9460050

ตำแหน่งนักวิชาการเงินบัญชี สำนักงานสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์

หมวดหมู่สินค้า: ข้อสอบ

10 มีนาคม 2565

ผู้ชม 70 ผู้ชม

นักวิชาการเงินบัญชี สำนักงานสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมส่งเสริมสหกรณ์
2 แนวข้อสอบกรมส่งเสริมสหกรณ์
3 สรุปข่าวเด่น-ความรู้ทั่วไป-เกี่ยวกับสังคม-เศรษฐกิจ-การเมือง-การกีฬา
4 แนวข้อสอบภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
5 แนวข้อสอบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน
6 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
7 แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
8 หลักการบัญชีเบื้องต้น
9 แนวข้อสอบการบัญชีเบื้องต้น
10 แนวข้อสอบการเงินและบัญชี
11 เทคนิคการสอบสัมภาษณ์

แนวข้อสอบ

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 <<


 

 
 
 กรมส่งเสริมสหกรณ์กรมส่งเสริมสหกรณ์
ประวัติความเป็นมาของหน่วยงานที่รับผิดชอบงานสหกรณ์ มีดังนี้
แผนกการสหกรณ์ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (พ.ศ. 2458 - 2463) หน่วยราชการที่รับผิดชอบงานสหกรณ์ เริ่มจากเป็นแผนกหนึ่งในกรม พาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2458 เหตุที่จัดตั้งแผนกสหกรณ์ขึ้นในส่วนราชการแห่งนี้ เพราะว่า กรมพาณิชย์ และสถิติพยากรณ์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาค และการจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกก็ได้อาศัยเงินกู้จาก แบงก์สยามกัมมาจลทุน- จำกัด(ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน) โดยกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็น ผู้ค้ำประกันอยู่ จึงจำเป็นที่จะต้องให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติทำการควบคุม และดูแลผลการดำเนินงานของสหกรณ์อย่างใกล้ชิด ในขณะนั้นมี พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีและ นายทะเบียนสหกรณ์เป็นพระองค์แรก 
กรมสหกรณ์กระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2463 - 2477) หลังจากที่ได้จัดตั้งแผนกสหกรณ์ ก็ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น ปรากฎว่าได้ ผลดี สหกรณ์จึงได้รับการส่งเสริมสนับสนุน จากทางราชการยิ่งขึ้นเพราะสามารถ ทำประโยชน์ให้กับสมาชิกทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2463 จึงเป็นผลให้แผนกสหกรณ์ได้รับการ สถาปนาขึ้นเป็นกรมสหกรณ์ โดยมีพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์สืบต่อ มาจนถึง พ.ศ. 2468 ต่อมาในพ.ศ. 2469 กระทรวงพาณิชย์ได้รวมกับกระทรวง คมนาคม เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม" มีหม่อมเจ้าฉลาดลบเลอสรรค์กมลาสน์ เป็นปลัดทูลฉลองฯ และทรงดำรงตำแหน่ง นายทะเบียนสหกรณ์ด้วยในตอนปลายปี พ.ศ. 2469 นั่นเองพระยาพิพิธสมบัติ (ตาบ กุวานนท์) ก็ได้เข้ารับตำแหน่งปลัดทูลฉลองฯ และ นายทะเบียนสหกรณ์ ต่อจากหม่อมเจ้าฉลาดลบเลอสรรค์กมลาสน์จนถึง พ.ศ. 2475 ในขณะที่แผนกการสหกรณ์ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกรมสหกรณ์แล้วแต่ก็ยังไม่มีการแต่งตั้งอธิบดีมีเพียงนายทะเบียนสหกรณ์ ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่า อธิบดีกรม เป็นหัวหน้าบังคับบัญชา ในตอนกลางปีพ.ศ. 2475 หลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยาโทณวนิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวนิก) ก็ได้ เข้ามารักษาราชการแทนพระยาพิพิธสมบัติในตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์ ประมาณ 1 เดือน จึงได้มีประกาศของคณะราษฎร์ ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2475 ว่ามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้หลวงเดชสหกรณ์ (ม.ล.เดช สนิทวงศ์) เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ สำหรับในปี พ.ศ. 2475 กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงเกษตรพาณิชยการ จนถึง พ.