ตำแหน่งหลักสูตรความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
10 มีนาคม 2565
ผู้ชม 73 ผู้ชม
หลักสูตรความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม
2 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
3 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535
4 การจำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับการเก็บรักษา
5 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม
6 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2551
7 แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535
8 คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย
9 ถาม-ตอบ หลักความปลอดภัยในการทำงาน
10 เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
MP3-P031 - แนวข้อสอบพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<
ประวัติของ กรอ.อุตสาหกรรมยุคแรก ประเทศไทยเริ่มมีการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมมาแต่สมัยโบราณ แต่การอุตสาหกรรมในขณะนั้นเป็นประเภทสินค้าหัตถกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การทอผ้า การตีเหล็ก การจักสาน การแกะสลักไม้ การทำทองรูปพรรณ และการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เช่น โรงงานสุรา โรงงานน้ำตาลทรายแดง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้นโดยมีชาวต่างประเทศเข้ามาสร้างโรงงาน เช่น โรงกษาปณ์ โรงสีข้าว โรงเลื่อย และหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการพัฒนาด้านการอุตสาหกรรม โดยเอกชนได้เริ่มลงทุนก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นอีกหลายประเภท เช่น โรงงานบุหรี่ โรงงานทำกระดาษ โรงงานทำน้ำอัดลม โรงงานทำสบู่ แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำลงทั่วโลกในปี พ.ศ. 2470 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยด้วย ทำให้ไม่มีการขยายตัวทางอุตสาหกรรมในประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว
การก่อตั้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลได้ยึดแนวการบริหารประเทศ โดยคำนึงถึงความสมบูรณ์ของราษฎรทางด้านเศรษฐกิจจึงได้จัดทำแผนการดำเนินการทางเศรษฐกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอุตสาหกรรม กิจการบางอย่างที่เป็นสาธารณูปโภค รัฐจะเข้าควบคุมดูแลตลอดจนการร่วมงานกับบริษัทเอกชนดำเนินการในรูปของบริษัทสาธารณะ ส่วนที่ไม่เป็นสาธารณูปโภคจะให้ประชาชนดำเนินการธุรกิจอุตสาหกรรมได้ พ.ศ. 2485 เพื่อเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรม รัฐบาลในสมัยนั้นจึงมีนโยบายที่จะจัดสร้างและดำเนินการอุตสาหกรรมและการพาณิชยกรรมภายในประเทศให้เป็นปึกแผ่น โดยแก้ไขพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยยุบกระทรวงการเศรษฐกิจและจัดตั้งกระทรวงใหม่ขึ้น 2 กระทรวงคือ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม 5 พฤษภาคม 2485 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้รับการสถาปนาเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุตสาหกรรม โดยมีหน้าที่ดูแลโรงงานต่างๆที่เป็นของรัฐ ควบคุมดูแลการดำเนินงานของโรงงานเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงมาตรฐานแห่งคุณภาพและปริมาณ ตลอดจนรักษาระดับราคาของผลิตภัณฑ์ที่โรงงานต่างๆผลิตจำหน่ายแก่ประชาชน พร้อมทั้งสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เห็นว่ามีความจำเป็นแก่ประเทศชาติในยามสงคราม
ตราสัญลักษณ์ ความเป็นไทย หน้าจั่ว ลายไทย ลายกนก โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ตราสัญลักษณ์ แสดงถึงความเรียบง่าย แสดงความเป็นไทยสมัยใหม่ ลักษณะคล้ายเปลวไฟเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมอันหมายถึงความรุ่งเรือง ความเจริญ การงาน ฯลฯด้านนอกเป็นรูปเฟือง หมายถึง อุตสาหกรรม ภายในเป็นรูปวงกลมเป็นรูปพระนารายณ์ หมายถึง การปกป้องดูแลความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และยังหมายถึงการสร้างเสริมและพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมของประเทศให้ก้าวหน้าสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ สีธงชาติ หมายถึง อุตสาหกรรมไทย ที่มีความมั่งคง ความก้าวหน้า การสงเสริมอุตสาหกรรมไทยให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น
