ตำแหน่งพนักงานปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ Hardware ธ.ก.ส.
10 มีนาคม 2565
ผู้ชม 55 ผู้ชม
พนักงานปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ Hardware ธ.ก.ส.
1 ความรู้เกี่ยวกับ ธ.ก.ส.
2 แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับ ธ.ก.ส.
3 การคิดวิเคราะห์และเหตุผล
4 ความสามารถเชิงคณิตศาสตร์
5 ความสามารถด้านภาษาไทย
6 แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ
7 แนวข้อสอบความละเอียดแม่นยำด้านมิติสัมพันธ์
8 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล Database System concepts
9 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
10 ถาม-ตอบ ความรู้เรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
11 ถาม - ตอบ เรื่องระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์
12 แนวข้อสอบระบบปฏิบัติการ unix (ถาม-ตอบ)
MP3 - ภาษาอังกฤษ
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<
ประวัติการก่อตั้ง จุดเริ่มต้น ธ.ก.ส. พ.ศ. 2509 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร สำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มรายได้หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรหรือครอบครัวของเกษตรกร
นายจำเนียร สาระนาค ผู้จัดการ ธ.ก.ส. คนแรกได้วางรากฐานการดำเนินงานพร้อมทั้งอุดมการณ์การทำงานให้พนักงาน ธ.ก.ส. ทุกคนละเว้นการอันควรต่าง ๆ โดยได้อบรมสั่งสอนให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว ซื่อสัตย์ สุจริต และไม่เบียดเบียนลูกค้า เพราะงานสินเชื่อเพื่อการเกษตร เป็นงานที่กว้างขวางและซับซ้อน ต้องศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อให้มีความรู้ ความชำนาญยิ่งขึ้น ขอให้ท่านละเว้นการอันควรละเว้น ไม่เบียดเบียนเกษตรกรลูกค้า จงทำงานหนัก เร่งรัด ฉับไว ถูกต้อง และแม่นยำ กอร์ปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งพนักงาน ธ.ก.ส. ถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม
แนวนโยบายผู้ถือหุ้นภาครัฐ (Statement of Directions : SODs)กระทรวงการคลังโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจจัดทำแผนงานรายปีและแผนวิสาหกิจระยะ 5 ปี ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจภาพรวมและรายสาขา เพื่อให้เกิดการพัฒนารัฐวิสาหกิจอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้นำไปปฏิบัติและประเมินผลการดำเนินงาน ดังนี้
1.ยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจภาพรวมรัฐวิสาหกิจมีบทบาทในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ โดยสามารถเร่งการลงทุนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และมีความแข็งแกร่งทางการเงิน โดยเน้นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนางานและเพิ่มประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบธรรมาภิบาลที่โปร่งใสและมีคุณธรรม และการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
2.ยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจสาขาสถาบันการเงินเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนา ในการสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึงควบคู่กับการให้ความรู้ทางการเงินเพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมภายใต้การบริหารจัดการองค์กรที่มั่นคง โปร่งใส และยั่งยืนโดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและให้บริการทางการเงิน
วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท
พันธกิจ(Mission) 1) เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ให้บริการทางการเงินครบวงจรและทันสมัยในภาคชนบท 2) พัฒนาการบริหารและจัดการทรัพยากร เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูงอย่างมีธรรมาภิบาล 3) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและเพิ่มรายได้ของคนในชนบท 4) สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชน โดยให้ความรู้และเงินทุนที่คำนึงถึงคุณค่าร่วมที่สมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ค่านิยม (Value) Sustainability (S) ความยั่งยืนทั้งองค์กร พนักงาน ลูกค้า ชุมชน เครือข่าย ผู้ถือหุ้น สังคม และสิ่งแวดล้อม Participation (P) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Accountability (A) ความสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการและพนักงาน Respect (R) ความเคารพและให้เกียรติต่อตนเองและผู้อื่น Knowledge (K) การส่งเสริม และยกระดับการนำความรู้สู่นวัตกรรมให้เป็นธนาคารแห่งการเรียนรู้ และนำนวัตกรรมไปช่วยยกระดับรายได้ของเกษตรกร
คณะกรรมการ ธ.ก.ส.นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตำแหน่ง ประธานกรรมการ ธ.ก.ส.นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตำแหน่ง รองประธานกรรมการ ธ.ก.ส.นายจำเริญ โพธิยอด ผู้แทนกระทรวงการคลัง ตำแหน่ง กรรมการ ธ.ก.ส.นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตำแหน่ง กรรมการ ธ.ก.ส.นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ ตำแหน่ง กรรมการ ธ.ก.ส.นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข ผู้แทนสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตำแหน่ง กรรมการ ธ.ก.ส.