ศ. 2476 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงเศรษฐการ และมีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพิ่มเติมได้แบ่ง หน้าที่การงานในกระทรวง เศรษฐการออกเป็น2ทบวง คือ กรมสหกรณ์ กระทรวงเกษตราธิการ (พ.ศ. 2478 - 2494) เมื่อปลายปี พ.ศ. 2477 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพิ่มเติม พ.ศ. 2477 ฉบับที่ 3 ยกฐานะทบวงเกษตราธิการเป็น กระทรวงเกษตรา- ธิการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2478 หลวงเดชสหกรณ์ ได้ดำรงตำแหน่งปลัด กระทรวงฯ และพระพิจารณ์พาณิชย์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาราชการ ตำแหน่งอธิบดีกรมสหกรณ์ และนายทะเบียนสหกรณ์อยู่ชั่วระยะหนึ่งจึงมี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้พระประกาศสหกรณ์ และดำรง ตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 จนถึงพ.ศ. 2485 จึงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งปลัด กระทรวงเกษตราธิการ และโปรดเกล้าฯ ให้พระพิจารณ์พาณิชย์ ผู้ช่วยอธิบดี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมและนายทะเบียนสหกรณ์จนถึง พ.ศ. 2492 จึงพ้นจาก ตำแหน่งเพราะครบเกษียณอายุ และได้แต่งตั้งให้ ม.ล.อุดม ทินกร ณ อยุธยา เป็นผู้รักษาราชการแทนนายทะเบียนสหกรณ์ชั่วระยะหนึ่ง จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพงส์ สรีวรรธนะ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมและ นายทะเบียนสหกรณ์เมื่อ วันที่ 18 พฤษภาคม 2493 สำหรับสถานที่ตั้งกรมสหกรณ์ ขณะที่สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ในขั้น แรกอาศัยอยู่ในบริเวณกระทรวงเกษตราธิการ ต่อมาใน พ.ศ. 2481 ปริมาณงาน และจำนวนข้าราชการสหกรณ์เพิ่มมากขึ้น จึงได้ย้ายสถานที่ไปเช่าอยู่ที่วังพระบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ถนนมหาราช ตำบลพระราชวัง อำเภอ พระนคร
กระทรวงสหกรณ์ (พ.ศ. 2495 - 2506) ในระหว่าง พ.ศ. 2478 - 2494 กิจการสหกรณ์ได้ขยายกว้างขวางขึ้นเป็น อันมากทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ สามารถช่วยเหลือราษฎรให้มีมาตรฐาน การครองชีพสูงขึ้น ในระดับที่น่าพึงพอใจ คณะรัฐบาลสมัยนั้นจึงถือเอาการ สหกรณ์เป็นนโยบายหลักอันสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ และเพื่อให้ การสหกรณ์ในประเทศไทยเจริญรุดหน้าสมความมุ่งหมายของรัฐบาลในการแก้ไข ภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น จึงได้ยกฐานะกรมสหกรณ์เป็นกระทรวง การสหกรณ์ใน พ.ศ. 2495 โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี รักษา ราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสหกรณ์ และในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2495 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งให้พลอากาศตรี มุนีมหาสัมทนะเวชยันต์รังสฤษดิ์ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสหกรณ์ ต่อจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม จนกระทั่งวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2495 จึงได้มีประกาศพระบรมราชโองการ แต่ง ตั้งให้ พลเรือตรีหลวงยุทธศาสตร์โกศล รน. เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ สหกรณ์ และมีนายพงส์ สรีวรรธนะ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ตามเดิมต่อมาใน ปี พ.ศ. 2496 กระทรวงการสหกรณ์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2496 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2496 มีผู้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ คือพลเรือเอกหลวงยุทธศาสตร์โกศล รน ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง นายพงส์ สรีวรรธนะ ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงสหกรณ์และ นายทะเบียนสหกรณ์ นาวาอากาศโทพระเทวัญอำนวยเดช ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายเชื้อ วายวานนท์ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสหกรณ์ธนกิจ นายพจน์ สังขะฤกษ์ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสหกรณ์พาณิชย์ ม.ล.อุดม ทินกร ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