วิสัยทัศน์ ขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรม ให้ทันสมัย ก้าวไกล ยั่งยืน
พันธกิจ 1. บริหารจัดการ การกำกับดูแลธุรกิจอุตสาหกรรมรวมถึงวัตถุอันตรายด้านการผลิต สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยตามกรอบของกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ 2. ส่งเสริม สนับสนุนข้อมูลและองค์ความรู้ด้านเครื่องจักร การผลิต สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย วัตถุอันตรายพลังงานและความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม 3. พัฒนาสมรรถนะองค์การและบุคลากร 4. บริหารจัดการการกำกับดูแล และติดตามผล การถ่ายโอนภารกิจตามกฎหมายโรงงานให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วัฒนธรรม ทำงานด้วยความมุ่งมั่น สัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง สอดคล้องความเปลี่ยนแปลง
ค่านิยม อำนวยความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ใฝ่พัฒนา
โครงสร้าง กรอ. -ศูนย์บริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล (ศบพ.) -กลุ่มตรวจสอบภายใน (ตสน.) -สำนักงานเลขานุการกรม (สล.) -กองกฎหมาย (กม.) -กองบริการงานอนุญาตโรงงาน 1 (กร. 1) -กองบริการงานอนุญาตโรงงาน 2 (กร. 2) -กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม (กกอ.) -กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย (กวอ.) -กองพัฒนาระบบมาตรฐานงานกำกับโรงงาน (กมร.) -กองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (กอน.) -กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (กย.) -กองวิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงาน (กวภ.) -กองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม (กทพ.) -กองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน (กปภ.) -กองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน (กทส.) -ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศส.) -สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง (สจก.)
รายชื่ออธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมลำดับที่ ผู้ดำรงตำแหน่ง ระยะเวลาดำรงตำแหน่งชื่อ สกุล เริ่มต้น สิ้นสุด1 พล.ต.ม.ล.อภิรุม ชุมสาย 2485 24872 พล.ต.พระยาสรกิจพิศาล 2487 24893 ม.จ. สิทธยากร วรวรรณ 2489 24974 นายประวัติ สุขุม 2497 25005 พล.ต.จำรูญ วีณะคุปต์ 2500 25016 นาวาตรีหยู่ ทองเวส 2501 25037 นายสอาด มีชูธน 2503 25108 นายอุดมศักดิ์ ภาสะวณิช 2510 25229 นายวีระ สุสังกรกาญจน์ 2522 252510 นายวิสิทธิ์ น้อยพันธุ์ 2525 252711 นายพิศาล คงสำราญ 2527 252712 นายจำนงค์ พนัสจุฑาบูลย์ 2527 252813 นายพิศาล คงสำราญ 2528 253114 นายยิ่งยง ศรีทอง 2531 253415 นายปรีชา อรรถวิภัชน์ 2534 253616 นายมนัส สุขสมาน 2536 253817 นายเทียร เมฆานนท์ชัย 2538 254318 นางสาวกัญญา สินสกุล 2543 254419 นายวิระ มาวิจักขณ์ 2544 254620 นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค 2546 254721 นายอิสสระ โชติบุรการ 2547 254922 นายรัชดา สิงคาลวณิช 2549 255223 นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี 2552 255324 นายประพัฒน์ วนาพิทักษ์ 2553 255425 นายอาทิตย์ วุฒิคะโร 2554 255526 นายประพัฒน์ วนาพิทักษ์ 2555 255627 นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ 2556 255728 นายพสุ โลหารชุน 2557 255929 นายมงคล พฤกษ์วัฒนา 2559 256130 นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ 2561 256231 นายประกอบ วิวิธจินดา 2562 ปัจจุบัน
ติดต่อ : อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400โทรศัพท์ : 0 2202 4105-6โทรสาร : 0 2202 4053e-mail : sahawat.s@diw.mail.go.th