ฝ่ายจัดการนายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการนายสุรชัย รัศมี รองผู้จัดการนายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการนายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการนายสันติ เจริญสุข รองผู้จัดการนายเสกสรรค์ จันทร์ขวาง รองผู้จัดการนายพีระพงศ์ คำชื่น รองผู้จัดการนายนพดล ศรีสรรค์ รองผู้จัดการนายวิชาญ ศรีรัตนะวิไล ผู้ช่วยผู้จัดการนายดำรงชัย เดชาธิคม ผู้ช่วยผู้จัดการนายภานิต ภัทรสาริน ผู้ช่วยผู้จัดการนายสมชาย คมพงษ์ปภา ผู้ช่วยผู้จัดการนางณิชา อวยพรรุ่งรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการนายชัพพ์ คงมนต์ ผู้ช่วยผู้จัดการนายรัตนะชัย ดำเนินสวัสดิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการนางภาวนา เจริญชัยมงคล ผู้ช่วยผู้จัดการนายโสรัต โสพรรณรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการนายโยธิน เพิ่มพูล ผู้ช่วยผู้จัดการนายยุวพล วัตถุ ผู้ช่วยผู้จัดการนายพงษ์พันธ์ จงรักษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการนายณรงค์ สวรรค์โพธิ์พันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ
ยุทธศาสตร์การดำเนินงานขององค์กร ระยะ 5 ปี ปีบัญชี 2564-2568 ปีบัญชี 2564 มุ่งเป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่มีความคล่องตัว ทันสมัย มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน โดยแบ่งออกเป็น 2 มิติ คือ มิติองค์กร มุ่งจัดการข้อมูลและคุณภาพข้อมูล (Big Data) นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Agile) ยกระดับบุคลากรให้เป็นผู้เชี่ยวชาญตามสายอาชีพและเป็นที่ปรึกษาธุรกิจลูกค้า สร้าง Platform ให้รองรบการทำงานร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ ส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อพัฒนาองค์กรและชุมชน สำหรับ มิติลูกค้าและชุมชน มุ่งบริหารจัดการคุณภาพหนี้ทั้งระบบ ยกระดับลูกค้าให้มีความเข้มแข็งทางธุรกิจ ส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน และขับเคลื่อนการดำเนินงานธนาคารภายใต้แนวคิด ESG ตามแนวทาง BCG
เป้าประสงค์เชิงวิสัยทัศน์ที่ 1 ธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน เพื่อบริการทางการเงินที่ครอบคลุมและครบวงจร บริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูง และ การเงินเพื่อความมั่นคงภายใต้แนวคิด ESG ขับเคลื่อนผ่าน 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการบริการทางการเงินครบวงจรและทันสมัย มุ่งเน้นการนำเส้นทางการใช้บริการของลูกค้า (Customer Journey) และประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) มาเพื่อพิจารณาค้นหาประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ (Value Proposition) โดยใช้เครื่องมือ Business Model Canvas (BMC) วิเคราะห์รูปแบบของปัญหาลูกค้า เพื่อเป็นปัจจัยนำเข้าข้อมูลสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Data to Product) ด้วยหลักการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และหลักการทำงานแบบ Agile มาพัฒนาการบริการทางการเงินครบวงจรและทันสมัย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากรรองรับภารกิจ มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถองค์กร สู่การเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูง (High Performance Organization : HPO) ซึ่งขับเคลื่อนโดยการพัฒนาบุคลากรให้เกิดความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ การปฏิรูปกระบวนการทำงานและการสร้างนวัตกรรมตามแนวทาง TQA ภายใต้การสนับสนุนด้วยระบบสารสนเทศที่บูรณาการและเป็นไปตามแนวทาง Data Governance
ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารจัดการทุนอย่างสมดุลและรายได้ทางการเงินและไม่ใช่การเงินอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นการรวบรวมข้อมูล และสถิติต่างๆ จากปัจจัยภายนอกและภายในที่สำคัญ เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก ภาวะเศรษฐกิจประเทศไทย ภาวะหนี้สินครัวเรือน ภัยธรรมชาติ อายุลูกค้า การ Over Lending แนวโน้มการเติบโตสินเชื่อ ทั้งในปัจจุบันและในอดีตโดยใช้เครื่องมือทางสถิติ และ Finance Model มาวิเคราะห์ประมาณการทางการทางเงิน และอัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะสม เพื่อวางแนวทางในการบริหารจัดการต้นทุนรวมและรายได้รวม ด้วยหลักการทำงานแบบ Agile มาบริหารจัดการทางการเงินให้สมดุลและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม ควบคู่กับการมีธรรมาภิบาลที่ดี ภายใต้แนวคิดธนาคารเพื่อความยั่งยืน
เป้าประสงค์เชิงวิสัยทัศน์ที่ 2 พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท และส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจฐานราก ขับเคลื่อนผ่าน 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ฟื้นฟู พัฒนา สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก มุ่งให้ความช่วยเหลือเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก ทั้งการบริหารจัดการหนี้ทั้งระบบแก่เกษตรกร บุคคลทั่วไปและสถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการและกองทุนหมู่บ้าน การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพและสร้างภูมิคุ้มกันในการประกอบอาชีพและการเงิน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร และสถาบันเกษตรกร มมุ่งเน้นยกระดับเกษตรกรสู่เกษตรกรมืออาชีพ (Smart Famer) และการยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่ SME เกษตรหัวขบวน รวมถึงการเชื่อมโยงธุรกิจ การผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรรายย่อยและการพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรายพื้นที่
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาศักยภาพชุมชนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน มมุ่งพัฒนาศักยภาพองค์กรและชุมชนแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ติดต่อธ.ก.ส. Call Center 0-2555-0555 บริการ 24 ชั่วโมง ทุกวันศุนย์บริการลูกค้า 1593 บริการ ในวันและเวลาทำการสำนักงานใหญ่ 0-2558-6555