470 โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบงานการขุดคลอง การทดน้ำ การส่งน้ำ และการสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกอย่างทั่วถึง
ในสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยในการศึกษาและพระ ราชทานแนวพระราชดำริอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการพัฒนาแหล่งน้ำมาตลอด เช่น โครงการอ่างเก็บน้ำเขาเต่า ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อันเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรก ที่กรมชล ประทานก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506 ซึ่งในรัชกาลของพระองค์ได้ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานดำเนินงาน พัฒนาแหล่งน้ำทั่วประเทศมาแล้วประมาณ 2,000 โครงการ
ตราสัญลักษณ์ประจำกรมเครื่องหมายราชการของกรมชลประทาน - เป็นเครื่องหมายรูปกลมลาย    - กลางเป็นภาพพระวรุณถือพระขรรค์ ประทับยืนอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว (หมายถึง อำนาจ บริหาร อันทรงไว้ซึ่งความสุจริต ยุติธรรมและการตัดสินแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ) เสด็จลีลามาบนหลังพญานาค (แสดงว่าสังกัดกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)      - ด้านข้างทั้งสองเป็นภาพพญานาค กำลังพ่นน้ำ (หมายถึงการให้น้ำแก่มนุษยชาติ เพื่อใช้ในกิจการต่างๆให้เกิดความอุดมสมบูรณ์)      - เบื้องล่างนอกขอบเครื่องหมาย มีอักษรข้อความชื่อ กรมชลประทาน เป็นโค้งรองรับ (ไม่จำกัดสีและขนาด)      - ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 167) ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม 2544 ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนที่ 46 หน้า 1 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2544                          
กฎหมายและระเบียบ – พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545      – พ.ร.บ.ปรบปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545       – พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540      – พ.ร.ฎ.การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดิน พ.ศ. 2546      – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2546      – กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2545      – กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2545 (ปรับปรุง)      – กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2554       – กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2557  
กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรม – พระราชบัญญัติรักษาคลอง รัตนโกสินทร์ ศก 121 (พ.ศ. 2445)      – พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พุทธศักราช 2482      – พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485      – พระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. 2505      – พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517      – พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง – พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484      – พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504      – พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507      – พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511      – พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518      – พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518      – พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530       – พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535      – พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535      – พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535      – พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539      – พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542      – ประมวลกฎหมายที่ดิน      – ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์      – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 
ทำเนียบผู้บริหารนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทานนายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษานายชูชาติ รักจิตร รองอธิบดีฝ่ายก่อสร้างนายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการนายศักดิ์ศิริ อยู่สุข รองอธิบดีฝ่ายบริหารนายสมพร อารยชาติสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธานายวัชระ เสือดี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทานนายพงศธร ศิริอ่อน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธานายชุตินทร เพ็ชรไชย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธานายประพิศ จันทร์มา ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม (DCIO)นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ ผู้บริหารข้อมูลระดับสูง (CDO)
Engine by shopup.com