ส่วนสถานที่ตั้งกระทรวงสหกรณ์ ภายหลัง วังกรมหมื่นพิชัยหินทโรดมบอก เลิกสัญญาเช่าแล้ว จึงได้ย้ายไปอยู่ที่โรงเรียมตั้งตรงจิตร บริเวณวัดพระเชตุพนวิ- มลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เป็นการชั่วคราวก่อน ต่อมาจึงได้สร้างกระทรวงสหกรณ์ ขึ้นข้างวัดปรินายก เชิงสะพานผ่านฟ้าลีสาศ และเข้าอยู่เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2500ในปี พ.ศ. 2500 นายพงส์ สรีวรรธนะ ครบเกษียณอายุพ้นจากตำแหน่งจึง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ นายเชื้อ วายวานนท์ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสหกรณ์ อีกตำแหน่งหนึ่ง และให้ นายทนุ สาตราภัย ผู้อำนวยการกองเศรษฐการสหกรณ์ ดำรงตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2500-2502 ซึ่งในช่วงระยะเวลา ดังกล่าว ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี และมีพระบรมราชโองการโปรด เกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสหกรณ์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 ต่อมาใน พ.ศ. 2502 จึงได้มี คำสั่งแต่งตั้งให้ นายเชื้อ วายวานนท์ ดำรงตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์จนถึง พ.ศ. 2505
ส่วนราชการสหกรณ์ในกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ (พ.ศ. 2506 - 2515) ใน พ.ศ. 2506 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ให้ยุบเลิก กระทรวงสหกรณ์ และโอนงานทั้งหมดไปเป็นของกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติที่ ตั้งขึ้นใหม่ โดยให้แยกส่วนราชการสหกรณ์ออกมาดังนี้ คือ กองที่เกี่ยวกับการ สหกรณ์ให้ขึ้นกับสำนักงานปลัดกระทรวงฯ นอกจากนี้ก็จัดให้มีกรมสหกรณ์ที่ดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่ง นายทะเบียนสหกรณ์ในระยะนั้นมีดังนี้ คือ -นายทนุ สาตราภัย ระหว่าง พ.ศ. 2506 - 2510 -พลโทชาญ อังศุโชต ระหว่าง พ.ศ. 2510 - 2511 -พันเอกสุรินทร์ ชลประเสร็ฐ ระหว่าง พ.ศ. 2511 - 2515 -นายสัมฤทธิ์ เลิศบุศย์ ใน พ.ศ. 2514-2515 นับตั้งแต่ได้จัดตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติขึ้นใหม่ รัฐบาลก็ได้มีการ ศึกษาการสหกรณ์มากขึ้น จนถึง พ.ศ. 2511 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย และออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 โดยเปิดโอกาสให้มีการควบสหกรณ์เข้าด้วยกัน ตลอดจนได้จัดแบ่งสหกรณ์ตาม กฎกระทรวงออกเป็น 6 ประเภท
กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2545) ใน พ.ศ. 2515 ได้มีคำสั่งคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2515 ยกเลิก พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2506 ตั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้นและยกเลิกกระทรวงพัฒนา การแห่งชาติ พร้อมนี้ได้มีคำสั่งคณะปฏิวัติฉบับที่ 217 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2515 ให้โอนอำนาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการ ส่งเสริมการสหกรณ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ กรมสหกรณ์ ที่ดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ เป็นกรมส่งเสริมสหกรณ์ สังกัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ โดยมี พันเอกสุรินทร์ ชลประเสริฐ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรม ส่งเสริมสหกรณ์และนายทะเบียนสหกรณ์เป็นคนแรก
กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน) กรมส่งเสริมสหกรณ์ตามโครงสร้างใหม่โดยอาศัย กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2545
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์
ความหมายของตราสัญลักษณ์ เป็นดวงตรารูปกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ซ.ม. ลายกลางเป็นรูปพระวรุณมี 4 กร พระหัตถ์ถือเชือกบาศ แว่นแก้ว ดอกบัว และถุงเงิน ทรงนาครองรับด้วยลายเมฆ มีรัศมีเป็น วงโค้งอยู่เบื้องหลัง:เบื้องล่างเหนือขอบตรามีอักษรว่า "กรมส่งเสริมสหกรณ์ "
  กองหัตถกรรมกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความหมายของตราประจำ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ดังนี้ พระหัตถ์ถือ เชือกบาศ หมายถึง งานประชาสัมพันธ์ แว่นแก้ว หมายถึง งานสำรวจจัดตั้ง ดอกบัว หมายถึง งานวิเทศสัมพันธ์ ถุงเงิน หมายถึง งานสหกรณ์ออมทรัพย์ ทรงนาค รองรับด้วยลายเมฆ หมายถึง สัญลักษณ์แห่งความชุ่มชื้น และความอุดมสมบูรณ์อำนาจหน้าที่ประกาศของคณะปฏิวัติ       1.ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 217 ลงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2515 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 17 เล่มที่ 83 ตอนที่ 145 วันที่ 29 กันยายน 2515)      2.ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 263 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515  (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 21 เล่มที่ 89 ตอนที่ 177 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2515)  พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์      1.พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2537  (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม  111 ตอนที่ 19 ง วันที่ 8 มีนาคม 2537)
กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1.กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2557 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 131 ตอนที่ 88 ก วันที่ 30 ธันวาคม 2557) 2.กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2554  (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 129 ตอนที่ 3 ก วันที่ 6 มกราคม 2554) 3.กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2545 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 119 ตอนที่ 103 ก วันที่ 9 ตุลาคม 2545)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1. พรบ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2. พรบ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511
กรมส่งเสริมสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังต่อไปนี้  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการนิคมสหกรณ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการตามที่นายทะเบียนสหกรณ์มอบหมายในการรับจดทะเบียน ส่งเสริม แนะนำ กำกับ และดูแลสหกรณ์ รวมทั้งตามอำนาจหน้าที่อื่นๆ ที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ 3. ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และคุ้มครองระบบสหกรณ์ 4. ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป 5. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อพัฒนาระบบสหกรณ์ การบริหารจัดการองค์กร และการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้มีประสิทธิภาพและเข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม 6. ศึกษาและวิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสหกรณ์ให้กับคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ 7. ศึกษา วิเคราะห์ ความต้องการของตลาดสินค้าสหกรณ์และสร้างเครือข่ายการเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างสหกรณ์กับสหกรณ์สหกรณ์กับเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ 8. ส่งเสริมและสนับสนุนด้านเงินทุน ข้อมูลสารสนเทศ เทคโนโลยี และทรัพยากรอื่นๆ ที่เหมาะสมในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
วิสัยทัศน์กรมส่งเสริมสหกรณ์ วิสัยทัศน์ : “การสหกรณ์มั่นคง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็ง เศรษฐกิจและสังคมของชุมชนยั่งยืน” Goal : ระบบสหกรณ์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน KPI Goal : 1. รายได้ของสถาบันเกษตรกรจากการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 3 ต่อปี) 2. จำนวนเงินออมของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 1 ต่อปี) 3. อัตราส่วนเงินออมต่อหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 1 ต่อปี)พันธกิจ : 1. กำกับดูแลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้อยู่ในกรอบของกฎหมายและทันต่อสถานการณ์ 2. เสริมสร้างการเรียนรู้และทักษะด้านการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์และประชาชนทั่วไป 3. ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. สนับสนุนด้านเงินทุน สารสนเทศ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้แก่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
ยุทธศาสตร์ : 1 เสริมสร้างการสหกรณ์ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน
กลยุทธ์ : 1. สร้างกระบวนการของการสหกรณ์ ให้เกิดความเชื่อมโยง ตั้งแต่ต้นน้ำจรดปลายน้ำให้กับภาคการเกษตร สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร (End to End process) 2. สร้างกลไกการเข้าถึงข้อมูลการผลิตและการตลาดให้กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 3. การเสริมสร้างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้สหกรณ์และสมาชิกมีสภาพความเป็นอยู่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดภาระหนี้สิน
ยุทธศาสตร์ : 2. พัฒนาและสร้างศักยภาพของสถาบันเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการตลาดตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain)กลยุทธ์ : 1. พัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีและการจัดการสมัยใหม่ 2. การส่งเสริมและสนับสนุนความรู้ที่ตรงตามความต้องการเฉพาะกลุ่มและนำไปใช้งานได้ 3. การสร้างเครือข่าย (Networking Builder) ระหว่างกลุ่มสหกรณ์ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) 4. ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 5. ส่งเสริมมูลค่าเพิ่มสินค้าของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยการสร้างตราสินค้า (Brand)
ยุทธศาสตร์ : 3. พัฒนาการบริหารจัดการและธรรมาภิบาลในระบบสหกรณ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการสร้างนวัตกรรมในการบริหารจัดการกลยุทธ์ : 1. ยกระดับ (พัฒนา ปรับปรุงและช่วยเหลือ) สหกรณ์ไม่ผ่านมาตรฐานไปสู่มาตรฐานชั้นดี 2. Revisit and reinforce ทบทวน ปรับแก้ และเสริมสร้างกระบวนการส่งเสริมสหกรณ์ให้เข้มแข็ง 3. ยกระดับ (พัฒนา และช่วยเหลือ) สหกรณ์ที่ผ่านมาตรฐานไปสู่มาตรฐานชั้นดีมากและดีเลิศ 4. สร้างระบบการรายงานที่สามารถตรวจสอบและรู้เท่าทัน (Integrity Risk) 5. สร้างมาตรฐานระบบการบริหารจัดการสหกรณ์ชั้นดี และระบบตรวจสอบ 6. พัฒนาคณะกรรมการสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ ในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการบริหารจัดการสหกรณ์
ยุทธศาสตร์ : 4. พัฒนาระบบบริหารจัดการของกรมส่งเสริมสหกรณ์กลยุทธ์ : 1. การปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความคล่องตัว 2. สร้างระบบฐานข้อมูล พร้อมระบบแจ้งเตือน ปรับข้อมูลให้เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น และตัววัดที่ใช้ในการติดตามได้รวดเร็วฉับไวยิ่งขึ้น และมีการบูรณาการเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจ 3. การพัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะของบุคลากร โดยเสริมสร้างองค์ความรู้สมัยใหม่และรูปแบบการพัฒนา และการทำงานต้องมีความเชื่อมโยงเครือข่ายภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ 4. เสริมสร้างการจูงใจความผูกพัน การเรียนรู้รูปแบบใหม่ และความก้าวหน้าทางอาชีพ 5. การพัฒนากระบวนงาน งานวิจัย สร้างองค์ความรู้ สร้างการรับรู้ในการพัฒนากระบวนการด้านการสหกรณ์
ติดต่อกรม12 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0-2281-3095 , 0-2281-1900โทรสาร 0-2282-6078 Email : cms@cpd.go.t
Engine by shopup.com